ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,643 รายการ


ชื่อเรื่อง                                สังฮอมธาตุ (สังฮอมธาตุ) สพ.บ.                                  204/2ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           50 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 58.5 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ชาดก                                           เทศน์มหาชาติ                                           คาถาพัน บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องรัก ได้รับบริจาคมาจากวัดกกม่วง ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                                มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาดก)ชาตกฎฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (ทานขันธ์-นครกัณฑ์)  สพ.บ.                                  250/13กประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           44 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา--การศึกษาและการสอน                                           ชาดก บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ-ล่องรัก  ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


#เครื่องมือเครื่องใช้ในภาคเหนือก๋าวี หรือ วีก๋าวี หรือ วี ทำจากไม้ไผ่ สานเป็นรูปร่างคล้ายพัดแต่ขนาดใหญ่กว่าพัด วิธีใช้ คือ ชาวนาจะเลือกระยะเวลาที่ลมพัดดูทิศทางลมก่อนใช้ มีผู้ใช้พลั่วตักข้าวเปลือกสาดขึ้นในอากาศแล้วให้คนคนที่ถือก๋าวีโบกพัด เมล็ดข้าวที่ดีและมีน้ำหนักจะตกลงสู่พื้น ส่วนเศษผงต่างๆ และขี้ลีบ (เมล็ดข้าวที่ลีบหรือไม่มีคุณภาพ) จะลอยไปตามแรงลม ปัจจุบันมีเครื่องจักรที่ใช้แทนแรงคนคือเครื่องวีแบบใบพัดหมุน ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่ ชุดภาพส่วนบุคคลของนายบุญเสริม สาตราภัยอ้างอิงสนม ครุฑเมือง. ๒๕๓๔. สารานุกรมของใช้พื้นบ้านไทยในอดีต. กรุงเทพฯ : บริษัท ต้นอ้อ จำกัด.


เลขทะเบียน : นพ.บ.181/5กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  34 หน้า ; 4.5 x 48 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 103 (91-100) ผูก 5ก (2565)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันธ์ขันธ์ --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


อานิสงส์แจง (อานิสงส์แจง)  ชบ.บ.63/1-1  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง                                มิลินฺทปญฺหาสงฺเขป (มิลินทปัญหา) สพ.บ.                                  322/7 ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลาน หมวดหมู่                               พุทธศาสนา ลักษณะวัสดุ                           52 หน้า กว้าง 4.7 ซม. ยาว 56.9 ซม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                            ชาดก                       บทคัดย่อ/บันทึก           เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.284/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 56 หน้า ; 4.5 x 55 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 120  (253-257) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : เอกนิปาต--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



ชุดศิลปินหญิง วันอาทิตย์ที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๕เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ โรงละครแห่งชาติกำกับการแสดงโดย ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ บัตรราคา ๒๐๐, ๑๕๐, ๑๐๐ บาท เริ่มจำหน่ายบัตรตั้งแต่วันนี้ ณ ห้องจำหน่ายบัตร โรงละครแห่งชาติ (เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๕.๓๐ น.) และจำหน่ายบัตรออนไลน์ที่ https://ntt.finearts.go.th (เปิดด้วยโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ อาทิ Safari, Google Chrome, Firefox, Internet Explorer)***ท่านที่ซื้อบัตรชมการแสดงทั้งสองรอบจะได้รับของที่ระลึกสุดพิเศษจากศิลปิน กรมศิลปากรหมายเหตุ บัตรชมการแสดงที่ซื้อไปแล้วยังสามารถใช้ได้ดังเดิม หรือจะนำมาเปลี่ยนที่ได้ในวันแสดง หากประสงค์จะคืนบัตร สามารถคืนและรับเงิน ณ ห้องจำหน่ายบัตร โรงละครแห่งชาติ ในวันจันทร์ที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๖๕ - วันศุกร์ที่ ๔ มีนาคม ๒๕๖๕ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ ๐ ๒๒๒๑ ๐๑๗๑ #การจัดการแสดงอยู่ภายใต้มาตรการป้องกันโรคตามแผนมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัยและมาตรการที่ทางราชการกำหนด


