ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,418 รายการ
องค์ความรู้ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พระโพธิสัตว์จุนทา ๖ กร
พระโพธิสัตว์จุนทา ๖ กร
สมัยศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่๑๕-๑๖
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ พระราชทานเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๙
ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องศรีวิชัย อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
รูปพระโพธิสัตว์จุนทา ๖ กร พระเศียรรวบพระเกศาเกล้าขึ้นเป็นมวย (ชฎามกุฏ) กึ่งกลางมีสถูปขนาดเล็ก และทรงอุณหิศประดับตาบสามเหลี่ยม ปลายพระเกศาปล่อยลงมาปรกพระอังสา พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่ง ริมพระโอษฐ์ทาด้วยสีแดง พระพาหาทรงพาหุรัด สองพระกรคู่หลังยกขึ้นแสดงการทรงวัตถุในพระหัตถ์ (แต่ชำรุดหักหายไป) สองพระกรคู่หน้าแสดงปางสมาธิ และสองพระกรคู่กลางพระหัตถ์ขวาแบฝ่าพระหัตถ์ออก พระหัตถ์ซ้ายชำรุดหักหายไปพระวรกายทรงยัชโญปวีต (หรือสายธุรำ แสดงถึงการเป็นนักบวช) ประทับขัดสมาธิเพชร บนฐานดอกบัว เบื้องหลังเป็นแผ่นประภามณฑลประดับด้วยกระหนกรูปเปลวไฟ
พระโพธิสัตว์จุนทา (หรือบางครั้งเรียก จุณฑี) เป็นหนึ่งในธยานิโพธิสัตว์เพศหญิง กล่าวกันว่าเป็นเสมือนมารดาของพระพุทธเจ้า ในคัมภีร์นิษปันนโยคาวลี (Nispannayogavali) กล่าวว่าคำที่ใช้เรียกขานพระโพธิสัตว์องค์นี้คือ “จุณฑาธารณี” (CundāDhāraṇī) และในคัมภีร์มัญชูวัชระมณฑล (Mañjuvajra-mandala)ระบุว่าพระโพธิสัตว์จุนทาจัดอยู่ในกลุ่มธยานิพุทธไวโรจนะ พระโพธิสัตว์จุนทานั้นมีรูปเคารพแสดงพระกรที่ต่างกันไป ทั้งแบบสองกร สี่กร หกกร แปดกร และมากถึงสิบหกกร ปรากฏหลักฐานตั้งแต่ในศิลปะอินเดีย ตัวอย่างเช่น ประติมากรรมพระโพธิสัตว์จุนทาสัมฤทธิ์ (๔ กร) ศิลปะอินเดียสมัยปาละ พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ พบในมหาวิทยาลัยนาลันทา ภาพวาดพระโพธิสัตว์จุนทา ๖ กร ที่ถ้ำเอลโลร่า (Ellora Cave) หมายเลข ๑๐ เป็นต้น การนับถือพระโพธิสัตว์จุนทานั้นแพร่หลายไปในหลายประเทศที่นับถือพุทธศาสนามหายาน โดยเฉพาะทิเบต จีนและญี่ปุ่น ส่วนบ้านเมืองในพื้นที่คาบสมุทรและหมู่เกาะโดยเฉพาะที่อินโดนีเซียพบหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับพระโพธิสัตว์จุนทาในสมัยศรีวิชัยทั้งแบบประติมากรรมสัมฤทธิ์ เช่น ประติมากรรมพระโพธิ์สัตว์จุนทา ๔ กร สัมฤทธิ์ จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์จากาตาร์ และรูปสลักพระโพธิสัตว์จุนทาบนผนังด้านนอกของจันทิเมนดุต (Candi Mendut) ศิลปะชวาภาคกลาง พุทธศตวรรษที่ ๑๔
สำหรับประติมากรรมพระโพธิสัตว์จุนทา ๖ กรชิ้นนี้ แสดงรูปแบบของศิลปะอินเดียได้แก่ ชฎามกุฏและฐานบัว แต่ในขณะเดียวกันการทำแผ่นหลังทึบดังกล่าวกลับพบได้ทั่วไปในกลุ่มประติมากรรมสัมฤทธิ์ศิลปะชวา และลักษณะความเป็นท้องถิ่นของประติมากรรมชิ้นนี้คือเปลวไฟที่ประดับขอบแผ่นหลังนั้นไม่ได้มีลักษณะเดียวกับศิลปะอินเดียหรือศิลปะชวา ประกอบกับทำประดับไว้ห่างๆกันไม่ได้ติดกันเป็นแถบ ดังนั้นประติมากรรมชิ้นนี้จึงน่าจะสร้างขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย โดยรับแรงบันดาลใจจากศิลปะอินเดียและชวา
บทความโดย นาย พนมกร นวเสลา ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
อ้างอิง
เชษฐ์ ติงสัญชลี. ศิลปะไทยภายใต้แรงบันดาลใจจากศิลปะอินเดียแบบปาละ. นนทบุรี: มติชนปากเกร็ด, ๒๕๕๘.
