ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,246 รายการ
แหล่งโบราณคดีในวัฒนธรรมบ้านเชียง กลุ่มลุ่มน้ำ น้ำสวย-ห้วยหลวงตอนบนเรียบเรียง นางสาวพัชราพร รักเชื้อนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัยงานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผ่านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ณ สำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น⋯⋯✧⋯⋯✧⋯✦⋯✧⋯⋯✧⋯⋯สอบถามหรือแจ้งข้อมูลโบราณสถานโทร. : 043-242129 Line : finearts8kk E-mail : fad9kk@hotmail.comTiktok : สำนักศิลปากรขอนแก่นพื้นที่ในความรับผิดชอบขอนแก่น บึงกาฬ เลย สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี
องค์ความรู้ เรื่อง พิพิธภัณฑ์ในสุพรรณบุรี
เรียบเรียง นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการ
หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
กรมศิลปากร โดยสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอเชิญร่วมกิจกรรมโครงการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน ประจำปี ๒๕๖๗ " วันเสาร์ที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พบกับกิจกรรมบรรยายทางวิชาการและการสาธิต ในหัวข้อ "ย้อนอดีต : เทคนิคการทำลูกปัดหินและสิ่งทอสมัยโบราณ" มีรายการที่สนใจดังนี้
-ช่วงเช้า-
เวลา ๐๘.๓๐ น. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม ณ ห้องประชุม อาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
เวลา ๐๙.๐๐ น. พิธีเปิดโครงการฯ
เวลา ๐๙.๑๕ น. การบรรยายพิเศษ เรื่อง "หลักฐานเครื่องแต่งกายของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์" โดย นายสมชาย ณ นครพนม นักโบราณคดีทรงคุณวุฒิ กรมศิลปากร เวลา ๐๙.๓๐ น. การบรรยายทางวิชาการ
๑. เรื่อง "เชือก เส้นใย และเครื่องมือจากพืช บทบาทและความสำคัญในสังคมมนุษย์สมัยโบราณ" โดย รศ. ดร.ธนิก เลิศชาญฤทธ์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
๒. เรื่อง "สิ่งทอยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ฮารัปปา ประเทศปากีสถาน (๔๐๐๐ - ๑๙๐๐ ปีก่อนคริสตกาล)" โดย ศ. ดร.โจนาธาน มาร์ค เคนอยเยอร์ ภาควิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมดิสัน สหรัฐอเมริกา
๓. เรื่อง "ลูกปัดหินจากแหล่งโบราณคดีบ้านพรหมทินใต้และคันธาระ" โดย ผศ. ดร.วรรณพร เรียนแจ้งห้องปฏิบัติการทางวัตถุวัฒนธรรม คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
-ช่วงบ่าย-
เวลา ๑๓.๐๐ น. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม ณ ห้องประชุม อาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
เวลา ๑๓.๓๐ น. การบรรยายนำชม เรื่อง "เจาะลึกชีวิตประจำวันของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในประเทศไทย" ณ ห้องจัดแสดงก่อนประวัติศาสตร์ อาคารมหาสุรสิงหนาท โดย นายศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ กรมศิลปากร, นางสาวมุทิตา อร่ามรุ่งทรัพย์ ภัณฑารักษ์ กรมศิลปากร, นายพนมกร นวเสลา ภัณฑารักษ์ กรมศิลปากร
เวลา ๑๔.๓๐ น. การบรรยายทางวิชาการและการสาธิต เรื่อง "ศิลปะแห่งการทำลูกปัดหินสมัยโบราณ" โดย ศ. ดร.โจนาธาน มาร์ค เคนอยเยอร์ ภาควิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมดิสัน สหรัฐอเมริกา, รศ. ดร.ธนิก เลิศชาญฤทธ์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ผศ. ดร.วรรณพร เรียนแจ้ง ห้องปฏิบัติการทางวัตถุวัฒนธรรมคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม สามารถสำรองที่นั่งล่วงหน้า โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒ (เปิดทำการวันพุธ - อาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.)
