ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,421 รายการ
ชื่อเรื่อง วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสุพรรณบุรีผู้แต่ง กระทรวงศึกษาธิการร่วมกับกระทรวงมหาดไทยประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN 974-419-303-4หมวดหมู่ ภูมิศาสตร์และการท่องเที่ยวเลขหมู่ 959.373 ว394สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าวปีที่พิมพ์ 2544ลักษณะวัสดุ 308 หน้า : ภาพประกอบ ; 30 ซม.หัวเรื่อง วัฒนธรรม -- สุพรรณบุรี สุพรรณบุรี -- ประวัติศาสตร์ สุพรรณบุรี -- ภูมิศาสตร์และการท่องเที่ยว สุพรรณบุรี -- ความเป็นอยู่และประเพณีภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก รวบรวมเรื่องราวท้องถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรี ประกอบด้วยสภาพภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อมและสังคม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น การตั้งถิ่นฐาน มรดกทางธรรมชาติ มรดกทางวัฒนธรรม ภาษาและวรรณกรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ภูมิปัญญาชาวบ้านและเทคโนโลยีท้องถิ่น เอกลักษณ์ของจังหวัด บุคคลสำคัญ ตลอดจนพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการพัฒนาท้องถิ่น เสด็จพระราชดำเนินทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่างๆ
กรมศิลปากร โดยสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ขอเชิญชวนผู้สนใจร่วมเรียนรู้พร้อมรับพรปีใหม่อันเป็นมงคลจากผู้คุ้มครองดวงชะตาทั้งจากพระและเทพเจ้า รวมถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญ ผู้ทำหน้าที่ปกปักรักษาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในกิจกรรม “นบพระ ไหว้ (เทพ) เจ้า” เนื่องในเทศกาลปีใหม่ ในวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๒ มกราคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๗.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. วันละ ๑ รอบๆ ละ ๔๐ – ๕๐ คน ลงทะเบียนร่วมกิจกรรมในวันงาน (เวลา ๑๖.๓๐ น.) ณ ศาลาลงสรง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
เส้นทางกิจกรรมนำชมในครั้งนี้ แบ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ออกเป็น ๒ ประเภทคือ ๑. เทพเจ้ากับพระพุทธ ผู้ครองเรือนชะตามนุษย์ และ ๒. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผู้ปกปักรักษา ดังนี้
๑. ผู้ครองเรือนชะตามนุษย์ ตามความเชื่อของศาสนาฮินดู ได้แก่ นพเคราะห์ทั้ง ๙ (อุปสรรค) ผู้ให้คุณและโทษแก่ผู้เกิดในวันนั้น ๆ โดยมีพระคเณศเป็นเจ้าแห่งอุปสรรคทั้งหลาย นพเคราะห์เหล่านี้เองที่เป็นต้นแบบให้กับ รูปแม่ซื้อ ที่แขวนไว้เหนือเปลเด็กเกิดใหม่ โดยนำภาพสัตว์เทพพาหนะของแต่ละองค์มาแทนศีรษะ แม่ซื้อในแต่ละวัน อย่างไรก็ตาม เมื่อครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์์โปรดให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงคัดเลือกลักษณะปางหรือมุทราตามที่ปรากฏในพุทธประวัติของพระบรมศาสดา จำนวน ๔๐ ปาง มาสร้างถวายเป็นพุทธบูชา และต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ จึงปรากฏการสร้างพระพุทธรูปแทนนพเคราะห์ประจำวันเกิด ดังปรากฏใน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ที่อัญเชิญมาให้สักการะในปีใหม่นี้
๒. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผู้ปกปักรักษา ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร นั้น ประกอบด้วย พระชัยหลังช้าง ผู้ปกปักรักษากองทัพในการสงคราม พระพุทธรูปแกะสลักจากนอระมาด ของทนสิทธ์ผู้ปกปักรักษาบ้านเรือนให้ร่มเย็น รอดพ้นจากอัคคีภัย สัตตมงคล สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของครูโขนละคร ผู้ปัดเสนียดจัญไร พระภูมิเจ้าที่ผู้ปกปักรักษาบ้านเรือน ไร่นา และยุ้งฉาง และเจ้าพ่อหอแก้ว ศาลพระภูมิประจำพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
สำหรับเส้นทางนำชมเรียงตามลำดับทักษิณาวรรต ได้แก่
๑. พระพุทธสิหิงค์ และพระพุทธรูปประจำวันเกิด ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์
