ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,442 รายการ
ชื่อเรื่อง : ๘๔ พรรณไม้ถวายในหลวง โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ
ผู้เขียน : -
สำนักพิมพ์ : กสท โทรคมนาคม
ปีพิมพ์ : ๒๕๕๒
เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : ๙๗๘-๙๗๔-๔๙๙-๐๓๕-๘
เลขเรียกหนังสือ : ๕๘๑.๙๕๙๓ ป๘๑๘
ประเภทหนังสือ : หนังสือทั่วไป
ห้องบริการ : ห้องหนังสือทั่วไป ๑ สาระสังเขป : "๘๔ พรรณไม้ถวายในหลวง โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ" เป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมและสืบสานพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เรื่องการปลูกป่าในใจคน จากพระราชปณิธานอันมุ่งมั่นเสมอมาตลอดระยะเวลาที่พระองค์ท่านทรงเป็นพระประมุขของชาวไทย ได้จุดประกายให้ได้เล็งเห็นคุณค่าของการปลูกต้นไม้เพื่อคืนชีวิตผืนป่าและสมดุลของระบบนิเวศในธรรมชาติที่หายไปให้กลับคืนมาใหม่อีกครั้ง หนังสือเล่มนี้ได้นำเสนอพรรณไม้สำคัญประจำถิ่นและหายาก ซึ่งเกี่ยวพันกับวิถีชีวิตและสังคมไทยรวม ๘๔ ชนิด เช่น กัลปพฤกษ์ กุหลาบขาวเชียงดาว ขมิ้นต้น คำมอกหลวง งิ้วป่า จำปีศรีเมืองไทย ชมพูภูพิงค์ ด้ามมีด ตำหยาวผลตุ่ม ธนนไชย นมสวรรค์ต้น บุหรงสุเทพ โปร่งกิ่ว ฝาง พุดภูเก็ต มณฆาดอย ยี่หุบปลี รักนา ลำดวนแดง ศรียะลา แสดสยาม หมักม่อ เป็นต้น ซึ่งจะให้รายละเอียดลักษณะทั่วไป ลักษณะพรรณไม้ การขยายพันธุ์ ด้วยมุ่งหวังเป็นการเทิดพระเกียรติพระองค์ในวโรกาสพระชนมายุครบ ๗ รอบ จึงนับว่าเป็นหนังสือที่ทรงคุณค่าที่นอกจากรวบรวมพรรณไม้สำคัญที่หายากได้ถึง ๘๔ ชนิดแล้ว ยังเน้นการปลูกฝังจิตสำนึก ความรักความหวงแหนธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศน์ต้นนำลำธารและอนุรักษ์ดิน อันเป็นสมบัติของชาติที่ในหลวง (รัชกาลที่ ๙) ทรงเน้นย้ำให้คนไทยทุกคนพึงรักษาไว้เสมอมา
ในยุคสมัยปัจจุบันเชื่อว่าทุกท่านคงจะได้เห็นการใช้อักษรย่อเพื่อบอกเล่าประโยคยาวๆ ผ่านตากันอยู่บ่อยครั้ง ชวนให้คิดถึงการใช้อักษรย่อในสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ (ต่อไปจะขอใช้ว่า พระเจ้าน่าน) ขึ้นมาได้ จึงอยากชวนทุกท่านไปดูไปชมอักษรย่อที่ว่ากันครับ ก่อนอื่นต้องกล่าวก่อนว่าพระเจ้าน่านทรงสนับสนุนการศาสนาอยู่เสมอ ดังข้อมูลจากเจ้าขันคำ สายใจ (ณ น่าน) กล่าวถึงกิจวัตรประจำวันภายในหอคำว่า “เมื่อพระเจ้าน่านยังมีชีวิตอยู่...เมื่อเวลาตอนเช้าจะได้ยินเสียงกลองดังขึ้นทุกวัน พอวิ่งไปดูพบว่ามีพระเดินเป็นแถวขึ้นบันไดทางทิศเหนือภาพจำลองหอคำครั้งเป็นศาลากลางจังหวัด จะเห็นได้ว่ายังปรากฏบันไดทางขึ้นทั้งสองด้าน ส่วนพระเจ้าน่านนั่งเก้าอี้รอ พอพระขึ้นมาหลานคนใดคนหนึ่งต้องแบ่งข้าวใส่ขันใบพอสมควรแล้วถือขึ้นข้างพระเจ้าน่าน [เพื่อให้พระเจ้าน่านได้ตักบาตร] แล้วพระจะเดินแถวลงบันไดทางทิศใต้ จนพระกลับหมดแล้ว[ลูกหลาน]ก็ช่วยกันเอาแขนพระเจ้าน่านคนละข้างเข้ามาในหอคำ...” นอกจากนี้พระเจ้าน่านยังมีส่วนซ่อมสร้างศาสนสถานอีกหลายต่อหลายแห่ง หนึ่งในนั้นคือหอไตร วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ซึ่งสร้างใน ร.ศ. ๑๒๗ ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๕๓ เป็นหอพระไตรปิฏกขนาด ๘ ห้อง ยาว ๑๖ วา ๑ ศอก กว้าง ๕ วา ๒ ศอก สูงตั้งแต่ดินถึงอกไก่ ๑๓ วา หลังคาทำเป็นชั้นๆ ก่ออิฐทาสี เครื่องบนไม้สัก มุงกระเบื้องไม้สักทำอย่างแน่นหนา มีเพดานจั่ว ๒ ข้าง และเพดานทำด้วยลวดลายต่างๆ พระสมุห์อิน เจ้าอาวาสวัดหัวข่วงกับจีนอิ๋วจีนซางเป็นสล่าสิ้นเงิน ๑๒,๕๕๘ บาท หอไตร วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร *ภาพจาก หอภาพถ่ายล้านนา (Chiang Mai House of Photography) หอไตรหลังนี้เองที่บริเวณรวงผึ้ง (ใช้ประดับตกแต่งสถาปัตยกรรม ลักษณะเป็นแผงสามเหลี่ยมลักษณะคล้ายรวงผึ้ง จึงเป็นที่มาที่เรียกว่ารวงผึ้ง) ทำเป็นรูปครุฑพ่าห์อันเป็นตราแผ่นดินของสยาม เหนือครุฑมีอักษรย่อในกรอบสี่เหลี่ยมข้อความว่า “พ.จ.น.พ.ร.ช.ก.ศ.ถ.พ.พ.ธ.จ.ลฯะ” แปลความได้ว่า “พระเจ้าน่านพระราชกุศลถวายพระพุทธเจ้าหลวง” ซึ่งการใช้คำย่อเช่นนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาให้ความเห็นว่าไม่ได้มีการใช้อย่างสม่ำเสมอ เข้าใจว่าบางทีอาจเป็นเพราะต้องการประหยัดเนื้อที่หรือที่จะเขียนไม่พอ ดังนั้นการใช้ตัวย่อที่หอไตรวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหารแห่งนี้ก็คงเกิดจากเหตุผลนี้เช่นกัน ภาพลายเส้นแสดงตำแหน่งของรวงผึ้ง *ภาพจากหนังสือ พจนานุกรมศัพท์ลายไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน หอไตรแห่งนี้สร้างขึ้นในปีเดียวกับการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ดี ตลอดจนความจงรักภักดีระหว่างเมืองน่านกับศูนย์กลางอย่างสยามผ่านงานศิลปกรรม อย่างไรก็ตามอีก ๘ ปีต่อมา (๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๑) พระเจ้าน่านก็ได้ถึงแก่พิราลัยด้วยโรคชรา ณ หอคำ ดังนั้นแล้วในเดือนเมษายนของทุกปีนอกจากจะเป็นวันจักรี (๖ เมษายน) ยังเป็นวันพระเจ้าน่าน (๕ เมษายน) อีกด้วย เชื่อว่าพระเจ้าน่านน่าจะพิราลัยในห้องบรรทม (หมายเลข ๓) ซึ่งปัจจุบันเป็นห้องจัดแสดงโบราณวัตถุซึ่งเป็นพุทธศิลป์สำริดเมืองน่าน รูปครุฑพ่าห์ รูปครุฑพ่าห์อันเป็นตราแผ่นดินของสยาม เหนือครุฑมีอักษรย่อในกรอบสี่เหลี่ยมข้อความว่า “พ.จ.น.พ.ร.ช.ก.ศ.ถ.พ.พ.ธ.จ.