ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,418 รายการ






ระหว่างวันที่ 16-17 มิถุนายน 2555 ที่ผ่านมา กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 11 อุบลราชธานี ได้จัดฝึกอบรมการทำลูกปัดแก้วลวดลายแบบโบราณให้กับเครือข่ายมรดกศิลปวัฒนธรรมตำบลเจียด อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกปัดที่เรียกว่า "สุริยะเทพ" ซึ่งได้รับควมสนใจจากสมาชิกเครือข่ายฯเป็นจำนวนมากเช่นเดิม   กิจกรรมในลักษณะดังกล่าวได้จัดขึ้นเป็นปีที่2ติดต่อกัน โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้เครือข่ายฯซึ่งร่วมกันอนุรักษ์แหล่งโบราณคดีดอนไร่ ต.เจียด อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี สามารถผลิตและจำหน่ายลูกปัดแก้วเป็นรายได้เสริมในลักษณะสินค้าที่ระลึกของชุมชน โดยแนวคิดร่วมกันที่ว่า "ของเก่าเก็บไว้ดู ของใหม่ทำไว้ขาย" ซึ่งได้รับการสนับสนุนวิทยากรจากศูนย์แก้ว คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี




- การจดแจ้งการพิมพ์ - การเปลี่ยนแปลงรายการจดแจ้งการพิมพ์ - การยกเลิกเป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของหนังสือพิมพ์


          "บุ" หมายถึง การตี การแผ่ การกดทับ โดยการเอาโลหะที่มีลักษณะบางๆ ทำการหุ้มของบางสิ่งเข้าไว้ หรือการตีให้เข้ารูป การบุในเชิงช่างบุจึงหมายถึง การนำเอาโลหะชนิดใดชนิดหนึ่งมาตีแผ่ออกให้เป็นแผ่นบางๆ ตามขนาดที่ต้องการ แล้วนำไปหุ้มหรือปิดบนเค้าโครงของชิ้นงาน เพื่อปิดประดับเป็นผิวภายนอก ซึ่งบนแผ่นโลหะนั้นอาจจะมีการดุนลวดลาย เพื่อสร้างความสวยงามให้เกิดลายเป็นรอยนูนขึ้น           โลหะที่นิยมใช้ ได้แก่ ทองคำ เป็นโลหะสีเหลืองสุกปลั่ง มีเนื้ออ่อน มีความเหนียว เงิน เป็นโลหะสีขาว เนื้อค่อนข้าง่อน ทองแดง เป็นโลหะแดง เนื้ออ่อน มีความเหนียวยืดหยุ่น บุให้เป็นแผ่นบางและรีดเป็นเส้นลวดได้ง่าย ทองเหลือง เป็นโลหะสีเหลือง ที่เกิดจากการผสมระหว่างทองแดงและสังกะสี มีคุณสมบัติคล้ายทองแดง แต่มีความแข็งแรงกว่า



