ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,399 รายการ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ขอเชิญร่วมกิจกรรมพิเศษ "แต่งใต้ไฉไล2024" ชวนมาแต่งตัวเที่ยวงานด้วยชุดพื้นถิ่นกลิ่นใต้ให้เฉี่ยวจนต้องเหลียวหลัง ไม่ว่าจะเป็นชุดกี่เพ้าลุคลูกสาวชาวจีนสุดแซ่บ จะนุ่งโจงห่มสไบในลุคสาวมณฑลนครศรีฯสุดหวาน หรือจะสะบัดปาเต๊ะแต่งลุคสาวมลายูสุดเฟี้ยว เราก็พร้อมเปิดรันเวย์ให้คุณได้เฉิดฉาย พร้อมลุ้นรับรางวัลสุดพิเศษจากสายการบิน Airasia และ Laguna Grand Hotel & Spa
กติกาการร่วมสนุก
1.แต่งกายด้วยชุดพื้นถิ่นใต้ในสไตล์ของตัวเองเที่ยวงาน Music and Night at the Museum
2.โพสต์ลง Facebook พร้อมตั้งค่าสาธารณะ / โพสต์ผ่าน Facebook พร้อมตั้งค่าสาธารณะ
3.ติด #แต่งใต้ไฉไล2024 #musicandnightatthemuseum
4.ตัดสินจากจำนวนการกดถูกใจ
5.นับคะแนนถึงวันที่ 5 มีนาคม 2567 เวลา 23.59 น.
6.ประกาศผลวันที่ 6 มีนาคม 2567 เวลา 10.00 น. ทางเฟสบุ๊ก เพจ Songkhla National Museum พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา
* ทั้งนี้ การตัดสินของผู้จัดงานถือเป็นการสิ้นสุด*
ชิงรางวัล
1.ตั๋วเครื่องบินไป-กลับ เส้นทางหาดใหญ่-เชียงใหม่ จากสายการบิน Airasia จำนวน 1 รางวัล
2.ห้องพักพร้อมอาหารเช้า จาก Laguna Grand Hotel & Spa จำนวน 3 รางวัล
กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งในงาน Music and Night at the Museum จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 - 2 มีนาคม 2567 เวลา 17.00 - 21.00 น. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ขอเชิญชวนทุกท่านไปเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์และร่วมกิจกรรมต่างๆ แล้วการมาเที่ยวพิพิธภัณฑ์ครั้งนี้จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป สามารถติดตามรายละเอียดกิจกรรมอื่น ๆ ได้ทางเฟสบุ๊ก เพจ Songkhla National Museum : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา
- ขอบคุณรางวัลจากสายการบิน Airasia และโรงแรม Laguna Grand Hotel & Spa Songkhla
- ขอขอบคุณภาพสวย ๆ จากแบรนด์ Banong บานง
เนินอรพิม
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของปราสาทพนมวัน เป็นอาคารที่มีฐานบัวก่อด้วยศิลาแลงเป็นกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า อายุประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๖ จากลักษณะการใช้งานของอาคารนี้อาจเป็นอาคารที่เรียกว่า "พลับพลา" ซึ่งเป็นที่พักเตรียมพระองค์สำหรับกษัตริย์ก่อนที่จะเสด็จไปสักการะรูปเคารพที่อยู่ภายในปราสาทพนมวัน
วันฉัตรมงคลวันฉัตรมงคลตรงกับวันที่ ๔ พฤษภาคมเป็นวันที่รำลึกถึงพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๑๐ แห่งราชวงศ์จักรี ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนั้นว่า “เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป”
ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่ม 19 จังหวัดตราด
ผู้แต่ง : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร
ต้นฉบับอยู่ที่ : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี (ห้องหนังสือกรมศิลปากร)
ผู้พิมพ์ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2556
รูปแบบ : PDF
ภาษา : ไทย
เลขทะเบียน : น. 56 บ. 69271 จบ. (ร)
เลขหมู่ : 294.3135 ป119 ล. 19
