ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,423 รายการ
พระพุทธรูป สำริด ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑--ชิ้นส่วนพระพุทธรูป ขนาดกว้าง ๓๕ ซม. สูง ๔๓ ซม. ย้ายมาจากวัดพระธาตุหริภุญชัยเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็นชิ้นส่วนพระพุทธรูป พระเกตุมาลาและพระอุษณีษะ พระกรรณด้านขวา หายไปเหลือเพียงส่วนพระเศียรด้านหน้า พระพักตร์ เรื่อยมาจนถึงพระอังสาและพระอุระ ขมวดพระเกศาและไรพระศกขนาดเล็ก พระพักตร์รูปไข่ค่อนข้างกลม พระขนงโค้ง พระเนตรเรียวปลายตวัดขึ้นเล็กน้อย พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์ยิ้ม พระกรรณยาวปลายโค้งงอนออก ทรงครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิเป็นริ้วซ้อนทับกัน --ชิ้นส่วนพระพุทธรูปองค์นี้ เป็นพระพุทธรูปในศิลปะล้านนาที่มีความคล้ายคลึงกับพระพุทธรูปในศิลปะสุโขทัย โดยเฉพาะการครองจีวรที่มีชายสังฆาฏิพับทบกันเป็นริ้วซ้อนกัน คล้ายกับพระพุทธรูปในศิลปะสุโขทัย เช่น พระพุทธรูปลีลาที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย และในศิลปะล้านนาเองก็มีการสร้างพระพุทธรูปที่มีชายสังฆาฏิในลักษณะนี้คือ พระเจ้าดวงดี พระพุทธรูปปางมารวิชัยที่วัดดวงดี อ.เมือง จ.เชียงใหม่ การกำหนดอายุพระพุทธรูปนี้กำหนดไว้อย่างน้อยช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ เป็นช่วงที่พระยากือนาได้อาราธนาพระสุมนเถระจากสุโขทัยขึ้นมา ทำให้เกิดการนำรูปแบบทางศิลปะมาปรากฏในงานศิลปกรรมล้านนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ -๒๑ หรือราว ๖๐๐ ปีมาแล้ว เอกสารอ้างอิง ณัฏฐภัทร จันทวิช (บรรณาธิการ). โบราณวัตถุและศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย. กรุงเทพฯ: ส.พิจิตรการพิมพ์, ๒๕๔๘. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. รายงานการวิจัย เมืองลำพูนจากหลักฐานโบราณคดี ศิลปะและเอกสารทางประวัติศาสตร์ เสนอต่อ สำนักศิลปากรที่ ๘ เชียงใหม่ กรมศิลปากร. (ม.ป.ท.: ม.ป.พ.), ๒๕๕๒.
เลขทะเบียน : นพ.บ.178/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4 x 51.5 ซ.ม. : ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 101 (80-85) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
สมฺโพชฺฌงฺค (สติ-อุเปกฺขาสมฺโพชฺฌงฺค)
ชบ.บ.52/1-7
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง สลากริวิชาสุตฺต (สลากวิชาสูตร)
สพ.บ. 319/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 54 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 57.8 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.270/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 34 หน้า ; 4 x 52 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 117 (232-239) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : สีลสารสุตฺต(สีลสารสูตร)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อผู้แต่ง : มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ
ชื่อเรื่อง : พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร
ครั้งที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ ๑
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภา
ปีที่พิมพ์ : ๒๕๐๗
จำนวนหน้า : ๙๔ หน้า
หมายเหตุ : พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระชนนีศรีสังวาลย์ โปรดให้พิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศล งานพระราชทานเพลิงศพ จอมพลฤกษดิ์ ธนะรัชต์ ณ เมรุ หน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาศ
พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ เรื่อง “พระพุทธเจ้าตรัสรู้” พระธรรมของสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า นั้น ท่านทรงสอนด้วยเหตุผลอย่างแท้จริง พระราชนิพนธ์นี้ได้ทรงใช้ภาษาง่าย ๆ เกือบจะไม่มีศัพท์เทคนิคเจอปนอยู่เลย
วันศุกร์ที่ ๑๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๓๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร ประชุมคณะกรรมการและตรวจการจ้างงาน ประจำงวดงานที่ ๕ ในโครงการงานจัดแสดงนิทรรศการภายในอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีนางสาวสุกัญญา เบาเนิด ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา นายภัทรพงษ์ เก่าเงิน ผู้อำนวยการอุทยานประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา นายสมพจน์ สุขาบูลย์ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา พร้อมด้วยคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมและตรวจงานจ้าง
ย้อนหลังไปเมื่อ วันที่ 22 ตุลาคม 2499 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ ทรงผนวชในพระบวรพุทธศาสนาตามแบบอย่างโบราณราชประเพณี ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ทรงได้พระสมณนามว่า “ภูมิพโลภิกขุ” และเสด็จไปประทับ ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร และทรงลาผนวชเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2499
ผลงาน: ภูมิพโลภิกขุ
ศิลปิน: ศักย ขุนพลพิทักษ์
เทคนิค: สีน้ำมันบนผ้าใบ
ขนาด: 180 x 150 เซนติเมตร
ปีที่สร้าง: 2563
ผลงานชิ้นนี้เป็นผลงานชิ้นสุดท้ายของ ศักย ที่ยังเขียนไม่แล้วเสร็จ ศิลปินก็ล้มป่วยและเสียชีวิตลงในเดือนพฤศจิกายน 2563โดยส่วนประธานของภาพนั้นมีการขึ้นรูป ลงสีไว้เกือบสมบูรณ์แล้ว และบริบทของภาพ ส่วนของเทวดาราย และกนกลายไทยลงร่างไว้บางส่วน เป็นผลงานที่ผนวกรวมทักษะอันโดดเด่นทั้ง 2 อย่างของศักย ทั้งการเขียนภาพเหมือน และการเขียนลายไทย เข้าไว้ร่วมกัน จึงเป็นผลงานที่ไม่แล้วเสร็จ แต่มีความน่าสนใจมากชิ้นนึงของศักย
ผลงานชิ้นนี้จัดแสดงในนิทรรศการเชิดชูเกียรติศิลปินอาวุโส พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป "ศักย ขุนพลพิทักษ์" ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2564 เป็นต้นมา และขยายการจัดแสดงนิทรรศการไปถึงวันที่ 12 ธันวาคม 2564
ดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา, หม่อม. นกกระจาบ. มปท: มปพ, 2505.
เป็นเรื่องเล่าที่เกี่ยวกับนกกระจาบตายแล้วไปเกิดเป็นมนุษย์ ชื่อว่า สรรพสิทธิ์ และนางสุวรรณเกสร ซึ่งสรรพสิทธิ์เป็นลูกชายเศรษฐีชื่อโกณฑัญญะ มีภรรยาชื่อนางเขมา สรรพสิทธิ์เดินทางไปพร้อมพี่เลี้ยงเรียนวิชาการรบทั้งถอดหัวใจและเรื่องการรบ ที่เมืองตักกสิลา ฝ่ายในเมืองพาราณสีนี้ท้าวพรหมทัตมีธิดาชื่อสุวรรณเกสร ซึ่งเป็นนกกระจาบมาเกิด เมื่อได้ยินเสียงผู้ชายจะรู้สึกวิงเวียนศีรษะจะอาเจียน ท้าวพรหมทัตจึงให้ประทับในประสาทที่ไกลจากชายทั้งมวล และได้ป่าวประกาศให้บุตรชายของท้าวพระยาทั้งหลายมาพูดกับบุตรี ถ้าผู้ใดทำให้นางพูดด้วยได้ก็จะยกตำแหน่งอุปราชให้ ซึ่งสรรพสิทธิ์ก็คิดวิธีการพูดคุยด้วยการเล่านิทาน เมื่อไปถึงสรรพสิทธิ์ก็ทักทายบานประตูว่าจะมาเล่านิทานให้ฟัง และได้เล่านิทาน 4 เรื่อง ดังนี้
เรื่องที่ 1 สรรพสิทธิ์ถอดใจพี่เลี้ยงไว้ที่ประตˆ เล่าว่ามีชายหนุ่ม 4 คน มีวิชาที่เล่าเรียนกันมาคนละอย่าง วันหนึ่งเข้าไปเที่ยวในป่าและได้ถามหมอดูว่า หมอดูบอกว่าพวกเขาจะมีลาภมาหาด้วยนกอินทรีจะคาบหญิงสาวผ่านมาชายแม่นธนูยิงถูกนกนกตกใจก็ปล่อยให้หญิงสาวตกลงไปในน้ำและสิ้นชีวิตไป ชายที่มีวิชาก็ชุบให้นางฟื้นคืนชีพขึ้นมา สรรพสิทธิ์จึงถามว่าหญิงสาวควรเป็นของใคร ประตูตอบว่า หญิงสาวต้องตกเป็นของหมอดูสิ นางสุวรรณเกสรไม่เห็นด้วยในคำตอบจึงพูดว่า “ควรเป็นของของชายประดาน้ำ” เมื่อทราบว่านางสุวรรณเกสรพูดออกมาท้าวพรหมทัตก็คิดว่าสรรพสิทธิ์และนางสุวรรณเกสรคงเป็นเนื้อคู่กัน
เรื่องที่ 2 สรรพสิทธิ์ได้ถอดหัวใจเข้าไว้ในตะเกียง และเล่านิทานว่ามีชายหนุ่มสี่คน วันหนึ่งชายคนที่หนึ่งตกแต่งแผ่นไม้ ชายคนที่แกะสลักรูปผู้หญิง คนที่สามชุบรูปผู้หญิงให้มีชีวิตขึ้น ชายคนที่สี่เอาผ้ามาห่อหุ้มให้ สรรพสิทธิ์ก็ถามตะเกียงว่าใครควรได้นางไว้เป็นคู่ ซึ่งนางสุวรรณเกสรไม่เห็นด้วย เมื่อพนักงานดนตรีได้ยินก็ประโคมดนตรี ท้าวพรหมทัตก็ปลาบปลื้มยิ่งนัก
เรื่องที่ 3 สรรพสิทธิ์ก็ถอดหัวใจพี่เลี้ยงไว้ที่พานพระศรี และเริ่มเล่านิทานให้พานพระศรีฟัง เริ่มว่าครั้งหนึ่งมีนายโจรดุร้ายเก่งกล้าอยู่คนหนึ่ง เที่ยวปล้นสะดมเก็บหออมรอบริบทรัพย์ไว้มากและลักเด็กผู้หญิงไปเลี้ยงไว้ในถ้ำ เมื่อนางไม่สบายก็เดินทางไปหาหญิงชาที่เป็นหมอนวดไปรักษากระทั่งหายแต่โจรขอร้องให้ยายอยู่ต่อ วันหนึ่งยายหนีออกจากถ้ำและเล่าเรื่องที่หายตัวแก่ชายหนุ่มและบอกให้เดินตามทางแนวผักที่งอกขึ้นมา ชายหนุ่มก็เดินไปยังถ้ำ และพบรักกับหญิงสาวในถ้ำกระทั่งตั้งครรภ์ ฝ่ายโจรเมื่อจับได้ก็คิดจะจับชู้รักลูกสาว
ในขณะนั้นมีชายหนุ่มคายเมียซ่อนไว้ในพุ่มไม้แล้วลงเล่นน้ำ ฝ่ายภริยาก็คายชายชู้ที่อมไว้ออกจากปากแล้วก็รักใคร่สมสู่กัน เมื่อขึ้นจากน้ำก็เอาเมียอมในปากตามเดิม ฝ่ายโจรก็รู้สึกสงสารแล้วชวนมากินข้าวที่บ้าน ต่อจากนั้นด้วยความเสียใจก็กระโดดหน้าผาตายไปด้วยความเสียใจและความผิดที่เกิด ฝ่ายยายเฒ่าหมอนวดเมื่อรู้ก็เสียใจว่าเป็นต้นเหตุในคราวนี้ สรรพสิทธิ์ก็ถามพี่พานศรีว่าเป็นความผิดของผู้ใด พานตอบวาชายหนุ่มที่รักกักลูกสาวโจร แต่นางสุวรรณเกสรกลับตอบมาว่าเป็นความผิดของยายหมอ เมื่อพนักงานดนตรีได้ฟังก็ประโคมดนตรีขึ้นเป็นครั้งที่สาม
เรื่องที่ 4 คราวนี้สรรพสิทธิ์ถอดดวงใจไปไว้ที่ม่านทอง พลางชวนคุย และเล่าว่ามีสาวพรหมจารี 4 คน ท่องเที่ยวแสวงหาสามี เมื่อชายหนุ่มจะไปหา นางจะตอบเป็นปริศนา คนที่หนึ่งที่ที่เต้านม คนที่สองดึงผม คนที่สามชี้คาง คนที่สี่บอกตลาดจอแจ ชายทั้งสี่ก็เดินหาบ้านก็ไม่พบ คนโทษเห็นก็คิดจะช่วยแต่ต้องขอน้ำมาให้กินก่อน
ชื่อเรื่อง สพ.ส.19 คดีความประเภทวัสดุ/มีเดีย สมุดไทยดำISBN/ISSN -หมวดหมู่ จดหมายเหตุลักษณะวัสดุ 31; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง จดหมายเหตุ ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก ประวัติวัดป่าเลไลยก์ ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 16 ส.ค.2538
แหล่งเรือจมบางกะไชย ๒ เป็นแหล่งเรือจมสำเภาโบราณในสมัยอยุธยา ที่กองโบราณคดีใต้น้ำในดำเนินการขุดค้นศึกษามาอย่างต่อเนื่องถึง ๕ ครั้ง (ปีงบประมาณ ๒๕๓๗, ๒๕๔๒, ๒๕๔๓, ๒๕๔๔ และ ๒๕๔๕) ทั้งยังพบหลักฐานโบราณวัตถุสำคัญมากมายหลากหลายประเภท กองโบราณคดีใต้น้ำจึงขอนำเสนอความรู้จากหลักฐานสำคัญประเภทหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับตัวเรือ ซึ่งก็คือ สมอไม้ ของเรือบางกะไชย ๒ ที่มาของข้อมูล : กองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร https://www.facebook.com/100069197290106/posts/291975493119025/?d=n
วัดโพธิ์ศิลา บ้านเปือย หมู่ที่ ๖ ตำบลเปือย อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ มีลักษณะเป็นเนินดินสูง สภาพปัจจุบันปูพื้นด้วยศิลาแลง มีบันไดทางขึ้นเนินอยู่ด้านทิศตะวันตก ส่วนรอบเนินอีกสามด้าน มีขอบกั้นเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ถัดลงไปเป็นเขื่อนหินกั้นดินสไลด์ และได้มีการนำใบเสมามาปักเรียงใหม่เป็น ๒ แถว อยู่บนพื้นที่ปูด้วยศิลาแลง รวมจำนวน ๑๖ ใบ สลักจากหินทราย มีขนาดใหญ่ ที่ฐานสลักเป็นกลีบบัวคว่ำ-บัวหงาย ส่วนใหญ่อยู่ในสภาพชำรุด แตก หัก มี ๒ ใบ ที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ใบเสมาวัดโพธิ์ศิลากำหนดอายุอยู่สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้นในวัฒนธรรมทวารวดี ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๕
เสมาใบที่ ๑ สลักลวดลายกลีบบัวคว่ำ บัวหงาย รองรับสันนูนตรงกลางคล้ายสถูปยอดเรียวชะลูดจนสุดปลายใบ อีกด้านสลักลวดลายคล้ายกันมีหม้อปูรณฆฏะ(หม้อน้ำ)ที่ส่วนยอด ซึ่งมีการแตกหักหายไปบางส่วน
เสมาใบที่ ๒ สลักลวดลายหม้อปูรณฆฏะ(หม้อน้ำ)รองรับสันนูนตรงกลางคล้ายสถูปยอดเรียวชะลูดจนสุดปลายใบ อีกด้านสลักคล้ายกันมีฐานบัวสลักลายรูปธรรมจักรแทรกที่ส่วนยอด สภาพยอดแตก บิ่นเล็กน้อย
ใบเสมาวัดโพธิ์ศิลา กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๑๙ ตอนพิเศษ ๑๓๑ ง หน้า ๒ เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๕ มีพื้นที่โบราณสถานประมาณ ๖ ไร่ ๑ งาน
------------------------------------------------
อ้างอิงจาก
- คันฉาย มีระหงส์. รายงานผลการตรวจสอบโบราณสถานวัดโพธิ์ศิลา. (เอกสารอัดสำเนา), กลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี, ๒๕๖๑.
- สิริพัฒน์ บุญใหญ่ และคณะ. รายงานการสำรวจแหล่งโบราณคดี โบราณสถาน ในเขตจังหวัดอำนาจเจริญ. สำนักศิลปากรที่ ๑๑ อุบลราชธานี, ๒๕๕๙, หน้า ๑๒๗.
------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02Mp6rqU38t8gXiegT72DkRjdPouNWB9AWdZ8NZRuv7zcnd142sR11HNk1aFXmDCJwl&id=835594323191791