ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ
ไชยเชษฐ์ ชบ.ส. ๑๐๘
เจ้าอาวาสวัดเขาคันธมาทน์ ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕
เอกสารโบราณ (สมุดไทย)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.32/1-6 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
๐ สวัสดียามบ่ายค่ะทุกๆท่าน วันนี้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่มีสาระความรู้มามอบให้กับทุกๆท่านอีกเช่นเคย โดยในวันนี้ทางเราขอเสนอองค์ความรู้เรื่อง “โบราณวัตถุที่พบในอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่” เมื่อครั้งที่มีการขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณที่จะถูกน้ำท่วมเมื่อครั้งสร้างเขื่อนภูมิพล จังหวัดตากค่ะ
๐ โดยการดำเนินงานทางโบราณคดีในครั้งนั้น เริ่มขึ้นเนื่องด้วยทางราชการจะสร้างเขื่อนภูมิพล เพื่อกั้นลำน้ำปิงที่บริเวณเขาแก้ว ตำบลยันฮี อำเภอสามเงา จังหวัดตาก จากการสำรวจพบว่าเมื่อเขื่อนภูมิพล สร้างเสร็จ บริเวณเหนือเขื่อนขึ้นไปจะกลายเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่คล้ายทะเลสาบ กินพื้นที่ไปจนถึงอำเภอฮอด และอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ทั้งโบราณสถาน รวมทั้งบ้านเรือนชาวบ้านที่อยู่ในรัศมีของอ่างเก็บน้ำจะจมอยู่ภายใต้ทะเลสาบ
๐ อำเภอฮอด เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญในอดีต มีโบราณสถานที่สร้างขึ้นในสมัยล้านนาอยู่เป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้รัฐบาลในสมัยดังกล่าวจึงได้ตั้งคณะสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีเพื่อนำโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ในศาสนสถาน โบราณสถาน ขึ้นมาเก็บรักษาก่อนที่น้ำจะท่วมในเขตอำเภอฮอดค่ะ โบราณวัตถุดังกล่าวนั้นมีอะไรบ้างตามมาดูกันได้เลยจ้า
๐ ปล.1 ทางเราแว่วมาว่าขณะนี้ทางกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ กำลังดำเนินการศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดีเมืองโบราณฮอดกันอย่างเข้มข้นเลยค่ะ ถ้ามีข้อมูลใหม่เพิ่มเติมเมื่อไหร่ ทางเราจะอัพเดตให้ทุกๆท่านได้ทราบกันอย่างแน่นอนค่ะ รอติดตามและเป็นกำลังใจให้ทีมงานทุกๆท่านด้วยนะคะ
๐ ปล.2 โบราณวัตถุที่พบที่พื้นที่อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ และ ที่พบจากพื้นที่เหนือเขื่อนภูมิพล ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ของเรานี่เองค่ะ หากท่านใดสนใจสามารถเข้าชมได้ ณ อาคารจัดแสดง ชั้นหนึ่ง ห้องโบราณวัตถุที่พบในอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ค่ะ แล้วพบกันในองค์ความรู้รอบหน้านะคะ
---------------------------------------------------------------
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่
เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ (หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น.
e-mail : cm_museum@hotmail.com
สอบถามเพิ่มเติมกรุณาติดต่อผ่านกล่องข้อความ หรือ โทรศัพท์ : 053-221308
For more information, please leave your message via inbox or call : +66 5322 1308+
ยาคู : ข้าวมธุปายาส
ยาคู ยาโค ข้าวมธุปายาส มธุปายาสยาคู ข้าวทิพย์ ข้าวกระยาทิพย์ เป็นชื่ออาหารชนิดหนึ่ง สมัยก่อนชาวภาคใต้นิยมทำกันที่วัดในเดือน ๖ บ้าง เดือน ๑๐ บ้าง ภายหลังหันมานิยมทำในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ และ ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ ต่อเนื่องกับวันมาฆบูชา ชาวใต้นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า “ข้าวยาคู” ชาวภาคใต้เชื่อกันว่า มธุปายาสยาคูเป็นยาวิเศษ ผู้ใดมีวาสนาได้รับประทานจะขจัดโรคภัยร้ายทุกชนิด ร่างกายจะเจริญเติบโตมีพลังและสมบูรณ์ด้วยปัญญา เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ทำมาหากินบังเกิดผล
ในการกวนข้าวยาคู เครื่องปรุงที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นไปตามสภาพท้องถิ่นและฤดูกาลของพืชผลที่สำคัญ ได้แก่ น้ำนมข้าว มันสำปะหลัง ฝรั่ง ฟักทอง กล้วย มะพร้าว แป้งข้าวเหนียว น้ำตาลทราย นม น้ำอ้อย มะละกอ ขนุน ทุเรียน กะทิ กระวาน กานพลู พริกไทย ฯลฯ
พิธีกวนข้าวยาคู บางแห่งจะมีหมอไสยศาสตร์ ๑ คน สำหรับร่ายเวทย์มนตร์คาถา พระสงฆ์ ๙ รูป สวดชัยมงคลคาถา ๓ จบ และผู้กวนข้าวยาคูอีก ๔ คน เป็นชาย ๒ คน หญิง ๒ คน อายุ ๑๕-๒๐ ปี แต่งตัวนุ่งขาวแบบนักบวช ผู้ที่กวนข้าวยาคูจะต้องเป็นคนที่ไม่เคยเสียความบริสุทธิ์มาก่อน ปัจจุบัน การกวนข้าวยาคู ยังคงทำต่อเนื่องมาทุกปี
เรียบเรียงโดย : นางสมร พูนพนัง บรรณารักษ์ชำนาญการ
อ้างอิง.
ดิเรก พรตตะเสน, พิทยา บุษรารัตน์. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ เล่ม ๑๓. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทยธนาคารไทยพาณิชย์, ๒๕๔๒.
ปราสาทเขาโล้น ๓/๔ : การอนุรักษ์โบราณสถานด้วยวิธีการก่ออิฐดั้งเดิมของสถาปัตยกรรมเขมร
หลังจากที่ได้ดำเนินงานโบราณคดีเพื่อศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมของปราสาทเขาโล้นแล้ว กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรีและสำนักสถาปัตยกรรม ได้ดำเนินการอนุรักษ์โบราณสถานในปีพุทธศักราช ๒๕๖๒
ขั้นตอนการอนุรักษ์โบราณสถานเริ่มจากการถอดรื้ออิฐที่เสื่อมสภาพออก ทำการแทนที่ด้วยอิฐใหม่ ที่เผาให้มีความแกร่งใกล้เคียงกับอิฐเดิม โดยใช้อิฐใหม่ในการก่อโครงสร้างภายในของโบราณสถาน และพยายามใช้อิฐเก่าก่อปิดบริเวณผิวนอกของโบราณสถานเพื่อแสดงความเป็นของแท้ดั้งเดิมและทำให้มีความกลมกลืนกับอิฐดั้งเดิม อิฐที่นำมาใช้ต้องทำการขัดแต่งผิวจนเรียบเพื่อทำให้รอยต่อของอิฐแต่ละก้อนแนบสนิท ใกล้เคียงกับวิธีการก่ออิฐดั้งเดิมของสถาปัตยกรรมเขมร หลังจากนั้นกะเทาะหรือขูดผิวอิฐให้เป็นร่องเล็กน้อย เพื่อเพิ่มพื้นที่ยึดเกาะของปูนสอ ซึ่งมีส่วนผสมของปูนขาวหมัก ทรายละเอียด กากน้ำตาลและกาวหนังควาย
ในการอนุรักษ์โบราณสถานได้ทำการก่ออิฐซ่อมแซมเพื่อเสริมความมั่นคงแข็งแรงโดยรักษารูปแบบสถาปัตยกรรมดั้งเดิม ทั้งนี้ในบริเวณซุ้มประตูด้านทิศตะวันออกของปราสาทประธานซึ่งพังทลายลงจากการรื้อถอนทับหลังและเสาประตูออกไป ในการอนุรักษ์ได้ทำการเสริมวงกบประตูและเสาประดับกรอบประตูหินทราย ร่วมกับหินวงกบประตูชิ้นบนที่พบบริเวณปราสาท เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับติดตั้งทับหลังในอนาคต โดยหากมีการติดตั้งทับหลังแล้ว สามารถก่ออิฐเสริมบริเวณเสาซุ้มและหน้าบันให้มีลักษณะดังเดิม
ผู้เขียน : นายสิขรินทร์ ศรีสุวิทธานนท์ (นักโบราณคดีชำนาญการ)
กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี
#สำนักศิลปากรที่๕ปราจีนบุรี #กรมศิลปากร #กระทรวงวัฒนธรรม
ปราสาทเขาโล้น ๑/๔ : การดำเนินงานโบราณคดี
https://www.facebook.com/2360532577517366/posts/2770145389889414/
ปราสาทเขาโล้น ๒/๔ : โบราณวัตถุชิ้นเด่นและการกำหนดอายุ
https://www.facebook.com/2360532577517366/posts/2796066377297315/