         วันพฤหัสบดีที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๓๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดี กรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการหนังสือหายากของหอสมุดแห่งชาติ เรื่อง “เยี่ยมเยือนเมืองสยาม ย้อนเวลาไปกับหนังสือหายาก” ณ ห้องวชิรญาณ ๒ - ๓ อาคาร ๒ ชั้น ๑ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ผู้สนใจสามารถ เข้าชมนิทรรศการได้ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕          อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า หนังสือหายากของหอสมุดแห่งชาติ มีลักษณะไม่เหมือนกับหนังสือ หายากทั่วไป หนังสือส่วนใหญ่เป็นสมบัติส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ และ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ได้พระราชทาน ประทาน และบริจาคให้หอพระสมุดวชิรญาณ รวมทั้งหนังสือที่หอพระสมุด วชิรญาณจัดพิมพ์และจัดหาให้บริการ หนังสือเหล่านี้แสดงให้เห็นวิวัฒนาการของภาษาและการพิมพ์ บางเล่มมีการผลิตอย่างประณีตสวยงามด้วยวัสดุอันมีค่า บางเล่มมีเนื้อหาเกี่ยวกับวิทยาการต่าง ๆ ในอดีต ซึ่งไม่สามารถหาได้ในหนังสือปัจจุบัน และที่สำคัญที่สุดคือได้แสดงถึงประวัติศาสตร์ วิวัฒนาการด้านการเมือง การปกครอง พระราชกรณียกิจ วัฒนธรรมประเพณี บันทึกการเดินทางของชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย สนธิสัญญาต่าง ๆ บันทึกการเดินทางท่องเที่ยวเยี่ยมเยือนเมืองสยามของพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนประชาชนทั่วไป ซึ่งเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ของชาติไทยที่สำคัญ การจัดแสดงนิทรรศการในครั้งนี้จะทำให้ ผู้เข้าชมนิทรรศการได้รับความรู้และรู้สึกถึงคุณค่าของประวัติศาสตร์ไทย สังคมไทยหลายยุคหลายสมัย และคุณค่าหนังสือหายากของหอสมุดแห่งชาติที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน          สำนักหอสมุดแห่งชาติ จัดนิทรรศการ เรื่อง “เยี่ยมเยือนเมืองสยาม ย้อนเวลาไปกับหนังสือหายาก” แบ่งการจัดแสดงออกเป็น ๓ ส่วน ได้แก่          - ส่วนที่ ๑ “หนังสือหา (ไม่) ยาก” จัดแสดงเกี่ยวกับข้อมูลหนังสือหายากของหอสมุดแห่งชาติ คุณค่าและความสำคัญ ลักษณะหนังสือหายาก ๑๒ ประเภท พร้อมตัวอย่างหนังสือประกอบ          - ส่วนที่ ๒“เยี่ยมเยือนเมืองสยาม” เนื้อหาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเมืองสยาม ประวัติความเป็นมาของการท่องเที่ยว รูปแบบการเดินทางท่องเที่ยว ประโยชน์ของการเที่ยว การเสด็จประพาสในรัชสมัยต่าง ๆ การท่องเที่ยวทั่วไทย โดยผ่านหนังสือหายาก จัดแสดงหนังสือพร้อมภาพการเดินทางและสถานที่ท่องเที่ยวประกอบ          - ส่วนที่ ๓ “เพราะหนังสือจึงรังสรรค์” การนำหนังสือหายากมารังสรรค์และต่อยอด โดยนำไปพัฒนาจัดทำเป็นของที่ระลึกในโอกาสต่าง ๆ ได้แก่ การพิมพ์หนังสือ (Reprint) ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ต้นฉบับและสืบทอดอายุหนังสือให้คงอยู่ต่อไป การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ โดยนำลักษณะเด่นของหนังสือหายากมาสร้างสรรค์เป็นผลงานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เข็มกลัด แฟ้มใส่เอกสาร ไปรษณียบัตร และการส่งเสริมการเรียนรู้ ด้วยการนำเนื้อหาในหนังสือมาประยุกต์เป็นเกมส่งเสริมการเรียนรู้


บทความวิชาการจดหมายเหตุเรื่อง ภาพเก่าเล่าอดีต : ย้อนอดีต...วัดบวรนิเวศวิหารผู้แต่ง : บุศยารัตน์ คู่เทียม ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจดหมายเหตุ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากรตีพิมพ์ลงนิตยสารศิลปากร ปีที่ ๔๙ ฉบับที่ ๕ (เดือนกันยายน-ตุลาคม ๒๕๔๙)หน้า ๗๗-๘๙