ลฯะ” แปลความได้ว่า “พระเจ้าน่านพระราชกุศลถวายพระพุทธเจ้าหลวง” ซึ่งการใช้คำย่อเช่นนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาให้ความเห็นว่าไม่ได้มีการใช้อย่างสม่ำเสมอ เข้าใจว่าบางทีอาจเป็นเพราะต้องการประหยัดเนื้อที่หรือที่จะเขียนไม่พอ ดังนั้นการใช้ตัวย่อที่หอไตรวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหารแห่งนี้ก็คงเกิดจากเหตุผลนี้เช่นกัน*กรรณิการ์ วิมลเกษม. ตำราเรียนอักษรไทยโบราณ และขอขอบคุณ ธนโชติ เกียรติณภัทร, สุพัตรา มาลัย, นรนท สุขวณิช ในการสนับสนุนข้อมูลมา ณ ที่นี้
หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวดประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 22 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 58 ซม. บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534
รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ประเทศ กัมพูชา
๑. ชื่อโครงการ การอนุรักษ์โบราณวัตถุที่ได้จากแหล่งโบราณคดีใต้น้ำ
๒. วัตถุประสงค์
๒.๑ เพื่อส่งเสริมศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานโบราณคดีให้มีความรู้ในการอนุรักษ์โบราณวัตถุ
ที่มาจากใต้ทะเล
๒.๒ เพื่อประโยชน์ในการวางแผนการสำรวจ การขุดค้นในอนาคต อันจะเอื้อต่อประโยชน์ของการ
อนุรักษ์โบราณวัตถุสูงสุด
๒.๓ สามารถรับผิดชอบงานการอนุรักษ์บางส่วนก่อนส่งสู่ส่วนกลางได้
๒.๔ เรียนรู้และแลกเปลี่ยน ความรู้ ประสบการณ์แก่ผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์โบราณวัตถุที่มาจาก
ใต้ทะเล
๓. กำหนดเวลา ๑๑ – ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๐
๔. สถานที่ ศูนย์อนุรักษ์โบราณวัตถุจากแหล่งโบราณคดีใต้น้ำเกาะเสด็จ จังหวัดเกาะกง ประเทศกัมพูชา
๕. หน่วยงานผู้จัด กองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร
๖. หน่วยงานสนับสนุน ศูนย์อนุรักษ์โบราณวัตถุจากแหล่งโบราณคดีใต้น้ำเกาะเสด็จ จังหวัดเกาะกง
กระทรวงศิลปะและวัฒนธรรม ประเทศกัมพูชา
นำโดย Mr. Tep Sokha นักโบราณคดีและนักอนุรักษ์โบราณวัตถุ
๗. กิจกรรม
๗.๑ เข้าชมและศึกษาโบราณวัตถุที่ได้จากแหล่งโบราณคดีใต้น้ำเกาะเสด็จ จังหวัดเกาะกง
๗.๒ การฝึกปฏิบัติการอนุรักษ์โบราณวัตถุที่ได้จากใต้ทะเล โดยเน้นที่โบราณวัตถุประเภท
ภาชนะดินเผา
๗.๓ ทัศนศึกษาแหล่งฝังศพครั้งที่สอง ซึ่งอยู่ในชุมชน Chi Phat จังหวัดเกาะกง
๘. คณะผู้แทนไทย
๘.๑ นายอาภากร เกี้ยวมาศ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการกองโบราณคดีใต้น้ำ
๘.๒ นายสิร พลอยมุกดา นักโบราณคดีปฏิบัติการ
๘.๓ นางสาวพรนัชชา สังข์ประสิทธิ์ นักโบราณคดีปฏิบัติการ
๘.๔ นายวงศกร ระโหฐาน นักโบราณคดีปฏิบัติการ
๘.๕ พันจ่าตรีเดชา พรไทย นายช่างสำรวจชำนาญงาน
๘.๖ จ่าเอกสมเกียรติ คุ้มรักษา นายช่างสำรวจชำนาญงาน
๘.๗ จ่าเอกบันดาล เพ็ชรขำ นายช่างสำรวจชำนาญงาน