๒. พระชัยในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระแกะสลักจากนอระมาด ณ พระตำหนักแดง
๓. บัตรนพเคราะห์และแม่ซื้อ ณ พระตำหนักแดง
๔. พระคเณศและสัตตมงคล ณ พระที่นั่งทักษิณาภิมุข
๕. พระภูมิเจ้าที่ ณ มุขเด็จ
๖. พระชัยเมืองนครราชสีมา ณ พระที่นั่งบูรพาภิมุข
๗. เจ้าพ่อหอแก้ว ณ ศาลพระภูมิประจำวังหน้า
นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฯ ยังได้ร่วมลุ้นรับของที่ระลึกสุดพิเศษ (*วันละ ๑๐ ชิ้นเท่านั้น) "เครื่องรางโอมาโมริแก้ชง ปีเถาะ ธาตุน้ำ" ภายในบรรจุยันต์ "องค์ไท่ส่วย" ปี ๒๕๖๖ รับเมตตาอธิษฐานจิตจากพระอาจารย์จีนคณาณัติจีนพรต (เย็นงี้) เจ้าอาวาสวัดมังกรกมลาวาส (เล่งเน่ยยี่)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 149/5เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 178/6ฉเอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง : อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงสวัสดิ์วรสาส์น (สวัสดิ์ คชะสุต) ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2514 ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2514 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ : การพิมพ์ไชยวัฒน์ จำนวนหน้า : 76 หน้า สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้ได้จัดพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงสวัสดิ์วรสาส์น (สวัสดิ์ คชะสุต) ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2514 หลวงสวัสดิ์วรสาส์นเคยรับราชการประจำ ณ สถานฑูตสยาม กรุงลอนดอนระหว่าง พ.ศ. 2466-2471 เคยใกล้ชิดเจ้านายหลายพระองค์ด้วยความภักดี จึงเห็นสมควรจัดพิมพ์ลายพระหัตถ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประทานหม่อมเจ้าหญิงจงจิตรถนอม ดิศกุล พระธิดาองค์ใหญ่ระหว่างเสด็จประพาสยุโรป เมื่อ พ.ศ. 2473
ชื่อเรื่อง : เมขลา-รามสูร ของเสฐียรโกเศศ นางสาวสมจิตร ชิตินทร พิมพ์แจกเป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นางสาวไขศรี ชิตินทร ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม 28 มิถุนายน 2507 ชื่อผู้แต่ง : เสฐียรโกเศศ ปีที่พิมพ์ : 2507 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : การพิมพ์พาณิชย์ จำนวนหน้า : 114 หน้าสาระสังเขป : เมขลา-รามสูร ของเสฐียรโกเศศ นางสาวสมจิตร ชิตินทร พิมพ์แจกเป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นางสาวไขศรี ชิตินทร ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม 28 มิถุนายน 2507 เนื้อหาในหนังสือตอนแรกจะกล่าวถึงประวัติของนางสาวไขศรี ชิตินทร ตอนต่อไปจะเป็นเรื่อง เมขลา-รามสูร ของเสฐียรโกเศศ และนาคะประทีป เนื้อเรื่องจะเป็นการเล่าถึงเรื่องราวของเมขลากับรามสูรพร้อมทั้งข้อสันนิษฐานบางอย่าง โดยเรื่องบางเรื่องที่นำมาอ้าง เป็นข้อความที่คัดเอามาลงไว้ทั้งตอน เพื่อให้ได้อ่านกวีนิพนธ์ที่อาจจะลืมไปบ้างแล้ว ตอนที่ 2 บันทึกคำว่าเมขลา ของนายกี อยู่โพธิ์
ชื่อเรื่อง สวดมนต์สิบสองตำนาน (สวดมนต์สิบสองตำนาน)สพ.บ. 435/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 82 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 56.5 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : ไปดูเค้าปล่อยปลา -- ปี 2520 รัฐบาลจัดตั้งจังหวัดพะเยาขึ้น สถานีประมงจังหวัดจึงกำหนดกิจกรรม "เฉลิมฉลองรับขวัญ" ครั้งนี้คือ การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ. เอกสารจดหมายเหตุเรื่องการปล่อยปลาลงกว๊านพะเยาให้รายละเอียดว่า สถานีประมงจังหวัดพะเยาจัดงานปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2520 ภายหลังการประกอบพิธีถวายบังคมพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เนื่องในวันปิยมหาราชแล้ว โดยเรียนเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยาเป็นประธาน พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการทุกท่านร่วมกิจกรรม. สำหรับสายพันธุ์สัตว์น้ำที่นำมาปล่อยมีจำนวน 8 ชนิด ได้แก่ กุ้งก้ามกราม ปลาสวาย ปลานิล ปลาไน ปลายี่สกเทศ ปลาจีนหรือปลาเฉา ลิ่น ซ่ง ปลาตะเพียนขาว และปลาสร้อยขาว รวมทั้งสิ้น 370,000 ตัว. เอกสารจดหมายเหตุฉบับนี้จึงเป็นหลักฐานชั้นต้น (Primary Source) หรือประจักษ์พยานการฉลองการก่อตั้งจังหวัดพะเยาเป็นอย่างดี อีกทั้งเนื้อหาระบุความหมายมงคลแฝงไว้ กล่าวคือ. 1. กิจกรรมครั้งนี้ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ร่วมด้วย 2. สร้างประโยชน์แก่ชาวประมงและประชาชนรอบกว๊านพะเยาได้อาศัยอุปโภคบริโภค 3. สายพันธุ์สัตว์น้ำที่ปล่อยมีปลานิลซึ่งรับพระราชทานมาจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) มาเพาะเลี้ยง กับปลาจีนหรือปลาเฉา ลิ่น ซ่ง ที่รัฐบาลนำเข้ามาจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ลงสู่แหล่งน้ำกว้างใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศ. ดังนั้น กิจกรรมดังกล่าวจึงเป็นการกุศลแด่สาธารณะมหาศาล สายพันธุ์สัตว์น้ำให้คุณูปการทั้งปัจจัยสี่ การประกอบอาชีพ รวมถึงการอนุรักษ์ไปพร้อมกัน ประชาชนจึงได้ประโยชน์ตราบเท่าทุกวันนี้.ผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา).เอกสารอ้างอิง: หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา (2) กษ 1.1.1.1/8 เรื่อง การปล่อยปลาลงกว๊านพะเยา [ 27 มี.ค. 2515 - 13 ต.ค. 2521 ].#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
วัดห้วยเสือ ตั้งอยู่ ณ บ้านห้วยเสือ หมู่ที่ 5 ตำบลสมอพรือ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งจากการเข้าไปสำรวจพบว่าวัดแห่งนี้มีการรวบรวมภาพจิตรกรรม โดยเป็นเรื่องราวของ “พระเวสสันดรชาดก” ชาติที่ 10 ของเรื่องราว “ทศชาติชาดก” หรือก็คือ 10 ชาติ ของการเล่าเรื่องราวการที่พระพุทธเจ้าทรงเวียนว่ายตายเกิด จนเป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย ซึ่งในปัจจุบันภาพดังกล่าวได้ถูกจัดเก็บไว้เป็นอย่างดี ณ วัดห้วยเสือ เพื่อเป็นการดำรงและรักษาภาพจิตรกรรมการแสดงคำสอนอันดีงามและเรื่องราวความเป็นมาทางพุทธศาสนาให้คงอยู่ต่อไป
สำหรับ ทศชาติ เรื่อง “พระเวสสันดรชาดก” ว่าด้วยเรื่อง 13 กัณฑ์ ถือได้ว่าเป็นเรื่องราวที่รู้จักมากที่สุดและมีความสำคัญมากที่สุดในบรรดาทศชาติชาดกทั้ง 10 ตอน และเป็นสาเหตุที่เวสสันดรชาดกถูกยกให้เป็นมหาชาตินั้น ก็เนื่องจากชาดกเรื่องนี้ถือเป็นพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนจะได้เป็นพระพุทธเจ้า อีกทั้งยังเป็นพระชาติที่ทรงบำเพ็ญบารมีครบทั้ง 10 ประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ทานบารมี” ที่ทรงบริจาคทุกสิ่งทุกอย่างทุกอย่าง แม้แต่ภรรยาและบุตรของตนเองก็บริจาค ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ทำได้ยากและเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
นอกจากนั้น สาเหตุที่ “พระเวสสันดรชาดก” นั้นเป็นที่ยกย่องและน่าเลื่อมใส เพราะเรื่องเวสสันดรชาดกนั้นมีคุณค่าที่สามารถนำไปประยุกต์เข้ากับชีวิตประจำวันได้ทุกระดับ โดย 13 กัณฑ์ ของเรื่องราว “พระเวสสันดรชาดก” สามารถศึกษาเเละทำความเข้าใจเพิ่มเติมได้ ดังนี้
เอกสารเเละหลักฐานสำหรับการสืบค้น
1. วัดห้วยเสือ, ภาพจิตรกรรม ทศชาติ เรื่อง “พระเวสสันดรชาดก” ว่าด้วยเรื่อง 13 กัณฑ์.
2. เจริญ ไชยชนะ. (2502), มหาเวสสันดรชาดก ฉบับ 5 กัณฑ์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ ไชยวัฒน์.
3. กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2561), เทศน์มหาชาติมหากุศล. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
4. ทิวาวรรณ อายุวัฒน์. (2561). ““ทศชาติชาดก 101”, ใน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี (ผู้รวบรวม), บทความทางวิชาการ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี. (หน้า 1). นครปฐม :มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
ชื่อเรื่อง มหานิปาต(เวสฺสนฺตรชาดก)ชาตกปาลิขุทฺทกนิกาย(คาถาพัน)อย.บ. 170/2คหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 66 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง มหาเวสสันดรชาดก
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา