ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,643 รายการ
สังคโลกแหล่งเตาทุเรียงเมืองเก่าสุโขทัย ตอนที่ 3 : รัชกาลที่ 6 กับการศึกษาสังคโลกแหล่งเตาทุเรียงเมืองเก่าสุโขทัย.พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นนักวิชาการไทยท่านแรกที่ได้ริเริ่มศึกษาสังคโลกสุโขทัย โดยเมื่อปี พ.ศ.2450 ครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จประพาสสำรวจโบราณสถานตามเส้นทางถนนพระร่วงที่เมือง กำแพงเพชร สุโขทัย สวรรคโลก (ศรีสัชนาลัย) และเมืองใกล้เคียง แล้วทรงพระราชนิพนธ์หนังสือชื่อ “เที่ยวเมืองพระร่วง” พิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ.2451 ทรงมีพระราชวิจารณ์ถึงแหล่งเตาทุเรียงเมืองเก่าสุโขทัยแห่งนี้ว่า .“...ต่อที่วัดพระพายหลวงออกไปอีก มีเตาเผาถ้วยชามตั้งอยู่ในป่าไผ่ อยู่ตามเนิน ขุดเนินเข้าไปก่อเตาด้วยอิฐ เป็นเตาเตี้ย ๆ มีชิ้นถ้วยชามแตก ๆ ทิ้งอยู่ตามริมเตาบ้าง ซึ่งเข้าใจว่าเป็นชามที่เสียเขาทิ้ง ที่เคลือบแล้วก็มี ที่เขียนแล้วยังไม่ได้เคลือบก็มี พื้นชามก็เป็นชนิดที่เรียกว่า สังกโลก บางทีก็มีเป็นลวดลายเป็นดอกไม้บ้างก็มีฝีมือทำสู้ที่สวรรคโลกไม่ได้ ตามใกล้ ๆ แถบเตานี้มีที่พื้นดินลุ่มแตกระแหง หน้าฝนน้ำขัง มีไผ่และหญ้าขึ้นตามขอบ แต่ในลุ่มนั้นเองไม่มีอะไรขึ้นเลย แห่งหนึ่งคะเนด้วยตาว่ากว้าง 10 วา หรือ 15 วา ยาวประมาณ 5 เส้น อย่างไรๆ ก็ไม่ใช่ที่นาหรือไร่ จึงเข้าใจว่าเป็นที่เขาขุดดินขึ้นมาใช้ในการปั้นถ้วยชาม คนโดยมากบางทีจะพึ่งได้ทราบเป็นครั้งแรกเมื่ออ่านหนังสือนี้ ว่าถ้วยชามสุโขทัยก็มี ถึงแม้ได้พบปะชามสุโขทัยก็คงเข้าใจว่าเป็นชามสังกโลก ที่จริงเข้าใจว่าสุโขทัยคงได้วิชามาจากสวรรคโลกอีกชั้นหนึ่ง...”.การสำรวจในครั้งนั้นถือเป็นการจุดประกายความสนใจในเรื่องสังคโลกสุโขทัย ทำให้นักวิชาการในสมัยต่อมาหันมาศึกษา ดังเช่นการศึกษาของ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งได้ทรงนิพนธ์หนังสือเรื่อง ตำนานเรื่องเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้น ในปี พ.ศ.2460 ทรงกล่าวถึงกำเนิดการค้าและสิ้นสุดของเครื่องถ้วยสุโขทัย โดยการตีความจากจดหมายเหตุของราชวงศ์หยวน และความในพระราชพงศาวดารเหนือ ซึ่งกล่าวตรงกันว่า พ่อขุนรามคำแหงได้เสด็จไปเมืองจีน เมื่อปีมะแม จุลศักราช 655 หรือ พ.ศ.1837 ได้นำช่างจีนกลับมาเมืองไทย และทรงสันนิษฐานอีกว่า ช่างปั้นจีนคงเข้ามาตั้งเตาเผาแห่งแรกที่เมืองสุโขทัยก่อน ต่อมาจึงย้ายไปทำที่เมืองสวรรคโลก เพราะได้พบวัสดุดินหินที่มีคุณภาพดีกว่า และทำเพียงเครื่องเคลือบเดียว มีผิวแตกราน ซึ่งเรียกว่า “สังกโลก” (หมายถึงเครื่องเคลือบสุโขทัยประเภทเคลือบสีเขียว เตาศรีสัชนาลัย) และน่าจะนำออกไปจำหน่ายยังพื้นที่ใกล้เคียง เช่น เชียงใหม่ หลวงพระบาง และอินโดนีเซีย เป็นต้น ส่วนการสิ้นสุดการผลิต ทรงสันนิษฐานว่า เมื่อ พ.ศ.1911 อยุธยาได้ครอบครองเมืองสุโขทัย พระมหาธรรมราชาต้องลดฐานะเป็นประเทศราชย้ายไปประทับที่พิษณุโลก อาจเลิกในคราวนี้ หรืออาจเป็นปี พ.ศ.1999 เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงทำสงครามกับพระเจ้าติโลกราช ทำให้สุโขทัยและสวรรคโลกต้องกลายเป็นสนามรบ ผู้คนคงจะกระจัดกระจายในคราวนั้น ประมาณเวลาการผลิตสักร้อยปีเศษจึงยกเลิกไป.