ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,413 รายการ

 ในช่วงเดือนเมษายน ถึง เดือนพฤษภาคม 2555 ที่ผ่านมา กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 11 อุบลราชธานี ได้ดำเนินโครงการเครือข่ายร่วมด้วยช่วยกันอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งโบราณคดีดอนไร่ ต.เจียด อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี โดยมีกิจกรรมที่สำคัญ คือ กิจกรรมร่วมด้วยช่วยกันศึกษาการจัดพิพิธภัณฑ์ กิจกรรมร่วมด้วยช่วยกันขุดศึกษาแหล่งโบราณคดีดอนไร่ และกิจกรรมร่วมด้วยช่วยกันปรับปรุงและพัฒนาพิพิะภัณฑ์ชุมชนวัดถ้ำพระศิลาทอง ซึ่งทุกกิจกรรมได้เสริมสร้างการมีส่วนร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมปฏิบัติ ร่วมทุนและร่วมรับผลที่เกิดขึ้นกับสมาชิกเครือข่ายมรดกศิลปวัฒนธรรมตำบลเจียดทุกคน เป็นการดำเนินกิจกรรมอย่างเท่าเทียมความความรู้ ความสามารถและศักยภาพที่แต่ละฝ่ายมีร่วมกัน โดยเฉพาะกิจกรรมการขุดค้นแหล่งโบราณคดีดอนไร่และการปรับปรุงพิพิะภัณฑ์ชุมชนวัดถ้ำพระศิลาทอง ยังเป็นการร่วมแรงร่วมใจกันของสมาชิกเครือข่ายโดยไม่มีการว่าจ้างใดๆเช่นทุกปีที่ผ่านมา


วันอังคารที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๑.๓๕ – ๑๒.๑๗ น. คุณประภาพรรณ  พร้อมคณะจากกรุงเทพมหานคร รวมจำนวน ๓ คน เข้าเยี่ยมชมอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท โดยมีนางสาวมนัสญา  ปริวรรณ ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม


ถึง จันทร์, 24 กุมภาพันธ์ 2556 -  1:00จาก จันทร์, 24 มีนาคม 2556 - 10:00   อบรมผู้ใช้งานระบบสัมมนาออนไลน์ ในวันที่ 20 มีนาคม 2556 ตั้งแต่เวลา 9.00 - 16.00 โดยเจ้าหน้าที่บริษัท เอ็มเวิร์ค กรุ๊ป จำกัด สถานที่ : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศติดต่อ : เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 02-2222222


สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรมได้ดำเนินการโครงการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ด้วยโปรแกรมประยุกต์ LINE Official Account ของกระทรวงวัฒนธรรมภายใต้ชื่อ @mculture เพื่อให้บุคคลภายในหน่วยงานและประชาชนรับทราบ และสามารถส่งข้อมูลข่าวสาร กิจกรรม และองค์ความรู้ต่างๆให้ประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนทราบ


วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี  หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พาณิชย์นาวี จันทบุรี จัดนิทรรศการ "รำลึกพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชต่อประชาชนชาวจังหวัดจันทบุรี โดยมีนาย พงศ์พัฒน์ วงศ์ตระกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดงาน ณ ห้องโถงอาคารสำนักงานพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พาณิชย์นาวี ต.บางกะจะ อ.เมือง จ.จันทบุรี


