ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,416 รายการ
เลขทะเบียน : กจ.บ.192/1ชื่อเรื่อง : ตำราวินิจฉัยโรคข้อมูลและลักษณะ : อักษรมอญ ภาษามอญ เส้นจาร ฉบับลานดิบ ประวัติ : ได้มาจากวัดท่าขนุน ต.ท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2533 จำนวน 1คัมภีร์ 1 ผูก จำนวนหน้า : 42 หน้า
กรมศิลปากรเตรียมเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ ในวันพิพิธภัณฑ์ไทย ๑๙ กันยายน ๒๕๖๔ พบโฉมใหม่ของการจัดแสดงโบราณวัตถุสมัยทวารวดี กว่า ๒๖๐ รายการ รับชมผ่านระบบออนไลน์ ได้ทาง facebook fanpage กรมศิลปากร และ youtube กรมศิลปากร นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า เนื่องในโอกาสวันพิพิธภัณฑ์ไทย ๑๙ กันยายน ๒๕๖๔ กรมศิลปากรกำหนดเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ ในรูปแบบใหม่ผ่านทางสื่อออนไลน์ ตามแบบชีวิตวิถีใหม่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด ๑๙ ภายหลังจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ ปิดให้บริการมาเป็นระยะเวลาเกือบ ๓ ปี ตั้งแต่เดือนเมษายน ๒๕๖๒ จนกระทั่งถึงเดือนกันยายน ๒๕๖๔ เพื่อปรับปรุงการจัดแสดงนิทรรศการถาวรภายในใหม่ โดยจัดแสดงโบราณวัตถุสมัยทวารวดี จำนวนกว่า ๒๖๐ รายการ อาทิ ธรรมจักร พระพุทธรูปทวารวดี จารึกวัดพระงาม เนื่องจากเมืองนครปฐมโบราณเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาเมืองในสมัยทวารวดี และเป็นเมืองสำคัญที่ตั้งอยู่ทางพื้นที่ลุ่มน้ำแม่กลอง – ท่าจีน จากทำเลที่ตั้งของเมืองนครปฐมโบราณที่มีความเหมาะสมต่อการตั้งเป็นบ้านเมือง จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เมืองนครปฐม มีความเจริญรุ่งเรือง กลายเป็นเมืองขนาดใหญ่นับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒ เป็นต้นมา โดยมีการพบหลักฐานโบราณวัตถุในสมัยทวารวดีเป็นจำนวนมาก ซึ่งได้รวบรวมจัดแสดงไว้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ การรวบรวมโบราณวัตถุที่พบที่เมืองนครปฐมครั้งใหญ่เกิดขึ้นในพุทธศักราช ๒๔๓๘ จากความ สนพระทัยในด้านประวัติศาสตร์ - โบราณคดีของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น โดยโบราณวัตถุที่รวบรวมได้ในระยะแรกถูกนำมาเก็บรักษาไว้บริเวณระเบียงคด รอบองค์พระปฐมเจดีย์ พุทธศักราช ๒๔๕๔ ได้เคลื่อนย้ายโบราณวัตถุดังกล่าวเข้าไปไว้ในวิหารด้านตรงข้ามพระอุโบสถ เรียกว่า “พระปฐมเจดีย์พิพิธภัณฑสถาน” ต่อมากรมศิลปากรใช้พื้นที่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ขององค์พระปฐมเจดีย์สร้างอาคารถาวรและเคลื่อนย้ายโบราณวัตถุที่ได้จากการรวบรวมในครั้งนั้นมาจัดแสดงเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมตั้งแต่ พุทธศักราช ๒๕๑๔ เป็นต้นมา โดยใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์” ตลอดระยะเวลาในการให้บริการประชาชนมากว่า ๕๐ ปี ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ ได้มีการปรับปรุงการจัดแสดงหลายครั้ง ครั้งล่าสุดในพุทธศักราช ๒๕๔๐ ซึ่งเป็นเวลากว่า ๒๐ ปีมาแล้ว ประกอบกับการรองรับโบราณวัตถุที่ค้นพบจากการดำเนินงานทางด้านโบราณคดีในเมืองนครปฐมที่พบหลักฐานทางโบราณคดีใหม่ ๆ มากมาย จึงได้จัดทำโครงการปรับปรุงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ขึ้น กรมศิลปากรหวังว่าการปรับปรุงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ ในครั้งนี้ จะทำให้ผู้ชมได้ เรียนรู้และมีความเข้าใจในประวัติศาสตร์ โบราณคดีและศิลปกรรมของไทย อีกทั้งเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดความสนใจ ในการศึกษา “ทวารวดี” ในเมืองนครปฐมโบราณ อันเป็นประโยชน์อย่างกว้างขวางในทางวิชาการต่อไป