ข้อมูลและข้อสันนิษฐานต่างๆ เหล่านี้เป็นพื้นฐานที่สำคัญให้กับนักวิชาการที่สนใจศึกษาเรื่องสังคโลกสุโขทัยในยุคต่อมาอีกหลายสิบปีใช้อ้างอิง แม้ว่าข้อสันนิษฐานบางประการในการศึกษาเรื่องสังคโลกสุโขทัยในยุคสมัยนั้นจะไม่ถูกต้องแล้วในปัจจุบัน เนื่องจากได้พบหลักฐานใหม่จากการศึกษาและการขุดค้นทางโบราณคดี ซึ่งจะได้เขียนและนำเสนอในโอกาสต่อไป.ย้อนอ่านตอนที่ 1 : “สังคโลก” ชื่อนี้มาจากไหน ? : https://www.facebook.com/skt.his.park/posts/4575170435868762ย้อนอ่านตอนที่ 2 : ตำแหน่งที่ตั้งและรูปแบบของเตาเผาสังคโลก : https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=4695853460467125&id=180332008685982&sfnsn=mo.เอกสารอ้างอิงสำหรับอ่านเพิ่มเติม1. ธงชัย สาโค. สังคโลกเตาทุเรียงเมืองเก่าสุโขทัยข้อมูลใหม่จากหลักฐานทางโบราณคดี. กรุงเทพฯ : พระรามครีเอชั่น, 2564.2. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. เที่ยวเมืองพระร่วง. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2521. (ดาวน์โหลดหรืออ่านเอกสารที่ได้ที่ https://www.finearts.go.th/.../DmXieNBoCKqhdshKUSb2bPYISK...)3. สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ตำนานเรื่องเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้น. พระนคร : โรงพิมพ์ไทย (แจกในงานพระศพพระวรวงษ์เธอ พระองค์เจ้าปรีดา) , 2460. (ดาวน์โหลดหรืออ่านเอกสารที่ได้ที่ https://upload.wikimedia.org/.../%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8...)4. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. รายงานการดำเนินงานทางโบราณคดีแหล่งเตาทุเรียงเมืองเก่าสุโขทัย. ปีงบประมาณ 2559 – 2560. (ดาวน์โหลดหรืออ่านเอกสารที่ได้ที่ https://drive.google.com/.../1ZD-1vyJ470F9UFZrUl.../view... )5. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. รายงานการบูรณะเตาทุเรียงเมืองเก่าสุโขทัย. ปีงบประมาณ 2561. (ดาวน์โหลดหรืออ่านเอกสารที่ได้ที่ https://drive.google.com/.../1PzxCFznNifILdcfpslw.../view... )6. ภาพประกอบ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ รหัสภาพ : ภ.003 หวญ.94(4-1)
ประชุมพระบรมราโชวาท และพระโอวาท. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2527. หนังสือประชุมพระบรมราโชวาท และพระโอวาท นี้ เนื้อหาประกอบด้วยพระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระโอวาทของเจ้านายบางพระองค์ เช่น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต
วัดทุ่งศรีเมือง ตั้งอยู่ที่ถนนหลวง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี วัดทุ่งศรีเมือง ตามประวัติระบุว่าตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๖ โดยพระอริยวงศาจารย์ญาณวิมลอุบลสังฆปาโมกข์ (สุ้ย หลักคำ) ในช่วงสมัยพระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฎ) เป็นเจ้าเมืองอุบลราชธานี ลำดับที่ ๓ ตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ภายในวัดมีสิ่งสำคัญ ได้แก่