สาระสังเขป : หนังสือจัดพิมพ์ในโอกาสกรมศิลปากรถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ณ วัดโยธานิมิต จังหวัดตราด เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 เนื้อหาว่าด้วยเรื่องวัดโยธานิมิต รวบรวมประวัติความเป็นมาของจังหวัดตราด รวมถึงสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร แหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ เทศกาลงานประเพณี วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวตราด ตลอดจนข้อมูลภารกิจของกรมศิลปากรในเขตพื้นที่จังหวัดตราด
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ขอเชิญชมนิทรรศการ “Blending Souls : Indonesia – Thailand Painting Exhibition” นิทรรศการความร่วมมือประจำเดือนตุลาคม ระหว่างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป กรมศิลปากร และสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอินโดนีเซียประจำประเทศไทย
นิทรรศการ “Blending Souls : Indonesia – Thailand Painting Exhibition” เป็นนิทรรศการที่จัดแสดงผลงานจิตรกรรมของศิลปินที่มีชื่อเสียงของทั้งสองประเทศ โดยในปีนี้มีศิลปินชาวอินโดนีเซียจำนวน 12 คน นำภาพจิตรกรรมหลากหลายเทคนิคมาร่วมแสดงผลงานกับศิลปินไทยจำนวน 12 คน เช่น ภานุพงศ์ คงเย็น, ปานพรรณ ยอดมณี, สมโภชน์ สิงห์ทอง, สุชาติ วงษ์ทอง, สมศักดิ์ เชาวน์ธาดาพงศ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปี 2560 โดยในนิทรรศการครั้งนี้มีผลงานที่นำมาจัดแสดงกว่า 40 ชิ้น จัดแสดงระหว่างวันที่ 4 – 30 ตุลาคม 2567 ณ อาคารนิทรรศการ 6 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป เปิดให้เข้าชมวันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา 9.00 – 16.00 น. (หยุดวันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ค่าเข้าชม ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 200 บาท นักเรียน นักศึกษา ผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และนักบวชทุกศาสนา เข้าชมฟรี โดยจะมีพิธีเปิดนิทรรศการวันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม 2567 เวลา 14.00 น.
“Blending Souls : Indonesia – Thailand Painting Exhibition”
Exhibition dates 4th - 30th October 2024 : 9 AM. - 4 PM.
Closed on Monday - Tuesday and National holidays.
At Building 6, The National Gallery of Thailand
Opening Reception 14th October 2024 : 2 PM.
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม Painting Workshop with Indonesian Artists ประกอบนิทรรศการ “Blending Souls : Indonesia – Thailand Painting Exhibition” โดยได้รับเกียรติจากศิลปินชาวอินโดนีเซียจำนวน 10 ท่านมาร่วมสอนการทำกิจกรรม workshop อย่างใกล้ชิด งานนี้จะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม 2567 เวลา 10.00 – 12.00 น. ณ ห้องอเนกประสงค์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป *รับจำนวนจำกัดเพียง 50 ท่านเท่านั้น* ผู้สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรมสามารถสแกนคิวอาร์โค้ดจากโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์หรือกด https://me-qr.com/ZlH1axSR สอบถามหรือติดตามข่าวสารกิจกรรมต่าง ๆ ได้ทาง Facebook : The National Gallery of Thailand
๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๑ รายการปันฝันปันยิ้ม ออกอากาศทางช่อง ๕ ได้บันทึกรายการที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี โดยมีนางสุมลฑริกาญจณ์ มายะรังษี หัวหน้าหน่วยงาน เป็นผู้บรรยายและให้ความรู้แก่เด็ก ๆ ที่ร่วมรายการ