ชื่อเรื่อง สัททาสังคหะ (สัททาสังคหสูตร)
สพ.บ. 372/1กประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 44 หน้า กว้าง 5.5 ซม. ยาว 59.5 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา เทศน์มหาชาติ คาถาพัน ชาดก
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
. สวัสดีค่ะ กลับมาพบกับสาระความรู้ดีดีจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่กันอีกแล้วนะคะ ในวันนี้ทางเราขอเสนอ องค์ความรู้ เรื่อง โบราณวัตถุชิ้นเด่นในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ตอน “สัปคับ” . สัปคับ คือ ที่นั่งบนหลังช้าง มีลักษณะคล้ายตั่งผูกติดบนหลังช้าง ใช้สำหรับนั่ง บรรทุกสัมภาระ เพื่อการเดินทางในภูมิประเทศที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบและป่าเขา อาจเรียกว่าแหย่งช้างก็ได้ค่ะ หากใช้สำหรับพระมหากษัตริย์เรียกว่า “พระที่นั่ง” ( สัปคับพระที่นั่ง อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.facebook.com/chiangmainationalmuseum/posts/2621120284788708 ). ส่วนสัปคับองค์นี้ เดิมเป็นสัปคับช้างทรงของ เจ้านครเชียงใหม่ สร้างด้วยไม้สลักเป็นลวดลาย แบบจีน ตกแต่งด้วยการลงรักปิดทอง . ในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ ได้ใช้เป็นสัปคับช้างทรงของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรง ราชานุภาพ ในริ้วกระบวนช้างพระนั่งเสด็จ เข้านครเชียงใหม่ . ต่อมาเมื่อสิ้นสุดยุคเจ้าผู้ครองนคร ทายาทจึงได้ เชิญมาถวายไว้ที่ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ต่อมาพระธรรมราชานุวัตร ได้มอบให้กับ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ จัดแสดง มาจนถึงปัจจุบันค่ะ. ลวดลายที่ปรากฏบนสัปคับองค์นี้ ล้วนเป็นสัญลักษณ์มงคล ตามคติความเชื่อแบบจีน สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลศิลปะจีนที่ เข้ามามีบทบาทในงานศิลปกรรมล้านนาในช่วงเวลานั้นได้เป็นอย่างดี . ลวดลายสัญลักษณ์ที่นำมาใช้ มักมีความหมายในทางมงคล คือ ให้มีความสุข อายุยืนยาว มีโชคลาภ สมปรารถนา ปัดเป่าสิ่งไม่ดี มีลูกหลานสืบสกุล มีตำแหน่งและก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลและเป็นการอวยพร ให้เกิดความสงบสุขแก่ผู้ใช้นั้นเองค่ะ"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""หากท่านใดสนใจอยากรับชมสัปคับทั้ง ๒ องค์ สามารถแวะมาชมกันได้ที่ พิพิธภัณฑ์ของเรานะคะ ไว้พบกันใหม่ในองค์ความรู้รอบหน้าค่ะ"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น. (หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) e-mail : cm_museum@hotmail.comสอบถามเพิ่มเติมกรุณาติดต่อผ่านกล่องข้อความ หรือ โทรศัพท์ : 053-221308For more information, please leave your message via inbox or call : +66 5322 1308+
สมฺโพชฺฌงฺค (สติ-อุเปกฺขาสมฺโพชฺฌงฺค)
ชบ.บ.52/1-6
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง มาเลยฺยสุตฺต (มาลัยหมื่น)
สพ.บ. 318/1ค
ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลาน
หมวดหมู่ พุทธศาสนา
ลักษณะวัสดุ 42 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 55.5 ซม.
