ชวนมารู้จักชาวนาไทย ตอนที่ 3 "จากพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวนาสุพรรณบุรีสู่การก่อตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชาวนาไทย สุพรรณบุรี แห่งแรก"
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณในช่วงเวลาดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2532 จังหวัดสุพรรณบุรี โดยนายอารีย์ วงศ์อารยะ (ขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี) มีดำริที่จะจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย เพื่อเป็นอนุสรณ์เทิดพระเกียรติพระองค์ และเพื่อเป็นสถานที่รวบรวมองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำนา ประเพณี วิถีชีวิตของชาวนาไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมไปถึงงานโบราณคดีที่เกี่ยวข้องกับข้าวและการเกษตรในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนเข้าชมและได้รับองค์ความรู้ที่เป็นอาชีพหลักของชาวไทย
การก่อตั้งโครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย เกิดขึ้นจากความร่วมมือทั้งจังหวัดสุพรรณบุรี โดยจังหวัดสุพรรณบุรีจัดหางบประมาณในการก่อสร้างเป็นหลัก อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน โดยกรมศิลปากรรับผิดชอบในการออกแบบก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย ซึ่งมีแนวทางการออกแบบภายใต้แนวความคิดของบ้านเรือนไทยภาคกลางที่มีใต้ถุนสูง
กรมศิลปากรได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ออกแบบอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี สถาปนิกผู้ออกแบบโดย นายอุดม สกุลพาณิชย์ สถาปนิก กองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร
อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี (หลังแรก) เป็นอาคาร 2 ชั้น ขนาด 19.20 เมตร x 25.20 เมตร ลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ที่ผสมผสานระหว่างเรือนไทยและยุ้งฉางข้าวของชาวนา ซึ่งเป็นลักษณะที่อยู่อาศัยที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นภาคกลาง เป็นแนวความคิดหลักในการออกแบบอาคารพิพิธภัณฑ์
การก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2532 และกระทรวงศึกษาธิการ (ในขณะนั้นกรมศิลปากรสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ) ได้ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย จังหวัดสุพรรณบุรี ในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 117 ตอนที่ 112 วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2533 ประกาศ ณ วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2533
วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2532 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี ณ บริเวณ ศาลากลาง (หลังเก่า) ถนนประชาธิปไตย ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่รวบรวมเครื่องมือเครื่องใช้ที่พระองค์ทรงใช้เมื่อครั้งทรงทำนาประวัติศาสตร์ที่บึงไผ่แขก ตลอดจนนิทรรศการข้อมูลความรู้ด้านการทำนา ประเพณี วิถีชีวิตของชาวนาไทย
วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2537 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี อย่างเป็นทางการ
จากนั้นเป็นต้นมา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี ได้เปิดบริการให้ประชาชนเข้าชม โดยไม่มีค่าธรรมเนียมการเข้าชมจวบจนปัจจุบัน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี เปิดให้บริการเป็นเวลากว่า 30 ปีมาแล้ว
ข้อมูลประกอบการเรียบเรียง : นายปณิธาน เจริญใจ สถาปนิกชำนาญการ สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร
เครดิตภาพถ่าย : หอจดหมายเหตุแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี, นางสาวภัทรา เชาว์ปรัชญากุล ภัณฑารักษ์ชำนาญการ (บันทึกภาพวันที่ 1 เมษายน 2563)
ที่มาของข้อมูล: Facebook Page : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชาวนาไทย Thaifarmersnationalmuseum เผยแพร่วันที่ 20 เม.ย. 2563
การก่อตั้งโครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย เกิดขึ้นจากความร่วมมือทั้งจังหวัดสุพรรณบุรี โดยจังหวัดสุพรรณบุรีจัดหางบประมาณในการก่อสร้างเป็นหลัก อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน โดยกรมศิลปากรรับผิดชอบในการออกแบบก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย ซึ่งมีแนวทางการออกแบบภายใต้แนวความคิดของบ้านเรือนไทยภาคกลางที่มีใต้ถุนสูง
กรมศิลปากรได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ออกแบบอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี สถาปนิกผู้ออกแบบโดย นายอุดม สกุลพาณิชย์ สถาปนิก กองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร
อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี (หลังแรก) เป็นอาคาร 2 ชั้น ขนาด 19.20 เมตร x 25.20 เมตร ลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ที่ผสมผสานระหว่างเรือนไทยและยุ้งฉางข้าวของชาวนา ซึ่งเป็นลักษณะที่อยู่อาศัยที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นภาคกลาง เป็นแนวความคิดหลักในการออกแบบอาคารพิพิธภัณฑ์
การก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2532 และกระทรวงศึกษาธิการ (ในขณะนั้นกรมศิลปากรสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ) ได้ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย จังหวัดสุพรรณบุรี ในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 117 ตอนที่ 112 วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2533 ประกาศ ณ วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2533
วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2532 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี ณ บริเวณ ศาลากลาง (หลังเก่า) ถนนประชาธิปไตย ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่รวบรวมเครื่องมือเครื่องใช้ที่พระองค์ทรงใช้เมื่อครั้งทรงทำนาประวัติศาสตร์ที่บึงไผ่แขก ตลอดจนนิทรรศการข้อมูลความรู้ด้านการทำนา ประเพณี วิถีชีวิตของชาวนาไทย
วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2537 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี อย่างเป็นทางการ
จากนั้นเป็นต้นมา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี ได้เปิดบริการให้ประชาชนเข้าชม โดยไม่มีค่าธรรมเนียมการเข้าชมจวบจนปัจจุบัน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี เปิดให้บริการเป็นเวลากว่า 30 ปีมาแล้ว
ข้อมูลประกอบการเรียบเรียง : นายปณิธาน เจริญใจ สถาปนิกชำนาญการ สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร
เครดิตภาพถ่าย : หอจดหมายเหตุแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี, นางสาวภัทรา เชาว์ปรัชญากุล ภัณฑารักษ์ชำนาญการ (บันทึกภาพวันที่ 1 เมษายน 2563)
ที่มาของข้อมูล: Facebook Page : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชาวนาไทย Thaifarmersnationalmuseum เผยแพร่วันที่ 20 เม.ย. 2563
(จำนวนผู้เข้าชม 1852 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน