ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ
สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช ได้จัดทำไฟล์ PDF เอกสารประกอบโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายอนุรักษ์ ดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม เขตภาคใต้ตอนบน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ด้านในประกอบด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายกรมศิลปากร และบทความโบราณสถาน แหล่งโบราณคดีในภาคใต้ตอนบนของไทย เขียนโดยนักโบราณคดี ผู้ช่วยนักโบราณคดี และนักวิชาการวัฒนธรรม สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช อาทิ พัฒนาการทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์บนคาบสมุทรภาคใต้ไทย แหล่งภาพเขียนสีสำคัญ การค้าขายกับต่างชาติ ร่องรอยการนับถือศาสนา การปกครอง และงานสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นของภาคใต้ ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดไฟล์หนังสือได้จาก QR code
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกาญจนาภิเษก แหล่งรวบรวมความรู้ด้านชาติพันธุ์วิทยา” วิทยากร นางสาวนิตยา กนกมงคล ผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และนางสาวสิรินทร์ ย้วนใยดี ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ผู้ดำเนินรายการ นางกมลชนก พรภาสกร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๙ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น.
ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
ชื่อเรื่อง บรรณานุกรมพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเรื่องที่เกี่ยวข้อง ผู้แต่ง ไข่มุกด์ มิลินทะเลขประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากISBN/ISSN 974-7920-29-8หมวดหมู่ บรรณานุกรม แคตตาล็อกเลขหมู่ 013.351 ข941บสถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากรปีที่พิมพ์ 2524ลักษณะวัสดุ 94 หน้าหัวเรื่อง บรรณานุกรม พระราชนิพนธ์ภาษา ไทย - อังกฤษบทคัดย่อ/บันทึกบรรณานุกรมพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเรื่องที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยบรรณานุกรมภาษาไทย ภาษาอังกฤษ
#ตู้บัตรรายการก่อนที่เราจะมีคอมพิวเตอร์สืบค้นข้อมูลในห้องสมุดอย่างเช่นปัจจุบันนี้ สมัยก่อนนั้น เรามีเครื่องมือช่วยสืบค้นที่เรียกว่าบัตรรายการ ซึ่งจะถูกเก็บไว้ในตู้บัตรรายการแยกตามประเภทของบัตร และเรียงตามลำดับตัวอักษร เพื่อช่วยให้ผู้ใช้บริการและบรรณารักษ์สามารถสืบค้นว่าหนังสือที่ต้องการอยู่ที่ไหน โดยสามารถค้นได้จากชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ และหัวเรื่อง เป็นต้น ในบัตรรายการจะให้รายละเอียดของหนังสือแต่ละเล่ม และเลขหมู่หนังสือ เพื่อให้สามารถไปหาที่ชั้นหนังสือได้นั่นเอง ปัจจุบัน ตู้บัตรรายการที่หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ก็ยังคงไว้เช่นเดิม เพื่อให้เห็นถึงพัฒนาการการสืบค้นในยุคก่อนที่จะมาเป็นการสืบค้นจากคอมพิวเตอร์เรียบเรียงโดย นางสาวพิมพา สุธัญญาวัชชัย บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่#ตู้บัตรรายการ#บัตรรายการ#บรรณารักษ์ชวนรู้
พระมหาสังข์พิธี เรียบเรียงโดย นางสาวเพลินพิศ กำราญ กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร จัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2526 เพื่อประโยชน์ในการศึกษาด้านวัฒนธรรมและประเพณี ซึ่งกรมศิลปากรเล็งเห็นว่าการใช้สังข์เป็นวัฒนธรรมประเพณีอย่างหนึ่งของไทย ที่ใช้บรรจุน้ำพระพุทธมนต์ น้ำเทพมนตร์ หลั่งประสิทธิ์ประสาทพรเพื่อความเป็นสิริมงคลในงานพระราชพิธีและงานมงคลต่าง ๆ
องค์ความรู้สุพรรณบุรี เรื่อง สืบสานประเพณีบุญบั้งไฟ ลาวเวียงผู้เรียบเรียง :
นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการ
หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
ชื่อเรื่อง สาส์นสมเด็จ ลายพระหัตถ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ และ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ภาค 5)ผู้แต่ง สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ วรรณคดีเลขหมู่ 895.916 น254ส สถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ คลังวิทยาปีที่พิมพ์ ม.ป.ป.ลักษณะวัสดุ 580 หน้า หัวเรื่อง จดหมาย รวมเรื่องภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกหนังสือเรื่องสาส์นสมเด็จ ภาค 5 ลายพระหัตถ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ และ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ชื่อเรื่อง สพ.ส.62 ตำรายาแผนโบราณประเภทวัสดุ/มีเดีย สมุดไทยขาวISBN/ISSN -หมวดหมู่ เวชศาสตร์ลักษณะวัสดุ 31; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง ตำรายาแผนโบราณ ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก ประวัติวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 15 ส.ค..2538