กกรมศิลปากรชี้แจงประเด็นข่าวกุฏิพระโบราณ ที่วัดสิงห์ จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหาย สาเหตุจากช่างที่กรมศิลปากรจ้างมาซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์ เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ กรมศิลปากรแถลงข่าวชี้แจงประเด็นกุฏิพระโบราณที่วัดสิงห์ จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหาย โดยนายเอนก สีหามาตย์ รองอธิบดีกรมศิลปากร นายประทีป เพ็งตะโก ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี นายช่างโยธาและวิศกรควบคุมงาน เป็นผู้แถลงข่าว ณ ห้องประชุมกรมศิลปากร ตามที่รายการเรื่องเล่าเสาร์ – อาทิตย์ ประจำวันอาทิตย์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๕ รายการ เรื่องเล่าเช้านี้ ประจำวันจันทร์ที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง ๓ และหนังสือพิมพ์ข่าวสด หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันจันทร์ที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ ได้เสนอข่าวเกี่ยวกับกุฏิพระโบราณ ที่วัดสิงห์ ตำบลสามโคก อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหายทั้งหมด สาเหตุจากช่างที่กรมศิลปากรจ้างมาซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์ นั้น   กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ขอชี้แจงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวดังนี้ ๑. วัดสิงห์ ตำบลสามโคก อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นวัดเก่าแก่ซึ่งยังปรากฏเจดีย์ โบสถ์ วิหารเก่าแก่ ควรค่าแก่การศึกษาด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี พระพุทธรูปสำคัญของวัดคือ หลวงพ่อโต พระพุทธรูปลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย สมัยกรุงศรีอยุธยา พระพุทธไสยาสน์ (หลวงพ่อเพชร) นอกจากนี้ยังมีโกศบรรจุอัฐิหลวงพ่อพญากราย ซึ่งเป็นพระมอญธุดงค์มาจำพรรษา ที่วัดสิงห์ บนกุฏิของวัดมีพิพิธภัณฑ์ เก็บรักษาของเก่า ได้แก่ ตุ่มสามโคก แท่นบรรทมของพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองสามโคก ใบลานอักษรมอญ ตู้พระธรรม และพระพุทธรูป ด้านหน้าวัดสิงห์มีการขุดค้นพบโบราณสถานเตาโอ่งอ่าง ซึ่งถือ เป็นหลักฐานของการตั้งชุมชนมอญในสมัยแรกในบริเวณนี้นับแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดขอบเขตโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เล่มที่ ๑๐๙ ตอนที่ ๑๐๙   ๒. กรมศิลปากร สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ได้รับการจัดสรรงบประมาณโครงการฟื้นฟูบูรณะโบราณสถานที่ประสบอุทกภัย โครงการบูรณะโบราณสถานวัดสิงห์ จำนวน ๑๒,๐๒๐,๐๐๐ บาท โดยแบ่งเป็น ๒ โครงการ - โครงการงานบูรณะโบราณสถาน จำนวนเงิน ๔,๔๕๐,๐๐๐ บาท - โครงการงานปรับยกระดับ (ปรับดีด) วงเงินสัญญาจ้าง ๗,๕๓๙,๐๐๐ บาท ดำเนินการว่าจ้างบริษัทกันต์กนิษฐ์ ก่อสร้าง จำกัด เป็นผู้ดำเนินงาน ตามสัญญาจ้างเลขที่ ๑๒/๒๕๕๕ เริ่มสัญญาวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ สิ้นสุดวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๕ โดยมีนายเฉลิมศักดิ์ ทองมา นายช่างโยธาชำนาญงาน สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี เป็นผู้ควบคุมงาน   ๓. เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เวลา ๒๑.๓๐ น. นายเฉลิมศักดิ์ ทองมา ได้รับแจ้งจากตัวแทนบริษัทกันต์กนิษฐ์ ก่อสร้าง จำกัด ในเวลาประมาณ ๑๖.๓๐ น. ขณะที่คนงานอยู่ในช่วงพัก ไม่มีใครอยู่ภายในบริเวณอาคารกุฏิโบราณ ได้ยินเสียงพร้อมทั้งปูนฉาบของตัวอาคารกะเทาะหลุดร่วงลงมา แล้วมุมอาคารด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ เกิดการทรุดตัวลง ทำให้กระเบื้องหลังคาและโครงสร้างหลังคาทั้งหมด ทรุดลงมากองอยู่บริเวณพื้นไม้ชั้นสองของอาคาร ทำให้น้ำหนักบรรทุกของพื้นมากขึ้นกว่าเดิม หลังจากนั้นผนังด้านทิศใต้ ก็ได้พังทลายตามลงมาเนื่องจากรับหนักของหลังคาที่ทรุดลงมาไม่ไหว   ๔. เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เวลา ๙.๐๐ น.ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี (นายประทีป เพ็งตะโก) นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ วิศวกรชำนาญการพิเศษ นายจมร ปรปักษ์ประลัย สถาปนิกชำนาญการ นายเฉลิมศักดิ์ ทองมา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสามโคก และคณะกรรมการวัดสิงห์ ได้ร่วมกันลงพื้นที่ตรวจสอบความเสียหายและหาสาเหตุของการพังทลาย ได้ข้อสรุปดังนี้ ๔.๑ การที่อาคารเกิดการทรุดตัว เนื่องจากพื้นดินรับฐานรากอาคารอยู่ในที่ต่ำชุ่มน้ำตลอดทั้งปี ทำให้อ่อนตัวรับน้ำหนักอาคารไม่ไหวทำให้ผนังอาคารทรุดตัวลงมาประมาณ ๑ ใน ๔ ส่วน ๔.๒ ผนังอาคารมีร่องรอยแตกร้าวจำนวนมาก พบร่องรอยนี้จากการสำรวจเพื่อจัดทำรูปแบบรายการการอนุรักษ์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๐ - ๒๕๕๔ ๔.๓ ปูนสอเสื่อมสภาพจากการถูกน้ำแช่ขังและใช้งานอาคารมาเป็นเวลานาน ทำให้การยึดตัวของอิฐและปูนสอไม่ดี เป็นสาเหตุให้ตัวอาคารทรุดลงมา ๔.๔ สภาพอาคารที่ปูนฉาบผนังนอกหลุดร่อน ทำให้น้ำซึมผ่านเข้าไปในผนังทำให้ ปูนสอชุ่มน้ำ ทำให้แรงยึดเกาะระหว่างอิฐต่ำ ๔.๕ ขณะที่อาคารทรุดตัวอยู่ระหว่างการขุดเพื่อตรวจสอบฐานของอาคารส่วนที่ จมดินเพื่อเตรียมการกำหนดระยะที่ทำการตัดผนังเพื่อเสริมคานถ่ายแรง ยังไม่ได้ทำการตัดผนัง จึงยังมิได้มีการรบกวนโครงสร้างของอาคารโบราณ แต่ตัวอาคารก็เกิดการทรุดตัวลงมาเสียก่อน   หลังจากทำการตรวจสอบพื้นที่แล้ว สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ได้สั่งการให้บริษัทผู้รับจ้างทำการค้ำยันผนังส่วนที่เหลือโดยให้ดำเนินการตามคำแนะนำของวิศวกร และทำการจัดเก็บวัสดุส่วนที่สามารถนำมาก่อสร้างเพื่อคืนสภาพอาคารไปจัดเก็บในที่ให้เรียบร้อย รวมทั้งได้เร่งรัดให้ผู้รับจ้างดำเนินการบูรณะกุฏิให้คืนสภาพโดยเร็ว โดยให้บริษัทผู้รับจ้างร่วมกับสถาปนิก วิศวกร และผู้เกี่ยวข้อง ปรับปรุงรูปแบบรายการ และวิธีปรับดีดให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพปัจจุบันของกุฏิ และให้ดำเนินการบูรณะกุฏิให้กลับคืนสภาพเดิม โดยให้เป็นไปตามรูปแบบรายการบูรณะที่ได้รับอนุญาต


