ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,418 รายการ
ชุมชนเมืองเก่าบ้านสิงห์ท่า, เจดีย์วัดสิงห์ท่า
ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
ดุษฎีมาลา. เที่ยวอินเดีย. พระนคร: คุรุสภา, 2494.
ดุษฎีมาลาผู้เขียนจดหมายได้รวบรวมจดหมายที่ผู้เขียน ๆ ถึงคุณดารา เล่าเรื่องราวที่ได้ท่องเที่ยวรวมทั้งหมด 35 ลงเรือที่อ่าวเบงกอลเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2493 มุ่งหน้าไปประเทศอินเดียด้วยการข้ามอ่าวเมาะตะมะ เห็นแม่น้ำอิรวดี เห็นยอดเจดีย์ชเวดากองมาถึงย่างกุ้งตรงไปกัลกัตตา ถึงเมืองกัลกัตตามีคุณถนัด นาวานุเคราะห์มารับไปพักแกรนด์โฮเต็ล ตอนค่ำได้ชมละครแขกคณะอูเดจังก้า ขึ้นเรือบินของบริษัท Air India ที่จะต้องช่างน้ำหนักผู้โดยสารและต้องเสียค่าน้ำหนักของ 75 รูปี เรือแล่นเลียบอ่าวเบงกอลรวมเวลาเดินทางถึงเมืองบังกะลอร์ 8 ชั่วโมงที่เมืองไมเซอร์ได้มีการตกแต่งเมืองด้วยแสงสีไฟในงานที่ตรงกับวันที่พระรามพานางสีดากลับเข้าเมืองอโยธยาและทำราชาภิเษกเรียกว่า “ทีปะวลี” ทีปแปลว่าประทีป วลีแปลว่ามาลัย ในอินเดียมีวันสำคัญทางศาสนามากมายโรงเรียน มีการแบ่งวรรณะ 4 วรรณะและจะอยู่ปะปนกันไม่ได้ วรรณะสูทร์ต้องหลกหลีกวรรณะอื่น เพราะสกุลต่ำต้อย พระเป็นเจ้าที่สำคัญที่สุดมีสามองค์ คือ พระพรหม พระวิศณุ และพระศิวะ ที่เมืองไมเซอร์จะมีไม้หอมที่เรียกว่า “ไม้จันทน์” เพราะกลิ่นหอมเหมือนไม้จันทน์ของไทยนำมาแกะสลักเป็นเทวรูป และที่นี่มีน้ำตกที่สูงที่สุดในโลกชื่อ “กสปะ” (Jog fall) มีงาช้างจำหน่าย มีลิง ชะนี จำนวนมาก หญิงสาวแต่งงานแล้วจะต้องเจาะจมูกเพื่อใส่ตุ้มจมูกต้องใส่ตลอดจนกระทั่งเป็นหม้าย ที่นี่ทันสมัยมีการเก็บกักน้ำจากน้ำตกไว้ทำแรงไฟฟ้าจึงมีไฟพอจุดตามทิวเขาเป็นแนวยาวหากมีการไปเยี่ยมเยียถึงบ้าจะได้รับของฝากเป็นหมากและผลไม้ ที่เมืองบังกะลอร์มีเหมืองทำทองใช้คนงานสองหมื่นคน ที่นี่มีความทันสมัยเพราะมีไฟฟ้าติดตลอด มีโทรศัพท์ติดต่อกัน และคล้ายจะมีรถไฟใต้ดินเหมือนกันอังกฤษด้วย มีเกาะซีลอนซึ่งเป็นของอินเดียแต่อังกฤษมายึดและตั้งเป็นประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ มีเมืองหลวงชื่อโคลัมโบ ผู้เขียนได้เล่าประวัติมหาตมะคานธี เกิดเมื่อ ค.ศ. 1896 ที่จังหวัดสุธรรมาบึรี พอสองขวบย้ายไปอยู่เมืองราชโกฏ เป็นคนซื้อสัตย์สุตจริต อายุ 13 ปี ได้สมรสกับเด็กหญิงกัสดรายาย อายุ 18 ปี เข้ามหาวิทยาลัยภวนคร แต่อ่อนวิชาภาษาอังกฤษเกิดท้อใจออกไปอยู่บ้านเฉย ๆ เป็นคนไม่สูบบุหรี่ ไม่กินเนื้อสัตว์ ไปเรียนจบกฎหมายที่อังกฤษและตั้งสำนักงานทนายความที่ราชโกฏ คานธีต่อสู้ทางการเมืองเพื่ออิสระของประเทศด้วยสันติวิธี และบำเพ็ญทุกกรกิริยาอดอาหาร อังกฤษจึงกลัวพวกแขกจะไม่ยกโทษให้หากคานธีตายลง และเขาก็ชนะประกาศอิสระภาพได้เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 1947 และยังมีเรื่องเล่าสนุกอีกมากมายที่น่าอ่านยิ่งนัก
องค์ความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร เรื่อง เครื่องถ้วยชิ้นเด่นในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร : จานลายครามรูปกระต่ายคาบเห็ดหลินจือที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชรhttps://web.facebook.com/kamphaengphetnationalmuseum/posts/4805744249551962
วัดสระไตรนุรักษ์ หรือ วัดบ้านนาเวียง อยู่หมู่ที่ ๑ บ้านนาเวียง ตำบลนาเวียง อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร ประวัติวัดสระไตรนุรักษ์ หรือวัดบ้านนาเวียง สร้างในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๔ โดยพระครูหลักคำ (ชา) ภิกษุชาวลาว ภายหลังได้บูรณะใน พ.ศ.๒๔๕๐ ภายในวัดมีโบราณสถานสำคัญ ได้แก่ หอไตรหอไตร ตั้งอยู่กลางสระน้ำ มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอีสาน-ล้านช้าง ที่ได้รับอิทธิพลไทยใหญ่ ดังจะเห็นได้จากชุดหลังคาจั่วซ้อนชั้น และทำชายคาปีกนกซ้อนชั้นยื่นออกทั้งสี่ด้าน มุงกระเบื้องแป้นเกล็ด คล้ายกับชุดหลังคาหอไตรวัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เสาและตัวอาคารสร้างด้วยไม้ หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ขนาดกว้าประมาณ ๘.๓๐ เมตร ยาวประมาณ ๑๐.๕๐ เมตร บานประตูแกะสลักลายเครือเถาขดเป็นวงกลมซ้อนต่อเนื่องกันตลอดทั้งสองบาน ตรงกลางอาคารเป็นห้องทึบ ขนาดกว้างประมาณ ๓.๕๐ เมตร ยาวประมาณ ๕.๐๐ เมตร สำหรับเก็บคัมภีร์ มีทางเดินโดยรอบ หอไตรหลังนี้ได้รับการบูรณะครั้งหลังสุดเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๕
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนและและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานวัดสระไตรนุรักษ์ (วัดนาเวียง) ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๐๗ ตอนพิเศษ ๑๑๓ วันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๓๓ พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๓ ไร่ ๑ งาน ๕ ตารางวา
----------------------------------------------
อ้างอิงจาก
กองพุทธศาสนสถาน, กรมการศาสนา. ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๑๔. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา,
๒๕๓๘. หน้า ๖๗๔
คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุฯ. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดยโสธร. หนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒, ๒๕๔๒.
----------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : สำนักศิลปากรที่ 9 อุบลราชธานี
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02riUfktVs2zKNb2zePx4oD57wVivqfLnL9ExaG7LXMNq4MNWvCEvpy3iw844vJxZQl&id=835594323191791
ดอกบัวดินบานรับวันหยุดยาวบัวดินจะออกดอกในช่วงฤดูฝน และจะบานมากในช่วง 2-4 วัน หลังฝนตกหนัก ดอกบัวดินจะบานในช่วงเช้า และจะหุบในช่วงเย็น โดยดอกบัวดินที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน มีดอกสีเหลือง และสีชมพูพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เปิดบริการตามปกติในวันพุธที่ 13 - วันศุกร์ ที่ 15 กรกฎาคม 2565เนื่องในวันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา และวันหยุดราชการกรณีพิเศษ
“วันประถมศึกษาแห่งชาติ 25 พฤศจิกายน”
วันประถมศึกษาแห่งชาติ เป็นวันที่รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีต่อการศึกษาของไทย ที่ได้ทรงวางรากฐานให้กับการศึกษาของชาติ เนื่องจากทั้งสองพระองค์ทรงเป็นผู้ให้การสนับสนุนการประถมศึกษา และพระราชทานตราพระราช บัญญัติด้านการประถมศึกษาเอาไว้ ทำให้เกิดเสรีภาพทางการศึกษา และเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทย จวบจนกระทั่งทุกวันนี้
การประถมศึกษาของไทยอาศัย บ้าน วัด วัง เป็นสถานศึกษามาตั้งแต่ในสมัยสุโขทัย จนถึงสมัยรัตน โกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงริเริ่มวางรากฐานการประถมศึกษา ของไทยขึ้น โดยจัดตั้งโรงเรียนหลวงแห่งแรกขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เมื่อ พ.ศ. 2414 และตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรที่วัดมหรรณพาราม ในปี พ.ศ. 2427 และขยายการศึกษาไปตามหัวเมืองต่างๆ
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ขึ้นเสวยราชสมบัติ พระองค์ได้ทรงรับภารกิจเกี่ยวกับการจัดการศึกษา สืบเนื่องจากพระราชบิดา ทรงยกฐานะโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ของพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงสร้างในปี พ.ศ.2453 ขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรงให้จัดสร้างโรงเรียนเพาะช่างขึ้นในปี พ.ศ.2456 ทรงจัดตั้งโรงเรียนเบญจมราชาลัยเพื่อฝึกหัดครูในปี พ.ศ.2456 ทรงตั้งโรงเรียนพาณิชยการ เมื่อปีพ.ศ.2465
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตราพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ขึ้นเพื่อบังคับให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และเพื่อให้เด็กทุกคนรู้หนังสือ จึงทรงตราพระราฃบัญญัติประถมศึกษาออกบังคับเป็นเขต ๆ ไป เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2464 เพื่อกำหนดให้เด็กที่มีอายุ 7-14 ปีบริบูรณ์ เข้าเรียนหนังสืออยู่ในโรงเรียน โดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน นับเป็นการเริ่มต้นการศึกษาภาคบังคับในระดับประถมศึกษา โดยพระราชบัญญัติประถมศึกษานี้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2464
ด้วยเหตุนี้กระทรวงศึกษาจึงได้กำหนดให้วันที่ 1 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันประถมศึกษาแห่งชาติ และได้จัดงานวันประถมศึกษาแห่งชาติเป็นประจำมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2491-2508 ต่อมาโรงเรียนประถมศึกษาได้ถูกโอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด กระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่นั้นมางานวันประถมศึกษาแห่งชาติจึงเปลี่ยนชื่อเป็น วันศึกษาประชาบาล
ต่อมาในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2523 ได้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาขึ้น จึงได้โอนโรงเรียนประชาบาลกลับมาสังกัดคณะกรรมการการศึกษา การจัดงานวันศึกษาประชาบาลจึงสิ้นสุดลง และกลับมาจัดวันประถมศึกษาแห่งชาติขึ้นใหม่ ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 วันประถมศึกษาแห่งชาติจึงเปลี่ยนจากวันที่ 1 ตุลาคม มาเป็นวันที่ 25 พฤศจิกายน ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ที่พระองค์เป็นผู้วางรากฐานและสนับสนุนการประถมศึกษาอย่างดี
#วันประถมศึกษาแห่งชาติ
#กระทรวงศึกษาธิการ
#พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
#พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
#หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษกจันทบุรี
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 149/4 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 178/6จเอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อผู้แต่ง -
ชื่อเรื่อง วารสารคหเศรษฐศาสตร์ (ปีที่ ๑๕ ฉบับที่ ๕ มีนาคม ๒๕๑๔ )
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์วิบุลย์กิว
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๔
จำนวนหน้า ๑๑๓ หน้า
รายละเอียด
วารสารของสมาคมคหเศรษฐศาสตร์แห่งประเทศไทยประกอบด้วยบทความเรื่องการเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน การถนอมอาหาร โปรตีนเกษตร-โรงเรียนพระศรีมหาธาตุ เรื่องของวิตะมินซี เรื่องเจ็บๆไข้ๆ ผลงานการเป็นลูกหัวปี ทำไมจึงสอนวิชาการแต่งกาย โป่งข่าม เตรียมตัวเพื่อไปศึกษาต่อ ณ สหรัฐอเมริกาและคอลัมน์อื่นๆ
โบราณวัตถุที่พบจากกลุ่มโบราณสถานคอกช้างดิน เมืองโบราณอู่ทอง
กลุ่มโบราณสถานคอกช้างดิน ตั้งอยู่เชิงเขาด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเขาคอก นอกคูเมืองโบราณอู่ทอง ห่างไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ ๓ กิโลเมตร ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร พบโบราณสถานทั้งหมด ๒๐ กลุ่มใหญ่ ประกอบด้วยโบราณสถานที่สร้างเป็นคันดิน และโบราณสถานที่สร้างด้วยโครงสร้างอิฐ ศิลาแลง และหิน
กลุ่มโบราณสถานคอกช้างดินที่สร้างเป็นคันดินมีทั้งหมด ๔ แห่ง ลักษณะเป็นคันดินคล้ายอ่างเก็บน้ำ เดิมเชื่อว่าเป็นคอกขังช้างหรือเพนียดคล้องช้าง แต่ปัจจุบันพบหลักฐานจากการดำเนินงานทางโบราณคดีที่โบราณสถานคอกช้างดินหมายเลข ๓ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๔ พบว่าสร้างขึ้นเพื่อกักเก็บน้ำที่ไหลมาจากเขาคอกทางทิศเหนือ
โบราณสถานที่สร้างด้วยอิฐ ศิลาแลง และอิฐ ตั้งอยู่บริเวณที่ราบเชิงเขาคอก ปัจจุบันปรากฏเป็นเนินดิน แบ่งเป็นกลุ่มได้ ๑๖ กลุ่ม ส่วนมากยังไม่ได้ขุดศึกษา โบราณสถานคอกช้างดินที่สร้างด้วยอิฐ ศิลาแลง และอิฐ ซึ่งผ่านการดำเนินงานทางโบราณคดีมาแล้วและพบหลักฐานที่สำคัญ มีดังนี้
• โบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๕ ผ่านการขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ โบราณวัตถุสำคัญที่พบได้แก่ เอกมุขลึงค์
• โบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๖ ผ่านการขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ โบราณวัตถุสำคัญที่พบได้แก่ ขันสำริด เชิงเทียนสำริด ตุ้มเหล็ก และแท่งเหล็ก เป็นต้น
• โบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๗ ผ่านการขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ โบราณวัตถุสำคัญที่พบได้แก่ ภาชนะดินเผาบรรจุแท่งเงินตัด เหรียญเงินมีจารึก "ศรีทวารดี ศวรปุณยะ" เหรียญเงินมีสัญลักษณ์มงคล (รูปหอยสังข์ รูปศรีวัตสะ รูปพระอาทิตย์) ชิ้นส่วนหัวงูดินเผา เครื่องถ้วยจีน เคลือบสีเขียวสมัยราชวงศ์ถัง เป็นต้น
• โบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๑๓ ผ่านการขุดค้นทางโบราณคดี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๔ โบราณวัตถุสำคัญที่พบได้แก่ แผ่นเหล็กคล้าย ใบมีดเหล็ก แหวนสำริด แม่พิมพ์หรือเบ้าหลอมดินเผา เป็นต้น
• โบราณสถานคอกช้างดินหมายเลข ๑๘ ผ่านการขุดค้นทางโบราณคดี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๙ โบราณวัตถุสำคัญที่พบได้แก่ กระปุกดินเผาบรรจุเหรียญเงิน เป็นต้น
โบราณวัตถุที่สำคัญมี ดังนี้
o ชิ้นส่วนภาชนะมีพวย เป็นชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อดินส่วนปาก คอ และบ่า มีพวยหนึ่งข้าง สันนิษฐานว่าป็นภาชนะสำหรับใช้สรงน้ำในพิธีกรรม โบราณวัตถุชิ้นนี้พบจากโบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๓
o ศิวลึงค์ เป็นศิวลึงค์ที่ทำจากหินขนาดสูง เพียง ๑๘.๕ เซนติเมตร ส่วนฐานเป็น แท่งสี่เหลี่ยมส่วนปลายเป็นแท่งกลมมน เนื่องจากเป็นศิวลึงค์ขนาดเล็ก จึงสันนิษฐานว่าอาจไม่ใช่ศิวลึงค์ประจำ ศาสนสถาน แต่สามารถพกพาเพื่อนำไปประกอบพิธีกรรมหรือบูชาได้
o ภาชนะดินเผาบรรจุเหรียญเงินตราสังข์ เป็นภาชนะดินเผา ส่วนลำตัวคล้ายบาตรพระ ส่วนคอแคบสูง ภายในบรรจุเหรียญ เงินตราสังข์เต็มกระปุก พบจากโบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๑๘
o ขัน เป็นขันสำริดทรงกระบอก เนื้อหนาผิวไม่สม่ำเสมอ สันนิษฐานว่าขึ้นรูปด้วยการตี และเป็นเครื่องใช้ในพิธีกรรม โบราณวัตถุชิ้นนี้พบจากโบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๖
o เชิงเทียน เป็นเชิงเทียนสำริด สันนิษฐานว่าขึ้น รูปด้วยการตี และเป็นเครื่องใช้ ในพิธีกรรม พบจากโบราณสถาน คอกช้างดิน หมายเลข ๖
o ตุ้มเหล็กเป็นตุ้มเหล็กรูปสี่เหลี่ยมคางหมู สภาพไม่สมบูรณ์ มีสนิมกินทั้งชิ้น ไม่ทราบลักษณะการใช้งาน แต่สันนิษฐานว่าเป็นตุ้มถ่วงชั่งน้ำหนัก พบจากโบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๖
o แท่งเหล็ก เป็นแท่งเหล็กเรียวยาวสภาพไม่สมบูรณ์ มีสนิม ไม่ทราบลักษณะ การใช้งานแต่สันนิษฐานว่าเป็นคานที่ใช้กับเครื่องชั่งน้ำหนัก เนื่องจากพบจากโบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๖ ใกล้กับตุ้มเหล็ก
o ใบมีด ? เป็นแผ่นเหล็กแบนยาว ด้านหนึ่งบางกว่าอีกด้าน คล้ายกับใบมีด มีสนิมเกาะทั้งแผ่น พบจากโบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๑๓
o แหวน เป็นเส้นลวดขดเกลียวเป็นเส้น และขดเป็นวงแหวน ไม่ทราบ ลักษณะการใช้งานที่แท้จริง สันนิษฐานว่าอาจเป็นของใช้ในพิธีกรรม พบจากโบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๑๓
o เบ้าหลอมเป็นแผ่นดินเผา มีหลุมตรงกลาง สันนิษฐานว่าเป็นเบ้าหลอมหรือ แม่พิมพ์ พบจากโบราณสถาน คอกช้างดิน หมายเลข ๑๓
โบราณสถานคอกช้างดิน มีทั้งส่วนที่คันดินสำหรับกักเก็บน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และส่วนที่เป็นอาคารศาสนสถานเนื่องในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เนื่องจากพบศิวลึงค์ ซึ่งเป็นรูปเคารพในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไศวนิกาย สัมพันธ์กับการเลือกใช้ภูเขาเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ อันเปรียบเสมือนเขาไกรลาศ ที่ประทับของพระศิวะ พื้นที่บริเวณคอกช้างดินจึงน่าจะเป็นพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำพิธีกรรมของพราหมณ์ในไศวนิกาย
ที่มาข้อมูล
กรมศิลปากร. โบราณคดีคอกช้างดิน. กรุงเทพฯ : ฟันนี่พับบลิชชิ่ง, ๒๕๔๕.
กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. สหมิตรพริ้นติ้ง : นนทบุรี, ๒๕๔๕.
ชื่อเรื่อง สวดมนต์สิบสองตำนาน (สวดมนต์สิบสองตำนาน)สพ.บ. 435/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 150 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 56.5 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี