ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,643 รายการ
ปราสาทเขาโล้น ๒/๔ : โบราณวัตถุชิ้นเด่นและการกำหนดอายุ
การดำเนินงานโบราณคดีที่ปราสาทเขาโล้น นอกจากจะทำให้พบโบราณสถานที่ถูกดินทับถมไว้แล้ว ยังทำให้พบชิ้นส่วนประกอบสถาปัตยกรรมทำจากหินทราย เช่น
บริเวณปราสาท ๓ หลังบนฐานไพที พบยอดปราสาททรงกลม ใช้ประดับบนชั้นซ้อนชั้นสุดท้ายของปราสาทเพื่อรองรับนภศูล แถวกลีบบัวเหนือทับหลัง เป็นแถวกลีบบัวที่เคยประดับเหนือทับหลังบริเวณซุ้มประตูด้านทิศตะวันออกของปราสาทประธาน ปราสาทจำลองและบรรพแถลง ใช้วางประดับบริเวณกึ่งกลางและบริเวณมุมของชั้นซ้อนแต่ละชั้น
บริเวณบรรณาลัยและโคปุระทั้งสามด้าน พบชิ้นส่วนประกอบสถาปัตยกรรม เช่น ปลายกรอบหน้าบัน สลักลวดลายเป็นรูปมกรอ้าปากชูงวงประกอบลายกระหนก แถวกลีบบัวประดับบริเวณเชิงชายของหลังคา เสาลูกมะหวดทรงกลม ใช้ประดับบริเวณกรอบหน้าต่าง บราลีลักษณะทรงกรวยแหลม ใช้ประดับบริเวณสันหลังคา
ส่วนภาชนะดินเผาพบภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งเคลือบสีเขียวและสีน้ำตาลที่ผลิตจากแหล่งเตาในจังหวัดบุรีรัมย์ และเครื่องถ้วยจีนเนื้อกระเบื้องเคลือบสีขาว สมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ
จากการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบทางสถาปัตยกรรม โบราณวัตถุ รูปแบบของทับหลัง เสาประดับกรอบประตูจากภาพถ่ายเก่า และการกำหนดอายุตัวอย่างอิฐ ด้วยวิธีเรืองแสงความร้อน (Thermoluminescence dating : TL) ล้วนให้ข้อมูลที่สอดคล้องกันทำให้สันนิษฐานว่าปราสาทเขาโล้นน่าจะสร้างขึ้นราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๖ เป็นปราสาทในศิลปะเขมรแบบบาปวนตอนต้น สอดคล้องกับการพบจารึกบริเวณกรอบประตูที่ระบุศักราชตรงกับพุทธศักราช ๑๕๕๐ และ ๑๕๕๙
ผู้เขียน : นายสิขรินทร์ ศรีสุวิทธานนท์ (นักโบราณคดีชำนาญการ)
กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี
#สำนักศิลปากรที่๕ปราจีนบุรี #กรมศิลปากร #กระทรวงวัฒนธรรม
#แชทชมแชร์_โบราณคดีปราจีนภาค
ปราสาทเขาโล้น ๑/๔ : การดำเนินงานโบราณคดี
https://www.facebook.com/2360532577517366/posts/2770145389889414/
ชื่อเรื่อง มิลินฺทปณฺหาสงฺเขป (พระมิลินทปัญหา) สพ.บ. 308/1หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยหัวเรื่อง พุทธศาสนา--คำถามคำตอบ พระวินัย พระธรรมประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 46 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม. บทคัดย่อเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า อาคารประติมากรรมขุนหลวงพะงั่วและประวัติศาสตร์สุพรรณบุรี ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้แห่งใหม่ทางด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ของจังหวัดสุพรรณบุรีและของประเทศไทย พร้อมเปิดให้บริการแล้วในวันนี้ (วันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๔) แต่เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ และการประกาศปิดแหล่งเรียนรู้ของกรมศิลปากร เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ ๓ - ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๔ กรมศิลปากรจึงเปิดให้บริการแบบออนไลน์ โดยสามารถเข้าชมการจัดแสดงอาคารประติมากรรมขุนหลวงพะงั่วและประวัติศาสตร์สุพรรณบุรี ผ่านระบบ smartmuseum ของกรมศิลปากร https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/home อาคารประติมากรรมขุนหลวงพะงั่วและประวัติศาสตร์สุพรรณบุรี ตั้งอยู่ที่ตำบลสนามชัย อำเภอ เมือง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดงประติมากรรมสำริดที่มีความยาวมากที่สุดในประเทศไทย เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ หรือขุนหลวงพะงั่ว ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ และประวัติศาสตร์เมืองสุพรรณบุรี จัดตั้งขึ้นตามดำริของ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีคนที่ ๒๑ เริ่มก่อสร้างเมื่อพุทธศักราช ๒๕๕๓ โดยได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วนในการสนับสนุนงบประมาณ ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี มูลนิธิบรรหาร-แจ่มใส ศิลปอาชา กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กรมการท่องเที่ยว โดยกรมศิลปากรเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดแสดงพระราชประวัติของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ หรือ ขุนหลวงพะงั่ว เจ้าเมืองสุพรรณบุรี