๘.๘ นายวิศณุ หนูเลขา นายช่างโยธาชำนาญงาน
๘.๙ จ่าเอกประเสริฐ สอนสุภาพ นายช่างสำรวจชำนาญงาน
๘.๑๐ พันจ่าเอกอดุลย์ โคตรสีนวล นายช่างสำรวจชำนาญงาน
๘.๑๑ จ่าเอกอรรถพล เทียมเงิน นายช่างสำรวจชำนาญงาน
๘.๑๒ จ่าเอกศุภกฤษ สำโรงลุน นายช่างสำรวจชำนาญงาน
๘.๑๓ จ่าเอกเติมพงศ์ โอภาพ นายช่างสำรวจชำนาญงาน
๘.๑๔ นางกัลปังหา เกี้ยวมาศ ผู้ช่วยนักโบราณคดี
๘.๑๕ นางสาวชีวรัตน์ เชื้อดี เจ้าพนักงานพิพิธภัณฑ์ชำนาญงาน
๙. สรุปสาระของกิจกรรม
กิจกรรมแบ่งออกเป็นสามส่วนได้แก่
๙.๑ การทัศนศึกษาที่แหล่งฝังศพครั้งที่สองที่อยู่ในชุมชน Chi Phat จังหวัดเกาะกง ซึ่งประกอบด้วยแหล่งโบราณคดี O-Kei และ Phnom Pel ซึ่งอยู่บนภูเขา cardamom หรือ พนมกระวาน แหล่งโบราณคดีทั้งสองเป็นแหล่งที่ค้นพบการฝังศพครั้งที่สองภายในภาชนะดินเผาซึ่งตั้งอยู่บริเวณเพิงผาสูงจากพื้นดินประมาณ ๓ – ๕ เมตร โบราณวัตถุที่พบประกอบด้วย ไหจากเตาแม่น้ำน้อย จังหวัดสิงห์บุรี ภาชนะดินเผาแบบเซลาดอนจากเตาศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ไหจากเตาสมัยเมืองพระนครและภาชนะดินเผาที่ใช้ในการหุงต้มประจำวัน นอกจากนี้ยังพบการฝังศพในโลงไม้พร้อมทั้งไหจากเตาแม่น้ำน้อย จังหวัดสิงห์บุรี ภายในภาชนะบรรจุกระดูกมนุษย์ ลูกปัดแก้วและแหวนสำริดซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นของอุทิศให้แก่ผู้ตาย จากการตรวจสอบทางลักษณะทางกายภาพของกระดูกมนุษย์พบว่าน่าจะเสียชีวิตด้วยโรคมาลาเรียเนื่องจากบริเวณกะโหลกมีรู ซึ่งเป็นผลกระทบจากโรคดังกล่าว แหล่งโบราณคดีนี้กำหนดอายุอยู่ในช่วงคริสตวรรษที่ ๑๕ -๑๘ และกำหนดอายุได้เก่าสุดคือ ค.ศ. ๑๔๕๖ ซึ่งตรงกับช่วงที่การค้าขายสังคโลกในสมัยกรุงศรีอยุธยากำลังเจริญรุ่งเรือง การเดินทางติดต่อสื่อสารของผู้คนภาคพื้นทะเลและพื้นที่สูงน่าจะเดินทางผ่านแม่น้ำ An Daung Toeuk ซึ่งเป็นแม่น้ำที่เชื่อมถึงชุนชน Chi Phat และสามารถออกสู่ทะเลได้ คนบนพื้นที่สูงน่าจะนำของป่ามาค้าขายหรือแลกเปลี่ยนกับสินค้าที่มาจากภายนอก การเลือกใช้ภาชนะดินเผาที่นำเข้ามาใช้ในการประกอบพิธีกรรมทำให้สันนิษฐานได้ว่าผู้ตายน่าจะเป็นผู้มีฐานะทางสังคม ปัจจุบันยังไม่ทราบว่ากลุ่มคนที่ประกอบพิธีกรรมเหล่านี้คือใครเนื่องจากเมื่อทำการสัมภาษณ์คนในชุมชนทราบว่าไม่มีการประกอบพิธีกรรมนี้เท่าที่สามารถสืบความได้
๙.๒ เข้าเยี่ยมชมนิทรรศการโบราณวัตถุที่พบจากแหล่งโบราณคดีใต้น้ำน้ำเกาะเสด็จ แหล่งโบราณคดีนี้อยู่ห่างจากเกาะเสด็จไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๑๐ กิโลเมตร แหล่งนี้ไม่มีการขุดค้น แต่เป็นการเก็บกู้โบราณวัตถุขึ้นมาให้ได้มากที่สุด เพราะเกรงว่าจะถูกลักลอบ จากนั้นจึงนำมารวบรวมไว้ที่ศูนย์อนุรักษ์โบราณวัตถุจากแหล่งโบราณคดีใต้น้ำเกาะเสด็จ จังหวัดเกาะกง กระทรวงศิลปะและวัฒนธรรม โดยมี Mr. Tep Sokha นักโบราณคดีและนักอนุรักษ์โบราณวัตถุ เป็นผู้ดำเนินงาน โบราณวัตถุส่วนใหญ่ที่พบคือไหจากเตาแม่น้ำน้อย จังหวัดสิงห์บุรี ภาชนะจากแหล่งเตาศรีสัชนาลัยและสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย นอกจากนี้ภายในนิทรรศการยังมีชิ้นส่วนไม้เรือ เครื่องถ้วยจีน ภาชนะดินเผาที่ใช้ประจำวัน งาช้าง ปืนใหญ่ขนาดเล็ก ดีบุก เป็นต้น รวมได้ทั้งหมดประมาณ ๘ ตัน ซึ่งปัจจุบันสามารถทำการอนุรักษ์ได้เพียง ๔๐ %
๙.๓ ฝึกปฏิบัติการอนุรักษ์โบราณวัตถุโดยเน้นที่โบราณวัตถุประเภทภาชนะดินเผา โดยเริ่มจากภาชนะดินเผาประเภทเนื้อดิน (Earthenware) โดยครั้งนี้นำภาชนะดินเผาใหม่ มาทุบให้แตกจากนั้นจึงทดลองปฏิบัติการอนุรักษ์ดังนี้
๙.๓.๑ ขั้นตอนที่แรกเริ่มจากการบันทึกข้อมูลกายภาพของวัตถุ สภาพก่อนการอนุรักษ์ จากนั้นจึงเริ่มทำความสะอาดโบราณวัตถุโดยแบ่งออกเป็น การทำความสะอาดแบบแห้ง คือการใช้ฟองน้ำ แปรง หรือ ไม้ปลายแหลมพันสำลี และการทำความสะอาดแบบเปียก โดยการใช้น้ำ Acetone หรือ Ethanol ในการทำความสะอาดพื้นผิวหรือรอยต่อของโบราณวัตถุ
๙.๓.๒ จากนั้นจึงเตรียมสาร consolidation เพื่อทำให้พื้นผิวและรอยต่อของโบราณวัตถุแข็งแรงขึ้น โดยใช้สาร poraloid B-72 และ B-48
๙.๓.๓ การเตรียมกาว โดยใช้สารเคมี poraloid B-72 และ B-48 ละลายใน Acetone ในอัตราส่วน 1:1 จากนั้นจึงผสมสีฝุ่นลงไปให้ได้สีที่ใกล้เคียงกับผิวโบราณวัตถุมากที่สุด
๙.๓.๔ ประกอบโบราณวัตถุเข้าด้วยกัน ใช้กาวในปริมาณน้อย ใช้ยางยืดประคองโบราณวัตถุให้เข้ารูป รอให้แห้ง และบัทึกข้อมูลหลังจากการอนุรักษ์
๙.๓.๕ ภาชนะแบบภาชนะดินเผาเนื้อกระเบื้อง (porcelain) ให้ใช้ กาวประเภท Epoxy
โดยจะผสม Part A และ Part B ลงในอัตราส่วน ๒:๑ ซึ่งหากจะทำการบูรณะในชิ้นส่วนที่หายไปจะ
ใช้ Miliput
๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม
ในระหว่างการฝึกอบรมได้รับการต้อนรับจาก H.E. Prak Sonnara อธิบดีกรมมรดก กระทรวงศิลปะและวัฒนธรรม ได้เสนอความร่วมมือระหว่างประเทศทางด้านโบราณคดีใต้น้ำและมรดกทางวัฒนธรรมทางทะเล เนื่องจากปัจจุบันประเทศกัมพูชาเริ่มมีการพบแหล่งโบราณคดีใต้น้ำและวัตถุที่ได้จากใต้ทะเล แต่บุคลากรยังขาดความรู้เรื่องการทำงานทางโบราณคดีใต้น้ำ จึงเห็นควรให้มีการทำงานระหว่างประเทศเกิดขึ้นในอนาคต
๑๑. ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ
นางสาวพรนัชชา สังข์ประสิทธิ์ นักโบรารคดีปฏิบัติการ กองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร
หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยหัวเรื่อง พุทธศาสนา—เทศนา ธรรมเทศนาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 24 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 53.5 ซม. บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากพระครูวิมลสังวร วัดแค ต.รั้วใหญ่ อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.33/ค/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 48 หน้า ; 4 x 50.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 19 (194-204) ผูก 10หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.57/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 34 หน้า ; 4 x 49.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-รักทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 37 (364-375) ผูก 3หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์ --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
วันพฤหัสบดีที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ นายจารึก วิไลแก้ว ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙ และพิธีเปิดนิทรรศการพิเศษ เรื่อง ลายภูษาจากศิลาจำหลัก ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
ว่าด้วยตำรายาเกร็ด เช่น ยาแก้ลุกภายในท้อง, ยาแก้เลือด, ยาสตรีในการคลอดลูก, ยาบำรุงเลือด, ยาแก้หอบ, ยาพรมะพัก, แก้สะวิงสวาย, ยามะหาการ, ยามะหาวาโย, ยาแก้จับปาง, ยาประทับทิม, ยาประสะแสงทอง ฯลฯ
วันจันทร์ที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙นายจารึก วิไลแก้ว ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมาประธานตรวจการจ้าง พร้อมด้วยคณะกรรมการตรวจการจ้างตรวจรับงานโครงการบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์ปรางค์ครบุรี(งวดที่๒)ตำบลครบุรีใต้ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา
โครงการอบรมจัดตั้งเป็นสมาชิกอาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม (อส.มศ.) สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘ วันที่ ๑๘-๑๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๗ ณ ศาลาวนัมรุง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
กระทรวงศึกษาธิการ. แบบสอนอ่านสังคมศึกษา ชุดเสริมประการณ์สังคมศึกษา เล่ม ๑. พิมพ์ครั้งที่
ร.พ.ส่วนท้องถิ่น : กรุงเทพฯ, ๒๕๑๕.
แบเรียนสอนอ่านเกี่ยวกับการใช้ชีวิตที่เริ่มต้นจากครอบครัว ของ พ่อ แม่ ธิดา และมานะ มีสัตว์เลี้ยงคือชาลีเป็นสุนัข และนางเทาเป็นแมว สำลีเป็นแม่ครัว พ่อไปทำงาน มานะไปโรงเรียน แม่อยู่บ้านทำงานโดยมีธิดาคอยเป็นลูกมือให้แม่ พ่อใช้เวลาว่างปลูกผัก เลี้ยงไก่ ประดิษฐ์สิ่งของ วันหนึ่งมีบุรุษไปรษณีย์มาส่งจดหมายจากลุงประชา และลุงมาเยี่ยมพร้อมกับมีของมาฝากเมื่อลุงกลับทุกคนก็บอกลาสวัสดีกัน