ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,421 รายการ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร ขอนำเสนอองค์ความรู้ในหัวข้อ “เรือยาว มรดกวัฒนธรรมแห่งสายน้ำ” เรือยาว เรือแข่ง เป็นเรือขุดด้วยไม้ซุงทั้งต้น ซึ่งเรือขุดเป็นเรือในยุคแรกที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อนำมาใช้เป็นพาหนะในการสัญจรทางน้ำ โดยใช้ต้นไม้ทั้งต้นที่มีขนาดใหญ่ และลอยน้ำได้ เช่น ในประเทศไทยมีต้นสัก ต้นตะเคียน ต้นตาล แล้วใช้แรงงานคนและเครื่องมือที่มีจำกัด ในการตัดและขุดเรือมาใช้งาน โดยเลือกจากไม้ตะเคียนลำต้นตรงไม่มีตาหรือรูรอยแตกร้าว โขนหัว-ท้ายใช้ไม้ต่อให้งอนสวยงาม ท้ายเรือจะงอนมากกว่าหัวเรือ มีกระทงที่นั่ง ของฝีพายจำนวนตามต้องการ และตามขนาดของเรือ คือ ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ซึ่งมีได้ถึง ๕๐ ฝีพาย มีความยาวประมาณ ๑๖-๒๕ เมตร กลางลำเรือขันชะเนาะด้วยไม้ไผ่ทั้งลำ เพื่อให้ตัวเรือแข็งแรง มากขึ้น  การขุดเรือยาวในสมัยก่อนจะต้องเลือกไม้ตะเคียนที่มีลักษณะดี ลำต้นตรง ก่อนโค่นจะตั้งศาลเพียงตาทำพิธีเชิญนางตะเคียน มาประทับ เมื่อจะลากไม้มาที่วัด ต้องมีการจัดเครื่องบวงสรวงเทวดาเจ้าป่าเจ้าเขา และชาวบ้านจะร่วมมือร่วมใจกันขุด โดยใช้ชื่อวัดเป็นชื่อเรือหรือชื่อคณะที่ส่งเข้าแข่งขัน เมื่อขุดเรือเสร็จแล้วจึงทำพิธีบวงสรวงผูกผ้าแพรหลากสี เชิญแม่ย่านาง ลงประทับในเรือ ก่อนทำพิธีปล่อยลงน้ำเพื่อความเป็นสิริมงคล  ในสมัยก่อนการฝึกซ้อมเรือ และการแข่งขันเรือระหว่างตำบล หรือหมู่บ้าน ถือเป็นการสร้างความสามัคคีของหมู่คณะ และเป็นงานรื่นเริงประจำปี นอกจากนี้ การเดินทัพทางเรือสมัยโบราณ ก็ใช้การฝึกซ้อมฝีพาย ซึ่งในยามปกติเป็นชาวบ้าน ยามมีศึกสงครามก็เป็นทหารรับใช้ชาติ ------------------------------------- *** โบราณวัตถุ เครื่องมือ การขุดเรือ *** ชิ้นที่ ๑  ชื่อวัตถุ : แมะ ขนาด : ยาว ๑๕.๙ ซม. กว้าง ๑๒.๑ ซม. รูปแบบลักษณะ : รูปร่างคล้ายจอบมีคมด้านเดียว ตัวแมะโค้งมีบ่า ด้านข้างงุ้มเข้า สันมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมหนา มีรูสำหรับใส่ด้าม มีด้ามสั้นทำด้วยไม้ ภาษาถิ่นเรียก แมะ หรือกระแมะ ชิ้นที่ ๒ ชื่อวัตถุ : แมะ ขนาด : ยาว ๑๖.๕ ซม. กว้าง ๕.๑ ซม. รูปแบบลักษณะ : เป็นเครื่องมือขุดเรือ ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตัวแมะโค้งทำคมด้านเดียว ผายออกเล็กน้อย สันหนา มีรูสำหรับใส่ด้าม ชิ้นที่ ๓ ชื่อวัตถุ : ขวานปลี ขนาด : ยาว ๓๐ ซม. กว้าง ๓.๙ ซม. รูปแบบลักษณะ : ลักษณะคล้ายเสียม มีคมสองด้านอยู่ส่วนปลาย สันยาวมีลักษณะคล้ายลิ่มกลมแหลม ผูกติดกับด้าม ด้ามทำด้วยไม้ งอเป็นมุมฉาก เซาะร่องโค้งเพื่อยึดสันขวาน ผูกมัดไว้ด้วยหวาย ------------------------------------- *** การขุดเรือ ***  การขุดเรือในประเทศไทยมีอยู่ทั่วไป เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตที่ราบลุ่มน้ำ จังหวัดชุมพรไม่มีหลักฐานชัดเจนว่า มีการขุดเรือใช้แต่สมัยใด การขุดเรือที่รู้จักกันแพร่หลายมีสองแบบคือ เรือขุดเบิกขวาน และเรือขุดเบิกไฟการกำหนดสัดส่วนของเรือ เพื่อทำการฟันเรือได้รูปร่างสมส่วนตามที่ต้องการ โดยมีวิธีการตีเส้นกึ่งกลางลำเรือและแบ่งออกเป็นสี่ส่วน ส่วนที่แบ่งครึ่งลำเรือเรียกว่า ส่วนห้า ส่วนที่แบ่งครึ่งของส่วนห้าเรียกว่า ส่วนสาม     การขุดเรือเบิกขวาน ใช้ขวานหลายแบบ แต่งจากไม้ทั้งต้นจนเป็นเรือที่สมบูรณ์แบบปัจจุบันช่างใช้วิธีนี้กับการขุดเรือขนาดเล็ก ยาวประมาณ ๘ - ๙ ศอก เมื่อได้ไม้ตามขนาดที่ต้องการแล้วผ่าครึ่งไม้ซุงออกเป็นสองส่วนเท่า ๆ กัน โดยใช้เลื่อย     การโกลนเรือ เริ่มต้นด้วยการตีเส้นตามยาว ไม้กลางลำเรือและเส้นด้านข้าง โดยเส้นข้างจะห่างจากริมปีกไม้ประมาณ ๔ - ๕ นิ้ว แล้วแบ่งส่วนครึ่งไม้เรียกว่า ส่วนห้า แล้วลากเส้นทะแยงมุมจากจุดที่กำหนดห่างจากหัวเรือประมาณหนึ่งศอก เส้นนี้จะช่วยการขึ้นเรือได้ จากนั้นใช้ขวานโกลนให้เป็นรูปเรือเมื่อได้รูปเรือที่โกลนแล้วใช้กระแมะขุดไม้ให้ได้รูปเรือตามต้องการ เนื่องจากกระแมะมีลักษณะโค้ง จึงทำให้ท้องเรือที่ขุดมีลักษณะโค้งมนได้รูปทั้งด้านนอก และด้านในลำเรือ ความหนาของเรือเมื่อขุดเสร็จแล้ว ๒ เซนติเมตร หัวเรือยาวประมาณ ๑ ศอก (เรือเล็ก) ความหนาของหัวเรือหนาประมาณ ๗ - ๘ นิ้ว การกำหนดความหนาของเรือใช้วิธีเจาะรูสัก วิธีเจาะรูสัก ใช้เหล็กไชเพื่อกะระยะความหนาของเรือโดยให้ห่างเป็นระยะ ๆ พอประมาณ บริเวณที่ขุดยากที่สุดคือ ส่วนที่ประจบกันของหัวเรือ ที่เป็นซองซึ่งเล็กเรียวและแคบ ต้องใช้ความชำนาญจึงจะขุดได้สวยงามเรือขนาด ๘ - ๙ ศอก ใช้เวลาขุดประมาณ ๑ สัปดาห์ เรือเมื่อขุดเสร็จแล้วต้องลงน้ำมันชันเพื่อรักษาเนื้อไม้ และใส่กระทงให้เรียบร้อย     การขุดเรือเบิกไฟ จะใช้ไม้ทั้งต้น โดยตัดหัวและท้ายเรือให้ได้ขนาด เริ่มการขุดเรือด้วยการเปิดปีกไม้ตามยาวให้เรียบ กว้างประมาณ ๑๐ - ๑๕ เซนติเมตร ลากเส้นกลางหน้าไม้ที่เปิดไว้ แล้ววัดขนาดของหัวเรือท้ายเรือให้ได้ขนาดตามที่กำหนดไว้ แล้วใช้ขวานปลีในการขุด ร่องฝั่น คลอดลำเรือ เว้นแต่หัวเรือและท้ายเรือ ร่องฝั่นมีความลึกประมาณ หนึ่งศอก กว้างประมาณ หนึ่งคืบ จากนั้นให้คว่ำเรือลงแล้วพันแก้มหมูคือ การแต่งหัวเรือและท้ายเรือส่วนที่เหลือเมื่อขั้นตอนนี้เสร็จจะเห็นเป็นรูปร่างเรือชัดเจนขึ้น ตัดหลังให้เสมอกัน แต่งผิวให้เรียบตรงแนวเส้นผ่ากลางไม้ แล้วใช้กระแมะขุดเรือส่วนหัวและท้ายเรือ ตั้งแต่ส่วนสามถึงส่วนห้า คือส่วนที่ขุดร่องฝั่นไว้แล้วเรียกว่า เว้นแขนช้าง ใช้ขวานปลีขุดท้องเรือเข้าไป ขุดในร่องฝั่นตั้งแต่ส่วนสามถึงส่วนห้า ให้ได้ท้องเรือที่กลม