ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,439 รายการ
แหล่งโบราณคดีโนนหนองหอ ต.นาอุดม อ.นิคมคำสร้อย จ.มุกดาหาร เป็นแหล่งโบราณคดีในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย หรือ ยุคเหล็ก อายุประมาณ 2500 -1500 ปีมาแล้ว จากการดำเนินงานระหว่าง ปี 2550-2552 ทั้งงานโบราณคดีและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการมรดกศิลปวัฒนธรรมในชุมชนท้องถิ่น ทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลทางวิชาการที่สำคัญทั้งยังเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นในวงการโบราณคดีประเทศไทย นั่นก็คือ การค้นพบแหล่งผลิตกลองมโหระทึกในประเทศไทย เมื่อพิจารณาถึงการแพร่กระจายกลองมโหระทึกตามชุมชนโบราณหลายแห่งในประเทศไทย ซึ่งเดิมเราต่างก็เชื่อกันว่ากลองมโหระทึกเหล่านั้นผลิตขึ้นในแถบจีนตอนใต้และเวียดนามเหนือทั้งสิ้น จากหลักฐานสำคัญของแหล่งโบราณคดีโนนหนองหอ ไม่ว่าจะเป็น ชิ้นส่วนแม่พิมพ์กลอง เบ้าหลอม ก้อนโลหะ (สำริด /ทองแดง) แม่พิมพ์เครื่องมือ เครื่องมือเครื่องใช้สำริด ได้แสดงถึงกิจกรรมด้านโลหะกรรมอย่างชัดเจน โดยเฉพาะการหล่อกลองมโหระทึก ซึ่งยังไม่เคยปรากฎหลักฐานในดินแดนประเทศไทยมาก่อน และอาจเป็นไปได้ว่ากลองมโหระทึกหลายใบที่พบในประเทศไทย โดยเฉพาะในเขตพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร อาจจะผลิตขึ้นที่แหล่งโบราณคดีแห่งนี้ นอกจากนั้นหลักฐานต่างๆที่ค้นพบยังบ่งบอกถึงลักษณะร่วมกันทางวัฒนธรรมหลายประการ สามารถนำไปสู่การอธิบายและแปลความการติดต่อสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างผู้คนในกลุ่มวัฒนธรรมเตียนในจีนตอนใต้ วัฒนธรรมดองซอนในเวียดนามตอนเหนือ และชุมชนโบราณของประเทศไทยต่อไป ( โดย สุกัญญา เบาเนิด นักโบราณคดีชำนาญการ)
หมายเหตุ ดูหลักฐานสำคัญที่คลังภาพ http://www.finearts.go.th/node/125/shows_teaser/photos
วันอังคารที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๐.๒๐ – ๑๐.๕๕ น. นักท่องเที่ยวจากจังหวัดอุดรธานี รวมจำนวน ๙ คน เข้าเยี่ยมชมอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท โดยมีนางสาวมนัสญา ปริวรรณ ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม
วันพุธที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๐๐ น. นักเรียนชั้นอนุบาล ๑ - ๒ โรงเรียนบ้านชำเบง ตำบลเทพรักษา อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ จำนวนนักเรียน ๖๖ คน คุณครูจำนวน ๑๘ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนางถนอม หลวงกลาง พนักงานประจำห้อง ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม
วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๐ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี จัดนิทรรศการ "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ณ จันทบุรี" เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
โดยในช่วงเช้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี เข้าร่วมกิจกรรมดูแลรักษาโบราณสถานเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ณ เมืองเพนียด อ.เมือง จ.จันทบุรี ซึ่งจัดโดย อาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม (อส.มส.) โดย นายวิฑูรัช ศรีนาม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานในพิธีเปิดงาน
ช่วงเย็น เวลาประมาณ ๑๗.๓๐ น. นายวิฑูรัช ศรีนาม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ได้เดินทางมาเปิดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ณ จันทบุรี" พร้อมทั้งเป็นประธานเปิดงานวันอนุรักษ์มรดกไทยสานใยวัฒนธรรม ซึ่งจัดโดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี ณ บริเวณลานหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี อ.เมือง จ.จันทบุรี
พบเครื่องถ้วยชามลายน้ำทอง มีพระบรมฉายาลักษณ์ ร.5 ที่กาน้ำ และจาน
ไม่ทราบว่ามีจริงหรือไม่ เนื่องจากไม่เคยเห็นในหนังสือ รวมทั้งภาพใน Internet
ขอทราบรายละเอียดด้วยครับ
ชื่อเรื่อง : ๘๔ พรรณไม้ถวายในหลวง โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ
ผู้เขียน : -
สำนักพิมพ์ : กสท โทรคมนาคม
ปีพิมพ์ : ๒๕๕๒
เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : ๙๗๘-๙๗๔-๔๙๙-๐๓๕-๘
เลขเรียกหนังสือ : ๕๘๑.๙๕๙๓ ป๘๑๘
ประเภทหนังสือ : หนังสือทั่วไป
ห้องบริการ : ห้องหนังสือทั่วไป ๑ สาระสังเขป : "๘๔ พรรณไม้ถวายในหลวง โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ" เป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมและสืบสานพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เรื่องการปลูกป่าในใจคน จากพระราชปณิธานอันมุ่งมั่นเสมอมาตลอดระยะเวลาที่พระองค์ท่านทรงเป็นพระประมุขของชาวไทย ได้จุดประกายให้ได้เล็งเห็นคุณค่าของการปลูกต้นไม้เพื่อคืนชีวิตผืนป่าและสมดุลของระบบนิเวศในธรรมชาติที่หายไปให้กลับคืนมาใหม่อีกครั้ง หนังสือเล่มนี้ได้นำเสนอพรรณไม้สำคัญประจำถิ่นและหายาก ซึ่งเกี่ยวพันกับวิถีชีวิตและสังคมไทยรวม ๘๔ ชนิด เช่น กัลปพฤกษ์ กุหลาบขาวเชียงดาว ขมิ้นต้น คำมอกหลวง งิ้วป่า จำปีศรีเมืองไทย ชมพูภูพิงค์ ด้ามมีด ตำหยาวผลตุ่ม ธนนไชย นมสวรรค์ต้น บุหรงสุเทพ โปร่งกิ่ว ฝาง พุดภูเก็ต มณฆาดอย ยี่หุบปลี รักนา ลำดวนแดง ศรียะลา แสดสยาม หมักม่อ เป็นต้น ซึ่งจะให้รายละเอียดลักษณะทั่วไป ลักษณะพรรณไม้ การขยายพันธุ์ ด้วยมุ่งหวังเป็นการเทิดพระเกียรติพระองค์ในวโรกาสพระชนมายุครบ ๗ รอบ จึงนับว่าเป็นหนังสือที่ทรงคุณค่าที่นอกจากรวบรวมพรรณไม้สำคัญที่หายากได้ถึง ๘๔ ชนิดแล้ว ยังเน้นการปลูกฝังจิตสำนึก ความรักความหวงแหนธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศน์ต้นนำลำธารและอนุรักษ์ดิน อันเป็นสมบัติของชาติที่ในหลวง (รัชกาลที่ ๙) ทรงเน้นย้ำให้คนไทยทุกคนพึงรักษาไว้เสมอมา
ในยุคสมัยปัจจุบันเชื่อว่าทุกท่านคงจะได้เห็นการใช้อักษรย่อเพื่อบอกเล่าประโยคยาวๆ ผ่านตากันอยู่บ่อยครั้ง ชวนให้คิดถึงการใช้อักษรย่อในสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ (ต่อไปจะขอใช้ว่า พระเจ้าน่าน) ขึ้นมาได้ จึงอยากชวนทุกท่านไปดูไปชมอักษรย่อที่ว่ากันครับ ก่อนอื่นต้องกล่าวก่อนว่าพระเจ้าน่านทรงสนับสนุนการศาสนาอยู่เสมอ ดังข้อมูลจากเจ้าขันคำ สายใจ (ณ น่าน) กล่าวถึงกิจวัตรประจำวันภายในหอคำว่า “เมื่อพระเจ้าน่านยังมีชีวิตอยู่...