ผาสุข อินทราวุธ. พุทธปฏิมาฝ่ายมหายาน. กรุงเทพฯ: อักษรสมัย, ๒๕๔๓.
Puspa Niyogi. “Cundā - a Popular Buddhist Goddess.”.East and West Vol. 27, No. 1/4 (December 1977), pp. 299-308.
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : ไปดูเค้าฝึกงาน -- ครั้งหนึ่งสถานีประมงจังหวัดพะเยารับนักศึกษาเกษตรเข้าฝึกงาน เป็นการฝึกงานทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติเกือบ 1 เดือน น่าสนใจว่าพวกเค้าฝึกหัดอะไรบ้าง ? . จากเอกสารจดหมายเหตุของสถานีประมงจังหวัดพะเยาปี 2522 มีตารางการฝึกงานให้นักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ระหว่างวันที่ 9 - 31 ตุลาคม ซึ่งรายละเอียดการฝึกหัดสรุปเป็นประเด็นได้ดังนี้. 1. การฝึกงานในแต่ละวันเริ่ม 9.00 น. - 16.00 น. และหยุดพัก 1 วันต่อสัปดาห์ 2. นักศึกษาได้ฝึกงานกับนักวิชาการประมงโดยตรง 3. งานฝึกปฏิบัติส่วนใหญ่เกี่ยวกับการเลี้ยงปลา เริ่มตั้งแต่ชนิดปลาที่ควรเพาะเลี้ยง การขยายพันธุ์ การป้องกันโรค การลำเลียงขนส่งสายพันธุ์ โครงการบำรุงพันธุ์ปลาแบบประชาอาสา และเรื่องบันไดปลาโจน 4. งานภาคทฤษฎีกำหนดให้ศึกษาเพิ่มเติมจากการค้นคว้าในห้องสมุด ซึ่งมีแนวทางหรือหลักการที่ถูกต้อง อ้างอิงได้ 5. ช่วงสุดท้ายของการฝึกงานมีการบรรยายกฎหมายกับระเบียบการประมงให้ทราบ ตลอดจนสรุปปัญหา ตอบข้อสงสัยต่างๆ และจัดทำรายงานผลการศึกษา. จากประเด็นการฝึกงานของนักศึกษานี้ ทำให้พบว่าเมื่อ 44 ปีก่อน สถานีประมงจังหวัดพะเยาเน้นการเผยแพร่เรื่องปลา ไม่ใช่เพราะมีกว๊านพะเยาเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ขนาดใหญ่เท่านั้น หากปลาคือหนึ่งในสัตว์น้ำเศรษฐกิจพื้นฐานของประเทศ บริโภคง่าย มีคุณค่าทางโภชนาการ. ถัดมา สถานีประมงให้ความสำคัญเรื่อง " บันไดปลาโจน " เพราะขณะนั้นเป็นเรื่องใหม่ของเอเชีย จังหวัดพะเยาคือพื้นที่แรกๆ ของประเทศที่จัดทำขึ้น โดยจุดประสงค์ต้องการช่วยเหลือการอพยพของปลาไปวางไข่ ว่ายหาแหล่งอาหาร หลีกหนีมลภาวะเป็นพิษ บันไดปลาโจนจึงถูกออกแบบมาให้ปลาชนิดต่างๆ โจนข้ามสิ่งกีดขวางไปได้ง่าย. ดังนั้น การฝึกงานของนักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ จึงได้ฝึกหัดเรื่องก้าวหน้าทันสมัย สถานีประมงวางกำหนดการฝึกปฏิบัติสอดคล้องสภาพสังคมของจังหวัดกับภูมิภาค ทุกคนสามารถนำไปต่อยอดการศึกษาหรือหาความชำนาญเพิ่มเติมสำหรับประกอบอาชีพได้ และที่สำคัญ... การเรียนรู้ทั้งหมดคือจุดเริ่มต้นในการพัฒนาบ้านเกิดให้มีประสิทธิภาพดังเช่นปัจจุบัน.ผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา).เอกสารอ้างอิง: หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา (2) กษ 1.1.1.1/3 เรื่อง นักศึกษาและครูขอเข้าฝึกงานที่สถานีประมงพะเยา [ 25 พ.ค. 2508 - 11 พ.ย. 2526 ].#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
วัดห้วยเสือ ตั้งอยู่ ณ บ้านห้วยเสือ หมู่ที่ 5 ตำบลสมอพรือ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งจากการเข้าไปสำรวจพบว่าวัดแห่งนี้มีการรวบรวมภาพจิตรกรรม โดยเป็นเรื่องราวของ “พระเวสสันดรชาดก” ชาติที่ 10 ของเรื่องราว “ทศชาติชาดก” หรือก็คือ 10 ชาติ ของการเล่าเรื่องราวการที่พระพุทธเจ้าทรงเวียนว่ายตายเกิด จนเป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย ซึ่งในปัจจุบันภาพดังกล่าวได้ถูกจัดเก็บไว้เป็นอย่างดี ณ วัดห้วยเสือ เพื่อเป็นการดำรงและรักษาภาพจิตรกรรมการแสดงคำสอนอันดีงามและเรื่องราวความเป็นมาทางพุทธศาสนาให้คงอยู่ต่อไป
สำหรับ ทศชาติ เรื่อง “พระเวสสันดรชาดก” ว่าด้วยเรื่อง 13 กัณฑ์ ถือได้ว่าเป็นเรื่องราวที่รู้จักมากที่สุดและมีความสำคัญมากที่สุดในบรรดาทศชาติชาดกทั้ง 10 ตอน และเป็นสาเหตุที่เวสสันดรชาดกถูกยกให้เป็นมหาชาตินั้น ก็เนื่องจากชาดกเรื่องนี้ถือเป็นพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนจะได้เป็นพระพุทธเจ้า อีกทั้งยังเป็นพระชาติที่ทรงบำเพ็ญบารมีครบทั้ง 10 ประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ทานบารมี” ที่ทรงบริจาคทุกสิ่งทุกอย่างทุกอย่าง แม้แต่ภรรยาและบุตรของตนเองก็บริจาค ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ทำได้ยากและเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
นอกจากนั้น สาเหตุที่ “พระเวสสันดรชาดก” นั้นเป็นที่ยกย่องและน่าเลื่อมใส เพราะเรื่องเวสสันดรชาดกนั้นมีคุณค่าที่สามารถนำไปประยุกต์เข้ากับชีวิตประจำวันได้ทุกระดับ โดย 13 กัณฑ์ ของเรื่องราว “พระเวสสันดรชาดก” สามารถศึกษาเเละทำความเข้าใจเพิ่มเติมได้ ดังนี้
เอกสารเเละหลักฐานสำหรับการสืบค้น
1. วัดห้วยเสือ, ภาพจิตรกรรม ทศชาติ เรื่อง “พระเวสสันดรชาดก” ว่าด้วยเรื่อง 13 กัณฑ์.