ด้านหน้าตัด ลักษณะท้องเรือจะมีรูปคล้ายตัว C     การตีไฟป่า เป็นวิธีการขั้นต่อมา โดยใช้ไฟในการขยายความกว้างของลำเรือ โดยจะใช้เศษไม้ที่เหลือจากการขุดและโกลนเรือ และจุดไฟในท้องเรือที่เป็นรูปตัว C เมื่อไม้ถูกความร้อนก็จะอ่อนตัวให้ใช้ไม้ตัดเป็นท่อน ๆ ทำเป็นกระทง เพื่อใช้ดันแคมเรือให้ขยายออกโดยจะใช้ไม้ค่อยตีเปลี่ยนขนาดไปตามลำดับ จนกว่าท้องเรือจะขยายจนได้ที่ แล้วใช้กระแมะขุดแต่งในอีกครั้งหนึ่ง ให้ได้ท้องเรือที่กลมมน คว่ำเรือลงแล้วใช้กระแมะปัดหลังอีกครั้งหนึ่ง     การตีไฟป่าครั้งที่สอง หงายเรือขึ้นแล้วใช้ไฟรมหลัง คือ การก่อไฟรอบ ๆ ลำเรือ แล้วใช้กระทงขยายแคบแรืออีกครึ้งหนึ่ง เมื่อได้ขนาดเรือตามต้องการแล้ว ให้ใช้กระแมะ แต่งในอีกชั้นหนึ่ง เพื่อให้ได้ความหนาของเรือมีขนาดเท่ากันตลอดทั้งลำเรือ ใช้วิธีไชรูสิ่ว อุดรูดัน ขั้นตอนนี้มีความสำคัญมากในการขุดเรือ เพราะเป็นการกำหนดความหนาของเรือ ซึ่งจะต้องเท่ากันทั้งสองข้างลำเรือ #การอุดรูดัน มีวิธีการคือ เหลาไม้ดัน (เป็นไม้ชนิดเดียวกับเรือ) เมื่อตอกเข้าไปแล้วต้องอุดรูดันแนบสนิท ชนิดลมไม่ลอดการไชรูสิ่วต้องไชตลอดทั้งลำเรือ เว้นเป็นระยะเพื่อให้ได้ความหนาของเรือตามที่ต้องการ การตัดไม้ดันต้องให้เท่ากับส่วนความหนาของเรือตามที่ต้องการ ต้องขุดให้ถึงรูดันที่อุดไว้ หลังจากที่ได้เรือตามขนาดและรูปร่างที่ต้องการและใช้กบมือในการเกลาเรือให้เรียบร้อยสวยงาม จากนั้นจึงใส่กระทงเรือเพื่อป้องกันเรือเสียรูปบิดเบี้ยวไป     การยาชัน ใช้ผงชันผสมน้ำมันยาง นวดให้เข้ากันจนเหนียวปั้นได้ ยาทับรอยแตกรั่วต่าง ๆ แล้วลงน้ำมันยาง ด้วยการนำน้ำมันยางมาทาให้ทั่วทั้งลำเรือ เป็นการรักษาเนื้อไม้ให้คงทนยิ่งขึ้น ความเชื่อเกี่ยวกับการขุดเรือ นายช่างขุดเรือจะนำเครื่องมือขุดเรือมาทำพิธีไหว้ครูอาจารย์ หรือบรรพบุรุษที่ถ่ายทอดวิชาช่าง วันทำพิธีคือ วันที่มีประเพณีการตั้งตายาย ซึ่งจะทำกันที่บ้าน ในวันขึ้น สิบห้าค่ำ เดือนสี่ และเมื่อต้องเดินทางไปขุดเรือในที่ต่าง ๆ ก่อนเริ่มลงมือขุด ต้องมีการจุดธูปบอกกล่าวแก่บรรพบุรุษหรือครู ที่ทำการสอนช่างมา เพื่อให้การขุดเรือสำเร็จลุล่วงด้วยดี     การใส่กระทงเรือ มีข้อห้ามไว้ว่าห้ามใส่ตรงกับส่วนสาม และส่วนห้า และต้องใส่กระทงให้เป็นจำนวนคู่เท่านั้น ดังคำที่ว่า บ้านคี่เรือคู่ (บันไดบ้านต้องมีจำนวนคี่) ห้ามไม่ให้ผู้อื่นมาติชมหรือแสดงความคิดเห็นขณะกำลังขุดเรือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขุดเรือเบิกไฟเพราะจะทำให้เรือเสียรูปทรงได้ ------------------------------------- *** มรดกวัฒนธรรมแห่งลุ่มแม่น้ำหลังสวน ๑๘๐ ปี งานประเพณีแห่พระ-แข่งเรือขึ้นโขนชิงธง ณ แม่น้ำหลังสวน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ระหว่างวันที่ ๓๐ ตุลาคม – ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ *** ติดตามข่าวสารได้ที่เพจ ขึ้นโขนชิงธง อ.