เมื่อเวลาตอนเช้าจะได้ยินเสียงกลองดังขึ้นทุกวัน พอวิ่งไปดูพบว่ามีพระเดินเป็นแถวขึ้นบันไดทางทิศเหนือภาพจำลองหอคำครั้งเป็นศาลากลางจังหวัด จะเห็นได้ว่ายังปรากฏบันไดทางขึ้นทั้งสองด้าน ส่วนพระเจ้าน่านนั่งเก้าอี้รอ พอพระขึ้นมาหลานคนใดคนหนึ่งต้องแบ่งข้าวใส่ขันใบพอสมควรแล้วถือขึ้นข้างพระเจ้าน่าน [เพื่อให้พระเจ้าน่านได้ตักบาตร] แล้วพระจะเดินแถวลงบันไดทางทิศใต้ จนพระกลับหมดแล้ว[ลูกหลาน]ก็ช่วยกันเอาแขนพระเจ้าน่านคนละข้างเข้ามาในหอคำ...” นอกจากนี้พระเจ้าน่านยังมีส่วนซ่อมสร้างศาสนสถานอีกหลายต่อหลายแห่ง หนึ่งในนั้นคือหอไตร วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ซึ่งสร้างใน ร.ศ. ๑๒๗ ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๕๓ เป็นหอพระไตรปิฏกขนาด ๘ ห้อง ยาว ๑๖ วา ๑ ศอก กว้าง ๕ วา ๒ ศอก สูงตั้งแต่ดินถึงอกไก่ ๑๓ วา หลังคาทำเป็นชั้นๆ ก่ออิฐทาสี เครื่องบนไม้สัก มุงกระเบื้องไม้สักทำอย่างแน่นหนา มีเพดานจั่ว ๒ ข้าง และเพดานทำด้วยลวดลายต่างๆ พระสมุห์อิน เจ้าอาวาสวัดหัวข่วงกับจีนอิ๋วจีนซางเป็นสล่าสิ้นเงิน ๑๒,๕๕๘ บาท หอไตร วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร *ภาพจาก หอภาพถ่ายล้านนา (Chiang Mai House of Photography) หอไตรหลังนี้เองที่บริเวณรวงผึ้ง (ใช้ประดับตกแต่งสถาปัตยกรรม ลักษณะเป็นแผงสามเหลี่ยมลักษณะคล้ายรวงผึ้ง จึงเป็นที่มาที่เรียกว่ารวงผึ้ง) ทำเป็นรูปครุฑพ่าห์อันเป็นตราแผ่นดินของสยาม เหนือครุฑมีอักษรย่อในกรอบสี่เหลี่ยมข้อความว่า “พ.จ.น.พ.ร.ช.ก.ศ.ถ.พ.พ.ธ.จ.ลฯะ” แปลความได้ว่า “พระเจ้าน่านพระราชกุศลถวายพระพุทธเจ้าหลวง” ซึ่งการใช้คำย่อเช่นนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาให้ความเห็นว่าไม่ได้มีการใช้อย่างสม่ำเสมอ เข้าใจว่าบางทีอาจเป็นเพราะต้องการประหยัดเนื้อที่หรือที่จะเขียนไม่พอ ดังนั้นการใช้ตัวย่อที่หอไตรวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหารแห่งนี้ก็คงเกิดจากเหตุผลนี้เช่นกัน ภาพลายเส้นแสดงตำแหน่งของรวงผึ้ง *ภาพจากหนังสือ พจนานุกรมศัพท์ลายไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน หอไตรแห่งนี้สร้างขึ้นในปีเดียวกับการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ดี ตลอดจนความจงรักภักดีระหว่างเมืองน่านกับศูนย์กลางอย่างสยามผ่านงานศิลปกรรม อย่างไรก็ตามอีก ๘ ปีต่อมา (๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๑) พระเจ้าน่านก็ได้ถึงแก่พิราลัยด้วยโรคชรา ณ หอคำ ดังนั้นแล้วในเดือนเมษายนของทุกปีนอกจากจะเป็นวันจักรี (๖ เมษายน) ยังเป็นวันพระเจ้าน่าน (๕ เมษายน) อีกด้วย เชื่อว่าพระเจ้าน่านน่าจะพิราลัยในห้องบรรทม (หมายเลข ๓) ซึ่งปัจจุบันเป็นห้องจัดแสดงโบราณวัตถุซึ่งเป็นพุทธศิลป์สำริดเมืองน่าน รูปครุฑพ่าห์ รูปครุฑพ่าห์อันเป็นตราแผ่นดินของสยาม เหนือครุฑมีอักษรย่อในกรอบสี่เหลี่ยมข้อความว่า “พ.จ.น.พ.ร.ช.ก.ศ.ถ.พ.พ.ธ.จ.ลฯะ” แปลความได้ว่า “พระเจ้าน่านพระราชกุศลถวายพระพุทธเจ้าหลวง” ซึ่งการใช้คำย่อเช่นนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาให้ความเห็นว่าไม่ได้มีการใช้อย่างสม่ำเสมอ เข้าใจว่าบางทีอาจเป็นเพราะต้องการประหยัดเนื้อที่หรือที่จะเขียนไม่พอ ดังนั้นการใช้ตัวย่อที่หอไตรวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหารแห่งนี้ก็คงเกิดจากเหตุผลนี้เช่นกัน*กรรณิการ์ วิมลเกษม. ตำราเรียนอักษรไทยโบราณ และขอขอบคุณ ธนโชติ เกียรติณภัทร, สุพัตรา มาลัย, นรนท สุขวณิช ในการสนับสนุนข้อมูลมา ณ ที่นี้