ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ

ชื่อเรื่อง : ชีวิตมันสมองและการต่อสู้ของหลวงวิจิตรวาทการ ชื่อผู้แต่ง : พิมาน แจ่มจรัส ปีที่พิมพ์ : 2505 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : ผ่านฟ้าพิทยาจำนวนหน้า : 1,012 หน้า สาระสังเขป : ชีวิตมันสมองและการต่อสู้ของหลวงวิจิตรวาทการ เป็นหนังสือชีวประวัติของหลวงวิจิตรวาทการรัฐบุรุษคนสำคัญของประเทศไทย ชื่อหนังสือ มีที่มาจากหนังสือเรื่อง “มรสุมชีวิต” และ “มันสมอง” ของหลวงวิจิตรวาทการ หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหา 8 บทประกอบด้วย ความรักอันใด จิตตานุภาพ วิธีทำงานและสร้างอนาคต ทางสู้ในชีวิต มันสมอง กำลังใจ วิชา 8 ประการ และวิชาครองเรือนและครองรัก มีบทเสริม 4 บท ประกอบด้วย เรื่องจิตวิทยาทางการเมือง โลกพูด-วิญญาณฟัง จากชีวิตถึงวิญญาณ และบทส่งท้ายมหาบุรุษ



ชื่อเรื่อง                               บทสวดกุสลา (กุสลา)สพ.บ.                                 434/1ประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลาน หมวดหมู่                            พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                      46 หน้า : กว้าง 6 ซม.  ยาว 59.6 ซม.หัวเรื่อง                              พุทธศาสนา                                            บทสวดมนต์                                            อภิธรรม 7 คัมภีร์บทคัดย่อ/บันทึก                เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


พระเสาร์พระอิศวรทรงสร้างจากเสือ ๑๐ ตัว บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีดำ พรมด้วยน้ำอมฤตได้พระเสาร์มีสีกายดำคล้ำ ทรงเสือเป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ เป็นเทพนพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ มีกิริยาดุดัน แข็งแรง กล้าได้กล้าเสีย บุคลิกเคร่งขรึม เป็นมิตรกับพระราหูและเป็นศัตรูกับพระศุกร์ สัญลักษณ์เลข ๗ มีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๐


แม๊คคาลอย.  คู่มือความรู้เรื่องเครื่องยนต์.  พิมพ์ครั้งที่ 1.  ธนบุรี: เขษมบรรณกิจ, 2509.          ผู้เขียนมุ่งที่จะให้ผู้ขับขี่รถยนต์มีความปลอดภัยและมีความรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบหลักของเครื่องยนต์เพื่อการดูแลให้ระบบไฟดี น้ำมันเชื้อเพลิงดี ระบบระบายความร็อนถ่ายเทได้สะดวก วัสดุและอะไหล่ที่สำคัญ เช่น หัวเทียน ลิ้นปิดเปิด ลูกสูบ เพลาข้อเหวี่ยง หรือ ข้อเสือ ตัวเรือนเครื่องยนต์ภายนอก ท่อน้ำ หม้อปั้มน้ำมันหล่อลื่น อ่างน้ำมันหล่อลื่น สายพาน ใบพัดลม เรื่องคลัทช์ ลูกเบี้ยว ล้อเฟือง ช่องทางเดินน้ำหล่อเสื้อสูบ เพลาใหญ่ แกนข้อเหวี่ยง รูถ่ายน้ำมันหล่อลื่นออก โซ่เฟืองล้อสำหรับหมุนแกนลูกเบี้ยว และให้ความรู้ในข้อสงสัยต่าง ๆ เช่น เครื่องมือที่จำเป็นจะต้องมีประจำรถ ก่อนจะออกรถควรตรวจคันส่งของพวงมาลัย  ซึ่อยู่ใต้ท้องด้านหน้ารถ จะต้องอยู่ในสภาพเคลื่อนไหวได้คล่องตามปกติ และควรตรวจดูตามหัวน๊อตที่ยึดไว้ น้ำมันเบรค หม้อแบตเตอรี่


ชื่อเรื่อง                         ธมฺมบทวณฺณนา ธมฺมบทฏฺฐกถา (ขุทฺทกนิกายฏฺฐกถา) อย.บ.                            327/10 หมวดหมู่                       พุทธศาสนา ลักษณะวัสดุ                   54 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 53 ซม. หัวเรื่อง                         พระธรรมเทศนา                                                                       บทคัดย่อ/บันทึก           เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาด ไม้ประกับธรรมดา