ประติมากรรมพระสาวก (พระสารีบุตร)
ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒
พระยากัลยาณวัฒนวิศิษฎ (เชียร กัลยาณมิตร) มอบให้
ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องล้านนา อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ประติมากรรมรูปพระสาวก ศีรษะเรียบ เส้นผมขมวดเป็นเม็ดเล็ก ใบหน้ารี คิ้วเป็นสัน โก่งขึ้น ดวงตาเหลือบต่ำ จมูกใหญ่ แย้มมุมปาก คางเป็นปม ครองจีวรห่มเฉียง สังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่ ยาวจรดสะดือ ส่วนปลายตัดตรง นั่งขัดสมาธิเพชร บนฐานหน้ากระดานเรียบ มีจารึกอักษรธรรมล้านนาว่า “สาริบุต”
พระสารีบุตรเถระเป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา เป็นธรรมเสนาบดีและเอตทัคคะผู้เป็นเลิศด้านปัญญา ประวัติของพระสาวกรูปนี้ ปรากฏในคัมภีร์วิสุทธชนวิลาสินี อรรถกถาขุททกนิกาย อปทาน กล่าวไว้สรุปความได้ดังนี้
พระสารีบุตร เป็นบุตรของนางสารี ณ หมู่บ้าน อุปดิสคาม ใกล้กรุงราชคฤห์ จึงได้ชื่อว่า อุปดิศ และเมื่อเติบโตขึ้นเป็นเพื่อนกับ โกลิต* ต่างคนต่างมีบริวารติดตาม ๕๐๐ คน เวลาต่อมาทั้งสองประสงค์ที่จะแสวงหาความหลุดพ้น (โมกขธรรม) จึงพากันไปบวชที่สำนักพราหมณ์สัญชัยพร้อมด้วยบริวารคนละกึ่งหนึ่ง เมื่อเรียนกับอาจารย์สัญชัยไปก็ไม่พบหนทางแห่งการหลุดพ้น ทั้งสองจึงพากันเดินทางไปศึกษาตามสำนักต่าง ๆ ระหว่างนั้น พระพุทธเจ้าเสด็จมายังเมืองราชคฤห์ พร้อมด้วยพระสาวก พระองค์ประทับ ณ ป่าเวฬุ วันหนึ่งเวลาเช้า พระอัสสชิ**เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในเมือง อุปดิศปริพาชกได้พบเห็นก็เกิดความเลื่อมใส จึงติดตามไปกระทั่ง พระอัสสชิ ฉันอาหารแล้วเสร็จ แล้วจึงถามถึงรายละเอียดพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน พระอัสสชิ “...คิดว่า เราจักแสดงความที่พระศาสนานี้เป็นของลึกซึ้ง จึงประกาศว่าตนยังเป็นผู้ใหม่ และเมื่อจะแสดงธรรมในพระศาสนาแก่ปริพาชกนั้นโดยสังเขป จึงกล่าวคาถาว่า เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เป็นต้น…”
คาถานี้แปลความว่า “ธรรมทั้งหลายเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมทั้งหลายเหล่านั้น พระมหาสมณเจ้า ทรงสั่งสอนอย่างดังนี้”
เมื่ออุปดิศปริพาชกได้สดับพระธรรมโดยย่อดังกล่าวบังเกิดศรัทธา และได้ไปชักชวนโกลิตปริพาชกผู้เป็นสหายพร้อมด้วยบริวารในสำนักของตนอีก ๒๕๐ คนไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่ป่าเวฬุเพื่อฟังธรรมและบวชเป็นพระภิกษุ สำหรับอุปดิศปริพาชก เมื่อบวชแล้วมีนามว่า “สารีบุตร” ทั้งนี้ใน“ปฐมสมโพธิ์กถา” พระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส ในอรรคสาวกบรรพชาปริวัตต์ปริจเฉทที่ ๑๖ ระบุว่าพระสารีบุตร บรรลุเป็นพระอรหันต์ใน “วันมาฆบูชา”
นอกจากนี้ คัมภีร์สุมังคลวิลาสีนี อรรถกถาทีฆนิกาย ส่วนมหาปทานสูตร ยังกล่าวอีกว่า เมื่อพระสารีบุตรบรรลุเป็นพระอรหันต์ ซึ่งขณะนั้นประทับอยู่ ณ ถ้ำสูกรขาตา ท่ามกลางภูเขาคิชฌกูฎ ได้บังเกิดความระลึกถึงพระพุทธเจ้า เมื่อทราบว่าพระพุทธเจ้าประทับ ณ ป่าเวฬุ จึงได้เหาะไปยังป่าเวฬุ ในครั้งนั้นพระพุทธเจ้าทรงเทศนาพระธรรมเรื่อง “โอวาทปาติโมกข์”*** ให้แก่พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูป ที่มาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย
*บุตรของนางโมคัลลี ซึ่งต่อมาโกลิต เมื่อบวชแล้วได้รับแต่งตั้งเป็น พระโมคคัลานะ
**หนึ่งในปัญจวัคคีย์ ผู้ได้ฟังพระธรรมในคราวที่พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา ในครั้งนั้นประกอบด้วย โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ
*** อ่านเรื่อง “โอวาทปาติโมกข์” ได้ใน
https://www.facebook.com/nationalm.../posts/5221066851278832
อ้างอิง
ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระ. ปฐมสมโพธิกถา. กรุงเทพฯ: กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๓๐. (รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จัดพิมพ์ทูลเกล้าฯ ถวายสนองพระมหากรุณาธิคุณในมหามงคลเฉลิมพระเกียรติวันพระบรมราชสมภพครบ ๒๐๐ ปี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว วันอังคารที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๐).
อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑. พุทธวรรค ๓. สารีปุตตเถราปทาน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ จาก: https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=3
คัมภีร์สุมังคลวิลาสีนี อรรถกถาทีฆนิกาย มหาปทานสูตร ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ จาก: https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=1&p=1
#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ ประเพณีเตียวขึ้นดอย ไหว้สาป๋าระมีองค์พระธาตุดอยสุเทพประเพณีเตียวขึ้นดอย เป็นประเพณีงานบุญในจังหวัดเชียงใหม่ที่จัดขึ้นช่วงคืนก่อนวันวิสาขบูชา* โดยในปีนี้วันเตียวขึ้นดอยตรงกับคืนวันที่ 21 พฤษภาคม 2567 .“เตียว” เป็นภาษาเหนือ แปลว่า “เดิน” ในวันนี้ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำประชาชนจำนวนมากทั้งเด็กและผู้ใหญ่ จะร่วมกันเดินขึ้นดอยเพื่อไปสักการะพระธาตุดอยสุเทพเนื่องในวันวิสาขบูชา โดยจะมีพิธีอัญเชิญสรงน้ำพระราชทานจากลานอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ไปยังวัดพระธาตุดอยสุเทพด้วย.คนส่วนใหญ่จะเริ่มเดินตั้งแต่หน้าประตูมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผ่านสวนสัตว์เชียงใหม่ และแวะไหว้ที่อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกริเริ่มสร้างถนนขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพ ก่อนจะเดินไปตามถนนศรีวิชัยขึ้นดอยไปเรื่อย ๆ เป็นระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 4-6 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความช้าเร็วในการเดินของแต่ละคน .ระหว่างทางขึ้นดอยจะมีโรงทานคอยแจกอาหารน้ำดื่มให้แก่ประชาชน รวมทั้งมีพระสงฆ์จากซุ้มของวัดต่าง ๆ คอยประพรมน้ำมนต์ให้ นอกจากนี้ยังมีจุดพักและจุดบริการให้ความช่วยเหลือตลอดทางอีกด้วย.เมื่อเดินถึงวัดพระธาตุดอยสุเทพแล้ว จะมีกิจกรรมพิธีสวดเจริญพุทธมนต์ ฟังธรรมเทศนา และเดินเวียนเทียน 3 รอบเพื่อสักการะองค์พระธาตุ ก่อนจะเดินกลับลงมาหรือนั่งรถแดงตามแต่กำลัง หรือในบางคนก็จะนอนรอจนถึงตอนเช้าของวันวิสาขบูชา เพื่อร่วมพิธีทำบุญตักบาตร และพิธีถวายน้ำสรงพระราชทานพระธาตุดอยสุเทพ .ประเพณีเตียวขึ้นดอย ถือได้ว่าเป็นธรรมเนียมของคนในจังหวัดเชียงใหม่ในประเพณีเดือนแปดเป็ง มีความเชื่อกันว่าการเดินเท้าขึ้นไปสักการะองค์พระธาตุเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาจะได้รับบุญอย่างมาก .การเตียวขึ้นดอยเปรียบได้เหมือนกับการวิ่งมาราธอน ที่ต้องใช้ทั้งแรงกายและแรงใจเพื่อไปให้ถึงปลายทางหรือเส้นชัย ระหว่างทางจะได้เห็นถึงความศรัทธาหรือความมุ่งมั่นของผู้ร่วมทาง เป็นประเพณีที่ได้รับประโยชน์ทั้งด้านร่างกายและจิตใจไปพร้อม ๆ กัน รวมทั้งยังช่วยสืบสานประเพณีให้คงอยู่ต่อไป .* วันวิสาขบูชา เป็นหนึ่งในวันสำคัญทางพุทธศาสนา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ซึ่งเป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพาน ของพระพุทธเจ้า โดยเวียนมาบรรจบในวันและเดือนเดียวกัน --------------------------------------------------อ้างอิงChiang Mai News. เล่าขาน “ประเพณีเดินขึ้นดอยสุเทพ” #เตียวขึ้นดอย เตียวขึ้นดอย : คลิปข่าวเชียงใหม่. วันที่อัพโหลด 11 พฤษภาคม 2566. เข้าถึงจาก https://www.youtube.com/watch?v=Tfe3hO1LUZA เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2567