ตรีบูรแห่งเมืองสุโขทัย.คูเมือง-กำแพงเมืองสุโขทัยในปัจจุบันปรากฏคูน้ำ-คันดินทั้งหมดสามชั้น มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ทั้งนี้ ในจารึกหลักที่ 1 (จารึกพ่อขุนรามคำแหง) ได้กล่าวถึงเมืองสุโขทัยว่า “...รอบเมืองสุโขทัยนี้ ตรีบูรได้สามพันสี่ร้อยวา...” ทำให้แต่เดิมนักวิชาการส่วนใหญ่สันนิษฐานว่า คูเมือง-กำแพงเมืองสุโขทัยนี้ มีสามชั้นมาตั้งแต่สมัยแรกเริ่มหรือในสมัยของพ่อขุนรามคำแหงแล้ว ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะของคูเมือง-กำแพงเมืองที่ยังปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน ต่อมาได้มีการดำเนินงานทางโบราณคดีในส่วนของคูเมือง ป้อมประตูเมือง และกำแพงเมือง ผลจากการดำเนินงานทำให้ทราบว่า คูเมือง-กำแพงเมืองเหล่านี้ ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นพร้อมกันในคราวเดียว คือ.- คูเมือง-กำแพงเมืองชั้นใน : จากหลักฐานที่พบทำให้สันนิษฐานได้ว่า กำแพงเมืองชั้นใน คูเมืองชั้นใน และประตูเมืองทั้ง 4 สร้างในช่วงสุโขทัยตอนต้น-กลาง เพื่อเป็นการกำหนดขอบเขตพื้นที่และแสดงถึงความเป็นเมือง ต่อมาได้มีการสร้างเสริมบ้างในระยะหลังเพื่อเสริมความมั่นคงแข็งแรงของกำแพง .- กำแพงเมืองชั้นกลาง – กำแพงเมืองชั้นนอก : พิจารณาจากหลักฐานที่พบทำให้สันนิษฐานได้ว่า กำแพงเมืองชั้นกลางและชั้นนอกก่อสร้างในช่วงที่สุโขทัยอยู่ภายใต้อำนาจของอยุธยาแล้ว ซึ่งได้พบการสร้างป้อมประตูเมืองของกำแพงเมืองชั้นกลางทับลงไปบนวัดที่เคยมีอยู่ก่อนแล้ว พร้อมทั้งขุดคูเมืองชั้นกลางและชั้นนอก และยังพบเศษภาชนะดินเผาในสมัยราชวงศ์หมิง ซึ่งกำหนดอายุได้ราวพุทธศตวรรษที่ 20 - 22. แล้วเหตุใดในจารึกหลักที่ 1 จึงกล่าวว่า “...รอบเมืองสุโขทัยนี้ ตรีบูรได้สามพันสี่ร้อยวา...” ?.นักวิชาการสันนิษฐานว่า คำว่า “ตรีบูร” นี้ ไม่ได้หมายความถึงกำแพงเมืองสามชั้นอย่างที่เข้าใจ เนื่องด้วย ไม่เพียงแต่เมืองสุโขทัยเท่านั้นที่ถูกกล่าวถึงว่ามี “ตรีบูร” แต่ยังมีเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเป็นเมืองที่สร้างร่วมสมัยกับเมืองสุโขทัยตอนต้น โดยในศิลาจารึกวัดเชียงมั่นได้กล่าวถึงการสร้างเมืองเชียงใหม่ว่า “...พญามังรายเจ้าแล พญางำเมือง พญาร่วง ทั้งสามตนตั้งหอนอนในที่ชัยภูมิราชมนเทียน ขุดคือ ก่อตรีบูรทั้งสี่ด้าน แลก่อพระเจดีย์...” ซึ่งคูเมือง-กำแพงเมืองเชียงใหม่ที่ปรากฏร่องรอยให้เห็นในปัจจุบันนั้น เป็นกำแพงก่ออิฐขนาบด้วยคูเมืองในผังสี่เหลี่ยม ยกเว้นในส่วนทางด้านทิศใต้และทิศตะวันออกได้ปรากฏแนวกำแพงดินอีกหนึ่งชั้น โดยจากข้อมูลที่พบทำให้สันนิษฐานได้ว่า กำแพงเมืองเชียงใหม่ส่วนที่สร้างในสมัยพญามังรายนั้นคือกำแพงเมือง-คูเมืองในผังสี่เหลี่ยม ในส่วนของแนวกำแพงดินและคูเมืองที่ล้อมรอบทางด้านทิศใต้และทิศตะวันออกนั้น สันนิษฐานว่ามีการขยายเมืองขึ้นในช่วงที่เกิดสงครามระหว่างเชียงใหม่และอยุธยา จากร่องรอยและหลักฐานต่างๆที่เหลืออยู่ ไม่ปรากฏว่าเมืองเชียงใหม่มีกำแพงเมืองสามชั้นแต่อย่างใด .