ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,643 รายการ

วัดบ้านยางช้า ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ บ้านยางช้า ตำบลอำนาจ อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นวัดเก่าแก่อีกวัดหนึ่งในจังหวัดอำนาจเจริญ โดยมีกลุ่มคนไทย-ลาว ได้มาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่บริเวณนี้มาตั้งแต่ต้นสมัยรัตนโกสินทร์ หรือประมาณ ๑๕๐ ปีมาแล้ว มีสิ่งสำคัญคือ อุโบสถ (สิม) . อุโบสถ (สิม) วัดบ้านยางช้าเป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอีสาน เจ้าอาวาสเพ็ง กันยวิมล ขณะบวชอยู่ ในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๖๐– ๒๔๗๕ ได้พาคณะผู้มีจิตศรัทธาร่วมมือกันก่อสร้างและลงมือเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง อีกด้วยมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า วางยาวตามแนวทิศเหนือ–ทิศใต้ กว้างประมาณ ๗.๕๐ เมตร ยาวประมาณ ๑๐.๘๐ เมตร เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ชุดฐานเอวขันค่อนข้างสูง ที่มุมฐานล่างตกแต่งด้วยกาบบัวงอน ส่วนหลังคาซ้อนกันสองชั้นเดิมมุงด้วยแป้นเกล็ดไม้ ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นสังกะสีตามยุคสมัย มีบันไดขึ้นด้านหน้าทางทิศเหนือ ราวบันไดมีปูนปั้นรูปจระเข้หมอบห้อยหัวลงต่อด้วยสิงห์ในท่ายืน ห้องมุขหน้าโล่ง ตกแต่งด้วยแผงรวงผึ้งแกะสลักลวดลายเป็นลายก้านขด คันทวยทำด้วยไม้แกะสลักเป็นแบบคันทวยหูช้าง ลายเป็นตัวเหงา ถัดเข้าไปภายในอุโบสถแบ่งเป็น ๓ ห้อง ผนังในสุดประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยบนฐานชุกชี ทำช่องหน้าต่างข้างละ ๓ ช่อง พร้อมกรอบบานทำด้วยไม้ มีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ผนังมุขหน้าประตูทางเข้า และผนังภายในทั้ง ๔ ด้าน เขียนภาพพุทธประวัติและพระเวชสันดรชาดก ด้วยสีฝุ่น สีคราม ดำ น้ำตาล และเหลือง สิมได้รับการบูรณะซ่อมแซม ในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยกรมศิลปากร มีการบูรณะเพื่อเสริมความมั่นคง ฐานราก เสา ผนังกะเทาะฉาบใหม่บางจุด ซ่อมเสริมชุดเครื่องหลังคาช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ อนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง เปลี่ยนเครื่องหลังคาและวัสดุมุงเป็นสังกะสี . กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙ ตอนพิเศษ ๑๓๑ ง หน้า ๒ เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๕ มีเขตพื้นที่โบราณสถานประมาณ ๓ งาน ๓๓ ตารางวา ------------------------------ +++อ้างอิงจาก+++ . คันฉาย มีระหงส์. รายงานผลการตรวจสอบโบราณสถานวัดบ้านยางช้า. (เอกสารอัดสำเนา), กลุ่มอนุรักษ์ โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี, ๒๕๖๑. . สิริพัฒน์ บุญใหญ่, บรรณาธิการ. รายงานการสำรวจแหล่งโบราณคดี โบราณสถาน ในเขตจังหวัดอำนาจเจริญ. สำนักศิลปากรที่ ๑๑ อุบลราชธานี, ๒๕๕๙. หน้า ๑๒๗ . สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี. โบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนแล้วในพื้นที่สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี (เล่ม ๑ : จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดยโสธร จังหวัดมุกดาหาร). อุบลราชธานี : ห้างหุ้นส่วนจำกัด อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์, ๒๕๖๓. ข้อมูล : กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี


          นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีรับมอบเงินสนับสนุนโครงการ บูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์โบราณสถานวัดธาตุเมืองพิณ อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู ระหว่างกรมศิลปากร และบริษัท น้ำตาล เอราวัณ จำกัด จำนวน ๓,๘๘๖,๑๙๙ บาท โดยมีนายจตุภัทร์ ตั้งคารวคุณ พล.ต.อ.ดร.ชิดชัย วรรณสถิตย์ พร้อมคณะผู้บริหารบริษัท น้ำตาล เอราวัณ จำกัด และบริษัทในเครือ เข้าร่วมในพิธี ณ ห้องประชุมชั้น ๕ กรมศิลปากร (อาคารเทเวศร์) เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๕          อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า การสนับสนุนงบประมาณในโครงการบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์โบราณสถานวัดธาตุเมืองพิณ จังหวัดหนองบัวลำภู ของบริษัท น้ำตาล เอราวัณ จำกัด ในครั้งนี้ ถือเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ในการร่วมกันอนุรักษ์และพัฒนามรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ซึ่งพระธาตุเมืองพิณเป็นพระธาตุสำคัญของจังหวัดหนองบัวลำภู สร้างในสมัยวัฒนธรรมล้านช้าง ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒ มีการพบศิลาจารึก กล่าวถึงหลักฐานความเป็นมาของการก่อสร้าง ตรงกับสมัยพระยาสุริยวงศาธรรมิกราชแห่งอาณาจักรล้านช้างและรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ขณะนี้อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น จึงได้จัดทำรูปแบบและแนวทางการบูรณะเสริมความมั่นคงแข็งแรงอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบเพื่อให้โบราณสถานดังกล่าวกลับมามีความโดดเด่น สวยงามต่อไป โดยจะดำเนินการให้แล้วเสร็จในช่วงต้นปี ๒๕๖๖          โบราณสถานวัดธาตุเมืองพิณ อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู ขึ้นทะเบียนโบราณสถานและ กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙ ตอนพิเศษ ๑๒๙ง ลงวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕





-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : ปี้ในบ่อนเบี้ยหัวเมือง -- บ่อนเบี้ย คือสถานที่สำหรับเล่นการพนันชนิดหนึ่งที่เรียกว่าถั่วโป หรือกำถั่ว  สันนิษฐานว่าเริ่มเกิดขึ้นในชุมชนที่มีชาวจีนอาศัยอยู่มาก เนื่องจากเป็นการพนันที่ชาวจีนในอดีตนิยมเล่นกัน และมีการเล่นกันมาอย่างน้อยตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว การเล่นถั่วโปนั้นสามารถเล่นได้เฉพาะผู้ที่ทางการอนุญาตแล้วเท่านั้น โดยแต่เดิมมีเฉพาะชาวจีนที่ได้รับอนุญาตให้เล่นถั่วโป ต่อมาจึงอนุญาตให้คนไทยเล่นได้ โดยผู้ที่ได้รับอนุญาตต้องเสียเงินเข้าท้องพระคลัง เรียกว่า “อากรบ่อนเบี้ย” ในสมัยรัชกาลที่ 2 รัฐมีรายได้จากอากรบ่อนเบี้ยมากขึ้น จึงมีการกำหนดพื้นที่ทั้งในกรุงเทพฯ และตามหัวเมืองต่างๆ ให้เป็นแขวงสำหรับทำอากร โดยมีนายอากรบ่อนเบี้ยเป็นผู้ได้รับอนุญาตจากทางการให้ผูกขาดการเก็บอากรบ่อนเบี้ยในแต่ละแขวงหรือหัวเมือง นายอากรบ่อนเบี้ยนี้จะได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่ขุนพัฒนสมบัติ หรือขุนอื่นๆ ที่ขึ้นต้นว่า “พัฒน-” ประชาชนโดยทั่วไปจึงเรียกนายอากรว่า“ขุนพัฒน์” นอกจากการเปิดบ่อนและรับผูกขาดอากรบ่อนเบี้ยแล้ว นายอากรบ่อนเบี้ยยังได้ผลิตปี้ไว้สำหรับใช้แทนคะแนนสำหรับเล่นเบี้ยในบ่อน ปี้ในโรงบ่อนมีทั้งที่ทำจากกระเบื้องและโลหะ ซึ่งปี้ของนายอากรแต่ละคนจะมีลวดลายแตกต่างกัน การใช้ปี้นั้น เมื่อแรกยังคงมีการใช้กันเฉพาะในโรงบ่อน แต่ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เกิดสภาวะเงินปลีกในท้องตลาดขาดแคลน ประชาชนจึงนำปี้ในโรงบ่อนมาใช้จ่ายซื้อขายสินค้าในชีวิตประจำวันแทนเงินปลีก ภายหลังเมื่อทางการสั่งผลิตเหรียญกษาปณ์ทองแดงมาจากต่างประเทศเพื่อแก้ปัญหาเงินปลีกขาดแคลนในปี พ.ศ. 2418 แล้ว ปัญหาเงินปลีกขาดแคลนจึงสงบลง แต่การใช้จ่ายปี้นอกโรงบ่อนยังคงมีอยู่ต่อมา จนกรมสรรพากรต้องออกประกาศข้อบังคับสำหรับนายอากรบ่อนเบี้ย ลงวันที่ 1 ตุลาคม ร.ศ. 110 (พ.ศ. 2434) โดยมีข้อหนึ่งระบุว่า ห้ามมิให้นายอากรบ่อนเบี้ยนำปี้มาให้นักพนันใช้ทั้งในและนอกบ่อน รวมถึงห้ามใช้ปี้ซื้อขายสินค้าต่างๆ ซึ่งแม้ว่าทางการจะมีการออกประกาศมาแล้วก็ตาม แต่ยังคงมีการใช้ปี้โรงบ่อนอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศอยู่ ดังตัวอย่างจากเอกสารจดหมายเหตุชุดกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เรื่อง บ่อนเบี้ยมณฑลฝ่ายเหนือ ความดังนี้ เมื่อเดือนตุลาคม ร.ศ. 111 (พ.ศ. 2435) ขุนศรีสมบัติ เจ้าพนักงานกระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้รายงานว่า ขุนพัฒน์เจ้าของบ่อนเบี้ยตามหัวเมืองต่างๆ ได้แก่เมืองชัยนาท เมืองสวรรคโลก เมืองตาก และเมืองกำแพงเพชรได้ใช้ปี้แทนเงินแพร่หลายออกไป ขุนศรีสมบัติได้รวบรวมปี้ตามหัวเมืองในชนิดราคาต่างๆ ได้จำนวน 27 อัน ซึ่งได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงษ์ รองเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และเนื่องจากเรื่องนี้เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงษ์ จึงทรงขอให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยทำการสอบสวนว่า ผู้ว่าราชการเมืองและกรมการเมืองปล่อยปะละเลยให้เกิดการกระทำผิดหรือไม่ ในเวลาต่อมา กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ได้มีลายพระหัตถ์ลงวันที่ 5 มกราคม ร.ศ. 111 (นับอย่างปฏิทินปัจจุบันคือ พ.ศ. 2436) กราบทูลกรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงษ์ ความว่า ได้ทรงไต่สวนแล้วพบว่า นายอากรบ่อนเบี้ยตามหัวเมืองนั้นใช้ปี้จริง แต่เป็นการใช้แทนเค้า (หมายถึงวัตถุที่ใช้แทนตัวเงิน – ผู้เขียน) ในบ่อน เนื่องจากการใช้เงินปลีกทองแดงแทนเค้านั้น เวลาเล่นเบี้ยนายอากรจะทำการเกี่ยวขอหัวเบี้ยไม่ค่อยสะดวก เพราะเงินปลีกเป็นเหรียญทองแดงที่มีลักษณะแบน การใช้ปี้จะเกี่ยวได้สะดวกกว่า ทั้งนี้เมื่อถึงเวลาเลิกเล่นเบี้ยแล้วก็ให้ผู้เล่นนำปี้มาแลกคืนเป็นเงินปลีกกลับไป ไม่ได้เป็นการตั้งใจใช้ปี้ในการใช้สอยแทนเงินปลีกตามท้องตลาดทั่วไปโดยตรง พระองค์จึงทรงมีพระดำริว่าไม่ควรจะให้เป็นความผิดหนักหนานัก และได้รับสั่งให้เก็บปี้เข้าถุงประทับตรารวมไว้ให้หมด แล้วนำเงินเฟื้องเงินสลึงติดขี้ผึ้งมาใช้แทนปี้ ส่วนตัวผู้ว่าราชการเมืองที่ปล่อยให้นายอากรใช้ปี้นั้น นับว่ามีความผิด โดยทางกระทรวงมหาดไทยจะตัดสินโทษเทียบตามที่กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงษ์ตัดสินโทษของนายอากรต่อไป ซึ่งต่อมากรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงษ์ทรงมีพระดำริว่า กรณีนายอากรบ่อนเบี้ยควรกำหนดภาคทัณฑ์ไว้ครั้งหนึ่งก่อน ต่อไปอย่าคิดใช้ปี้อีก ส่วนผู้ว่าราชการเมืองก็ควรภาคทัณฑ์โทษไว้ให้เอาใจใส่ตรวจตราการกระทำผิดกฎหมายมากกว่านี้เช่นกัน ส่วนเรื่องความลำบากของนายอากรในการเกี่ยวขอหัวเบี้ยนั้น ทางกระทรวงพระคลังมหาสมบัติจะจัดปี้หลวงจำหน่ายให้นายอากรนำไปใช้เป็นเค้าในปี ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) ต่อไปผู้เขียน : นายธัชพงศ์ พัตรสงวน (นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารอ้างอิง:1. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ร.5 ค 14.1 ค/2 เรื่อง บ่อนเบี้ยมณฑลฝ่ายเหนือ. [6 พ.ย. – 25 ม.ค. 111].2. “ข้อบังคับสำหรับนายอากรบ่อนเบี้ย.” (ร.ศ. 110). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 8, ตอนที่ 40 (3 มกราคม): 364-368.3. เฉลิม ยงบุญเกิด. (2514). ปี้โรงบ่อน. พระนคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดศิวพร. (พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายสันต์ รัศมิทัต 1 พฤศจิกายน 2514).4. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (2463). ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 17 ตำนานเรื่องเลิกหวยแลบ่อนเบี้ยในกรุงสยาม. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร. (พิมพ์ในงานศพนางยิ้ม มารดาคุณหญิงอินทรมนตรี ปีวอก พ.ศ. 2463). 5. นวรัตน์ เลขะกุล. (2543). เบี้ย บาท กษาปณ์ แบงก์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สารคดี.6. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน. (2563). ปี้ เบี้ยบ่อน. เข้าถึงเมื่อ 18 กรกฎาคม 2565. เข้าถึงได้จาก  https://www.facebook.com/.../pfbid02csKoR9hMnZAbR5j2qUCMW...#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ





ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           61/2ประเภทวัสดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                               28 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


          กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “เปิดโฉมอาคารจัดแสดงเครื่องทองอยุธยา” วิทยากรโดย นายสมพจน์ สุขาบูลย์ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา และนางสาวณัฐพร แก่นสน ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ดำเนินรายการโดย นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๙ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น.            ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           62/4ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              68 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 152/4เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ฎีกาพาหุ (ฎีกาพาหุ) ชบ.บ 180/1คเอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


แนะนำแหล่งโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียน จำนวน 20 แห่ง ในจังหวัดตรัง


ชื่อเรื่อง                     โคลงดั้นเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยผู้แต่ง                       พระยาตรังประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   วรรณคดีภาษาอื่นๆเลขหมู่                      895.9113 ต153คสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากรปีที่พิมพ์                    2512ลักษณะวัสดุ               154 หน้า หัวเรื่อง                     กวีนิพนธ์ไทยภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกหนังสือเล่มนี้กล่าวถึงโคลงแลกลอนพระยาตรังแต่งตั้งแต่ในรัชกาลที่ 1 มาจนถึงรัชกาลที่ 2 รัชกาลที่ 3 ปรากฏอยู่หลายเรื่อง คือ โคลงกระทู้ของเก่าบางบทเรื่อง 1 โคลงนิราสเรื่อง 1 มหาชาติกัณฑ์มันทรีกัณฑ์ 1 ในเพลงยาวความเก่าก็มีอีกหลายบท


Messenger