. หอไตร ตามประวัติระบุว่าสร้าง พ.ศ. ๒๓๘๕ โดยญาคูช่าง ลักษณะเป็นอาคารไม้ชั้นเดียวยกพื้นสูงตั้งอยู่กลางสระน้ำ โครงสร้างอาคารใช้เสาไม้ จำนวน ๒๕ ต้น รับน้ำหนักตัวอาคารและชุดหลังคาจั่วแบบลดชั้นแล้วต่อหลังคาปีกนกโดยรอบซ้อนกัน ๒ ชั้น มุงกระเบื้องดินเผา หลังคาประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์แบบภาคกลาง ส่วนหน้าบันเป็นไม้แกะสลักลายดอกพุดตาน ลายดอกประจำยาม มีคันทวยไม้แกะสลักรูปเทพพนมและนาค ผนังอาคารเป็นแผ่นไม้ฝาปะกนแบบเรือนเครื่องสับในภาคกลาง สลักลวดลายรูปสัตว์ในกรอบสี่เหลี่ยมมุมมน มีหน้าต่างด้านละ ๔ ช่อง ยกเว้นผนังด้านหน้าเป็นช่องประตูทางเข้า ๑ ช่องและหน้าต่าง ๒ ช่อง ภายในอาคารแบ่งพื้นที่การใช้สอยออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนห้องเก็บคัมภีร์ในตอนกลางอาคาร และระเบียงโดยรอบ ห้องเก็บคัมภีร์ตั้งบนฐานเอวขัน ผนังตีไม้ทึบ ตกแต่งด้วยลายราชวัตรและตัวละครในวรรณคดีไทย บริเวณมุมเสาประดับกาบพรหมศร ไม่มีหน้าต่าง มีประตูทางเข้า ๑ ทางในตอนกลางด้านหน้า บานประตูเขียนภาพทวารบาลทรงศรประทับยืนบนแท่นมีวานรแบก พื้นหลังเขียนลายก้านต่อดอก ซุ้มประตูเป็นซุ้มลด เสาประดับกรอบประตูประดับกาบพรหมศร ลายประจำยามอก ลายกาบบน และกาบบัวหัวเสา กรอบประตูด้านบนเป็นไม้สลักลายพรรณพฤกษา หอไตรวัดทุ่งศรีเมืองได้รับการบูรณะครั้งหลังสุดเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕ หอไตรวัดทุ่งศรีเมือง ใช้เก็บคัมภีร์ทางพุทธศาสนาและเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมที่สำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี
. อุโบสถ (สิม) หรือ หอพระพุทธบาท พระอริยวงศาจารย์ญาณวิมลอุบลสังฆปาโมกข์ (สุ้ย หลักคำ) ให้สร้างสำหรับประดิษฐานรอยพระพุทธบาทที่จำลองมาจากวัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร ต่อมาได้ใช้เป็นอุโบสถด้วย ลักษณะอุโบสถเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ส่วนฐานเป็นชุดบัวเอวขันแบบอีสาน มีบัวงอนประดับทั้งสี่มุม บันไดด้านหน้าทางทิศตะวันออก ราวบันได้ทำเป็นรูปนาคบนหลังจระเข้ ส่วนตัวอุโบสถตลอดจนเครื่องหลังคามุงกระเบื้องดินเผา ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ เป็นแบบภาคกลาง ภายในอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังรูปเทพชุมนุม พุทธประวัติ ทศชาติชาดก และนิทานพื้นบ้านเรื่องสังข์สินไชย ด้านท้ายอาคารทำฐานชุกชีประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย สิมวัดทุ่งศรีเมือง ใช้ประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนา และเป็นปูชนียสถานที่พุทธศาสนิกชนเคารพกราบไหว้ รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมที่สำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี
. โบราณสถานวัดทุ่งศรีเมือง ประกอบด้วย หอไตรกลางน้ำและหอพระพุทธบาทหรืออุโบสถ (สิม) สร้างขึ้นในสมัยพระอริยวงศาจารย์ญาณวิมลอุบลสังฆปาโมกข์ (สุ้ย หลักคำ) เป็นเจ้าคณะเมืองอุบลฯ และเป็นผู้ก่อตั้งวัดทุ่งศรีเมือง ตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
. กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานหอไตร วัดทุ่งศรีเมือง ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๘ ตอน ๑๐๔ วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๔ เนื้อที่ประมาณ ๒ ไร่ ๑ งาน ๔๘ ตารางวา และประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานอุโบสถวัดทุ่งศรีเมือง ในราชกานุเบกษา เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๕๙ง วันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๓๘ เนื้อที่ประมาณ ๒ ไร่ ๓ งาน ๙๔ ตารางวา
----------------------
+++อ้างอิงจาก+++
. กองพุทธศาสนสถาน, กรมการศาสนา. ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๑๔. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา,
๒๕๓๘. หน้า ๑๐๐
. คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุฯ. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์
และภูมิปัญญาจังหวัดอุบลราชธานี. หนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒, ๒๕๔๔.หน้า ๑๓๘,๒๘๒
. สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี. โบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนแล้วในพื้นที่สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี
(เล่ม ๑ : จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดยโสธร จังหวัดมุกดาหาร). อุบลราชธานี : ห้างหุ้นส่วนจำกัด อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์, ๒๕๖๓.
ข้อมูล : กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี
นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยถึงผลการประชุมคณะกรรมการติดตาม โบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศกลับคืนสู่ประเทศไทย ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ ที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นายอิทธิพล คุณปลื้ม เป็นประธาน เมื่อวันพุธที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๕ ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการได้รายงานความคืบหน้ากรณีทับหลังจากปราสาทหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ และทับหลังจากปราสาทเขาโล้น จังหวัดสระแก้ว ที่ได้รับคืนมาจากสหรัฐอเมริกาครบ ๑ ปีแล้ว ปัจจุบันได้จัดแสดงเป็นการชั่วคราว ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และจะสิ้นสุดการจัดแสดงในวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๕ หลังจากนี้ กรมศิลปากรจะเคลื่อนย้ายทับหลังทั้งสองรายการไปเก็บรักษาและจัดแสดงในจังหวัดที่เป็นต้นทาง โดยทับหลังของปราสาทหนองหงส์ จะนำไปเก็บรักษาที่ศูนย์บริการข้อมูลอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ และทับหลังปราสาทเขาโล้น เก็บรักษาที่ศูนย์บริการข้อมูลอุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม จังหวัดสระแก้ว ซึ่งกรมศิลปากรพิจารณาโดยคำนึงถึงความปลอดภัย และการดูแลรักษาโบราณวัตถุให้มีความมั่นคงแข็งแรง เนื่องจากหน่วยงานทั้งสองแห่งมีความพร้อมในส่วนของสถานที่ที่จัดแสดงโบราณวัตถุ และมีการควบคุมดูแลรักษาความปลอดภัยตลอด ๒๔ ชั่วโมงทับหลังปราสาทหนองหงส์ทับหลังปราสาทเขาโล้น อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวอีกว่า การนำทับหลังทั้งสองรายการ ไปจัดแสดงในพื้นที่ของอุทยาน ประวัติศาสตร์ที่อยู่ในเส้นทางการท่องเที่ยวหลัก จะช่วยกระตุ้นให้ผู้เข้าชมเดินทางไปเยี่ยมชมปราสาทหนองหงส์และปราสาทเขาโล้นมากยิ่งขึ้น รวมถึงประชาชนในพื้นที่ก็สามารถเดินทางมาชื่นชมและศึกษามรดกทางวัฒนธรรมในท้องถิ่นของตนได้โดยสะดวก ทั้งนี้ กรมศิลปากรจะได้มอบหมายให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย จังหวัดนครราชสีมา และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ควบคุมดูแลและจัดทำทะเบียนโบราณวัตถุตามระเบียบของกรมศิลปากรต่อไป
รายการ ไขความรู้จากครูกรมศิลป์ “เรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านบ้านพระยากำธรพายัพทิศ”
วิทยากรโดย นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา, นายอิทธิพล คัมภิรานนท์ ประธานภาคีอนุรักษ์เมืองนครราชสีมา, นายพงศ์บัณฑิต อินทโสฬส ณ ราชสีมา รองประธานภาคีอนุรักษ์เมืองนครราชสีมา ดำเนินรายการโดย นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. สามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร และ Youtube Live : กรมศิลปากรสามารถรับชมน้อยหลังได้ที่นี่ >> https://fb.watch/dV0_6MWeCB/
แปลก สนธิรักษ์ และสวัสดิ์ สวัสดิ์พินิจจันทร์. ศัพท์ศาสนา นักธรรมและธรรมศึกษาตรี. พระนคร: ไทยวัฒนาพานิช, 2503.
เป็นหนังสือที่ได้รวบรวมและจัดทำคำอธิบายความหมายของคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา โดยใช้คำว่า “ศัพท์ศาสนา” ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายจึงแบ่งเป็นชั้นต้น ชั้นกลาง และชั้นสูง เหมาะสำหรับนักเรียน นักศึกษา และครูบาอาจารย์ ตลอดจนผู้สนใจศึกษาเรื่องพระพุทธศาสนาโดยทั่วไป
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : สร้างทางเพื่อเดินรถโดยสาร -- ในสมัยก่อน ตามหัวเมืองต่างๆ เราจะพบว่า ความเจริญทั้งทางการปกครองและทางเศรษฐกิจ ย่อมจะต้องไปรวมศูนย์กันอยู่ที่เขตตัวเมืองอันเป็นศูนย์กลางของเมืองหรือจังหวัด ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ตามพื้นที่ชนบทห่างไกล หากมีธุระต้องติดต่อราชการหรือจับจ่ายใช้สอยซื้อขายสินค้า ก็จำเป็นที่จะต้องเดินทางเข้ามาในตัวเมือง ซึ่งแน่นอนว่าการเดินทางเข้าเมืองในสมัยนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ หลายคนต้องเดินเท้าออกจากบ้านมาเป็นวันๆ บางครั้งต้องบุกป่าฝ่าดง ข้ามแม่น้ำลำธารหลายสายถึงจะเข้าเมืองได้ ด้วยเหตุที่ว่าไม่มีถนนที่ได้มาตรฐานที่จะช่วยให้การเดินทางสะดวกรวดเร็ว รวมถึงไม่มีรถโดยสารที่จะช่วยทุ่นเวลาและแรงกายในการเดินทางได้ จากเหตุผลดังกล่าวนี้ ในหลายพื้นที่จึงพบว่ามีเอกชนหลายรายที่ให้ความสนใจในการเปิดเส้นทางเดินรถเพื่อรับส่งผู้โดยสารและขนส่งสินค้าไปมาระหว่างตัวเมืองกับตำบลต่างๆ ที่อยู่ห่างไกล ซึ่งบางครั้งการที่จะได้มาซึ่งสัมปทานหรือสิทธิ์ในการเดินรถนั้น ผู้ประกอบการก็จำเป็นที่จะต้องสร้างถนนขึ้นเองด้วย ดังตัวอย่างในเอกสารจดหมายเหตุที่กล่าวถึงต่อไปนี้ ข้อมูลจากเอกสารจดหมายเหตุชุด เอกสารส่วนพระองค์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่อง สร้างทางเดินรถรับส่งคนโดยสาร จังหวัดลพบุรี สุพรรณบุรี จันทบุรี และอุตรดิตถ์ ระบุว่า เมื่อปี พ.ศ. 2471 หม่อมเจ้าดำรัสดำรงค์ เทวกุล เลขานุการเสนาบดีสภา ได้มีหนังสือกราบทูลพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ อภิรัฐมนตรีว่า มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ถวายสำเนาหนังสือพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เอกชนสร้างทางถือสิทธิเดินรถรับจ้างบรรทุกสินค้าและส่งคนโดยสารในจังหวัดต่างๆ รวม 5 สาย ใน 4 จังหวัด หนึ่งในนั้นคือจังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งมีขุนอำไพพานิช เป็นผู้ขอรับสัมปทานการเดินรถโดยสารระยะเวลา 15 ปี (ต่อมาได้รับการเสนอให้ขยายเวลาเป็น 20 ปี) โดยรับผิดชอบในการสร้างทางถมหินลูกรังจากสถานีรถไฟท่าเสา อำเภอบางโพ (อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบัน) ผ่านตำบลต่างๆ ตามแม่น้ำน่านฝั่งตะวันตกไปจนถึงตำบลหาดงิ้ว เขตรอยต่อกับอำเภอท่าปลา ในหนังสือพระราชทานพระบรมราชานุญาตสร้างทางและเดินรถฯ ได้ระบุถึงหน้าที่ของผู้รับอนุญาตในการสร้างบำรุงรักษาทางและเดินรถ และรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ ในการสร้างทางตามมาตรฐานของกรมทาง เช่น เส้นรัศมีของทางเลี้ยวจะต้องยาวไม่ต่ำกว่า 100 เมตร ความลาดชันของทางต้องไม่เกินร้อยละ 5 การถมหินบนหลังทางจะต้องถมหนาอย่างน้อย 15 เซนติเมตรก่อนที่จะบดทับให้แน่น เป็นต้น รวมทั้งหากทางที่ก่อสร้างจำเป็นต้องข้ามลำน้ำหรือทางน้ำต่างๆ ผู้รับอนุญาตก็จะต้องก่อสร้างเอง โดยกรมทางจะเป็นผู้วางแบบและวิธีการก่อสร้างให้ โดยสรุปก็คือ การอนุญาตให้เอกชนสร้างทางพร้อมกับให้สิทธิ์ในการบริการรถโดยสารและขนส่งสินค้านี้ นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะนอกจากเป็นการช่วยเหลือแบ่งเบาภาระของทางการในการช่วยให้ชาวบ้านได้มีเส้นทางในการเดินทางสัญจรที่สะดวกสบายยิ่งขึ้นแล้ว แล้วยังเป็นการขยายระบบขนส่งสาธารณะไปยังพื้นที่ห่างไกล และเป็นตัวช่วยกระจายความเจริญจากตัวเมืองออกสู่ชนบทอีกด้วยผู้เขียน : นายธัชพงศ์ พัตรสงวน (นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารอ้างอิง:สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารส่วนพระองค์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สบ.2.42/144 เรื่อง สร้างทางเดินรถรับส่งคนโดยสาร จังหวัดลพบุรี สุพรรณบุรี จันทบุรี และอุตรดิตถ์. [2 มิ.ย. 2471].#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 61/1ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 64 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 62/3ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 76 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อผู้แต่ง -
ชื่อเรื่อง ศิลปภาพเหมือน ( PORTRAII )
ครั้งที่พิมพ์: -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ อมรินทร์การพิมพ์
ปีที่พิมพ์ 2527
จำนวนหน้า 102 หน้า
หมายเหตุ พิมพ์ในงานนิทรรศการพิเศษ ศิลปะภาพเหมือนเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ร.9
ปีพ.ศ. 2527
รายละเอียด
เนื้อหาประกอบด้วยเรื่องวิวัฒนาการรูปเหมือนในประเทศไทย (โดยสังเขป) พร้อม
ภาพประกอบด้านจิตรกรรมและด้านประติมากรรม
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 152/3 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)