ผู้ซึ่งต่อมาเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ พระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๓ ของกรุงศรีอยุธยา และทรงเป็นองค์ปฐมแห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ นอกจากนี้ยังบอกเล่าเรื่องราวของจังหวัดสุพรรณบุรีตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยสังคมเกษตรกรรม ยุคประวัติศาสตร์แรกเริ่มเรื่อยมาจนถึงยุคประวัติศาสตร์ สมัยรัตนโกสินทร์ อีกทั้งเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช พระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงมีพระมหากรุณา ธิคุณต่อพสกนิกรชาวจังหวัดสุพรรณบุรีและชาวไทย การจัดแสดงได้นำเสนอเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับเมืองสุพรรณบุรี จำนวน ๙ ตอน ผ่านงานประติมากรรมนูนสูง และนูนต่ำ หล่อด้วยโลหะสำริด ความยาว ๘๘ เมตร สูง ๔.๒๐ เมตร ซึ่งนับว่าเป็นประติมากรรมสำริดที่มีความยาวมากที่สุดในประเทศไทย แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๙ ตอน ประกอบด้วยตอนที่ ๑ สุพรรณบุรี : ชุมชนแรกเริ่ม ตอนที่ ๒ สุพรรณบุรี : อู่ทอง...เครือข่ายการค้าข้ามภูมิภาค ตอนที่ ๓ สุพรรณบุรีในวัฒนธรรมศาสนา : อู่ทองเมืองศูนย์กลางศาสนารุ่นแรก ตอนที่ ๔ สุพรรณบุรี : เนินทางพระ...ร่องรอยพุทธศาสนามหายาน ตอนที่ ๕ สุพรรณบุรี : ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา ตอนที่ ๖ สุพรรณบุรี : เมืองลูกหลวงของราชธานีศรีอยุธยา ตอนที่ ๗ สุพรรณบุรี : สมรภูมิยุทธหัตถี ตอนที่ ๘ สุพรรณบุรี : หัวเมืองแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และตอนที่ ๙ ปัจจุบัน...สุพรรณบุรีโดยผู้เข้าชมจะได้รับความรู้และความเพลิดเพลินผ่านระบบการบรรยายนำชมที่ทันสมัยทั้งในรูปแบบออนไลน์ ออฟไลน์ และอุปกรณ์ Audio guide จำนวน ๓ ภาษา คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน พร้อมใช้เทคโนโลยีแสง เสียง ประกอบการจัดแสดง ทั้งนี้ ผู้สนใจยังสามารถใช้บริการผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งกรมศิลปากรได้พัฒนาระบบเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้ง่าย สะดวก โดยสามารถเข้าชมอาคารประติมากรรมขุนหลวงพะงั่วและประวัติศาสตร์สุพรรณบุรีในรูปแบบ SMART MUSEUM ผ่านทาง https://smartmuseum.finearts.go.th กดเลือกนิทรรศการพิเศษอาคารประติมากรรมขุนหลวงพะงั่วและประวัติศาสตร์สุพรรณบุรี และบนระบบ Application “SMART MUSEUM” รวมถึงสามารถรับชมวีดิทัศน์เนื้อหาภายในอาคารประติมากรรมฯ ผ่านช่องทาง YouTube กรมศิลปากร ตลอดจนองค์ความรู้ผ่านช่องทางเฟสบุ๊ก แฟนเพจ ของกรมศิลปากร อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวอีกว่า แหล่งเรียนรู้แห่งนี้จะอำนวยประโยชน์สูงสุดในการศึกษาด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ของจังหวัดสุพรรณบุรีและของชาติ ให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชน อันจะก่อให้เกิดความรัก ความภาคภูมิใจ และนำไปสู่การร่วมกันอนุรักษ์ ปกป้อง คุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติให้ยั่งยืนสืบไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี โทร.๐ ๓๕๕๓ ๕๓๓๐ หรือ facebook fanpage พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง สังฮอมธาตุ (สังฮอมธาตุ)
สพ.บ. 204/3ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 50 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 58.5 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องรัก ได้รับบริจาคมาจากวัดกกม่วง ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาดก)ชาตกฎฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (ทานขันธ์-นครกัณฑ์)
สพ.บ. 250/13ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 42 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 59 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา--การศึกษาและการสอน ชาดก
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ-ล่องรัก ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