หัวเรื่อง พุทธศาสนา
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับชาดทึบ-ลานดิบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก วัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.269/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 40 หน้า ; 4 x 50.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 117 (232-239) ผูก 3 (2565)หัวเรื่อง : สงฺคีติกถา (สังคายนา)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
หม่อมเจ้าการวิก ประสูติเมื่อวันจันทร์ที่ 9 เมษายน 2460 เป็นพระโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสรฐวงศ์วราวัตร กรมหมื่นอนุพงศ์จักรพรรดิ กับหม่อมโป๊ จักรพันธุ์ ณ อยุธยา ทรงศึกษาที่โรงเรียนราชกุมารและโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย พ.ศ. 2473 ได้เสด็จไปทรงศึกษาต่อที่โรงเรียน Lycée Perier ประเทศฝรั่งเศส
หม่อมเจ้าการวิกมีความสนพระทัยในด้านศิลปะตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ โปรดการการเขียนภาพลายเส้นการ์ตูนล้อเลียน จึงทำให้พระองค์เริ่มเรียนรู้เทคนิคการเขียนภาพสีน้ำที่ประเทศฝรั่งเศส หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 หม่อมเจ้าการวิกได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ไปประทับที่ประเทศอังกฤษเพื่อถวายการรับใช้ ระหว่างที่ตามเสด็จไปยังสถานที่ต่างๆ ก็ทรงเขียนภาพทิวทัศน์ของสถานที่นั้นๆ ไว้ด้วย เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 อุบัติขึ้น หม่อมเจ้าการวิกได้เข้าประจำการในกองทัพอังกฤษและเข้าร่วมขบวนการเสรีไทยเพื่อต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น ทรงใช้เวลาว่างจากการฝึกซ้อมในค่ายทหารที่ประเทศต่างๆ ด้วยการเขียนภาพสีน้ำ
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หม่อมเจ้าการวิกเสด็จกลับมาประทับที่ประเทศไทย และได้พบกับนายโมเนต์ ซาโตมิ (Monet Satomi) อุปทูตด้านวัฒนธรรม สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย และศิลปินชาวญี่ปุ่นที่มีบทบาทสำคัญต่อวงการศิลปะสมัยใหม่ในประเทศไทย ณ ขณะนั้น ซาโตมิได้แนะนำให้พระองค์ลองส่งภาพเขียนสีน้ำที่มีชื่อว่า “สิงห์” (ภูเขาลูกหนึ่งในประเทศอินเดีย) เข้าร่วมประกวดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2493) โดยได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทจิตรกรรม หลังจากนั้นหม่อมเจ้าการวิกทรงส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดต่อเนื่องหลายครั้ง (ครั้งที่ 2 6 8 9 10 และ 11) และได้รับรางวัลทุกครั้งที่ส่งเข้าร่วมการประกวด
จากนั้นพระองค์ได้รับการทูลเชิญให้ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติถึง 22 ครั้ง ในฐานะผู้มีความรู้เชี่ยวชาญทางด้านทัศนศิลป์ พระองค์จึงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญต่อวงการศิลปะของไทยนับแต่นั้น ทรงดำรงตำแหน่งนายกศิลปสมาคมระหว่างชาติแห่งประเทศไทย ซึ่งมีภารกิจในการส่งเสริมวงการศิลปะสมัยใหม่ของไทยให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในเวทีนานาชาติ โดยการสนับสนุนศิลปินไทยให้ได้เข้าร่วมประชุม แสดงผลงานศิลปะ และศึกษาต่อในต่างประเทศ
หม่อมเจ้าการวิกเป็นจิตรกรผู้มีฝีมือสูงในการเขียนภาพสีน้ำ ผลงานในยุคแรกมีลักษณะเหมือนจริง ต่อมาจึงคลี่คลายเป็นแบบกึ่งนามธรรม พระองค์โปรดการเขียนภาพทิวทัศน์และบรรยากาศของสถานที่ต่างๆ เมื่อเสด็จกลับมาประทับที่ประเทศไทยแล้วจึงเริ่มเขียนภาพเกี่ยวกับวิถีชีวิตและงานประเพณีต่างๆ ของไทย เช่น ภาพ “นครปฐม” (พระร่วงโรจนฤทธิ์/ไปไหว้พระนครปฐม) ใช้เทคนิคสีน้ำบนกระดาษ ฝีแปรงเรียบง่าย แต่แสดงถึงความเชี่ยวชาญและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ผลงานชิ้นนี้ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทจิตรกรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 9 (พ.ศ. 2501)
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้กล่าวถึงผลงานของหม่อมเจ้าการวิกไว้ในสูจิบัตรประกอบการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 11 (พ.ศ. 2503) ว่า “…ภาพทิวทัศน์ต่างๆ นั้น ท่านใช้พู่กันป้ายสีสองสามครั้งก็เสร็จ…” และ “…หม่อมเจ้าการวิกท่านเขียนรูปคนขนาดเล็ก โดยใช้วิธีใช้สีแต้มเป็นจุดๆ อย่างฉลาด…” แม้ว่าจะทรงเป็นจิตรกรสมัครเล่น แต่พระองค์ก็ทรงชำนาญในการเขียนสีน้ำอย่างยอดเยี่ยม หม่อมเจ้าการวิก สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2545 สิริพระชันษา 85 ปี
พ.ศ. 2558 กระทรวงวัฒนธรรมได้ประกาศยกย่องเชิดชูพระเกียรติให้หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ ทรงเป็น “บูรพศิลปิน” สาขาทัศนศิลป์
ชุมชนเมืองเก่าบ้านสิงห์ท่า, เจดีย์วัดสิงห์ท่า
ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
ดุษฎีมาลา. เที่ยวอินเดีย. พระนคร: คุรุสภา, 2494.
ดุษฎีมาลาผู้เขียนจดหมายได้รวบรวมจดหมายที่ผู้เขียน ๆ ถึงคุณดารา เล่าเรื่องราวที่ได้ท่องเที่ยวรวมทั้งหมด 35 ลงเรือที่อ่าวเบงกอลเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2493 มุ่งหน้าไปประเทศอินเดียด้วยการข้ามอ่าวเมาะตะมะ เห็นแม่น้ำอิรวดี เห็นยอดเจดีย์ชเวดากองมาถึงย่างกุ้งตรงไปกัลกัตตา ถึงเมืองกัลกัตตามีคุณถนัด นาวานุเคราะห์มารับไปพักแกรนด์โฮเต็ล ตอนค่ำได้ชมละครแขกคณะอูเดจังก้า ขึ้นเรือบินของบริษัท Air India ที่จะต้องช่างน้ำหนักผู้โดยสารและต้องเสียค่าน้ำหนักของ 75 รูปี เรือแล่นเลียบอ่าวเบงกอลรวมเวลาเดินทางถึงเมืองบังกะลอร์ 8 ชั่วโมงที่เมืองไมเซอร์ได้มีการตกแต่งเมืองด้วยแสงสีไฟในงานที่ตรงกับวันที่พระรามพานางสีดากลับเข้าเมืองอโยธยาและทำราชาภิเษกเรียกว่า “ทีปะวลี” ทีปแปลว่าประทีป วลีแปลว่ามาลัย ในอินเดียมีวันสำคัญทางศาสนามากมายโรงเรียน มีการแบ่งวรรณะ 4 วรรณะและจะอยู่ปะปนกันไม่ได้ วรรณะสูทร์ต้องหลกหลีกวรรณะอื่น เพราะสกุลต่ำต้อย พระเป็นเจ้าที่สำคัญที่สุดมีสามองค์ คือ พระพรหม พระวิศณุ และพระศิวะ ที่เมืองไมเซอร์จะมีไม้หอมที่เรียกว่า “ไม้จันทน์” เพราะกลิ่นหอมเหมือนไม้จันทน์ของไทยนำมาแกะสลักเป็นเทวรูป และที่นี่มีน้ำตกที่สูงที่สุดในโลกชื่อ “กสปะ” (Jog fall) มีงาช้างจำหน่าย มีลิง ชะนี จำนวนมาก หญิงสาวแต่งงานแล้วจะต้องเจาะจมูกเพื่อใส่ตุ้มจมูกต้องใส่ตลอดจนกระทั่งเป็นหม้าย ที่นี่ทันสมัยมีการเก็บกักน้ำจากน้ำตกไว้ทำแรงไฟฟ้าจึงมีไฟพอจุดตามทิวเขาเป็นแนวยาวหากมีการไปเยี่ยมเยียถึงบ้าจะได้รับของฝากเป็นหมากและผลไม้ ที่เมืองบังกะลอร์มีเหมืองทำทองใช้คนงานสองหมื่นคน ที่นี่มีความทันสมัยเพราะมีไฟฟ้าติดตลอด มีโทรศัพท์ติดต่อกัน และคล้ายจะมีรถไฟใต้ดินเหมือนกันอังกฤษด้วย มีเกาะซีลอนซึ่งเป็นของอินเดียแต่อังกฤษมายึดและตั้งเป็นประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ มีเมืองหลวงชื่อโคลัมโบ ผู้เขียนได้เล่าประวัติมหาตมะคานธี เกิดเมื่อ ค.ศ. 1896 ที่จังหวัดสุธรรมาบึรี พอสองขวบย้ายไปอยู่เมืองราชโกฏ เป็นคนซื้อสัตย์สุตจริต อายุ 13 ปี ได้สมรสกับเด็กหญิงกัสดรายาย อายุ 18 ปี เข้ามหาวิทยาลัยภวนคร แต่อ่อนวิชาภาษาอังกฤษเกิดท้อใจออกไปอยู่บ้านเฉย ๆ เป็นคนไม่สูบบุหรี่ ไม่กินเนื้อสัตว์ ไปเรียนจบกฎหมายที่อังกฤษและตั้งสำนักงานทนายความที่ราชโกฏ คานธีต่อสู้ทางการเมืองเพื่ออิสระของประเทศด้วยสันติวิธี และบำเพ็ญทุกกรกิริยาอดอาหาร อังกฤษจึงกลัวพวกแขกจะไม่ยกโทษให้หากคานธีตายลง และเขาก็ชนะประกาศอิสระภาพได้เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 1947 และยังมีเรื่องเล่าสนุกอีกมากมายที่น่าอ่านยิ่งนัก