หลังสวน จังหวัดชุมพรมีตำนานการแข่งขันเรือยาว ขึ้นโขนชิงธง อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร  เป็นการดำเนินชีวิตของคนไทยในอดีตที่มีความผูกพันกับสายน้ำมาเนิ่นนาน เมืองหลังสวนมีแม่น้ำไหลผ่านใช้เป็นเส้นทางสัญจรไปมา และการขนถ่ายสินค้าเพื่อการค้าขาย โดยพาหนะที่ใช้คือ "เรือ" ซึ่งมีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยมาอย่างยาวนานการแข่งขันเรือยาวขึ้นโขนชิงธงของอำเภอหลังสวน สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๓๘๗ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามหลักฐานที่อ้างอิง คือ พ.ศ. ๒๔๓๒ (ร.ศ.๑๐๘) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสทางชลมารคถึงเมืองหลังสวน เจ้าเมืองหลังสวนพระยาจรูญราชโภคากร (คอซิมเต็ก ณ ระนอง) ได้จัดขบวนเรือรับเสด็จ เรือนำในการรับเสด็จ คือ "เรือมะเขือยำ" สังกัดวัดดอนชัย เป็นเรือยาวที่ใช้ในการแข่งขันและครองความชนะเลิศอยู่เสมอ การแข่งขันเรือยาวขึ้นโขนชิงธงของอำเภอหลังสวน จะเริ่มขึ้นในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันออกพรรษาของทุกปี เพราะในวันออกพรรษานี้ ชาวพุทธจะไปร่วมทำบุญตักบาตรเทโวที่วัด ซึ่งในสมัยนั้นวัดส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ริมน้ำ ชาวบ้านจะใช้เรือเป็นพาหนะ เสร็จจากการร่วมทำบุญตักบาตรแล้ว ก็สนุกสนานด้วยการพายเรือแข่งกัน ปัจจุบันการแข่งเรือดังกล่าวจัดแข่งขันทั้งหมด ๕ วัน กิจกรรมหลักคือ ขบวนแห่พระจากวัดต่างๆ ที่ได้รับการตกแต่งอย่างสวยงามและการแข่งเรือในแม่น้ำหลังสวน *** งานแข่งขันเรือยาวประเพณีขึ้นโขนชิงธง ณ คลองหัววัง-พนังตัก ตำบลนาชะอัง อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร *** จังหวัดชุมพร จัดงานแข่งขันเรือยาวประเพณี #ขึ้นโขนชิงธง ณ คลองหัววัง-พนังตัก ตำบลนาชะอัง อำเภอเมือง จังหวัดชุมพรขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงมีพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาอุทกภัย ซึ่งในอดีตจังหวัดชุมพรประสบปัญหาอุทกภัยได้รับความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินเป็นมูลค่ามหาศาลทุกปีด้วยการจัดทำโครงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ (แก้มลิงธรรมชาติ) และขุดคลองหัววัง-พนังตัก เพื่อระบายน้ำลงสู่ทะเล ทำให้ชาวจังหวัดชุมพรรอดพ้นจากปัญหาอุทกภัยอย่างถาวร   ------------------------------------- ภาพการโกลนเรือ (ขวานปลี), การใช้กระแมะขุดไม้ จาก ArMoo www.ChumphonTour.com ภาพการตีไฟป่า จาก พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณฝ่ายเงิน เสน่ห์น่านวันนี้ ภาพการยาชัน จาก www.youtube.com/@bannsuanhomdin.5407ภาพประเพณีขึ้นโขนชิงธง สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดชุมพร , www.nairobroo.com/travel/lang-suan-boat-race/


โบราณคดีอำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา ตอนที่ 2 : ที่ราบ ลำน้ำ และเกลือสินเธาว์ "ต้นทุนทางธรรมชาติ ที่ดึงดูดให้มนุษย์โบราณเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ในเขตพื้นที่อำเภอสีดา"   เรียบเรียงนำเสนอโดย นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา


         ชื่อพระพุทธรูป พระพุทธรูปหกนิ้ว          สถานที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปในพระอุโบสถวัดใหญ่สุวรรณาราม อ.เมือง จ.เพชรบุรี เดิมเชื่อกันว่าได้จากวัดหัวสนามซึ่งเป็นวัดร้างอยู่ด้านหลังทางทิศใต้ของวัดใหญ่          ประวัติ  พระพุทธรูปปางมารวิชัย ภายนอกพอกด้วยปูนปั้นแล้วจึงลงรักปิดทอง เชื่อกันว่าได้มาจาก วัดหัวสนามร้าง ซึ่งตั้งอยู่หลังวัดใหญ่สุวรรณาราม เดิมไม่มีใครทราบว่าด้านในพระพุทธรูปเป็นโลหะ คงคิดว่าเป็นพระปูนปั้นธรรมดา มีแต่คํากล่าวขานสืบทอดกันมาเป็นนัยสําคัญว่า “วัดใหญ่ มีพระหิ้วนก” หิ้วนก ก็คือ นิ้วพระบาทขวาเกินปกติ ถึง ๖ นิ้ว เป็นกุศโลบายของคนโบราณที่แฝงความนัย หมายถึง ปูนที่พอกไว้แฝงสิ่งของมีค่าด้านใน แต่คนรุ่นหลังมามิเข้าใจกุศโลบายดังกล่าว ต่อมาโลหะด้านในเกิดสนิมเขียวและสนิมได้ดันปูนปริแยกออกมา จึงทําให้รู้ว่าภายในองค์พระเป็นโลหะ พวกมารศาสนาทราบความ จึงลักลอบเข้ามาตัดเศียรองค์พระออกไป ยังความเสียใจให้แก่พุทธศาสนิกชนชาวเพชรบุรีเป็นอันมาก ภายหลังจึงได้ปั้นพระเศียรใหม่ ต่อเข้ากับองค์พระเดิมและบูรณะลงรักปิดทอง          ปัจจุบันประดิษฐานบนฐานชุกชี ด้านหลังองค์พระประธาน โดยด้านหน้ามีกระดานไม้ต่อขึ้นเป็นสะพานเพื่อให้พุทธศาสนิกชน สามารถเข้าไปกราบไหว้ได้สะดวก


          ทองขวานฟ้า แปลว่า ขวาน (ทำด้วย) ทอง ตกมาจากท้องฟ้า คนไทยโบราณมักเรียกขวานหินขัดสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบอยู่ในแหล่งต่างๆ ว่า ขวานฟ้า เพราะเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ไม่ได้ทำขึ้นเอง แต่ตกลงมาจากท้องฟ้า           ชื่อ ทองขวานฟ้า แปลว่า ขวาน (ทำด้วย) ทอง ตกมาจากท้องฟ้า คนไทยโบราณมักเรียกขวานหินขัดสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบอยู่ในแหล่งต่างๆ ว่า ขวานฟ้า เพราะเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ไม่ได้ทำขึ้นเอง แต่ตกลงมาจากท้องฟ้า อันที่จริง ชื่อทองขวานฟ้า น่าจะเพี้ยนมาจาก ทองแขวนฟ้าแปลว่า ทองที่ห้อยย้อยลงมาจากท้องฟ้า เรือทองแขวนฟ้าเป็นชื่อเรือคู่หนึ่งที่ปรากฏในกระบวนเรือฯ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พุทธศักราช 