สมาคมอิโคโมสไทย ขอเชิญร่วมการเสวนาทางวิชาการ หัวข้อ "(หยุด) รื้อ โบราณสถาน ศาลฎีกา (....)" โดยวิทยากร ประกอบด้วย นายสหวัฒน์ แน่นหนา อธิบดีกรมศิลปากร นายบวรเวท รุ่งรุจี ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม นางภารนี สวัสดิรักษ์ สมาคมนักผังเมืองไทย นางปองขวัญ สุขวัฒนา ลาซูส สมาคมสถาปนิกสยามฯ นางสาวมาลีภรณ์ คุ้มเกษม หัวหน้ากลุ่มนิติการ กรมศิลปากร ผศ.ดร.พีรศรี โพวาทอง คณะสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันเสาร์ที่ ๕ มกราคม ๒๕๕๖ เวลา ๑๓.๓๐ น. ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมฟังได้ ติดต่อสำรองที่นั่งได้ที่ ฝ่ายเลขานุการ สมาคมอิโคโสไทย โทร. ๐ ๒๒๘๐ ๑๗๗๐
เว็ปไซต์หอจดหมายเหตุแห่งชาติจันทบุรี : www.finearts.go.th/12archives
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี
ก่อตั้งขึ้นตามประกาศกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง จัดตั้งหน่วยงานจดหมายเหตุแห่งชาติในส่วนภูมิภาค ลงวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2533 ลงนามในคำสั่งโดย นายสุวิชญ์ รัศมิภูติ ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากรในสมัยนั้น จากเนื้อหาสาระของประกาศดังกล่าวให้มีการจัดตั้งหอจดหมายเหตุแห่งชาติสาขาขึ้น 12 สาขา ซึ่งเป็นการจัดตั้งสาขาให้เป็นไปตามการแบ่งเขตการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ออกเป็น 12 เขตการศึกษา หน่วยจดหมายเหตุแห่งชาติที่ 12 จันทบุรี จึงจัดตั้งขึ้นที่จันทบุรี ผู้อำนวยการกองจดหมายเหตุในสมัยนั้นคือ นายศักรินทร์ วิเศษะพันธ์ เป็นผู้ดำเนินการของบประมาณในการจัดตั้งหน่วยงานขึ้น โดยมีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานในพื้นที่หลายฝ่าย ในขณะที่ดำเนินการเรื่องที่ดินและงบประมาณในการจัดสร้าง ก็ได้ขอใช้ห้องประชุมเล็กของหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี เป็นสำนักงานชั่วคราว ในคราวเดียวกันก็ได้แต่งตั้ง นายโกสุม กองกูต หัวหน้าหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี มาช่วยปฏิบัติราชการในตำแหน่งหัวหน้าหน่วยจดหมายเหตุแห่งชาติที่ 12 จันทบุรี อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย
ในขณะเดียวกันส่วนของกรมศิลปากรเองก็ได้ดำเนินการเร่งของบประมาณในการจัดตั้งสำนักงานอย่างเป็นทางการ แต่ด้วยสภาวะเศรษฐกิจทำให้ไม่สามารถของบประมาณดำเนินการสร้างอาคารสำหรับงานจดหมายเหตุได้ จึงได้ใช้ห้องประชุมเล็กดังกล่าวเป็นที่ทำการชั่วคราว แต่เอกสารที่รับมอบจาก 8 จังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ดูแลรับผิดชอบมีปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ จึงจำเป็นต้องหาอาคารชั่วคราวที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับปริมาณเอกสารที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นในเวลาต่อมาได้ดำเนินการขอใช้อาคารของฝ่ายทรัพยากรธรณี สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดจันทบุรี ที่ปิดว่างอยู่ ซึ่งก็ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายทรัพยากรธรณีเป็นอย่างดี หน่วยจดมายเหตุแห่งชาติที่ 12 จันทบุรี จึงได้ย้ายสำนักงานชั่วคราวจากห้องประชุมเล็ก หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี มายังอาคารดังกล่าวใน วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 แต่เนื่องจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี นอกจากจะปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดเก็บการทำลายเอกสารตามระเบียบงานสารบรรณแล้ว ยังมีหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการศึกษาค้นคว้า วิจัยเอกสารของส่วนราชการในภูมิภาคและการบริหารเอกสารจดหมายเหตุ พร้อมทั้งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานจดหมายเหตุทั้งในรูปแบบการจัดกิจกรรมต่างๆ การจัดนิทรรศการให้ความรู้ รวมทั้งจัดฉายภาพยนตร์เก่าและสารคดีต่างๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับศิลปะ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต และพัฒนาการท้องถิ่นอื่นๆ อีกมาก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีอาคารที่เหมาะสมสำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับผู้เข้าใช้บริการเป็นจำนวนมากได้ จึงจำเป็นต้องขอใช้ศาลากลางจังหวัดจันทบุรีหลังเดิม ซึ่งว่างอยู่เป็นสำนักงานถาวร ได้ดำเนินการของบประมาณในการซ่อมแซมโบราณสถานแห่งนี้และพื้นที่โดยรอบให้สอดคล้องกับงานจดหมายเหตุ และได้ย้ายหน่วยงานมายังอาคารศาลากลางจังหวัดจันทบุรีหลังเดิม ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546
ปัจจุบันบริหารงานโดย นางสุมลฑริกาญจณ์ มายะรังษี หัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี
ขออนุญาตทำการค้าโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
ขั้นตอนที่ ๑ ยื่นคำขอได้ที่สถานที่ ดังนี้
๑.๑ กรณีผู้ขอมีสถานที่ทำการค้าในเขตกรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร ให้ยื่น ณ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร
๑.๒ กรณีที่ผู้ขอมีสถานที่ทำการค้าในเขตจังหวัดอื่นนอกจากข้อ ๑.๑ ให้ยื่น ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในจังหวัดนั้น หากในจังหวัดนั้นไม่มีพิพิธภัณฑ สถานแห่งชาติ ให้ยื่น ณ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแห่งจังหวัดนั้น
ขั้นตอนที่ ๒ กรอกแบบฟอร์ม ศก.๑
๒.๑ กรณีเป็นบุคคลธรรมดา
๒.๒ กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ
๒.๓ กรณีเป็นนิติบุคคล
ขั้นตอนที่ ๓ แนบเอกสารและหลักฐาน
๓.๑ กรณีเป็นบุคคลธรรมดา
(ก) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นซึ่งแทนบัตรประจำตัวประชาชนได้
(ข) สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้าน
(ค) รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวก ของผู้ขอรับใบอนุญาต ขนาด ๕ x ๖ เซนติเมตร ซึ่งถ่ายมาแล้วไม่เกินหกเดือน จำนวน ๒ รูป
(ง) แผนที่แสดงที่ตั้งสถานที่ทำการค้า
(จ) สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนพาณิชย์ ใบทะเบียนการค้า หรือใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
๓.๒ กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ
(ก) บัญชีรายชื่อและสัญชาติของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
(ข) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชนได้ ของหุ้นส่วนผู้จัดการ
(ค) สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้านของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
(ง) รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวก ของหุ้นส่วนผู้จัดการ นาด ๑ นิ้ว ซึ่งถ่ายมาแล้วไม่เกินหกเดือน จำนวน ๒ รูป
(จ) แผนที่แสดงที่ตั้งสถานที่ทำการค้า
(ฉ) สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนพาณิชย์ ใบทะเบียนการค้าหรือใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
๓.๓ กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด
(ก) หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงการจดทะเบียน พร้อมทั้งวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด(ข) บัญชีรายชื่อและสัญชาติของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน (ค) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นซึ่งแทนบัตรประจำตัวประชาชนได้ ของหุ้นส่วนผู้จัดการ(ง) สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้านของหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้จัดการ(จ) รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวก ของหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้จัดการ ขนาด ๕ x ๖ เซนติเมตร ซึ่งถ่ายมาแล้วไม่เกินหกเดือน จำนวน ๒ รูป (ฉ) แผนที่แสดงที่ตั้งสถานที่ทำการค้า(ช) สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนพาณิชย์ ใบทะเบียนการค้าหรือใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
๓.๔ กรณีเป็นบริษัทจำกัด
(ก) หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท
ชื่อวัตถุ ลูกปัดแก้วอำพันทอง
ทะเบียน ๒๗/๑๓/๒๕๕๘
อายุสมัย แรกเริ่มประวัติศาสตร์
วัสดุ(ชนิด) แก้ว
แหล่งที่พบ เป็นของกลางตามคดีอาญาเลขที่ ๑๒๒/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๗ ของสถานีตำรวจภูธรคลองท่อม อ.คลองท่อม จ.คลองท่อม สำนักศิลปากรที่ ๑๕ ภูเก็ต มอบให้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลาง เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๘
สถานที่เก็บรักษา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง
“ลูกปัดแก้วอำพันทอง”
ลูกปัดแก้วอำพันทองมีลักษณะเป็นลูกปัดทรงกลมเรียงต่อกัน ด้านนอกเป็นแก้วใส่ด้านในเป็นสีทอง ลูกปัดลักษณะนี้เรียกว่า “ลูกปัดแก้วอำพันทอง” (false gold-glass beads)
ลูกปัดแก้วอำพันทองมีที่มาจากความนิยมลูกปัดแก้วทองคำ (gold-glass bead)ซึ่งเป็นลูกปัดติดกันหลายลูกทำโดยการใช้แก้วใส ๒ ชั้นประสานกัน แก้วชั้นในมีการหุ้มแผ่นทอง (gold foil)แล้วจึงเคลือบด้วยแก้วชั้นนอก ต่อมาความนิยมในลูกปัดแก้วทองคำมีมากขึ้น ส่งผลให้มีการผลิตลูกปัดลอกเลียนแบบโดยไม่ใช้แผ่นทองหุ้มลงไป แต่ทำให้ลูกปัดมีลักษณะคล้ายสีทองหรือสีอำพันเรียกว่า “ลูกปัดแก้วอำพันทอง” ซึ่งเป็นลูกปัดที่เนื้อแก้วมีความเปราะบางและอาจแตกเป็นชั้นๆ ได้ง่าย แหล่งผลิตของลูกปัดรูปแบบนี้อยู่ที่เมืองชีราฟ (Shiraf)ประเทศอิหร่าน เบเรนิเก (Berenike)ประเทศอียิปต์ ซึ่งในประเทศอินเดียได้มีการนำเข้าลูกปัดแก้วอำพันทองในราวพุทธศตวรรษที่ ๖ – ๘
ในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบลูกปัดแก้วอำพันทองที่แหล่งโบราณคดีซูไงมัส (Sugai Mas)ประเทศมาเลเซีย แหล่งโบราณคดีทุ่งตึก (เหมืองทอง) จังหวัดพังงา แหล่งโบราณคดีแหลมโพธิ์ จังหวัดสุราษฎ์ธานี และแหล่งโบราณคดีเพิงผาทวดตาทวดยาย จังหวัดสงขลา
สำหรับลูกปัดแก้วอำพันทองชิ้นนี้พบที่แหล่งโบราณคดีคลองท่อม (ควนลูกปัด) ซึ่งเป็นเมือง- ท่าโบราณในสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ของภาคใต้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๖ – ๙ ลูกปัดแก้วอำพันทองจึงถือเป็นหลักฐานที่แสดงถึงการค้ากับต่างแดน ซึ่งลูกปัดแก้วอำพันทองคงเป็นส่วนหนึ่งของสินค้าในสมัยนั้น
เอกสารอ้างอิง
- ผุสดี รอดเจริญ, “การวิเคราะห์ลูกปัดแก้วจากเมืองโบราณสมัยทวารวดี ในภาคกลางของประเทศไทย.” (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๖.
- พรทิพย์ พันธุโกวิท และคณะ. โครงการเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์และแรกเริ่มประวัติศาสตร์ในเขตพื้นที่จังหวัดสงขลาและสตูล. กรุงเทพฯ : บริษัท บางกอกอินเฮ้า จำกัด, ๒๕๕๗.