แจ้งผู้ชม ผู้อ่านทุกท่านให้ทราบว่า สาระน่ารู้ในแต่ล่ะเดือนต่อจากนี้ ทางอุทยานขอนำเสนอหัวข้อ "จารึก" ซึ่งเป็นหลักฐานการบอกเล่าเรื่องราวต่างๆที่คนในอดีตบันทึกไว้ โดยทางอุทยานขอนำเสนอสาระน่ารู้เกี่ยวกับจารึกสด๊กก๊อกธม ทั้งสองหลักในด้านต่างๆดังนี้ ด้านภาษาบนจารึก -ภาษาสันสกฤตในจารึก -คำศัพท์ภาษาเขมรในจารึกสด๊กก๊อกธม ด้านเนื้อหาจากจารึกสด๊กก๊อกธม -การสถาปนาพระเทวราช -ลำดับกษัตริย์และพราหมณ์แห่งอาณาจักรเขมรจากจารึกสด๊กก๊อกธม ๒ -การประดิษฐานศิวลึงค์ -ความสัมพันธ์ระหว่างเทวาลัยและชุมชนโดยรอบ -ตฏากะ : พระราชกรณียกิจสำคัญเกี่ยวกับการจัดการน้ำ ***โปรดติดตามสาระน่ารู้กันด้วยนะคะ **** ส่วนสัปดาห์นี้ พบกันวันสุดท้ายของเดือนพฤษภาคม ทางอุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม ได้นำสาระน่ารู้ เกี่ยวกับ ภาษาสันสกฤตในจารึก มาให้ได้ชมกัน ไปชมกันได้เลยค่าาาา ภาษาสันสกฤตในจารึก - ภาษาสันสกฤต เป็นภาษาที่ถูกใช้ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เพื่อบันทึกบทสวดมนต์ หรือกล่าวสรรเสริญเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยถือว่าเป็นภาษาชั้นสูงของนักบวช ภาษาสันสกฤตในยุคแรกถูกเรียกว่า ภาษาพระเวท (Vedic Sanskrit) ถูกใช้เพื่อบันทึกใน“คัมภีร์พระเวท” ซึ่งเป็นคัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู นอกจากนี้ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูแล้ว ศาสนาพุทธนิกายมหายานยังใช้ภาษาสันสกฤตอีกด้วย สำหรับภาษาสันสกฤตไม่ได้มีตัวอักษรที่ใช้เขียนเฉพาะเจาะจง โดยสามารถพบภาษาสันสกฤตถูกเขียนด้วยตัวอักษรต่างๆ เช่น อักษรพราหมี อักษรปัลลวะ อักษรทมิฬ อักษรขอมโบราณ อักษรเขมรโบราณ หรือ อักษรไทย -ภาษาสันสกฤตในจารึกสด๊กก๊อกธม ๒ จารึกสด๊กก๊อกธม ๒ อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ พบที่ปราสาทสด๊กก๊อกธม จังหวัดสระแก้ว เป็นจารึกภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร อักษรเขมรโบราณ โดยในส่วนภาษาสันสกฤตมีเนื้อหาดังนี้ ด้านที่ ๑ มีเนื้อหาเป็นการกล่าวสรรเสริญและบูชา พระศิวะ พระพรหม พระวิษณุ มหาเทพสูงสุดของศาสนาฮินดู และสรรเสริญพระเกียรติของพระเจ้าอุทยาทิตยวรมันที่ ๒ ผู้โปรดฯให้สร้างปราสาทสด๊กก๊อกธม ด้านที่ ๒ จารึกเรื่องราว การสืบทอดตำแหน่งพราหมณ์ในราชสำนักเขมรในสายสกุลของชเยนทรวรมัน (สทาศิวะ) ควบคู่กับลำดับพระมหากษัตริย์ในราชอาณาจักรเขมรโบราณ และการรื้อฟื้นดินแดนภัทรปัฏฏนะ ด้านที่ ๓ ตั้งแต่บรรทัดที่ ๑-๔๕ กล่าวถึงรายการสิ่งของที่พระเจ้าอุทยาทิตยวรมันที่ ๒ ถวายแก่เทพเจ้า ด้านที่ ๔ ตั้งแต่บรรทัดที่ ๑-๒ กล่าวถึงการสละเงินทอง และทาสเพื่อเป็นทานของชเยนทรวรมัน ภาษาสันสกฤตที่พบในจารึกสด๊กก๊อกธม ๒ ถูกใช้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับศาสนาฮินดูและพระมหากษัตริย์ สันนิษฐานได้ว่า ภาษาสันสกฤตอาจถูกใช้สำหรับประกอบพิธีกรรมต่างๆ ของศาสนาฮินดู ตามความเชื่อที่ว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ที่พราหมณ์ใช้สื่อสารกับเทพเจ้าในศาสนาฮินดู นอกจากนี้การใช้ภาษาสันสกฤตในการกล่าวถึงลำดับการสืบทอดตำแหน่งพราหมณ์ประจำราชสำนัก และลำดับพระมหากษัตริย์ในจารึก เป็นการแสดงถึงการยกสถานะของพราหมณ์ และพระมหากษัตริย์ให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับเทพเจ้า อ้างอิง - กรมศิลปากร. สำนักโบราณคดี. (๒๕๕๐). ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร : หน้า ๕๐๑. - กรมศิลปากร. (๒๕๖๕). ปราสาทสด๊กก๊อกธม: อุทยานประวัติศาสตร์ ณ ชายแดนตะวันออก. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์ : หน้า ๑๒๘. -หอสมุดแห่งชาติ. (๒๕๖๔). จารึกในประเทศไทย เล่ม ๓ อักษรขอมโบราณ พุทธศตวรรษที่ ๑๔ - ๑๖. กรุงเทพฯ: หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร: หน้า ๓๙ - Anton O. ZAKHAROV. The earliest dated Cambodian inscription K. 557/600 from Angkor Borei, Cambodia: An English translation and commentary. Burrow, T. The Sanskrit language (1st Indian ed.). Delhi: Motilal Banarsidass. p. 43. - Strazny. The single most popular proposal is the Pontic steppes. p. 163. - Johannes Bronkhorst. The Spread of Sanskrit in Southeast Asia.