อำเภอบ้านแพงเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครพนมที่อยู่ติดแม่น้ำโขง เป็นเมืองที่ท่านใดที่ได้มาจังหวัดนครพนมต้องมาเยือน เนื่องจากจะมีทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงามแล้วยังมีสถานที่ทางประวัติศาสตร์น่าสนใจด้วย คือ วัดโพธิ์ศรี อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม วัดโพธิ์ศรีหรือวัดโพธิ์ศรีบ้านแพงใต้สร้างในปีพ.ศ 2409 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในปีพ.ศ 2478 ภายในมีสิ่งก่อสร้างที่เป็นโบราณสถานสำคัญคือกุฏิที่สร้างในปีพ.ศ 2460 สมัยพระสิมมา เจ้าอาวาสรูปแรกลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น อิทธิพลศิลปะตะวันตกแบบโคโลเนียลโดยรับผ่านมาทางประเทศเวียดนาม ผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าออกมุขกลาง ด้านหน้าอาคารหันหน้าอาคารสู่ถนนทางทิศตะวันออกชั้นล่างของกุฏิส่วนที่เป็นมุขก่อซุ้มงวดโค้งในลักษณะเรียงอิฐวงโค้งโชว์ลายอิฐ และใช้เสาซ้อนเข้าไปรับซุ้มวงโค้ง ด้านล่างซุ้มวงโค้งแต่ละวงจะเป็นช่องวงรีเรียงกัน 5 วง อันเป็นลักษณะงานช่างเวียดนามที่พบมากในจังหวัดนครพนม โดยวงโค้งตอนกลางด้านหน้าใช้เป็นทางเข้าออก ภายหลังด้านหน้ามุขได้ต่ออาคารทรงแปดเหลี่ยม ที่ตีไม้ระแนงไขว้กันเป็นช่องตารางในส่วนของผนัง สำหรับตัวอาคารหลักชั้นล่างแบ่งเป็นพื้นที่ออกเป็น 3 แถว ตามแนวยาวของตัวอาคาร แต่ละแถวก่อผนังกั้นและทำซุ้มโค้งเป็นช่องประตูเข้าออกไม่มีบานประตู ในแต่ละแถวแบ่งเป็น 3 ห้อง ห้องกลางมีขนาดใหญ่ที่สุด รวมจำนวนห้องชั้นล่างทั้งหมด 9 ห้อง โดยมีบันไดทางขึ้นชั้นบนบริเวณเป็นมุขกลาง ลักษณะเป็นบันไดไม้และมีประตูกั้นเหนือบันไดแบบเปิดขึ้นด้านบน ในส่วนชั้นบนกุฏิทำมุขด้านหน้าใช้เป็นระเบียง ตกแต่งด้วยเสาซ้อนเข้าไปรับวงคงที่ก่อโชว์อิฐ ด้านล่างวงโค้งเจาะเป็นช่องลูกกรง ลักษณะเป็นวงรีเรียงกัน 5 วง ส่วนตัวอาคารหลักที่แบ่งเป็น 3 แถว ในชั้นล่างได้ยุบรวมห้องกลางในแถวที่ 1 กับแถวที่ 2 เพื่อใช้เป็นห้องโถงใหญ่เป็นพื้นที่ไหว้พระสวดมนต์ ท้ายห้องประดิษฐานพระพุทธรูปบนโต๊ะหมู่บูชา ส่วนห้องกลางในแถวที่ 3 ที่ต่อจากห้องโถงใหญ่ใช้เป็นห้องของท่านเจ้าอาวาส ภายในห้องมีบันไดไม้ขนาดเล็กใช้เป็นทางขึ้นลงเฉพาะเจ้าอาวาส รวมจำนวนของห้องกุฏิชั้นบนมี 8 ห้อง ตัวอาคารทั้งชั้นบนและชั้นล่างมีบานหน้าต่างโดยรอบด้านละ 3 บาน ลักษณะเป็นบานทึบสี่เหลี่ยมเปิดแบบเปิดคู่ แต่งเป็นกรอบซุ้มวงโค้งฉาบเรียบ ตกแต่งลายปูนปั้นยอดวงโค้งเป็นรูปสี่เหลี่ยมทรงหน้าวัว และทำเส้นคิ้วล้อไปกับวงโค้งทางด้านบน ใต้หน้าต่างติดตั้งขอบบัวหน้ากระดานปูน ส่วนมุขกลางด้านหน้าทั้งชั้นบนและชั้นล่างไม่มีบานหน้าต่าง โดยตกแต่งเป็นซุ้มวงโค้งก่อโชว์อิฐที่เจาะช่องลูกกรงวงรีเรียงกัน 5 วง เอกลักษณ์ของกุฏิวัดโพธิ์ศรีเป็นอาคารศิลปะตะวันตกแบบโคโลเนียลที่หลักแนวคิดและเทคนิคการก่อสร้างจากช่างญวนในรุ่นปลายพุทธศตวรรษที่ 25 กรมศิลปากรดำเนินการบูรณะในปี พ.ศ.2561 -------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : สำนักศิลปากรที่ 9 อุบลราชธานี