2. เจริญ ไชยชนะ. (2502), มหาเวสสันดรชาดก ฉบับ 5 กัณฑ์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ ไชยวัฒน์.
3. กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2561), เทศน์มหาชาติมหากุศล. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
4. ทิวาวรรณ อายุวัฒน์. (2561). ““ทศชาติชาดก 101”, ใน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี (ผู้รวบรวม), บทความทางวิชาการ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี. (หน้า 1). นครปฐม :มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
ชื่อเรื่อง มหานิปาต(เวสฺสนฺตรชาดก)ชาตกปาลิขุทฺทกนิกาย(คาถาพัน)อย.บ. 170/1คหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 66 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง มหาเวสสันดรชาดก
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา
๒๘ กันยายน ๒๕๖๖
"๑๐๖ ปี" วันพระราชทานธงชาติไทย
๒๘ กันยายน ของทุกปี คือวันพระราชทานธงชาติไทย (Thai National Flag Day) เป็นวันที่ระลึกถึงโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พุทธศักราช ๒๔๖๐ โดยมีสาระสำคัญคือการประกาศให้ “ธงไตรรงค์” เป็น “ธงชาติไทย” สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งได้มีการประกาศไว้ ณ วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๐ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๖๐ สำนักนายกรัฐมนตรี จึงได้เสนอให้วันที่ ๒๘ กันยายนของทุกปีเป็นวันพระราชทานธงชาติไทย โดยให้เริ่มในวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นปีแรก เนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปี ซึ่งในปีนี้วันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๖ ถือเป็นวันครบรอบ ๑๐๖ ปี ของวันพระราชทานธงชาติไทย
"ธงไตรรงค์" กำเนิดขึ้นหลังเหตุการณ์ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองอุทัยธานีเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙ ครั้งนั้นราษฎรแสดงความจงรักภักดีและปลื้มปีติในการเสด็จฯ ด้วยการหาธงทิวซึ่งขณะนั้นเป็นธงรูปช้างเผือกอยู่ตรงกลางธงมาประดับประดาเพื่อรับเสด็จ แต่ด้วยความที่ธงชาติมีราคาแพงและหาได้ยาก จึงได้นำผ้าทอสีแดงขาวมาห้อยหรือจีบเป็นรูปสวยงามประดับอยู่ตามทางเสด็จฯ ผ่าน เหตุการณ์นี้ทำให้ทรงสะเทือนพระราชหฤทัยเป็นอย่างมากระหว่างเสด็จประพาส ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณะธงชาติไทยครั้งสำคัญ หลังจากเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงครุ่นคิดถึงถึงเรื่องราวและภาพที่ทรงผ่านพบอยู่ตลอดเวลา ทรงปรึกษากับเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่ในพระราชสำนักถึงการที่จะแก้ไขธงไทยเสียใหม่ โดยทรงใช้หลักการสำคัญคือ คำนึงถึงเศรษฐกิจของราษฎรเป็นข้อแรก เพราะทรงตระหนักว่า ธงช้างนั้นเป็นภาพพิมพ์ที่ต้องส่งมาจากต่างประเทศ จึงมีราคาแพงราษฎรไม่สามารถจะซื้อหามาไว้ใช้ประจำบ้านได้ ข้อต่อไปคือต้องมีความหมายและความสง่างาม เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจรวมใจผู้คนให้ยึดมั่นร่วมกัน
ครั้งแรกทรงทดลองใช้ผ้าชิ้นสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีแดงขาวเพลาะสลับกันเป็น ๕ ริ้ว วิธีทำก็ง่ายวิธีใช้ก็ง่าย เพราะจะใช้ด้านไหนก็ได้ไม่ต้องกลัวจะติดผิดทางเหมือนธงช้าง ทรงใช้ธงแดงขาว ๕ ริ้วนี้ชักขึ้นที่สนามเสือป่าเป็นครั้งแรก แต่เมื่อทางพิจารณาดูแล้วไม่เป็นที่พอพระราชหฤทัย เพราะดูจืดชืดไม่งดงามจับตา จึงทรงคิดที่จะหาวิธีที่จะตกแต่งให้งดงามและได้ลักษณะสมพระราชประสงค์ ทรงรำลึกถึงสีน้ำเงินอันเป็นสีแห่งวันพระราชสมภพ ซึ่งทรงยึดถือเป็นสีประจำพระองค์อยู่แล้ว ทรงจัดวางรูปริ้วผ้าใหม่โดยนำริ้วสีน้ำเงินที่ใหญ่เป็น ๒ เท่าของสีขาวและสีแดงไว้ตรงกลางขนาบด้วยสีขาวทั้งล่างและบน มีสีแดงอยู่ริม ๒ ข้างและพระราชทานความหมายไว้ว่า สีแดง หมายถึงชาติซึ่งคนไทยทุกคนต้องรักษาไว้โดยแม้จะต้องสละเลือดและชีวิต สีขาว คือศาสนาซึ่งบริสุทธิ์ดุจสีขาว ส่วน สีน้ำเงิน หมายถึงองค์พระมหากษัตริย์ หลังจากนั้นโปรดให้ทดลองนำขึ้นสู่เสา ดูสง่างาม และมีความหมายแสดงสัญลักษณ์ของชาติไว้อย่างครบถ้วนตามพระราชประสงค์ เป็นที่พอพระราชหฤทัย และพระราชทานนามว่า “ธงไตรรงค์” ด้วยเหตุดังกล่าว จึงได้มีการประกาศให้ทุกวันที่ ๒๘ กันยายน ของทุกปี คือ“วันพระราชทานธงชาติไทย” และกำหนดให้มีการชักธงและประดับธงชาติไทยในวันดังกล่าวด้วย เพื่อเป็นการสร้างความภาคภูมิใจของคนในชาติ และน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
....
อ้างอิง
๑) กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม. “รัชกาลที่ ๖ ทรงประกาศให้ “ธงไตรรงค์” เป็น “ธงชาติไทย” เมื่อ ๒๘ กันยายน ๒๔๖๐.” ศิลปวัฒนธรรม. เข้าถึงเมื่อ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๖. เข้าถึงได้จาก https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_๑๑๗๙๘
๒) ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. “มูลเหตุเปลี่ยนธงชาติไทย กับการห้อยผ้าแดงเมืองอุทัยธานี-ธงช้างที่สะเทือนพระราชหฤทัย,” ศิลปวัฒนธรรม ฉบับเมษายน ๒๕๕๒. เข้าถึงเมื่อ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๖. เข้าถึงได้จาก https://www.silpa-mag.com/featured/article_๘๒๕๖
วัดห้วยเสือ ตั้งอยู่ ณ บ้านห้วยเสือ หมู่ที่ 5 ตำบลสมอพรือ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งจากการเข้าไปสำรวจพบว่าวัดแห่งนี้มีการรวบรวมภาพจิตรกรรม โดยเป็นเรื่องราวของ “พระเวสสันดรชาดก” ชาติที่ 10 ของเรื่องราว “ทศชาติชาดก” หรือก็คือ 10 ชาติ ของการเล่าเรื่องราวการที่พระพุทธเจ้าทรงเวียนว่ายตายเกิด จนเป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย ซึ่งในปัจจุบันภาพดังกล่าวได้ถูกจัดเก็บไว้เป็นอย่างดี ณ วัดห้วยเสือ เพื่อเป็นการดำรงและรักษาภาพจิตรกรรมการแสดงคำสอนอันดีงามและเรื่องราวความเป็นมาทางพุทธศาสนาให้คงอยู่ต่อไป
สำหรับ ทศชาติ เรื่อง “พระเวสสันดรชาดก” ว่าด้วยเรื่อง 13 กัณฑ์ ถือได้ว่าเป็นเรื่องราวที่รู้จักมากที่สุดและมีความสำคัญมากที่สุดในบรรดาทศชาติชาดกทั้ง 10 ตอน และเป็นสาเหตุที่เวสสันดรชาดกถูกยกให้เป็นมหาชาตินั้น ก็เนื่องจากชาดกเรื่องนี้ถือเป็นพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนจะได้เป็นพระพุทธเจ้า อีกทั้งยังเป็นพระชาติที่ทรงบำเพ็ญบารมีครบทั้ง 10 ประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ทานบารมี” ที่ทรงบริจาคทุกสิ่งทุกอย่างทุกอย่าง แม้แต่ภรรยาและบุตรของตนเองก็บริจาค ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ทำได้ยากและเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
นอกจากนั้น สาเหตุที่ “พระเวสสันดรชาดก” นั้นเป็นที่ยกย่องและน่าเลื่อมใส เพราะเรื่องเวสสันดรชาดกนั้นมีคุณค่าที่สามารถนำไปประยุกต์เข้ากับชีวิตประจำวันได้ทุกระดับ โดย 13 กัณฑ์ ของเรื่องราว “พระเวสสันดรชาดก” สามารถศึกษาเเละทำความเข้าใจเพิ่มเติมได้ ดังนี้
เอกสารเเละหลักฐานสำหรับการสืบค้น
1. วัดห้วยเสือ, ภาพจิตรกรรม ทศชาติ เรื่อง “พระเวสสันดรชาดก” ว่าด้วยเรื่อง 13 กัณฑ์.
2. เจริญ ไชยชนะ. (2502), มหาเวสสันดรชาดก ฉบับ 5 กัณฑ์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ ไชยวัฒน์.
3. กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2561), เทศน์มหาชาติมหากุศล. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
4. ทิวาวรรณ อายุวัฒน์. (2561). ““ทศชาติชาดก 101”, ใน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี (ผู้รวบรวม), บทความทางวิชาการ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี. (หน้า 1). นครปฐม :มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
วารสารเครือข่ายกรมศิลปากรเป็นวารสารรายไตรมาสออกทุก ๓ เดือน
ชื่อเรือ 2 ลำนี้สะท้อนถึงอิทธิพลคัมภีร์ปุราณะของอินเดียที่มีต่อคตินิยมและศิลปกรรม ไทย ตามคัมภีร์ปุราณะครุฑเป็นเจ้าแห่งนกทั้งหลาย หรือเทพปักษิน ซึ่งผูกพันกับพระวิษณุ เพราะพระวิษณุทรงท่องไปในสวรรค์โดยมีครุฑเป็นพาหนะ
ชื่อเรือ 2 ลำนี้สะท้อนถึงอิทธิพลคัมภีร์ปุราณะของอินเดียที่มีต่อคตินิยมและศิลปกรรมไทย ตามคัมภีร์ปุราณะครุฑเป็นเจ้าแห่งนกทั้งหลาย หรือเทพปักษิน ซึ่งผูกพันกับพระวิษณุ เพราะพระวิษณุทรงท่องไปในสวรรค์โดยมีครุฑเป็นพาหนะ กล่าวกันว่า ครุฑสามารถเปลี่ยนแปลงตนให้เป็นรูปร่างต่างๆ นานาและสามารถไปได้ในทุกหนแห่งตามปรารถนา ครุฑเป็นศัตรูกับนาคหรือบรรดางูทั้งหลาย เนื่องมาจากมารดาของทั้งสองฝ่ายวิวาทกัน ดังนั้นในศิลปกรรมของศาสนาฮินดูและพระพุทธศาสนา ครุฑจึงมักปรากฏในท่าที่ฉวยจับนาคไว้ ไม่ว่าจะเป็นนาคเพียงตัวเดียวหรือหลายตัว ไทยเราเรียกว่า ครุฑยุดนาค
โขนเรือทั้งสองลำเป็นไม้จำหลักรูปครุฑจับนาค ๒ ตัวชูขึ้น ลงรักปิดทองประดับกระจก เรือครุฑเหินเห็จ ครุฑกายสีแดง ส่วน เรือครุฑเตร็จไตรจักร ครุฑกายสีชมพู
เรือ 2 ลำนี้สร้างครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พุทธศักราช 2325 - 2352) แต่ชื่อเรือครุฑเหินเห็จ ใช้ชื่อว่า เรือครุฑเหิรระเห็จ เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 ระเบิดจากอากาศยานที่ถล่มกรุงเทพมหานครสร้างความเสียหายให้กับเรือพระราชพิธีทั้ง 2 ลำนี้มาก ดังนั้นในพุทธศักราช 2508 กองทัพเรือและกรมศิลปากรจึงร่วมกันบูรณะเรือสองลำนี้ใหม่โดยใช้หัวเรือเดิมมาประกอบ
เรือแต่ละลำมีความยาว 28.58 เมตร กว้าง 2.10 เมตร ลึกถึงท้องเรือ 56 เซนติเมตร มีกำลังพลประกอบด้วยฝีพาย 34 คน นายเรือ 1 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนกระทุ้งเส้า (ให้จังหวะ) 2 คน
ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/royalbarges
กรมศิลปากร ขอเชิญชวนผู้สนใจร่วมทัวร์ศิลปากรสัญจร ครั้งที่ ๔ กับกิจกรรม "ท่องเที่ยวแหล่งวัฒนธรรมภาคตะวันตก : ต้นธารแห่งอารยธรรมไทย" ในราคา ๕,๐๐๐ บาท (รวมค่ารถ ค่าอาหารและอาหารว่าง ค่าที่พัก ค่าเข้าชมละคร เรื่อง "เลือดสุพรรณ" และค่าบริการอื่น ๆ)
กิจกรรมครั้งนี้ จัดให้ทุกท่านไปท่องเที่ยว ๒ วัน ๑ คืน ระหว่างวันที่ ๖ - ๗ กรกฎาคม ๒๕๖๗ นำชมโดยนักวิชาการจากกรมศิลปากรตลอดทั้งรายการ เริ่มต้นวันแรกด้วยการเดินทางไปจังหวัดสุพรรณบุรี ศึกษาเรียนรู้เรื่องราวยุคก่อนประวัติศาสตร์ ณ แหล่งโบราณคดีหนองราชวัตร จากนั้นเดินทางไปเยี่ยมชมและซื้อสินค้าชุมชน ณ ตลาดสามชุก ชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง และชมทิวทัศน์เมืองโบราณอู่ทองบน skywalk และสักการะพระพุทธปุษยคีรีศรีสุวรรณภูมิ พร้อมชมการแสดงละคร เรื่อง “เลือดสุพรรณ” จากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร ณ โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก รุ่งเช้าวันที่ ๒ ออกเดินทางไปจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า และเยี่ยมชมอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ จากนั้นเดินทางไปสักการะองค์พระปฐมเจดีย์ พระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ และเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
เปิดรับผู้ร่วมกิจกรรมจำนวน ๘๐ ท่าน สนใจร่วมกิจกรรม สามารถสำรองที่นั่ง และสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณสุภาภรณ์ ปัญญารัมย์ โทร. ๐ ๒๑๖๔ ๒๕๐๑ - ๒ ต่อ ๖๐๐๘ และ ๖๐๑๐ หรือโทร. ๐ ๙๒๖๓๔ ๘๕๘๓
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “เมนูสำรับ กับข้าวเจ้านายในราชสำนักสยาม” วิทยากร นางสาวบุบผา ชูชาติ ผู้อำนวยการกลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดแห่งชาติ, นางสาววนัสสุดา ดิษยบุตร บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ สำนักหอสมุดแห่งชาติ และนางสาวอุดมพร เข็มเฉลิม บรรณารักษ์ชำนาญการ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
รายการ “ไขความรู้จากครูกรมศิลป์” มีรูปแบบเนื้อหาของรายการเกี่ยวกับประวัติความเป็นไทย เกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญ ประเพณี วัฒนธรรม วีถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ผ่านการบอกเล่า ถ่ายทอดความรู้ แนวความคิด เนื้อหาวิชาการ จากประสบการณ์ของผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากร กำหนดถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุ๊กไลฟ์ (facebook live) ทุกวันพฤหัสบดี เวลา ๑๑.๐๐ น. ตลอดปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๖๖ - กันยายน ๒๕๖๗
สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ขอเชิญชมนิทรรศการพิเศษเนื่องในโอกาสครบ 150 ปี พิพิธภัณฑ์ไทย เรื่อง “จากหอคองคอเดีย สู่วังหน้า ภาพเก่าเล่าพิพิธภัณฑ์” บอกเล่าเรื่องราวการก่อกำเนิดพิพิธภัณฑ์ไทย 19 กันยายน 2417 ตั้งแต่หอคองคอเดีย กระทั่งพัฒนาสู่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในปัจจุบัน นำเสนอผ่านข้อมูล เอกสาร และภาพถ่ายเก่าเล่าเรื่อง พร้อมนำโบราณวัตถุที่น่าสนใจมาจัดแสดงให้ชม ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2567 เป็นต้นไป ทุกวันพุธ - อาทิตย์ เวลา 08.30 - 16.00 น. (ปิดวันจันทร์ - อังคาร) อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 200 บาท สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2224 1402ภาพ: หอคอคอเดีย โรงทหารมหาดเล็กที่อยู่ด้านทิศตะวันตกของวัดพระศรีรัตนศาสดารามภาพ: พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นฤษี หรือโยคี ศิลปะอยุธยาภาพ: พระพุทธรูปปางถวายเนตร จำหลักจากแก้วสีต่าง ๆภาพ: ขวดแก้วมีตะกร้อ ต้นไม้ สิ่งของต่างๆอยู่ภายใน และโคมไม้ไผ่ฉลุลายภาพ: กล้องยาแดงทำด้วยรากไม้ไผ่ป่าแต่งเป็นรูปทรงต่างๆภาพ: ช้างทรงรูปพระโพธิสัตว์ในขบวนแห่วันวิสาขบูชา ภาพ : พระพุทธรูปปางมารวิชัย เส้นที่เขียนเป็นอักษรญี่ปุ่นโบราณภาพ: ตะกร้าสาน ของชาวม้อย เมืองดาลาต เวียดนามภาพ: ต้นไม้กระดาษภาพ: พระวิษณุ และพระครูประกำ
***บรรณานุกรม***
กรมพระยาดำรงราชานุภาพสุนทรภู่
ประวัติสุนทรภู่ นิราศเมืองแกลง ของ สุนทรภู่ และ ประวัติเมืองแกลง พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางสำลี เกิดลาภผล ณ เมรุมกุฎกษัตริยาราม วันที่ 7 พฤษภาคม พุทธศักราช 2511
พระนคร
โรงพิมพ์ชานพิมพ์
2511
อาคารพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน
เป็นการจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตร การทำมาหากิน วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี ของคนไทยในอดีต แสดงถึงภูมิปัญญาพื้นบ้านที่คิดประดิษฐ์สิ่งของจากวัสดุธรรมชาติ ในการดำรงชีวิตประจำวัน