สัปคับและกูบช้าง ภาพที่แสดงให้เห็นถึงการใช้ ช้าง เป็นพาหนะสำหรับเดินทางในพื้นที่ภาคเหนือ จะพบภาพการนำคณะมิชชันนารีไปเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในถิ่นห่างไกลทางภาคเหนือและในเมืองเชียงตุงของรัฐฉาน เมืองสิบสองปันนา ภาพคนงานใส่สัปคับ และภาพที่มีการใส่กูบเพื่อกันแดดกันฝนในการเดินทาง นอกจากภาพการเดินทางโดยใช้ช้างแล้วยังพบภาพพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ ซึ่งมีพิธีรับเสด็จเข้าเมืองกับพิธีทูลพระขวัญตามธรรมเนียมหัวเมืองฝ่ายเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ ได้มีการนำช้างจากเจ้าผู้ครองนครฝ่ายเหนือเข้าร่วมขบวน โดยมีการใส่สัปคับและกูบที่สวยงามไว้ที่หลังของช้าง คำว่า สัปคับ (น.) ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔ มีความหมายว่า ที่สำหรับนั่งผูกติดบนหลังช้าง ในภาษาถิ่นเหนือหรืออีสาน เรียกว่า แหย่ง ซึ่งมักใช้ประกอบกับหลังคาด้านบน คือกูบ ส่วนในหนังสือ สารพจนานุกรมล้านนา พบคำว่า กูบ มีความหมาย ว่า หลังครอบ ส่วนที่ครอบสิ่งอื่นไว้ และอธิบายคำว่า กูบช้าง หมายถึง หลังคาครอบแหย่ง (ที่นั่ง) ช้าง คือประทุนครอบกันฝนและร้อน หนาว คำว่ากูบใช้ได้กับสัตว์อีกชนิดคือม้า และใช้ได้กับรถกูบ หรือ รถที่มีหลังคาครอบ คือ ประทุน หรือผตีน ปัจจุบันพบว่าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย ลำพูน ได้เก็บรักษาสัปคับพร้อมกูบของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์สุดท้ายไว้ แต่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ จัดแสดงเฉพาะสัปคับไม้ลงรักปิดทอง ตัวเป็นลวดลายแบบจีน ด้านหน้ามีรูปค้างคาวและรูปขุนนางจีน ๔ คน ขอบสลักเป็นรูปนกเกาะกิ่งไม้ ขาและมุมทั้งสี่สลักเป็นรูปหัวมังกร โดยพระมหาธรรมราชานุวัตร เจ้าอาวาสวัดพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ให้ยืมมาจัดแสดง จากภาพเห็นได้ว่าสัปคับและกูบของคณะมิชชันนารีทำขึ้นแบบง่ายใช้สำหรับการนั่งหลบฝนและแดดในระหว่างการเดินทาง ส่วนสัปคับและกูบของผู้มีฐานะจะทำขึ้นอย่างสวยงาม มีลวดลายวิจิตรบรรจง สำหรับการใช้ในขบวนพิธีผู้เรียบเรียง : นางสาวอริสรา คงประเสริฐ นักจดหมายเหตุภาพ :๑.หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่ ๒.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย ลำพูน. อ้างอิง : ๑. มณี พยอมยงค์. ๒๕๔๖. สารพจนานุกรมล้านนา. จ.เชียงใหม่: ดาวคอมพิวกราฟิก. ๒. บุญเสริม สาตราภัย. ๒๕๕๔. เชียงใหม่ในความทรงจำ. เชียงใหม่: Sansilp Printing.๓. สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และสถาบันพระปกเกล้า.๒๕๕๘.จดหมายเหตุเสด็จพระราชดำเนิรเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ พระพุทธศักราช ๒๔๖๙.กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชซิ่ง.๔. ราชบัณฑิตยสถาน.๒๕๕๔. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. พิมพ์ครั้งที่ ๒.กรุงเทพมหานคร: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้น.๕. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย ลำพูน.ม.ป.ป.“สัปคับ”(Online). https://www.finearts.go.th/hariphunchaimuseum/view/23555-สัปคับ,๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๔.๖. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่.ม.ป.ป. “วัตถุที่จัดแสดง” (Online). http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/chiangmai/index.php/th/event/วัตถุที่จัดแสดง.html,๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๔.
เลขทะเบียน : นพ.บ.181/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 24 หน้า ; 4.5 x 48.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 103 (91-100) ผูก 5 (2565)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันธ์ขันธ์ --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ปิตุคุณสุตฺต (ปิตุคุณสูตร)
ชบ.บ.62/1-2
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง มิลินฺทปญฺหาสงฺเขป (มิลินทปัญหา)
สพ.บ. 322/6
ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลาน
หมวดหมู่ พุทธศาสนา
ลักษณะวัสดุ 52 หน้า กว้าง 4.7 ซม. ยาว 56.9 ซม.
หัวเรื่อง พุทธศาสนา
ชาดก
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.283/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 16 หน้า ; 4.5 x 55.5 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 119 (248-252) ผูก 5 (2565)หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
บทความวิชาการจดหมายเหตุเรื่อง ภาพเก่าเล่าอดีต : หกสิบปีพระภูมีในดวงใจราษฎร์ผู้แต่ง : นัยนา แย้มสาขา อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านจดหมายเหตุ กองทุนส่งเสริมงานจดหมายเหตุตีพิมพ์ลงนิตยสารศิลปากร ปีที่ ๔๙ ฉบับที่ ๔ (เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ๒๕๔๙)หน้า ๗๙-๙๕