นอกจากนี้ ใน “กำสรวลสมุทร” ยังพบคำว่า ตรีบูร ที่กล่าวว่าถึงอยุธยาว่า “อยุธยาไพโรชใต้ ตรีบูร” ซึ่งไม่ปรากฏว่า กำแพงเมืองอยุธยานั้นมีสามชั้นแต่อย่างใดนักวิชาการจึงตั้งข้อสันนิษฐานว่า “ตรี” นี้อาจมาจากภาษาทมิฬคำว่า “ติริ” มีความหมายตรงกับคำว่า “ศรี” แปลว่า กำแพงที่ดีงามมั่นคงแข็งแรง นอกจากนี้ยังมีข้อสันนิษฐานว่าอาจหมายถึง ปราการที่แข็งแกร่งทั้งสาม คือ กำแพงวิเศษที่เกิดขึ้นจากการหลอมรวมปราการที่แข็งแกร่งทั้งสามเข้าด้วยกัน (กำแพงบนโลก กำแพงในชั้นอากาศ และกำแพงในชั้นสวรรค์) มีความหมายในเชิงสัญลักษณ์ว่า เป็นกำแพงที่ไม่อาจทำลายได้  .เอกสารอ้างอิงกรมศิลปากร. กองโบราณคดี. การขุดค้นทางโบราณคดีในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. กรุงเทพฯ : บริษัท วิคตอรี่เพาเวอร์พอยท์ จำกัด, 2531.คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. เมืองและแหล่งชุมชนโบราณในล้านนา. กรุงเทพฯ : หจก.ไอเดีย สแควร์, 2539.คณะอนุกรรมการพิจารณาจารึกเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย ในคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย กรมศิลปากร. จารึกล้านนาภาค 2 เล่ม 1 จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551.ธนิต อยู่โพธิ์. ประวัติและโคลงกำสรวลศรีปราชญ์ พร้อมด้วยบันทึกสอบทานและหมายเหตุ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายเดือนลอย บุนนาค. พิมพ์ครั้งที่ 3. 2511.พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. ฟื้นฝอยหาตะเข็บ. กรุงเทพฯ : มติชน, 2553.วินัย พงศ์ศรีเพียร. สุโขทัยคดี ประวัติศาสตร์ จารึกศึกษา และนิรุกติประวัติ. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2563.



จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส.  กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ ฉบับกรุงธนบุรี กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ และ          วินิจฉัยเรื่องกฤษณาสอนน้อง.  กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2516.          กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ มีด้วยกัน 2 ฉบับ คือ ฉบับกรุงธนบุรี และฉบับพระนิพนธ์สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส สำหรับกฤษณาสอนน้องคำฉันท์ ฉบับกรุงธนบุรี แต่งโดยพระยาสุภาวดี ผู้ช่วยราชการในกรุงนครศรีธรรมราช และพระภิกษุชื่ออินท์ โดยพระยาสุภาวดีเป็นผู้แต่งเริ่มต้นก่อน แล้วจึงอาราธนาพระภิกษุชื่ออินท์ให้ช่วยแต่งต่อ ส่วนกฤษณาสอนน้องคำฉันท์ ฉบับพระนิพนธ์สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส นั้น ได้ทรงนิพนธ์ขึ้นสำหรับถวายพระบาทสมเด็จฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีเนื้อความเป็นโอวาทานุสาสนีสำหรับสตรีจะพึงปฏิบัติต่อสามี


Messenger