รายงานการปราบเงี้ยว พ.ศ. 2445 โดย ร.อ. เพิ่ม (หลวงทวยหาญรักษา) พ.อ. ถวิล อยู่เย็น อธิบายความประกอบ
  • ย้อนกลับ
  • รายงานการปราบเงี้ยว พ.ศ. 2445 โดย ร.อ. เพิ่ม (หลวงทวยหาญรักษา) พ.อ. ถวิล อยู่เย็น อธิบายความประกอบ
ชื่อเรื่อง : รายงานการปราบเงี้ยว พ.ศ. 2445 โดย ร.อ. เพิ่ม (หลวงทวยหาญรักษา) พ.อ. ถวิล อยู่เย็น อธิบายความประกอบ พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพ นายสยม จงใจหาญ ณ ฌาปนกิจสถาน วัดโสมนัสราชวรวิหาร นางเลิ้ง, นครหลวงกรุงเทพ ธนบุรี วันอังคารที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2515
ชื่อผู้แต่ง : เพิ่ม (หลวงทวยหาญรักษา)
ปีที่พิมพ์ : 2515
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์เจริญกิจ
จำนวนหน้า : 128 หน้า
สาระสังเขป : เริ่มเรื่องว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีรับสั่งให้นายพลโทเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ขึ้นไปเฝ้าที่พระราชวังบางปะอินและโปรดเกล้าฯ ให้เป็นแม่ทัพยกไปปราบเงี้ยวที่เข้าปล้นเมืองแพร่ กวีเล่าว่าได้รับมอบหมายหน้าที่จากแม่ทัพให้เป็นคลังทัพเบิกจ่ายเงินตรา เสื้อผ้า อาวุธยุทโธปกรณ์และรำพันว่า ตนไม่ได้อยู่ในวัยหนุ่มเหมือนเมื่อไปรบฮ่อแล้วเกรงจะปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ดี กวีพรรณนาเส้นทางและคร่ำครวญถึงหญิงคนรักตามแบบอย่างนิราศโดยทั่วไปเมื่อกองทัพถึงบ้านพึ่ง เจ้าราชวงศ์เมืองแพร่มารับทัพเชิญเข้าเมือง ที่เมืองแพร่แม่ทัพได้สอบถามเรื่องเงี้ยวได้ทราบว่า เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ร.ศ. 120 พวกเงี้ยวมีหัวหน้าชื่อปะกาหม่อง ได้เข้าปล้นเมือง ยิงโรงพัก โรงไปรสินีย์ (ไปรษณีย์) ทำลายสายโทรเลข ขึ้นรื้อทำลายสิ่งของ บนเค้าสนาม (ที่ว่าการเมือง) ล้อมบ้านพักข้าหลวงข้าราชการต้องพากันหลบหนีเอาตัวรอด ราษฎรชาวเมืองหนีเข้าป่าก็มาก แม่ทัพได้สอบสวนกรมการเมืองฝ่ายต่าง ๆ เพื่อหาสาเหตุที่เงี้ยวเข้าปล้นเมืองแพร่ พร้อมกับให้กองทหารตามจับพวกเงี้ยวที่ก่อกบฏ ได้ตัวนำมาลงโทษประหารชีวิตส่วนหนึ่ง นักโทษที่ความผิดไม่ชัดเจนอีก 16 คนให้ขังคุกเพื่อนำไปกรุงเทพฯ ด้วย นอกจากปราบเงี้ยวกบฏแล้วยังได้ดำเนินการปรับปรุงการปกครองบ้านเมืองในด้านต่าง ๆ พร้อมกันไปด้วย เช่น จัดวางระเบียบปฏิบัติของราชการ การศาลยุติธรรม การจัดเก็บภาษีอากรซึ่งมีผู้ค้างจ่ายภาษีเก็บไม่ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย รวมทั้งจัดวางแผนการรักษาความปลอดภัย ซึ่งเป็นหน้าที่ของทหารและตำรวจ และการระดมพลและเสบียงเข้าสมทบหากมีทัพจากกรุงเทพฯยกมา เป็นต้น

(จำนวนผู้เข้าชม 263 ครั้ง)