          เครื่องถ้วยเวียงกาหลงมีแหล่งผลิตอยู่ที่ตำบลหัวฝาย อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย บริเวณลำน้ำลาว บริเวณบ้านป่าส้าน และบ้านทุ่งม่าน ลักษณะของเตาเผาเป็นเตาชนิดระบายความร้อนผ่านในแนวนอน ขุดเข้าไปในเนินดิน           ลักษณะเด่นของเครื่องถ้วยจากแหล่งเตานี้มักมีน้ำหนักเบา เนื่องจากเนื้อดินที่ใช้ปั้นภาชนะมีความละเอียด และสามารถขึ้นรูปได้บางกว่าเครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งเตาอื่นๆ ที่พบในประเทศไทย เนื้อดินมีสีขาว สีเหลืองนวล และสีเทา น้ำเคลือบบางใส และรอนรานเป็นรอยเล็กละเอียด เครื่องถ้วยเวียงกาหลงมักเคลือบถึงบริเวณขอบเชิง บางใบมีการเคลือบก้นด้วย รูปทรงของเครื่องถ้วยที่ผลิต ได้แก่ จาน ชาม แจกัน โถ ผางประทีป ถ้วย รวมถึงตัวหมากรุก และตุ๊กตารูปสัตว์ต่างๆ           แหล่งเตาเวียงกาหลงจะผลิตเครื่องถ้วย 4 ประเภท คือ ประเภทเขียนลายสีดำใต้เคลือบ ประเภทเคลือบใส ประเภทเคลือบสีเขียว และประเภทเคลือบสีน้ำตาล           ลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเครื่องถ้วยเวียงกาหลงประเภทเขียนลายสีดำใต้เคลือบ ได้แก่ ลายกลีบดอกไม้หรือใบไม้ที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “ลายกา” นอกจากนี้ยังพบลายช่อดอกไม้ ลายพันธุ์พฤกษา ลายดอกไม้ก้านขด ลายรูปสัตว์ รวมทั้งลายที่แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลจากภายนอก เช่น ลายเก๋งจีน ลายภูมิประเทศ ลายกิเลน เป็นต้น           ส่วนเครื่องถ้วยเวียงกาหลงประเภทเคลือบใสมักตกแต่งด้วยการขูดขีดลายซี่หวีหรือกลีบดอกไม้ลักษณะต่างๆ เครื่องถ้วยเวียงกาหลงมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 20 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 22 ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน



***บรรณานุกรม*** หนังสือหายาก หลวงผลสัมฤทธิกสิกรรม(ผล สินธุระเวชญ์).  ความรู้เบื้องต้นแห่งพืช สำหรับโรงเรียนกสิกรรมทั่วไป.  พระนคร : โรงพิมพ์กรมตำรา, ๒๔๗๒.


Messenger