ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,419 รายการ


องค์ความรู้ เรื่อง ทารกาภิบาล ของหลวงมงคลรัตน์ (ช่วง ไกรฤกษ์)  ตำราครรภ์รักษาและการเลี้ยงดูเด็กอ่อนแผนโบราณฉบับร้อยกรอง ก่อนได้รับอิทธิพลการแพทย์แบบตะวันตก จัดทำข้อมูลโดย นางสาวชนิดา สีหามาตย์ นักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ กลุ่มภาษาและวรรณกรรม สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์


ชื่อเรื่อง : พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2504 พร้อมด้วยกฎกระทรวงและระเบียบที่ออกตามความในพระราชบัญญัติฉบับนี้ ผู้แต่ง :  กรมศิลปากรปีที่พิมพ์ : 2513 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภาพระสุเมรุจำนวนหน้า : 114 หน้า            พระราชบับัญญัติฉบับนี้ กรมศิลปากร จัดพิมพ์เพื่อถวายพระภิกษุ และสามเณร ซึ่งเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และ หอสมุดแห่งชาติ ในเทศกาลเข้าพรรษา ในส่วนของเนื้อหา นอกจากจะมีพระราชบับัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2504 ด้านหลังมีประกาศอนุโมทนา รายชื่อผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์ สิ่งของ เครื่องดื่ม กับปิยภัณฑ์ อื่นๆ ด้วย


ไซเดนฟาเดน. เรื่องเที่ยวที่ต่างๆ ภาคที่ 6 เที่ยวเมืองพิมายในจังหวัดนครราชสีมา. พระนคร: กรมศิลปากร, 2497. พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพขุนประมวญรถกรรม (โฮม  วงศ์กำแหง) ว่าด้วยเรื่องเที่ยวเมืองพิมาย ประวัติเมืองพิมาย จังหวัดนครราชสีมา  การก่อสร้างสถานีรถไฟสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา การเดินทางจากนครราชสีมาไปพิมาย ปี พ.ศ.2461  โดยใช้ม้า เป็นพาหนะ ท่าเรือเมืองนครราชสีมาที่เรียกว่าท่าช้าง ฯลฯ915.9332 ซ952ร


ผู้แต่ง : หม่อมราโชทัย ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2505 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางจำนวน จิปิภพ ณ สุสานหลวงวัดเทพศิริทราวาส 8 เมษายน 2505                    พรรณนาเรื่องราวตั้งแต่ออกนอกกรุงเทพฯ ไปจนกลับและได้กล่าวถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ได้พบเห็นในประเทศอังกฤษ ซึ่งบางสิ่งก็เป็นของแปลกใหม่สำหรับประเทศไทยในสมัยนั้นจะอ่านในแง่บันเทิงและอรรถรสทางวรรณคดี นับว่าเป็นเรื่องแต่งดีน่าอ่านอีกเล่มหนึ่ง


-- สมเด็จย่ากับการศึกษาของเยาวชนในชนบทไทย --   ๐ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงสนพระทัยในเรื่องการศึกษาของเยาวชนในเขตชนบทเป็นอย่างมากด้วยทรงมีพระราชดำริว่าการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เยาวชนในชนบท มีความรู้ความคิดและสติปัญญาที่เฉลียวฉลาดอันจะเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาชนบท แต่จากการ เสด็จฯ ออกเยี่ยมเยียนราษฎรในปีพ.ศ. ๒๕๐๗ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีกลับทรงพบกับสภาพความขาดแคลน โรงเรียนสำหรับเยาวชนในท้องถิ่นทุรกันดาร ด้วยในเวลานั้นกระทรวงศึกษาธิการยังขยายเขตการศึกษาไปไม่ถึงพื้นที่ตามแนวชายแดนที่ห่างไกล ประกอบกับการสื่อสารโทรคมนาคมก็มิได้เจริญเฉกเช่นในปัจจุบัน ทั้งในเวลานั้นเป็นช่วงที่มีการแทรกซึมของเหล่าผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์อย่างกว้างขวางทำให้สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงเพิ่มความห่วงใยประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตแทรกซึม ซึ่งบางแห่งมิได้พูดภาษาไทยกัน ด้วยซ้ำจะเกิดความไม่แน่ชัดว่าตนคือคนไทยด้วยหรือไม่   ๐ ดังนั้นเมื่อความทราบใต้ฝ่าพระบาทว่ากองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ได้กำหนดโครงการที่จะจัดสร้างโรงเรียนชาวเขาขึ้นในเขตพื้นที่ตามแนวชายแดนที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีจึงได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้แก่กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อนำไปจัดสร้างโรงเรียนจำนวน ๒๙ แห่งภายหลังผู้มีจิตศรัทธาได้ทูลเกล้า ถวายเงินสมทบในการจัดสร้างได้อีกกว่า ๑๘๕ แห่ง   ๐ ไม่เพียงเท่านั้น สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ยังได้ทรงรับเอาโครงการของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนไว้ในพระราชูปถัมภ์ ในปัจจุบันมีโรงเรียนเกือบ ๔๐๐ โรงเรียน ซึ่งโรงเรียนเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วได้ถูกโอนเข้าไปสังกัดในส่วนงานการประถมศึกษา ส่วนที่ยังคงอยู่ในความรับผิดชอบของตำรวจตระเวนชายแดนมีเพียง ๑๗๐ โรงเรียน และเมื่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงเจริญพระชนมายุมากขึ้น ก็มิได้ทรงทอดทิ้ง พระองค์ได้ทรงฝากให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงช่วยดูแลแทนดังพระราชพระแสที่ว่า   “...ย่าแก่แล้ว ไปไหนไม่ค่อยไหว ถ้าสมเด็จพระเทพฯ เสด็จฯ ก็ให้เยี่ยมแทนย่าด้วย...”   ๐ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงมีต่อเยาวชนในท้องถิ่นชนบทห่างไกลเป็นล้นพ้น


ชื่อเรื่อง                           สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทสนา(เทศนาสังคิณี-มหาปัฏฐาน)สพ.บ.                                  108/6ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           22 หน้า กว้าง 4.6 ซ.ม. ยาว 53.9 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึกเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดประสพสุข   ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                           กจฺจายนมูล (กัจจายนมูล)สพ.บ.                             185/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           64 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 57.5 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 กัจจายนมูลบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับทองทึบ ภาษาบาลี-ไทย ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                                สตฺตปฺปกรณภิธมฺมเทสนา (เทศนาสังคิณี-ยมก)สพ.บ.                                  127/4กประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           22หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 ธรรมเทศนา บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดประสพสุข ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี



ชื่อเรื่อง                                ปฐมสมฺโพธิ (ปฐมสมโพธิกถา)สพ.บ.                                  161/17ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           46 หน้า กว้าง 5.5 ซ.ม. ยาว 55 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           พระพุทธเจ้า บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี


ประเพณีลอยโขมดเป็นประเพณีที่ชาวบ้านต้นธง ต.ต้นธง อ.เมือง จ.ลำพูน รวมถึงชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียง จัดขึ้นในช่วงยี่คืนวันเพ็ญในเดือนยี่เป็ง หรือเพ็ญเดือนสิบสอง  ชาวบ้านจะมีการนำกาบกล้วยมาทำเป็นกระทงทรงกระโจมสำหรับใส่สิ่งของต่างๆ ลอยไปตามลำน้ำกวงบริเวณหน้าวัดรมณียาราม หรือวัดกู่ระมัก ในเวลากลางคืนพร้อมทั้งจุดเทียนไปในกระทงนั้นด้วย ทำให้เกิดแสงแวววาวกระทบกับผิวน้ำในคืนวันเพ็ญคล้ายกับดวงไฟของผีโขมด ซึ่งผีโขมดนี้ เป็นชื่อเรียก ผีป่า ที่ออกหากินในเวลากลางคืน มีพะเนียงไฟมองเห็นเป็นระยะอย่างผีกระสือ ชาวล้านนา จึงเรียกว่า ลอยโขมด  +++ประเพณีการลอยโขมดเชื่อว่ามีต้นเค้ามาจากตำนานจามเทววีวงศ์ พงศาวดารเมืองหริภุญไชย และชินกาลมาลีนี ที่แต่งขึ้นในสมัยล้านนา กล่าวถึงการลอย “ขาทนียโภชนียาหาร” ตามน้ำลงไปทางใต้ ในตำนานกล่าวถึงเหตุการณ์หลังจากพระเจ้ากมลราชกษัตริย์พระองค์หนึ่งในนครหริภุญไชย ได้เกิดโรคระบาด (อหิวาตกโรค) ชาวนครหริภุญไชยจึงได้ย้ายไปอาศัยอยู่เมืองสุธรรมนคร หรือเมืองสุธรรมวดี(สะเทิม) แล้วจึงย้ายไปอาศัยในเมืองหงษาวดีราว ๖ ปี ต่อมาเมื่อโรคระบาดหายแล้ว ชาวนครหริภุญไชยบางส่วนได้เดินทางกลับมายังที่เดิม บางส่วนก็สมัครใจที่จะอาศัยอยู่ในเมืองหงษาวดี  เมื่อกลับมาแล้วต่างอาลัยถึงญาติพี่น้องที่อาศัยอยู่ทางนั้นจึงได้แต่งเครื่องสักการะลอยไปในแม่น้ำเพื่อเป็นการระลึกถึงชาวนครหริภุญไชยที่อาศัยอยู่หงษาวดี ในตำนานยังกล่าวไว้ด้วยว่าเป็นจารีตที่ปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน บางแห่งได้มีการทำเป็นรูปแบบของกระทงเป็นรูปสำเภา หรือสะเปา ในภาษาถิ่นภาคเหนือใส่เครื่องบูชาและจุดประทีบดวงไฟเช่นเดียวกัน   สำหรับประเพณีลอยโขมด ตำบลต้นธง ครั้งที่ ๖ จัดขึ้นที่ท่าน้ำวัดรมณียาราม หรือวัดกู่ระมัก ต.ต้นธง อ.เมือง จ.ลำพูน จัดขึ้นในวันที่ ๖-๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ในกิจกรรมจะมีการบรรยายและสาธิตให้ความรู้เกี่ยวกับการทำโขมด การก่อเจดีย์ทราย การทำประตูป่า และจะขบวนแห่โขมดหลวงและพิธีลอยโขมดในช่วงค่ำของวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๓  +++++ อ้างอิง  -พระโพธิรังสี. จามเทวีวงศ์ พงศาวดารเมืองหริภุญไชย. นนทบุรี: ศรีปัญญา, ๒๕๕๔. -ทองทวี ยศพิมสาร. ฮีตคนเมือง ฉบับสัปป๊ะเรื่องเมืองล้านนา. ลำพูน: ณัฐพลการพิมพ์, ๒๕๕๓.  -สงวน โชติสุขรัตน์. ประเพณีไทยภาคเหนือ. (พิมพ์ครั้งที่ ๓) นนทบุรี: ศรีปัญญา, 25๕๓. -สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน. (๒๕๕๙). ประเพณีลอยโขมดบ้านต้นธงประจำปี ๒๕๕๙. สืบค้นเมื่อ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๓.จาก https://www.m-culture.go.th/lamphun/ewt_news.php?nid=540.


กฏหมายพระธรรมศาสตร์ ชบ.ส. ๙๓ เจ้าอาวาสวัดนาจอมเทียน ต.นาจอมเทียน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕ เอกสารโบราณ (สมุดไทย)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.30/1-7 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อผู้แต่ง         พระครูประกาศสมาธิคุณ  ชื่อเรื่อง           หลวงพ่อเงิน กับ มฤคทายวันมหาวิหาร     พิมพ์ครั้งที่       - สถานที่พิมพ์     กรุงเทพ สำนักพิมพ์       โอเดียนสโตร์ ปีที่พิมพ์          2513 จำนวนหน้า      52  หน้า                     หลวงพ่อเงิน กับ มฤคทายวันมหาวิหาร  จัดพิมพ์เป็นพุทธบูชาในการทอดผ้าป่าวันอาสาฬหบูชา  เมื่อวันที่ 18  กรกฎาคม  2513  เนื้อเรื่องเป็นเรื่องราวชาวไทยพุทธและชาวพุทธชาติต่าง ๆ  ได้เดินทางไปประเทศอินเดียเพื่อนมัสการสังเวชนียสถานทั้ง  4 คือสถานที่พระพุทธเจ้าประสูติ  ตรัสรู้  แสดงปฐมเทศนา  และปรินิพาน  สิ่งที่จูงใจให้ทุกคนไปชมพูทวีป   


Messenger