ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,399 รายการ
เลขทะเบียน : นพ.บ.409/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 42 หน้า ; 4 x 51 ซ.ม. : ชาดทึบ-รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 146 (58-70) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : ทสชาติ--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.538/12ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 36 หน้า ; 4 x 49 ซ.ม. : ล่องรัก-รักทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 180 (292-302) ผูก 12 (2566)หัวเรื่อง : ตำนานพระธาตุตะโก้ง--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง : จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปีเถาะ จุลศักราช 1241 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้เจ้าภาพตีพิมพ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพพระปฏิเวทย์วิศิษฎ์ (สาย เลขยานนท์) ณ เมรุวัดธาตุทอง วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 ชื่อผู้แต่ง : จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จปีที่พิมพ์ : 2513สถานที่พิมพ์ : พระนครสำนักพิมพ์ : แสงทองการพิมพ์ จำนวนหน้า : 234 หน้า สาระสังเขป : เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ได้รวมรวม พระราชกรณียกิจประจำวันพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่วันอาทิตย์ ขึ้นค่ำ 1 เดือน 5 ปีเถาะ ยังเป็นสัมฤทธิศก จุลศักราช 1240 (วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2421) ถึงวันพุธ แรม 15 ค่ำ เดือน 4 ปีเถาะ เอกศก จุลศักราช 1241 (วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2422 ) เป็นฉบับที่ขาดไป ซึ่งทางหอสมุดแห่งชาติมีการจัดพิมพ์ไปแล้ว 24 ภาคนั้น ได้ขาดปีเถาะ เอกศก จุลศักราช 1241 และท้ายเล่มได้รวบรวมประวัติของพระปฏิเวทย์วิศิษฎ์ (สาย เลขยานนท์) ตำแหน่งที่ได้รับ ราชการพิเศษ ยศและบรรดาศักดิ์ เครื่องราชอิศริยาภรณ์ รวมทั้งคำไว้อาลัย
"เรือโบราณ ๑,๐๐๐ ปี"
ในบรรดาเรือโบราณที่สำรวจพบโดยกรมศิลปากรนั้น มีอยู่หลายลำที่เมื่อพิเคราะห์ทั้งจากลักษณะทางกายภาพ หลักฐานที่พบร่วม หรือแม้กระทั้งการกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ มีอายุมากกว่า ๑,๐๐๐ ปี
โดยในหลาย ๆ โพสต์ก่อนหน้าเราได้เคยนำเสนอแหล่งเรือที่พบใหม่ในรอบ ๕ ปีที่ผ่านมา ทั้งเรือโบราณพนมสุรินทร์ จ.สมุทรสาคร (๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว) เรือโบราณหาดปากคลองกล้วย จ.ระนอง(๒,๓๐๐ ปีมาแล้ว) เรือโบราณคลองท่อม จ.กระบี่ (๑,๘๐๐ ปีมาแล้ว) และเรือโบราณบ้านคลองยวน จ.สุราษฎร์ธานี (๑,๒๐๐) ปีมาแล้ว
ในโพสต์นี้เราจะพาผู้ติดตามเข้าไปในคลังจดหมายเหตุของกองโบราณคดีใต้น้ำ เพื่อสำรวจดูข้อมูลเก่า ๆ ไปดูกันว่าที่ผ่านมาเคยมีการค้นพบเรือโบราณอายุกว่าพันปีบ้างหรือไม่ เชิญติดตามกันเลย...
ชื่อเรื่อง ธมฺมบทวณฺณนา ธมฺมบทฏฺฐกถา (ขุทฺทกนิกายฏฺฐกถา)
อย.บ. 327/4
หมวดหมู่ พุทธศาสนา
ลักษณะวัสดุ 54 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 53 ซม.
หัวเรื่อง พระธรรมเทศนา
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาด ไม้ประกับธรรมดา
องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “วันวิสาขบูชา”
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาในเดือนพฤษภาคมนี้ คือ วันวิสาขบูชา ที่ปกติตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6
ในปี พ.ศ.2566 เป็นปีอธิกมาศ คือ เดือน 8 มี 2 ครั้ง วันวิสาขบูชาจึงตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ในวันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน 2566
วันวิสาขบูชา เป็นวันที่แสดงความเคารพต่อพระพุทธเจ้า ซึ่งมีชื่อเต็มว่า “วิสาขปุรณมีบูชา” แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน 6 ในวันนี้ตรงกับวันประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จดับขันธปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ที่เวียนมาบรรจบในวันและเดือนเดียวกัน คือวันเพ็ญเดือนวิสาขะ
หลักธรรมสำคัญในวันวิสาขบูชาอันเกี่ยวเนื่องจากการประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จดับขันธปรินิพพาน คือ ความกตัญญู อริยสัจ 4 และความไม่ประมาท
ความกตัญญู คือ รู้บุญคุณ คู่กับความกตเวที คือตอบแทนผู้มีพระคุณ อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ หมายถึง ความจริงที่ไม่ผันแปร เกิดมีขึ้นได้แก่ทุกคนมี 4 ประการ คือ ทุกข์ (ปัญหาของชีวิต) สมุทัย (เหตุแห่งปัญหา) นิโรธ (การแก้ปัญหาได้) มรรค (ทางหรือวิธีแก้ปัญหา มรรคมีองค์ ส่วนความไม่ประมาท คือ การมีสติทั้งขณะทำ ขณะพูดและขณะคิด สติ คือการระลึกรู้ทันที่คิด พูดและทำ กล่าวคือ ระลึกรู้ทันทั้งในขณะ ยืน เดิน นั่ง นอน รวมทั้งระลึกรู้ทันในขณะพูดขณะคิด และขณะทำงานต่างๆ
พระพุทธเจ้าประสูติ ณ สวนลุมพินีวัน อยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ แคว้นสักกะ (ปัจจุบันอยู่ในเมืองลุมมินเด ประเทศเนปาล) เช้าวันศุกร์ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี ต่อมาพระองค์ได้เสด็จออกผนวชและทรงบำเพ็ญเพียรอย่างหนัก จนได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ (ปัจจุบันอยู่ในเขตเมืองพุทธคยา แคว้นพิหาร ประเทศอินเดีย) เช้ามืดวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี
หลังจากตรัสรู้แล้ว พระองค์ทรงบำเพ็ญพุทธกิจโปรดผู้ที่ควรแนะนำสั่งสอนใหได้บรรลุมรรคผลจนนับไม่ถ้วน และเสด็จดับขันธปรินิพพาน วันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยานของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเขตเมืองกุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย สิริรวมพระชนมายุได้ 80 พรรษา
การจัดงานวันวิสาขบูชาได้เริ่มมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย มาอยุธยา จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2 ได้ทรงฟื้นฟูพิธีวิสาขบูชา ให้เป็นแบบแผนขึ้น และกระทำสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาองค์การสหประชาชาติได้เล็งเห็นความสำคัญของวันนี้ จึงประกาศให้เป็น “วันสำคัญสากลโลก” (Vesak Day)
อ้างอิง : ประชิด สกุณะพัฒน์, อุดม เชยกีวงศ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญา, 2549. บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541.
ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้
นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
หนังสือ : นิศากรตอนย่ำค่ำ
ผู้เขียน : ปราณธร
เมื่อเห็นชื่อแปลกๆ ของนิยายเรื่องนี้ ผู้อ่านคงจะคาดเดาไปต่างๆ นานาว่า นิศากรตอนย่ำค่ำ เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร หลายคนเดาว่าเป็นเรื่องผี แม้พระเอกจะได้ฉายาจากเพื่อนร่วมสถาบันว่าเป็น "สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำรุ่น" และเป็น "เสาอากาศเหนี่ยวนำผี" แต่การคาดเดานั้นก็ไม่ถูกเสียทีเดียว เพราะจุดเด่นของนิยายเรื่องนี้อยู่ที่ความสัมพันธ์ของพระเอก-นางเอกต่างหาก โดยเฉพาะนางเอกของเรื่องที่เป็นสายจีบ พร้อมจะหวานใส่พระเอกทุกเวลาที่สบโอกาส ตลอดเรื่องจึงมีฉากรถอ้อยคว่ำอยู่เป็นพักๆ จึงควรกล่าวได้ว่า นิศากรตอนย่ำค่ำ เป็นนิยายรักโรแมนติกที่มีผี มีปมลึกลับให้ลุ้นประปราย พร้อมกับได้ยิ้มเขินกับฉากเกี้ยวพานของคู่พระนางไปในเวลาเดียวกัน
ห้องบริการ 1 หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
เลขหมู่ : 895.913 ป444น
ชื่อเรื่อง ปริวารปาลิ(ปริวาร)อย.บ. 297/13หมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 72 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง พระไตรปิฏก
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาด ไม้ประกับธรรมดา
เกร็ดประวัติศาสตร์จากเอกสารจดหมายเหตุมณฑลจันทบุรี
เรื่อง ตำแหน่ง "อักษรเลข"
ข้าราชการในสมัยการจัดการปกครองระบบเทศาภิบาล
.
ผู้สนใจสามารถค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี และระบบสืบค้นเอกสารจดหมายเหตุ https://archives.nat.go.th
พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นการเรียบเรียงประวัติการพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช, พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 19, พระราชพิธีจารึกพระสุพรรณบัฏ และพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช
“นาค”บนรอยพระพุทธบาทวัดเสด็จ
ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๒๐
ได้มาจากวัดเสด็จ อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องสุโขทัย อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
รอยพระพุทธบาทสัมฤทธิ์ ตรงกลางฝ่าพระบาทมีลายมงคล ๑๐๘ ประการ โดยขอบนอกรอยพระพุทธบาทด้านบนมีภาพพระอดีตพุทธเจ้า และขอบด้านล่างมีภาพพระสาวก มีจารึกอักษรขอมสุโขทัย ภาษาไทย กำกับแต่ละองค์ ลายมงคลปรากฏที่กึ่งกลางฝ่าพระบาทโดยจัดเรียงอยู่ในวงกลมซ้อนกันสี่ชั้น ประกอบด้วย ชั้นในสุดชั้นที่ ๑ เป็นเขาพระสุเมรุ ล้อมรอบด้วยแนวเทือกเขาและมหาสมุทร ๗ ชั้น ปรากฏพระอาทิตย์และพระจันทร์โคจรล้อมรอบ วงกลมชั้นที่ ๒ เป็นลวดลายเกี่ยวกับสัตว์หิมพานต์และพันธุ์พฤกษา วงกลมชั้นที่ ๓ เป็นสัญลักษณ์เครื่องสูงและสมบัติของพระมหาจักรพรรดิ และวงกลมชั้นที่ ๔ เป็นชั้นวิมานพรหม หนึ่งในลายมงคลที่ปรากฏในชั้นที่สองนับจากศูนย์กลางของพระบาทคือรูป “พญานาควาสุกรี” เนื่องจากลวดลายมงคล ๑๐๘ ประการในวัฒนธรรมสุโขทัยนั้นมีหลักฐานลายลักษณ์อักษรที่พรรณาไว้ อาทิ จารึกป้านางคำเยีย พ.ศ. ๑๙๒๒ จารึกด้วยอักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย-บาลี กล่าวถึงลายมงคลต่าง ๆ บนรอยพระพุทธบาท ปรากฏชื่อ “วาสุกรี” ในกลุ่มสัตว์หิมพานต์*
โดยพญานาควาสุกรี หรือ วาสุกี* มีการกล่าวขยายความไว้อยูใน “คัมภีร์โลกบัญญัติ**” ในหมวดติรัจฉานกัณฑ์ที่ ๑๖ เนื้อความกล่าวถึงเหล่าสัตว์เดรฉานในโลกมนุษย์ แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท ได้แก่ สัตว์ที่ไม่มีเท้า สัตว์ที่มี ๔ เท้า สัตว์ที่มีหลายเท้า และสัตว์ปีก บทพรรณนาสัตว์ไม่มีเท้าได้กล่าวถึงนาค (งู) และมัจฉา (ปลา) สำหรับนาคนั้นอธิบายว่ามี ๔ ตระกูล ได้แก่วิรูปักษา เอราบถ ฉัพยาบุตร และกัณหาโคตมกะ แต่ละตระกูลจะมีคุณลักษณะต่างกันออกไป ส่วนพญานาควาสุกรี ความว่า “...ที่เรียกว่าตระกูลพญางูวิรูปักษ์ หมายถึงตระกูลพญางู ที่มีราชาพญางู ๒ ตัว ชื่อ วิรูปักษ์ ๑ วาสุกี ๑ ครองความเป็นราชา มีอิศราธิปัตย์ของพญางูที่มีพิษแก่ผู้ที่พบเห็น (เพียงจ้องตาดูก็ถูกพิษพญางูพวกนี้แล้ว)...”
นอกจากนี้ใน “คัมภีร์นารายณ์ ๒๐ ปาง” หมวดพงศ์ในเรื่องรามเกียรติ์ กล่าวว่าพญานาควาสุกรีเป็นนาคที่รักษาลูกศิลาบดยาแก้หอกเมฆพัท ดังข้อความว่า “...พญาอนันตนาคราชที่เป็นอาสน์พระนารายณ์ ๑ พระกาลนาคบิดานางอัคคี มเหสีทศกัณฐ์ ๑ พญาวิรุณนาคที่รับนางสีดาไว้เมื่อหนีพระรามไปบาดาล ๑ พญากัมพลนาคที่บอกที่ซ่อนเร้นให้ตรีเมฆ ๑ พญาธตรฐนาคที่รักษาแม่ศิลาสำหรับบดยาแก้หอกกบิลพัท ๑ พญาวาสุกรีที่รักษาลูกศิลาบดยาแก้หอกเมฆพัท ๑...”
ครั้นในสมัยหลังชื่อ พญานาควาสุกรี ก็ปนไปกับพญาอนันตนาคราชของพระวิษณุในศาสนาพราหมณ์ ดังปรากฏใน “พระเป็นเจ้าของพราหมณ์” พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ในหัวข้อพญาอนันตนาคราช กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า
“...พญาอนันตนาคราช หรือเศษนาค และวาสุกีก็เรียก เป็นอธิบดีแห่งนาคทั้งหลาย และเป็นใหญ่เหนือแคว้นบาดาล เป็นบัลลังก์ที่พระนารายน์บรรทมพักในระหว่างสร้างโลก มีศีรษะพัน ๑ ฯ บางตำหรับก็ว่าพญาเศษนาคเป็นผู้แบกโลกไว้ และบางแห่งก็ว่ารองบาดาลทั้ง ๗ ชั้น เมื่อหาวครั้งใดแผ่นดินก็ไหวครั้งนั้น ฯ เมื่อสิ้นกัลปก็พ่นพิษเป็นเปลวไฟไหม้โลกหมดสิ้น ฯ เมื่อครั้งเทวดากวนเกษียรสมุทรเพื่อหาน้ำอมฤตนั้น ได้ใช้พญาเศษนาคเป็นเชือกพันรอบมันทรคีรีและชักภูเขานั้นให้หมุนไป ฯ...”
*แนวคิดดังกล่าวนี้ยังคงสืบเนื่องมาจนถึงสมัยอยุธยา ดังปรากฏหลักฐานในคัมภีร์ “พุทธฺปาทลกฺขณ” ต้นฉบับคัมภีร์จารด้วยอักษรขอม ภาษาลาลี ระบุว่าจารขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๒๙๒ (ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ-ราชวงศ์บ้านพลูหลวง) ข้อความตอนหนึ่งกล่าวถึงมงคลข้อที่ ๕๓ วาสุกี อุรคราชา คือ พญานาควาสุกรี
**ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ระบุว่าเขียนได้สองแบบคือ “วาสุกรี,วาสุกี” หมายถึง ชื่อพญานาคร้ายตนหนึ่ง; พญานาค. [ดูใน ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๖, ๑๑๓๖.]
***แต่งขึ้นโดยพระสัทธรรมโฆษเถระ มีเนื้อหาเกี่ยวกับภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ของโลกซึ่งจัดอยู่ในหมวดโลกศาสตร์ว่าด้วยจักรวาล เนื้อเรื่องแบ่งออกเป็น ๑๖ กัณฑ์ เช่น กัณฑ์ที่๑ เกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้แผ่นดินไหว กัณฑ์ที่๒ ว่าด้วย ต้นไม้กับความหมายชมภูทวีป เป็นต้น
อ้างอิง
รักชนก โคจรานนท์. การวิเคราะห์ลักษณะและความหมายรอยพระพุทธบาทในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร. กรุงเทพฯ: เฮงศักดิ์มั่นคง, ๒๕๕๙.
มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระเป็นเจ้าของพราหมณ์. พระนคร: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม. (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพนางสาวศุภา สิริกาญจน ณ สุสานหลวง วัดเทพศิรินทราวาส ๑ พฤษภาคม ๒๕๐๓).
วัฒนะ บุญจับ. คัมภีร์นารายณ์ ๒๐ ปาง. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๕๘.
สัทธรรมโฆษเถระ, พระ. โลกบัญญัติ. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๒๘.
พุทธเจดีย์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้าง
ผู้แต่ง : พระกิตติวุฑโฒภิกขุ
ต้นฉบับอยู่ที่ : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี (ห้องกรมศิลปากร)
โรงพิมพ์ : โรงพิมพ์มหามงกุฏ ราชวิทยาลัย
ปีที่พิมพ์ : 2519
รูปแบบ : PDF
ภาษา : ไทย
เลขทะเบียน : น 30 ร. 6396
เลขหมู่ : 294.3135 พ829พท
สาระสังเขป : ประวัติสังเขปของนายทองหล่อ ทองบุญรอด มีภาพขาวดำ ประกอบในเล่ม เรื่องพุทธเจดีย์ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้าง พระพุทธรูป เนื่องด้วยพระราชประวัติ พระพุทธรูป 33 ปาง เรื่อง เครื่องหมายของคนดี นิทานเรื่อง ผลแห่งความกตัญญู