---------------------------------------------------------------------
หมายเหตุ
- กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
- กิจกรรมแบ่งออกเป็น ๒ ครั้ง
- ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งเช้า-บ่าย รับประทานอาหารกลางวันตามอัธยาศัย
- ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้รับหินที่ระลึกสำหรับทำกิจกรรมเวิร์กชอปในงานกับมุมหัด-ทำ-มือ (Arts & Crafts Corner)
---------------------------------------------------------------------
ขอขอบคุณ
คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
คณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มูลนิธิการศึกษาไทย-อเมริกัน (ฟุลไบรท์) และกรมศิลปากร
ปริวารปาลิ (ปริวารปาลิ)อย.บ. 298/12หมวดหมู่ พุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 52 หน้า : กว้าง 4.7 ซม. ยาว 53.4 ซม. บทคัดย่อ เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคจากวัดประดู่ทรงธรรม อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรมของกระทรวงวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 – 2568 ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยเดินทางไปตรวจติดตามสถานการณ์น้ำ บริเวณโบราณสถานวัดไชยวัฒนาราม พร้อมทั้งประชุมหารือแนวทางและมาตรการป้องกันปัญหาน้ำท่วมโบราณสถานในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และติดตามความคืบหน้าการจัดทำรายงาน HIA การก่อสร้างรถไฟทางคู่ ในพื้นที่เกี่ยวเนื่องแหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
นางสาวสุดาวรรณ กล่าวว่า จากการตรวจติดตามสถานการณ์น้ำ บริเวณโบราณสถานวัดไชยวัฒนาราม ซึ่งตั้งอยู่ช่วงที่แม่น้ำเจ้าพระยาแคบที่สุด จึงมีความเสี่ยงที่ระดับน้ำจะล้นตลิ่งเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา จึงใช้วิธีป้องกันโดยการตั้งแผงป้องกันน้ำท่วมรูปแบบที่สามารถยกตั้งขึ้นและพับเก็บได้บริเวณด้านตะวันออกของวัดริมแม่น้ำ แนวป้องกันน้ำท่วมมีความยาว 160 เมตร สูงจากผิวบนสุดของขอบตลิ่งประมาณ 1.80 เมตร และสามารถต่อความสูงเพิ่มเติมเป็น 2.40 เมตร ส่วนด้านใต้ ด้านตะวันตก มีแนวกำแพงป้องกันน้ำถาวรก่อด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ส่วนด้านเหนือใช้แนวทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3469 เป็นแนวป้องกัน นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่โบราณสถานที่มีการดำเนินงานตั้งแนวป้องกันน้ำท่วม ซึ่งอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จำเป็นต้องป้องกันการเกิดอุทกภัยทุกปี เพื่อรับรองสถานการณ์ภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น โดยได้กำชับให้กรมศิลปากรบูรณาการการทำงานในการดูแลโบราณสถานสำคัญกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้ พื้นที่นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ยังคงปรากฏความเสี่ยงด้านต่างๆ รวมถึงอุทกภัยที่อาจมีผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลก ในระดับแผนปฏิบัติการ กรมศิลปากรได้บรรจุแผนงานมาตรการลดผลกระทบจากภัยพิบัติไว้ในร่างแผนปฏิบัติการการอนุรักษ์และพัฒนานครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา พุทธศักราช 2566 - 2575 ปัจจุบันอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ยังคงดำเนินงานตามมาตรการป้องกันผลกระทบจากภัยที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่มรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนคร ศรีอยุธยา โดยมีการบริหารจัดการเป็นขั้นตอนในทุกปี มีการวิเคราะห์ปัญหาและจัดทำแผนการทำงาน ประชุมติดตามการดำเนินงานร่วมกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ยังได้ติดตามความคืบหน้าการจัดทำรายงานประเมินผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (Heritage Impact Assessments - HIA) ในการก่อสร้างรถไฟทางคู่ (รถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ - หนองคาย ช่วงสถานีอยุธยา) ในเขตพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา (ช่วงบ้านโพ - พระแก้ว) ซึ่งศูนย์มรดกโลกได้แสดงความกังวลและสอบถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโครงการรถไฟความเร็วสูง และขอให้มีการจัดทำรายงานฯ (HIA) ที่อาจมีต่อแหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา โดยมีกำหนดแล้วเสร็จก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อีกทั้งจะเชิญผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรที่ปรึกษาของคณะกรรมการมรดกโลกเดินทางลงพื้นที่ แหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และพื้นที่โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง เพื่อให้ คำปรึกษาแนะนำการประเมินและลดผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลก ในช่วงเดือนกันยายน 2567
นอกจากนี้ กรมศิลปากรได้รายงานการดำเนินโครงการฟื้นฟูบูรณะวัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากร สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย และกองทุนโบราณสถานโลกเข้ามาร่วมมือในการบูรณะโบราณสถานวัดไชยวัฒนาราม ตั้งแต่ พ.ศ. 2555 (ภายหลังน้ำท่วมใหญ่เมื่อ พ.ศ. 2554) จนถึงปัจจุบัน โดยมีการทำงานในรูปแบบคณะทำงานร่วมระหว่างผู้เชี่ยวชาญจากสหสาขาวิชาชีพของกรมศิลปากรและนักอนุรักษ์ชาวไทยและชาวต่างประเทศของกองทุนโบราณสถานโลก ที่ผ่านมาดำเนินงานหลัก 2 ด้าน ประกอบด้วยการอนุรักษ์โบราณสถานและการจัดอบรม/การประชุมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งจะมีพิธีปิดโครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนารามที่ใช้งบประมาณจากสถานทูตสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายน 2567
ทีมนักโบราณคดีได้ทำการวิเคราะห์แนวโบราณถสถานในพื้นที่ขุดค้นระยะที่ 4 เรียบร้อยแล้ว พบแนวโบราณสถานทั้งสิ้น 11 แนว ที่สำคัญเช่นแนวฉนวนทางเดินอิฐ ที่มีความยาวหลายเมตร ฐานรากอาคารรูปทรงสี่เหลี่ยมจำนวน 4 หลัง แนวขอบพื้นปูศิลาด้านข้างพระที่นั่งพุทไธสวรรค์ บางแนวมีอายุเก่าไปถึงสมัยรัชกาลที่ 4 การขุดค้นทางโบราณคดีครั้งนี้ถือเป็นมิติการค้นพบครั้งใหม่และกุญเเจสำคัญ ที่ช่วยตอบคำถามการใช้พื้นที่และตำแหน่งสิ่งปลูกสร้างพระราชวังบวรสถานมงคล บริเวณเขตพระราชฐานชั้นกลาง (หมู่พระมณเฑียร และที่ออกว่าราชการของพระอุปราช) ในช่วงก่อนการยกเลิกตำแหน่งพระมหาอุปราชในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งถือว่ามีหลักฐานในอดีตหลงเหลือน้อยอย่างยิ่งข้อมูลจาก https://www.facebook.com/WangnaArchaeologicalProject2012
วันพุธที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๓ นางชุติมา จันทร์เทศ ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา พร้อมด้วยนายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ เข้าร่วมการประชุมแนวทางการพัฒนา โครงกระดูกมนุษย์ที่ค้นพบที่วัดพระนารายณ์ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๓ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ โดยมีนายศักดิ์สิทธิ์ สกุลลิขเรศสีมา รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานในการประชุม
เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561 นายสุพจน์ พรหมมาโนช ผู้อำนวยการสำนักศิลปกรที่ 7 เชียงใหม่ และนายเทอดศักดิ์ เย็นจุระ ผู้อำนวยการกลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ลงพื้นที่ตรวจสอบวัดร้าง ในพื้นที่ตำบลเวียงใต้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
วันอังคารที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๒ นางชุติมา จันทร์เทศ ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา พร้อมด้วย นายชำนาญ กฤษณสุวรรณ ผู้อำนวยการกลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน และนางสาวสุภาวดี อินทรประเสริฐ นักโบราณคดีชำนาญการ ลงพื้นที่ตรวจโบราณสถานเมืองเสมา และวัดพระนอนเมืองเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา