ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,419 รายการ

***บรรณานุกรม*** หนังสือหายาก หลวงผลสัมฤทธิกสิกรรม(ผล สินธุระเวชญ์).  ความรู้เบื้องต้นแห่งพืช สำหรับโรงเรียนกสิกรรมทั่วไป.  พระนคร : โรงพิมพ์กรมตำรา, ๒๔๗๒.


  ชื่อผู้แต่ง           - ชื่อเรื่อง             วยาการศตกม หรือ สุภาษิตร้อยบท สถานที่พิมพ์      กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์        หอพระสมุดวชิรญาณ ปีที่พิมพ์            ๒๔๖๗ จำนวนหน้า       ๕๘                         หนังสือ  วยาการศตกม หรือ สุภาษิตร้อยบท เล่มนี้  นางประเพณีวินิจฉัย และขุนอัคฆานุบาล กับ สวิง เสริมประเสริฐ เจ้าภาพผู้จัดงานฌาปนกิจศพ นางบุญรอด เสริมประเสริฐ   ได้ขออนุเคราะห์ทางหอพระสมุดวชิรญาณในการคัดเลือกหนังสือและจัดพิมพ์เพื่อแจกจ่ายเป็นวิทยาทาน  เป็นอนุสรณ์แก่ผู้มาร่วมงานฌาปนกิจศพ ซึ่งทางหอพระสมุดวชิรญาณได้เลือกเรื่องนี้ เนื่องด้วยเป็นสุภาษิตที่ดีและยังไม่มีแพร่หลาย 


สาระสังเขป  :  รวมบทเห่เรือ ในพระราชนิพนธ์ต่างๆ เช่น บทเห่เรือพระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ บทเห่เรือ พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย บทเห่เรือ พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บทเห่เรือพระราชนิพนธ์สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ เป็นต้นผู้แต่ง  :  -โรงพิมพ์  :  กรมศิลปากรปีที่พิมพ์  :  2510ภาษา  :  ไทยรูปแบบ  :  PDFเลขทะเบียน  :  น.32บ.2468เลขหมู่  :  895.9111082              ก433กช                        ฉ.1


รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ราชอาณาจักรกัมพูชา ๑. ชื่อโครงการ     การอนุรักษ์โบราณวัตถุที่ได้จากแหล่งโบราณคดีใต้น้ำ ๒. วัตถุประสงค์           ๒.๑ เพื่อส่งเสริมศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานโบราณคดีให้มีความรู้ในการอนุรักษ์โบราณวัตถุ                  ที่มาจากใต้ทะเล           ๒.๒ เพื่อประโยชน์ในการวางแผนการสำรวจ การขุดค้นในอนาคต อันจะเอื้อต่อประโยชน์ของการ                 อนุรักษ์โบราณวัตถุสูงสุด           ๒.๓ สามารถรับผิดชอบงานการอนุรักษ์บางส่วนก่อนส่งสู่ส่วนกลางได้           ๒.๔ เรียนรู้และแลกเปลี่ยน ความรู้ ประสบการณ์แก่ผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์โบราณวัตถุที่มาจาก                  ใต้ทะเล ๓. กำหนดเวลา    ๑๑ – ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๐ ๔. สถานที่     ศูนย์อนุรักษ์โบราณวัตถุจากแหล่งโบราณคดีใต้น้ำเกาะเสด็จ จังหวัดเกาะกง ราชอาณาจักรกัมพูชา ๕. หน่วยงานผู้จัด   กองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร ๖. หน่วยงานสนับสนุน  ศูนย์อนุรักษ์โบราณวัตถุจากแหล่งโบราณคดีใต้น้ำเกาะเสด็จ จังหวัดเกาะกง                                กระทรวงศิลปะและวัฒนธรรม  ราชอาณาจักรกัมพูชา                                นำโดย Mr. Tep Sokha นักโบราณคดีและนักอนุรักษ์โบราณวัตถุ ๗. กิจกรรม            ๗.๑ เข้าชมและศึกษาโบราณวัตถุที่ได้จากแหล่งโบราณคดีใต้น้ำเกาะเสด็จ จังหวัดเกาะกง           ๗.๒ การฝึกปฏิบัติการอนุรักษ์โบราณวัตถุที่ได้จากใต้ทะเล โดยเน้นที่โบราณวัตถุประเภท                 ภาชนะดินเผา           ๗.๓ ทัศนศึกษาแหล่งฝังศพครั้งที่สอง ซึ่งอยู่ในชุมชน Chi Phat จังหวัดเกาะกง   ๘. คณะผู้แทนไทย           ๘.๑ นายอาภากร  เกี้ยวมาศ                 รักษาราชการแทนผู้อำนวยการกองโบราณคดีใต้น้ำ           ๘.๒ นายสิร  พลอยมุกดา                    นักโบราณคดีปฏิบัติการ           ๘.๓ นางสาวพรนัชชา  สังข์ประสิทธิ์         นักโบราณคดีปฏิบัติการ           ๘.๔ นายวงศกร  ระโหฐาน                   นักโบราณคดีปฏิบัติการ           ๘.๕ พันจ่าตรีเดชา  พรไทย                  นายช่างสำรวจชำนาญงาน           ๘.๖ จ่าเอกสมเกียรติ  คุ้มรักษา              นายช่างสำรวจชำนาญงาน           ๘.๗ จ่าเอกบันดาล  เพ็ชรขำ                 นายช่างสำรวจชำนาญงาน           ๘.๘ นายวิศณุ  หนูเลขา                      นายช่างโยธาชำนาญงาน           ๘.๙ จ่าเอกประเสริฐ  สอนสุภาพ            นายช่างสำรวจชำนาญงาน           ๘.๑๐ พันจ่าเอกอดุลย์  โคตรสีนวล          นายช่างสำรวจชำนาญงาน           ๘.๑๑ จ่าเอกอรรถพล  เทียมเงิน             นายช่างสำรวจชำนาญงาน           ๘.๑๒ จ่าเอกศุภกฤษ  สำโรงลุน              นายช่างสำรวจชำนาญงาน           ๘.๑๓ จ่าเอกเติมพงศ์ โอภาพ                 นายช่างสำรวจชำนาญงาน           ๘.๑๔ นางกัลปังหา  เกี้ยวมาศ               ผู้ช่วยนักโบราณคดี           ๘.๑๕ นางสาวชีวรัตน์  เชื่อดี                 เจ้าพนักงานพิพิธภัณฑ์ชำนาญงาน ๙. สรุปสาระของกิจกรรม           กิจกรรมแบ่งออกเป็นสามส่วนได้แก่           ๙.๑ การทัศนศึกษาที่แหล่งฝังศพครั้งที่สองที่อยู่ในชุมชน Chi Phat จังหวัดเกาะกง ซึ่งประกอบด้วยแหล่งโบราณคดี O-Kei และ  Phnom Pel ซึ่ง6อยู่บนภูเขา cardamom หรือ พนมกระวาน แหล่งโบราณคดีทั้งสองเป็นแหล่งที่ค้นพบการฝังศพครั้งที่สองภายในภาชนะดินเผาซึ่งตั้งอยู่บริเวณเพิงผาสูงจากพื้นดินประมาณ ๓ – ๕ เมตร โบราณวัตถุที่พบประกอบด้วย ไหจากเตาแม่น้ำน้อย จังหวัดสิงห์บุรี ภาชนะดินเผาแบบเซลาดอนจากเตาศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ไหจากเตาสมัยเมืองพระนครและภาชนะดินเผาที่ใช้ในการหุงต้มประจำวัน นอกจากนี้ยังพบการฝังศพในโลงไม้พร้อมทั้งไหจากเตาแม่น้ำน้อย จังหวัดสิงห์บุรี ภายในภาชนะบรรจุกระดูกมนุษย์ ลูกปัดแก้วและแหวนสำริดซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นของอุทิศให้แก่ผู้ตาย จากการตรวจสอบทางลักษณะทางกายภาพของกระดูกมนุษย์พบว่าน่าจะเสียชีวิตด้วยโรคมาลาเรียเนื่องจากบริเวณกะโหลกมีรู ซึ่งเป็นผลกระทบจากโรคดังกล่าว แหล่งโบราณคดีนี้กำหนดอายุอยู่ในช่วงคริสตวรรษที่ ๑๕ -๑๘ และกำหนดอายุได้เก่าสุดคือ ค.ศ. ๑๔๕๖ ซึ่งตรงกับช่วงที่การค้าขายสังคโลกในสมัยกรุงศรีอยุธยากำลังเจริญรุ่งเรือง การเดินทางติดต่อสื่อสารของผู้คนภาคพื้นทะเลและพื้นที่สูงน่าจะเดินทางผ่านแม่น้ำ  An Daung Toeuk ซึ่งเป็นแม่น้ำที่เชื่อมถึงชุนชน Chi Phat  และสามารถออกสู่ทะเลได้ คนบนพื้นที่สูงน่าจะนำของป่ามาค้าขายหรือแลกเปลี่ยนกับสินค้าที่มาจากภายนอก  การเลือกใช้ภาชนะดินเผาที่นำเข้า มาใช้ในการประกอบพิธีกรรมทำให้สันนิษฐานได้ว่าผู้ตายน่าจะเป็นผู้มีฐานะทางสังคม ปัจจุบันยังไม่ทราบว่ากลุ่มคนที่ประกอบพิธีกรรมเหล่านี้คือใครเนื่องจากเมื่อทำการสัมภาษณ์คนในชุมชนทราบว่าไม่มีการประกอบพิธีกรรมนี้เท่าที่สามารถสืบความได้           ๙.๒ เข้าเยี่ยมชมนิทรรศการโบราณวัตถุที่พบจากแหล่งโบราณคดีใต้น้ำน้ำเกาะเสด็จ แหล่งโบราณคดีนี้อยู่ห่างจากเกาะเสด็จไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๑๐ กิโลเมตร แหล่งนี้ไม่มีการขุดค้น แต่เป็นการเก็บกู้โบราณวัตถุขึ้นมาให้ได้มากที่สุด เพราะเกรงว่าจะถูกลักลอบ จากนั้นจึงนำมารวบรวมไว้ที่ศูนย์อนุรักษ์โบราณวัตถุจากแหล่งโบราณคดีใต้น้ำเกาะเสด็จ จังหวัดเกาะกง กระทรวงศิลปะและวัฒนธรรม โดยมี Mr. Tep Sokha นักโบราณคดีและนักอนุรักษ์โบราณวัตถุ เป็นผู้ดำเนินงาน โบราณวัตถุส่วนใหญ่ที่พบคือไหจากเตาแม่น้ำน้อย จังหวัดสิงห์บุรี ภาชนะจากแหล่งเตาศรีสัชนาลัยและสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย นอกจากนี้ภายในนิทรรศการยังมีชิ้นส่วนไม้เรือ เครื่องถ้วยจีน ภาชนะดินเผาที่ใช้ประจำวัน งาช้าง ปืนใหญ่ขนาดเล็ก ดีบุก เป็นต้น รวมได้ทั้งหมดประมาณ ๘ ตัน ซึ่งปัจจุบันสามารถทำการอนุรักษ์ได้เพียง ๔๐ %           ๙.๓ ฝึกปฏิบัติการอนุรักษ์โบราณวัตถุโดยเน้นที่โบราณวัตถุประเภทภาชนะดินเผา โดยเริ่มจากภาชนะดินเผาประเภทเนื้อดิน (Earthenware) โดยครั้งนี้นำภาชนะดินเผาใหม่ มาทุบให้แตกจากนั้นจึงทดลองปฏิบัติการอนุรักษ์ดังนี้ ๙.๓.๑ ขั้นตอนที่แรกเริ่มจากการบันทึกข้อมูลกายภาพของวัตถุ สภาพก่อนการอนุรักษ์ จากนั้นจึงเริ่มทำความสะอาดโบราณวัตถุโดยแบ่งออกเป็น การทำความสะอาดแบบแห้ง คือการใช้ฟองน้ำ แปรง หรือ ไม้ปลายแหลมพันสำลี และการทำความสะอาดแบบเปียก โดยการใช้น้ำ Acetone หรือ Ethanol ในการทำความสะอาดพื้นผิวหรือรอยต่อของโบราณวัตถุ ๙.๓.๒  จากนั้นจึงเตรียมสาร consolidation เพื่อทำให้พื้นผิวและรอยต่อของโบราณวัตถุแข็งแรงขึ้น โดยใช้สาร poraloid B-72 และ B-48 ๙.๓.๓ การเตรียมกาว โดยใช้สารเคมี poraloid B-72 และ B-48 ละลายใน Acetone ในอัตราส่วน 1:1 จากนั้นจึงผสมสีฝุ่นลงไปให้ได้สีที่ใกล้เคียงกับผิวโบราณวัตถุมากที่สุด ๙.๓.๔ ประกอบโบราณวัตถุเข้าด้วยกัน ใช้กาวในปริมาณน้อย ใช้ยางยืดประคองโบราณวัตถุให้เข้ารูป รอให้แห้ง และบันทึกข้อมูลหลังจากการอนุรักษ์ ๙.๓.๕ ภาชนะแบบภาชนะดินเผาเนื้อกระเบื้อง (porcelain) ให้ใช้ กาวประเภท Epoxy โดยจะผสม Part A และ Part B ลงในอัตราส่วน ๒:๑  ซึ่งหากจะทำการบูรณะในชิ้นส่วนที่หายไปจะใช้ Miliput     ๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม               การเข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้ ได้รับความรู้ด้านการอนุรักษ์โบราณวัตถุจากบุคลากรภายในประเทศและต่างประเทศ  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ได้เป็นอย่างดี  จึงควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลการอนุรักษ์โบราณวัตถุระหว่างประเทศต่อไป ๑๑. ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ               นางสาวชีวรัตน์    เชื่อดี     เจ้าพนักงานพิพิธภัณฑ์ชำนาญงาน  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี  จันทบุรี


หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            บาลี/ไทยหัวเรื่อง                          พุทธศาสนา                                    ชาดก/ชาดกประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    76 หน้า : กว้าง 5.5 ซม. ยาว 56 ซม. บทคัดย่อ                     เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากพระครูวิมลสังวร วัดแค ต.รั้วใหญ่ อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี  


เลขทะเบียน : นพ.บ.33/ค/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  58 หน้า  ; 4 x 50.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 19 (194-204) ผูก 9หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.57/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  38 หน้า ; 4 x 49.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-รักทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 37 (364-375) ผูก 2หัวเรื่อง :  แปดหมื่นสี่พันขันธ์ --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สำนักข่าวไทยพีบีเอส จังหวัดนครราชสีมา ได้เข้าสัมภาษณ์และสอบถามข้อมูล นายจารึก วิไลแก้ว ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา เกี่ยวกับทับหลังปราสาทหนองหงส์ ตำบลโนนดินแดง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ ที่คาดว่าทับหลังอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ ประเทศสหรัฐอเมริกา


กองบรรณาธิการ.เครื่องปอกเปลือกทุเรียน.จันท์ยิ้ม.11.สิงหาคม 2559  สิ่งประดิษฐ์เจ๋ง ๆ ในฉบับนี้มาจากฝีมือเด็กจันท์อีกแล้ว เนื่องจากทุเรียนเป็นผลไม้ของบ้านเราที่รู้จักกันดีว่ามีน้ําหนักมาก เปลือกหนา มีลักษณะเป็นหนามโดยรอบ ๆ เปลือกจึงแข็งกว่าผลไม้อื่น ๆ มากนัก ทําให้การปอกเปลือกทุเรียนแต่ละลูกนั้นเป็นเรื่องยากและยังใช้ เวลามากพอสมควร ที่สําคัญนั้นมีดปอกยังต้องมีความแข็งแรง จึงจะสามารถเอาเนื้อทุเรียนออกมาจากผลของมันได้ ซึ่งอาจก่อให้เกิด อุบัติเหตุบ่อยครั้งจากการปอกเปลือกทุเรียน เป็นความยุ่งยากสําหรับ ผู้บริโภคและพ่อค้าทุเรียน นักศึกษาปวช. ปี 3 วิทยาลัยการอาชีพสอยดาว 1.จันทบุรี ได้แก่ นายชวลิต เย็นเยือก นายธวัชพงษ์ เสารอด และนายวิษณุ โตจันทึก “ได้คิดสิ่งประดิษฐ์ที่ช่วยสร้างความสะดวกสบายในการปอกเปลือก ทุเรียน ซึ่งมีกลไกง่าย ใช้งานสะดวก ทนทานแข็งแรง สําหรับขั้นตอนการประดิษฐ์เครื่องปอกเปลือกทุเรียน มีดังนี้ 1. เริ่มจากออกแบบฐานเครื่องและสร้างใบมีดปอกเปลือก 2. ติดตั้งแม่แรงยีตกับโครงเครื่อง 3. ติดตั้งมอเตอร์เข้ากับแม่แรงเพื่อให้แม่แรงหมุน 4. ใส่มือปอกและเชื่อมติดอยู่กับแม่แรง 5. ติดตั้งระบบไฟฟ้า และอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า 6. เก็บรายะเอียดทั้งหมดให้เรียบร้อย 7. นําไปทดลองปอกเปลือกทุเรียน จากการทดสอบโดยให้กลุ่มอาชีพขาวสวนทุเรียน ได้ทดลอง ใช้เจ้าสิ่งประตีษฐ์สุดเจ๋งเครื่องนี้ ผลคือเกิดความพึงพอใจกันอย่างมาก เพราะช่วยสร้างความสะดวกสบาย รวดเร็ว และมิติการเกิดอุบัติเหตุ จากการปอกเปลือกทุเรียนด้วยตนเอง นับเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่มี ประโยชน์ใช้งานได้จริง ไม่ต้องเสี่ยงเจ็บมือกันอีกต่อไป


ว่าด้วยตำรายาเกร็ด เช่น ยาแก้เมื่อยสารพัด, ยาฝีคันทะมาลา, ยาดองแก้ลม, แก้สันนิบาตทั้งปวง, แก้มะหาจัตุลาธิคุณ, ยาริดสีดวง, โรคองคะสุศ, แก้กลอนทั้ง 5 จำพวก ฯลฯ


วันจันทร์ที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙นายจารึก วิไลแก้ว ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมาประธานตรวจการจ้าง พร้อมด้วยคณะกรรมการตรวจการจ้างตรวจรับงานโครงการบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์ปรางค์ครบุรี(งวดที่๓)ตำบลครบุรีใต้ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา


สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมาจัดโครงการศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการอนุรักษ์ศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมโดยได้รับเกียรติจากรองอธิบกรมศิลปากร (นายพีรพน พิสณุพงศ์) เป็นประธานในพิธีเปิดและได้รับเกียรติจากอธิบดีกรมศิลปากร (นายบวรเวท รุ่งรุจี) เป็นประธานในพิธีปิดโครงการณ โรงแรมเวียงใต้ เขตพระนคร กรุงเทพมหานครและได้จัดศึกษาดูงานการอนุรักษ์จิตกรรมและประติมากรรมในเขตจังหวัดนครปฐม ราชบุรี และเพชรบุรี พร้อมด้วยการบรรยายและเสวนาทางวิชาการ ในระหว่างวันที่ ๒๔-๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗


ลิลลา.  วิธีลดความอ้วนและป้องกันความอ้วน.  พิมพ์ครั้งที่.  โรงพิมพ์แนวไทย : พระนคร, ๒๕๐๔.      นำเสนอเรื่องสุขภาพของคนอ้วน มีผลดีและผลเสียอย่างไร โรคของคนที่เราควรป้องกัน การลดความอ้วนด้วยการอดนอนและการอดอาหารเพราะว่าอาหารเป็นส่วนที่ให้พลังงาน แต่ควรออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักที่เกิน และนำเสนอรายการอาหารประจำวันสำหรับคนอ้วน


THAI CULTURE, NEW SERIES No. 3 SHADOW PLAY (The Naƞ) BY H.H. PRINCE DHANINIVAT KROMAMÜN BIDYALABH BIRDHYĀKORN


ชื่อเรื่อง : หนามยอกเอาหนามบ่ง สำนวนแรก และวิวาทพระสมุทร ผู้แต่ง : ศรีอยุธยา ปีที่พิมพ์ : 2520 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : มหามกุฏราชวิทยาลัย


Messenger