2199 - 2231) และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พุทธศักราช 2325 - 2352) เป็นไปได้ว่า ในสมัยต่อมาเรือชื่อทองแขวนฟ้าลำหนึ่งเปลี่ยนไปเป็น ทองขวานฟ้า และอีกลำหนึ่งเปลี่ยนไปเป็นทองบ้าบิ่น           เรือทั้งสองลำนี้เป็นเรือดั้งทาน้ำมัน ยอดดั้งปิดทองแกะสลักลวดลาย เป็นเรือคู่หน้าสุดที่นำกระบวนเรือพยุหยาตราชลมารคทั้งหมด เรือแต่ละลำมีความยาว 32.08 เมตร กว้าง 1.88 เมตร ลึกถึงท้องเรือ 64 เซนติเมตร มีกำลังพลประกอบด้วย ฝีพาย 39 คนนายเรือ 1 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คนที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/royalbarges


วันนี้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ขอนำเสนอองค์ความรู้เรื่อง "สมุดไทยเรื่องพระมาลัย" โดยนักศึกษาฝึกงานจากมหาวิทยาลัยนเรศวร


[Event] กิจกรรมวันพิพิธภัณฑ์สากล 2567Museums for Education and Research : พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาและวิจัย วันที่ 15 พฤษภาคม 2567เวลา 09.30 – 12.30 น.สามารถรับชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook และ YoutubeOffice of National Museums, Thailand สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ขอเชิญร่วมเฉลิมฉลองกิจกรรมวันพิพิธภัณฑ์สากล 2567 กับเวทีการบรรยายและเสวนาโดยผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานด้านพิพิธภัณฑ์ รวมทั้งผู้มีส่วนสนับสนุนการศึกษาพิพิธภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆมาถ่ายทอดความรู้ พร้อมเบื้องหลังแนวทางการสร้างสรรค์กิจกรรมทางการศึกษาของพิพิธภัณฑ์ที่หลากหลายเพื่อเน้นย้ำความสำคัญของพิพิธภัณฑ์ในฐานะผู้ให้บริการทางการศึกษาและวิจัยอย่างแท้จริง กิจกรรมนี้เหมาะสำหรับใครบ้าง-   เครือข่ายพิพิธภัณฑ์ไทย-   สมาชิก ICOM Thailand-   ผู้ปฏิบัติงานและครีเอเตอร์ด้านพิพิธภัณฑ์ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม นิทรรศการ และหอศิลป์-   ผู้ที่ติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์-   นักวิชาการศึกษา นักเรียน นักศึกษา กำหนดการกิจกรรม09.30 – 09.45 น. พิธีเปิด09.45 – 10.00 น. “นโยบายการศึกษาและวิจัยของกรมศิลปากร”โดย นายพนมบุตร จันทรโชติ - อธิบดีกรมศิลปากร10.00 – 10.15 น. “มหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023”โดย นายประสพ เรียงเงิน - ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย10.15 – 10.30 น. “Museums for Education and Research in Taiwan”โดย National Taiwan Museum10.30 – 10.45 น. “พื้นที่ให้เล่า : เล่าเรื่องประวัติศาสตร์อย่างไรให้น่าสนใจ”โดย นางสาวมนสิชา รุ่งชวาลนนท์ เจ้าของ Facebook Page “พื้นที่ให้เล่า”10.45 – 11.00 น. “เที่ยวพิพิธภัณฑ์ทั่วโลกไปกับ Google”โดย นายจิระวัฒน์ ภูมิศรีแก้ว อดีตผู้บริหารบริษัท Google Thailand จำกัด11.00 – 11.15 น. “กิจกรรมการศึกษาพิพิธภัณฑ์ผ้าฯ : ประสบการณ์ภาคปฏิบัติ ในสังคมแห่งการเรียนรู้”โดย นางสาวณชนก วงศ์ข้าหลวง ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ11.15 – 12.00 น. “กิจกรรมสร้างสรรค์ ส่งเสริม Soft Power จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ”โดย นางสาววัชรี ชมภู ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรีนางสาวศุภวรรณ นงนุช ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครนางสาวธีรนาฎ มีนุ่น ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลาเวลา 12.00 – 12.30 น. “ฟื้นชีวิตโรงกลึงเก่า สู่พิพิธตลาดน้อย”โดย นายชลทิตย์  ไชยจันทร์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนาทรัพย์สินมีค่าของรัฐ กรมธนารักษ์นายจุฤทธิ์ กังวานภูมิ ผู้แทนจากชุมชนตลาดน้อย #วันพิพิธภัณฑ์สากล2567 #imd2024 #สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ #กรมศิลปากร


องค์ความรู้ เรื่อง 5 ขุนเขาแห่งเมืองอู่ทอง เรียบเรียง นางสาวกาญจนา ศรีเหรา บรรณารักษ์


นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร รับมอบเงินบริจาคจากชาวบ้านเขื่อนคงคา ตำบลโคกสะอาด อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ นำโดย 1.นายพิเชษฐ์ ที่รัก นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะอาด 2.นายบุญเรียน คำคง รองนายก อบต.โคกสะอาด 3.นายชัยศรี พันรัมย์ ส.อบต.บ้านเขื่อน ม.6 4.นายสิทธิโชค อินมา ผู้ช่วยผญบ.ม.6 5.นายมาโนช ผมทำ ผู้ช่วยผญบ.ม.6 6.นางสุภา เชญชาญ ตัวแทนผู้บริจาค เพื่อสมทบเงินกองทุนโบราณคดี กรมศิลปากร จำนวน 854,787.-บาท (แปดแสนห้าหมื่นสี่พันเจ็ดร้อยแปดสิบเจ็ดบาทถ้วน) วัตถุประสงค์เพื่อบูรณะอุโบสถวัดเขื่อนคงคา ตำบลโคกสะอาด อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์



เทศบาลเมืองแสนสุข จ.ชลบุรี (เวลา 11.00-12.00 น.) จำนวน 244 คน  วันพุธที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ น. คณะจากสำนักงานเทศบาลเมืองแสนสุข ต.แสนสุข อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรี จำนวน ๒๔๔ คน เข้าศึกษาดูงาน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ โดยมีนายธิริทธิ์ เรืองทวีทรัพย์ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ และนางสาว ณัฏฐกานต์ มิ่งขวัญ ตำแหน่ง เจ้าพนักงานพิพิธภัณฑ์ชำนาญงาน พร้อมด้วยว่าที่ร้อยตรีรุ่งเรือง ชื่นชม ตำแหน่ง พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ เป็นวิทยากรนำชมในครั้งนี้


           หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ขอเป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งปันหนังสือและสื่อการเรียนรู้ให้กับห้องสมุดที่ขาดแคลนหรือได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติในพื้นที่ภาคเหนือ ในโครงการ Read Me Around @NL.CNX สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : m.me/446551452388843 หรือ Scan QR Code             ท่านที่สนใจอยากจะเป็นส่วนนึงในการแบ่งปัน สามารถนำหนังสือใหม่ หรือหนังสือมือสองสภาพดีมาบริจาคด้วยตัวเองได้ที่หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ 20/1 ถนน บุญเรืองฤทธิ์ ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่ 50100 (ในวันและเวลาทำการ) ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมทาง Inbox Facebook : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ NL.CNX หรือ โทร 0 5327 8322


๑.การจัดแสดงภาพในอาคารจัดแสดง แบ่งออกเป็น    ชั้นล่าง จัดแสดงเรื่องราวด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดีของจังหวัดชัยนาท โบราณวัตถุที่จัดแสดง ได้แก่ เครื่องใช้ เครื่องประดับสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยทวารวดี พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ อีกส่วนหนึ่งจัดแสดงโบราณวัตถุที่สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา เช่น ตู้พระธรรม เครื่องบริขารถมปัด ประติมากรรมและเครื่องถ้วยในศิลปะลพบุรี สุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ และศิลปะจีนภาพห้องจัดแสดงชั้นล่าง ชั้นบน จัดแสดงพระพิมพ์ที่ได้จากการดำเนินงานทางโบราณคดีในประเทศไทย ตั้งแต่พระพิมพ์ในศิลปะทวารวดี ศิลปะศรีวิชัย ศิลปะลพบุรี ศิลปะอยุธยา ศิลปะรัตนโกสินทร์ แม่พิมพ์พระพิมพ์ แผงพระพิมพ์ไม้ และพระพุทธรูปสำริดขนาดเล็ก ในห้องจัดแสดงชั้นบนนี้ มีโบราณวัตถุชิ้นสำคัญของชาติ คือ พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านนา อิทธิพลสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๑ เป็นโบราณวัตถุที่เป็นสมบัติชิ้นสำคัญของชาติ พระพุทธรูปโบราณลักษณะนี้มีอยู่เพียงชิ้นเดียวในประเทศ ภาพห้องจัดแสดงชั้นบน  (ขวา)พระพุทธรูปปางมารวิชัย (หลวงพ่อเพชร) ศิลปะล้านนา-สุโขทัยโบราณวัตถุชิ้นสำคัญของชาติ ๒.การจัดแสดงนอกอาคารจัดแสดง อาคารพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน เป็นการจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตร การทำมาหากิน วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี ของคนไทยในอดีต แสดงถึงภูมิปัญญาพื้นบ้านที่คิดประดิษฐ์สิ่งของจากวัสดุธรรมชาติ ในการดำรงชีวิตประจำวันภาพอาคารจัดแสดงพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน





Messenger