ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,356 รายการ
เรื่อง “วันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า (วันวชิราวุธ) 25 พฤศจิกายน”
วันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า หรือ “วันวชิราวุธ” เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของคณะลูกเสือแห่งชาติ และบรรดาลูกเสือ เนตรนารี บุคลากรทางการลูกเสือ ตลอดจนพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่า คือ เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสิน ทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทย เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีคุณูปการต่อประเทศไทยในหลายด้าน ทั้งด้านการคมนาคม การแพทย์และสาธารณสุข ด้านการปกครอง กิจการเสือป่าและลูกเสือ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้านศิลปและวัฒนธรรมไทย ด้านวรรณกรรมและหนังสือพิมพ์ เป็นต้น
ด้วยคุณูปการดังกล่าว ทางราชการจึงได้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์ไว้ในสถานที่ต่างๆหลายแห่ง ที่สำคัญ คือ พระบรมราชานุสาวรีย์บริเวณหน้าสวนลุมพินี ซึ่งรัฐบาลและประชาชนพร้อมใจกันบริจาคทรัพย์สร้างขึ้น
พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งนี้ได้มีพิธีเปิด เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 และทางราชการได้กำหนดให้วันที่ 25 พฤศจิกายน ของทุกปีเป็น วันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า หรือ “วันวชิราวุธ” และจัดให้มีการถวายบังคมพระบรมรูปเป็นประจำทุกปี
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสิน ทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 มกราคม พ.ศ. 2423 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 6 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสวยราชสมบัติเมื่อวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช 2453 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 รวมพระชนมายุ 45 พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม 15 ปี
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระอัจฉริยภาพและทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในหลายสาขา ทั้งด้านการเมืองการปกครอง การทหาร การศึกษา การสาธารณสุข การต่างประเทศ และที่สำคัญที่สุดคือด้านวรรณกรรมและอักษรศาสตร์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อยแก้วและร้อยกรองไว้นับพันเรื่อง กระทั่งทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาเมื่อเสด็จสวรรคตแล้วว่า “สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า”
พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ใน พระราชวงศ์จักรีพระองค์แรกที่ไม่มีวัดประจำรัชกาล แต่ได้ทรงมีการการสถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวงหรือวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน ขึ้นแทน ด้วยทรงพระราชดำริว่าพระอารามนั้นมีมากแล้ว และการสร้างอารามในสมัยก่อนนั้นก็เพื่อบำรุงการศึกษาของเยาวชนของชาติ จึงทรงพระราชดำริให้สร้างโรงเรียนขึ้นแทน
อ้างอิง : ประชิด สกุณะพัฒน์, อุดม เชยกีวงศ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญา, 2549. บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541.
ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้
นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
#องค์ความรู้
#วันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า
#วันวชิราวุธ
#พระมงกุฎเกล้าฯ
#หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษกจันทบุรี
#กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์กรมศิลปากร
#สำนักศิลปากรที่5ปราจีนบุรี
#กรมศิลปากร
#กระทรวงวัฒนธรรม
33
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 47/6ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 30 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 151/5เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
อภิธมฺมตฺถสงฺคห (อภิธมฺมสงฺคห) ชบ.บ 179/1ญ เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
สารคดีชีวิต ฯพณฯ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีคนที่ 20
ชื่อผู้แต่ง สามัญศึกษา,กรม
ชื่อเรื่อง หนังสือที่ระลึกในงานพระกฐินพระราชทาน กรมสามัญศึกษา ณ วัดป่าโมกวรวิหาร อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง วันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๒๔
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ ม.ป.ท.
สำนักพิมพ์ ม.ป.พ.
ปีที่พิมพ์ ๒๕๒๔
จำนวนหน้า ๙๒ หน้า
หมายเหตุ หนังสือที่ระลึกในงานพระกฐินพระราชทาน กรมสามัญศึกษา ณ วัดป่าโมกวรวิหาร อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง วันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๒๔
หนังสือเล่มนี้ได้จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสที่ได้รับพระราชทานผ้าพระกฐินปี ๒๕๒๔ ทอด ณ วัดป่าโมกวรวิหาร อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง กรมสามัญศึกษาได้จัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้โดยเสด็จพระราชกุศล ปีนี้ได้รวบรวมงานของกรมสามัญศึกษาที่น่าสนใจและประวัติวัดป่าโมกวรวิหาร
บทความจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่านในจุลสารแป้นเกล็ดจุลสารเรื่องราวอาคารเก่า สาระความรู้ ศิลปกรรม สถาปัตยกรรมคณะกรรมการกองทุนเพื่อการอนุรักษ์อาคารเก่าเมืองน่านฉบับที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๒ - กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓เรื่อง "ลวดลายจีน : บนกู่ วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร"อ่านเนื้อหา บทความอื่นๆ ได้ที่ https://www.facebook.com/.../pfbid0YvZKmV5eRKxazUEteMHX6f...
เลขทะเบียน : นพ.บ.410/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 114 หน้า ; 4 x 54.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 147 (71-80) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : พระอภิธรรมฮอม--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.540/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 70 หน้า ; 4 x 49 ซ.ม. : ล่องรัก-รักทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 180 (292-302) ผูก 5 (2566)หัวเรื่อง : สุวัณณสังขาร--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง : รายงานการปราบเงี้ยว พ.ศ. 2445 โดย ร.อ. เพิ่ม (หลวงทวยหาญรักษา) พ.อ. ถวิล อยู่เย็น อธิบายความประกอบ พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพ นายสยม จงใจหาญ ณ ฌาปนกิจสถาน วัดโสมนัสราชวรวิหาร นางเลิ้ง, นครหลวงกรุงเทพ ธนบุรี วันอังคารที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ชื่อผู้แต่ง : เพิ่ม (หลวงทวยหาญรักษา) ปีที่พิมพ์ : 2515สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์เจริญกิจ จำนวนหน้า : 128 หน้า สาระสังเขป : เริ่มเรื่องว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีรับสั่งให้นายพลโทเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ขึ้นไปเฝ้าที่พระราชวังบางปะอินและโปรดเกล้าฯ ให้เป็นแม่ทัพยกไปปราบเงี้ยวที่เข้าปล้นเมืองแพร่ กวีเล่าว่าได้รับมอบหมายหน้าที่จากแม่ทัพให้เป็นคลังทัพเบิกจ่ายเงินตรา เสื้อผ้า อาวุธยุทโธปกรณ์และรำพันว่า ตนไม่ได้อยู่ในวัยหนุ่มเหมือนเมื่อไปรบฮ่อแล้วเกรงจะปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ดี กวีพรรณนาเส้นทางและคร่ำครวญถึงหญิงคนรักตามแบบอย่างนิราศโดยทั่วไปเมื่อกองทัพถึงบ้านพึ่ง เจ้าราชวงศ์เมืองแพร่มารับทัพเชิญเข้าเมือง ที่เมืองแพร่แม่ทัพได้สอบถามเรื่องเงี้ยวได้ทราบว่า เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ร.ศ. 120 พวกเงี้ยวมีหัวหน้าชื่อปะกาหม่อง ได้เข้าปล้นเมือง ยิงโรงพัก โรงไปรสินีย์ (ไปรษณีย์) ทำลายสายโทรเลข ขึ้นรื้อทำลายสิ่งของ บนเค้าสนาม (ที่ว่าการเมือง) ล้อมบ้านพักข้าหลวงข้าราชการต้องพากันหลบหนีเอาตัวรอด ราษฎรชาวเมืองหนีเข้าป่าก็มาก แม่ทัพได้สอบสวนกรมการเมืองฝ่ายต่าง ๆ เพื่อหาสาเหตุที่เงี้ยวเข้าปล้นเมืองแพร่ พร้อมกับให้กองทหารตามจับพวกเงี้ยวที่ก่อกบฏ ได้ตัวนำมาลงโทษประหารชีวิตส่วนหนึ่ง นักโทษที่ความผิดไม่ชัดเจนอีก 16 คนให้ขังคุกเพื่อนำไปกรุงเทพฯ ด้วย นอกจากปราบเงี้ยวกบฏแล้วยังได้ดำเนินการปรับปรุงการปกครองบ้านเมืองในด้านต่าง ๆ พร้อมกันไปด้วย เช่น จัดวางระเบียบปฏิบัติของราชการ การศาลยุติธรรม การจัดเก็บภาษีอากรซึ่งมีผู้ค้างจ่ายภาษีเก็บไม่ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย รวมทั้งจัดวางแผนการรักษาความปลอดภัย ซึ่งเป็นหน้าที่ของทหารและตำรวจ และการระดมพลและเสบียงเข้าสมทบหากมีทัพจากกรุงเทพฯยกมา เป็นต้น
ชื่อเรื่อง วิสุทธิมคฺคเทสนา (พระวิสุทธิมรรค)สพ.บ. 430/1ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลาน หมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 98 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56.2 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา คัมภีร์วิสุทธิมรรค ธรรมเทศนาบทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย ฉบับล่องชาด ไม่มีไม้ประกับ ได้รับบริจาคมาจาก วัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
กองโบราณคดีใต้น้ำขอเสนอหลักฐานทางเอกสารชิ้นสำคัญในการศึกษาเรื่องโครงสร้างเรือโบราณในภูมิภาคมหาสมุทรอินเดียตะวันตก คือ
"The Maqāmāt of Al-Hariri"
ซึ่งเป็นเอกสารโบราณในการศึกษาวิถีชีวิตของผู้คนในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17-19
อ้างอิง:
1. Agius, Dionisius A. "Omani seafaring identity before the early 1600s: Ethnic and linguistic diversity." Oman and overseas. Hildesheim/New York: Georg Olms (2013): 41-55.
2. Grabar, O. 1984 The Illustrations of the Maqamat. Chicago: University of Chicago Press.