ชื่อเรื่อง                      ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏธกถา ขุทฺทกนิกายฏธกถ (ธมฺมปทขั้นต้น, คาถาธมฺมปท)อย.บ.                           244/12หมวดหมู่                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                52 หน้า : กว้าง 4.7 ซม. ; ยาว 53.5 ซม.หัวเรื่อง                        พุทธ                                      ศาสนา                                                           บทคัดย่อ/บันทึก     เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาด


          หนังสือ : สาปรักสาปเลือด : Immanuel's Veins           ผู้เขียน  : Ted Dekker (เท็ด เด็กเกอร์)           ผู้แปล   : ขีดขิน จินดาอนันต์           นี่คือเรื่องเล่าอันแสนอันตรายของเรื่องราวในอดีต เรื่องรักที่เต็มไปด้วยการล่อลวง เรื่องราวของความปรารถนาอันแสนร้าวรานและการอุทิศตัวอันหาญกล้า จุมพิตเดียว เพียงจุมพิตเดียว...ความชั่วร้ายจักกระชากฉีกทั้งร่างกาย จิตวิญญาณ และหัวใจ นี่คือเรื่องราวสำหรับทุกคน แต่โปรดจำไว้...ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถอ่านเรื่องนี้ได้             ห้องบริการ 1 หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ           เลขหมู่ :  813.54 ด819ส


            ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้วันที่ 19 กันยายนของทุกปี เป็นวันพิพิธภัณฑ์ไทย กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร ได้จัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี และในปีนี้  กรมศิลปากรได้ร่วมกับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ไทย จัดงานมหกรรมวันพิพิธภัณฑ์ไทย 2566 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ประกอบด้วย             กิจกรรมเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย 2566 Thai Museum Day 2023 ภายใต้หัวข้อ “การจัดการคลังและวัตถุพิพิธภัณฑ์สู่ความยั่งยืน” ระหว่างวันที่ 17 - 19 กันยายน 2566 เวลา 09.30 – 19.30 น. ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยภายในงานจะได้พบกับกิจกรรมหลากหลายจากเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ไทยทั่วประเทศ ได้แก่              - นิทรรศการ “Museum Unveiling” เรื่องลึก เบื้องหลังพิพิธภัณฑ์ไทย : พบกับวัตถุหาชมยาก เรื่องราวเชิงลึกของวัตถุพิพิธภัณฑ์ที่ไม่เคยเปิดเผย และเบื้องหลังความสมบูรณ์แบบของวัตถุพิพิธภัณฑ์จากหลายพิพิธภัณฑ์             - พิพิธภัณฑ์เสวนา (Museum Talk) หัวข้อ”การจัดการคลังและวัตถุพิพิธภัณฑ์สู่ความยั่งยืน” :  การบรรยายแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากผู้บริหารระดับสูงและนักวิชาชีพพิพิธภัณฑ์ในหลายมิติ ได้แก่ Museum Technology เทคโนโลยีการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์, Collection Care การดูแลรักษาวัตถุพิพิธภัณฑ์, Storage Engagement ถอดบทเรียนจากการบริหารจัดการคลังช่วงวิกฤตโควิด, Museum Storage มองคลังคนละมุม             - กิจกรรมเวิร์คช็อปการอนุรักษ์วัตถุพิพิธภัณฑ์ (Conservation Lab) : พบการสาธิตการอนุรักษ์วัตถุพิพิธภัณฑ์จากนักอนุรักษ์มืออาชีพ พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้สนใจได้ลงมือปฏิบัติและเรียนรู้ด้วยตัวเอง             - การออกร้านจากเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ (Museum Fair) : พบสินค้าและนวัตกรรมต่อยอดจากพิพิธภัณฑ์ ต้นแบบความสำเร็จตามแนวเศรษฐกิจสร้างสรรค์             - เปิดการนำชมพิเศษ “ยลพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน” (Night at the Museum) ภายในหมู่พระวิมานจำนวน 2 รอบ เวลา 17.00 น. และ 18.00 น. (เปิดลงทะเบียนล่วงหน้าเวลา 16.15 น.)             กิจกรรม “มหาคณปติบูชา” เนื่องในเทศกาลคเณศจตุรถีและวันพิพิธภัณฑ์ไทย 2566 ในวันที่ 16 กันยายน 2566 เวลา 09.00 – 16.00 น. และวันที่ 17 – 19 กันยายน 2566 เวลา 09.00 – 20.00 น. ร่วมสักการะขอพรพระคเณศ ณ เทวาลัยชั่วคราว ห้องศรีวิชัย อาคารมหาสุรสิงหนาท และการนำชมรอบพิเศษ เรื่อง “กำเนิดพระคเณศ” วันที่ 17 – 19 กันยายน เวลา 18.00 น. (เปิดลงทะเบียนล่วงหน้าเวลา 17.30 น.) ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมงานมหกรรมวันพิพิธภัณฑ์ไทย 2566 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร   


           พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ขอเชิญชมนิทรรศการ "ความทรงจำอันงดงาม" โดยศาสตราจารย์เกียรติศักดิ์ ชานนนารถ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ.2549 ซึ่งรวบรวมผลงานสร้างสรรค์กว่า 50 ชิ้น มาจัดแสดงให้ชมทั้งผลงานประเภทวาดเส้น สีน้ำ สีน้ำมันและสีอะคริลิค อันเป็นผลงานที่เกิดจากการเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ  เช่น การพานักศึกษาไปทัศนศึกษานอกสถานที่ การเดินทางท่องเที่ยวไปในต่างประเทศ จนเกิดเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานขึ้นเป็นความทรงจำที่งดงาม อันเป็นที่มาของชื่อนิทรรศการดังกล่าว              นิทรรศการ "ความทรงจำอันงดงาม" จัดแสดงระหว่างวันที่ 5 ตุลาคม - 26 พฤศจิกายน 2566 ณ อาคารนิทรรศการ 4 เปิดให้เข้าชมวันพุธ - อาทิตย์ ตั้งเเต่เวลา 09.00 - 16.00 น. (ปิดให้บริการวันจันทร์ - อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ค่าเข้าชม ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 200 บาท นักเรียน นักศึกษา ผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และนักบวชทุกศาสนา เข้าชมฟรี




ปาฐกถาบางเรื่องของท่านปรีดีฯ จัดพิมพ์จำหน่ายโดย นายสุพจน์ ด่านตระกูล เกี่ยวข้องกับความยุติธรรมของสังคมและประชาธิปไตย รวมถึงวิถีทางที่จะได้มาซึ่งประชาธิปไตย โดยนำบทปาฐกถาในการชุมนุมสนทนาที่สามัคคีสมาคม (สมาคมนักเรียนไทย) ประเทศอังกฤษ เมื่อวันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม 2516 และปาฐกถาเรื่อง “จะมีทางได้ประชาธิปไตยโดยวิธีสันติหรือไม่” แสดงในงานประชุมประจำปีของนักเรียนไทยในสหพันธรัฐเยอรมัน เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2516 มาจัดพิมพ์


จารึกโคมป่องทรงปราสาท โคมป่องทรงปราสาทสำหรับจุดไฟบูชาพระธาตุ เป็นทรงปราสาท ฐานสูง รองรับตัวเรือนธาตุซึ่งลฉลุโปร่งเป็นลวดลาย โดยด้านหน้าทำเป็นประตูขนาดเล็ก ฉลุลายดอกไม้และลายกระหนก สองข้างประตูทำเป็นรูปบุคคลยืนเหนือฐานแสดงอัญชลี (พนมมือ) ส่วนอีกสามด้าน ตรงกลางทำเป็นกรอบสี่เหลี่ยมและภายในฉลุลวดลายดอกไม้สี่กลีบ มุมทั้งสี่ประดับด้วยนาคมีปีกและขาทอดตัวลงมาตามแนวสันหลังคา ถัดขึ้นไปเป็นหลังคาซ้อนกัน ๒ ชั้น ส่วนยอดทำเป็นดอกบัวตูม ที่ขอบฐานชั้นบน มีจารึกตัวอักษรฝักขาม ระบุ พ.ศ. ๒๐๕๑ นอกจากโคมป่องทรงปราสาทที่อยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย นี้แล้ว ที่มุมทั้ง ๔ ทิศของกำแพงรั้วพระธาตุหริภุญไชย ยังมีโคมป่องทรงปราสาทที่มีการประดับประดาตกแต่งอย่างงดงาม มีรูปแบบศิลปะที่คล้ายคลึงกันกับโคมป่องใบนี้ อาจสร้างขึ้นในระยะเวลาใกล้เคียงกันเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแก่พระธาตุหริภุญไชย จารึกโคมป่องกำหนดทะเบียนจารึกเป็น ลพ. ๔๒ อยู่บริเวณขอบฐานด้านบน มีจำนวน ๔ ด้าน จารึกด้วยอักษรฝักขาม ความว่า "ศักราชได้ ๘๗๐ ตัว ตรงกับ พ.ศ. ๒๐๗๑ รัชกาลพระเมืองแก้ว  พระรัตนปัญญาเป็นประธานพร้อมด้วยพระมหาสามีศรีวิสุทธิ์วัดต้นแก้ว ชักชวนศรัทธาชาวยางหวานทั้งหลายที่อยู่ทิศตะวันตก ตะวันออก ทิศใต้และทิศเหนือ ได้รวบรวมทองสัมฤทธิ์หล่อเป็นปราสาทหลังนี้ หนัก ๕๘๐๐๐  สำหรับจุดไฟ บูชาพระมหาธาตุเจ้าตราบจนถึง ๕,๐๐๐ ปี" นอกจากนี้ด้านในโคมยังมีจารึกที่แผ่นรองด้านใน ทางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย   จะได้นำภาพถ่ายมาให้ทุกท่านชมในโอกาสต่อไป อ้างอิง ก่องแก้ว วีระประจักษ์ (และคนอื่นๆ). จารึกล้านนา ภาค ๒ เล่ม ๑-๒ : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน. กรุงเทพฯ :กรมศิลปากร, ๒๕๕๑.ณัฏฐภัทร จันทวิช (บรรณาธิการ). โบราณวัตถุและศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย . กรุงเทพฯ :ส.พิจิตรการพิมพ์, ๒๕๔๘.


วิทยาจารย์ ปีที่ 49 มีนาคม 2493 ฉบับที่ 3 จัดพิมพ์โดยคุรุสภา เรื่องราวในเล่มประกอบด้วย พระพุทธศาสนากับวัฒนธรรม, นำเที่ยวสงขลา, สังเขปรายงานการประชุมกรรมการอำนวยการคุรุสภา, กำหนดแบบเรียนในชั้นสามัญศึกษา 2493 และสรุปข่าวในวงการศึกษาของเรา


Messenger