          ไข้ทรพิษ (Smallpox) หรือฝีดาษ เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ทำให้เกิดตุ่มหนองพุพองขึ้นทั่วทั้งตัว ติดต่อผ่านการสัมผัสหรือหายใจ จึงสามารถระบาดได้อย่างรุนแรงและรวดเร็ว ในสมัยอยุธยาปรากฏหลักฐานการระบาดของไข้ทรพิษหลายครั้ง แม้แต่พระมหากษัตริย์หลายพระองค์ก็ประชวร หรือสวรรคตด้วยโรคนี้ ซึ่งโรคไข้ทรพิษนี้ ซิมอง เดอ ลาลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนาราชณ์มหาราชระบุไว้ว่า คือโรคห่าของชาวสยามนั่นเอง           ล่วงมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ โรคไข้ทรพิษยังมีการระบาดอยู่บ่อยครั้ง และคร่าชีวิตราษฎรเป็นจำนวนมากทุกปี เมื่อหมอบรัดเล มิชชันนารีชาวอเมริกัน เดินทางมายังสยามในสมัยรัชกาลที่ ๓ จึงพยายามทดลองปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ โดยได้รับการสนับสนุนจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และบุคคลสำคัญท่านอื่นๆ จนสามารถปลูกฝีในหมู่ราษฎรได้สำเร็จ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้มีหมอและมิชชันนารีจำนวนหนึ่งออกปลูกฝีให้แก่ราษฎรทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมือง โดยใช้หนองฝีที่ส่งมาจากต่างประเทศ           จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ มีการจัดตั้งสถานผลิตหนองฝีของรัฐบาล และมอบหมายให้เทศาภิบาลปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษแก่ราษฎรตามหัวเมือง ทำให้ขยายการปลูกฝีได้อย่างกว้างขวาง ครั้นในสมัยรัชกาลที่ ๖ จึงมีการประกาศพระราชบัญญัติจัดการป้องกันไข้ทรพิษ เพื่อบังคับให้ราษฎรทุกคนต้องปลูกฝี ทำให้จำนวนราษฎรที่ได้รับการปลูกฝีมีเพิ่มขึ้นปีละหลายหมื่นคน จนถึงหลายแสนคนในเวลาต่อมา           ความสำเร็จของการจัดการกับไข้ทรพิษเป็นผลมาจากวิธีป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพ คือการปลูกฝีที่เอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ เป็นผู้คิดค้นขึ้น และได้รับการยอมรับไปทั่วโลก นำไปสู่การปลูกฝีเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคแก่ประชากรให้มากที่สุด จนกระทั่งโรคนี้หมดไปจากสังคมไทยและสังคมโลกในที่สุด ภาพ :  นายแพทย์แดน บีช แบรดลีย์ หรือหมอบรัดเล ผู้ริเริ่มการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษในสยาม ด้วยวิธีการของเอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ ภาพ : การปลูกฝีแก่ราษฎรในสมัยรัชกาลที่ ๕ ภาพ : ราษฎรในหัวเมืองรอรับการปลูกฝี ภาพ : เด็กที่เป็นโรคไข้ทรพิษ ภาพ : เด็กที่ได้รับการปลูกฝีที่แขนเรียบเรียงโดย นายธันวา วงศ์เสงี่ยม นักอักษรศาสตร์ชำนาญการ กลุ่มประวัติศาสตร์






***บรรณานุกรม***หนังสือหายาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว.  แบบเรียนภาษาไทย หนังสืออ่านกวีนิพนธ์ บทละครพูด เรื่องหัวใจนักรบ.  พระนคร : โรงพิมพ์คุรุสภา, ๒๔๙๓.



สาระสังเขป  :  รวมเรื่องล้อการเมือง พร้อมภาพล้อการเมืองทุกภาพ จะมีบทวิพากษ์วิจารณ์ เหตุการณ์ทางการเมือง การกระทำของบุคคลที่เป็นรัฐบาลหรือ นักการเมือง ตลอดจนพฤติการณ์การเมืองในอดีตที่เกี่ยวพันไปถึงผู้แต่ง  :  เทอดเกียรต์ และ เอ๊กซเรย์โรงพิมพ์  :  วิบูลกิจปีที่พิมพ์  :  2429 ภาษา  :  ไทยรูปแบบ  :  PDFเลขทะเบียน  :  น.32บ.2271จบ(ร)เลขหมู่  :  ห         320.03           ท663ป


รายงานงานการเดินทางไปราชการ ณ ประเทศญี่ปุ่น วันที่ ๒๔ มิถุนายน – ๔ กรกฎาคม ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โตเกียว ๑.   ชื่อโครงการ      โครงการนิทรรศการพิเศษเนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๓๐ ปี ความสัมพันธ์ไทย – ญี่ปุ่น ๒.   วัตถุประสงค์ ๒.๑  เพื่อดำเนินการจัดนิทรรศการพิเศษเนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๓๐ ปี ความสัมพันธ์ไทย – ญี่ปุ่น ๒.๒ เพื่อร่วมในพิธีเปิดนิทรรศการพิเศษเนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๓๐ ปี ความสัมพันธ์ไทย – ญี่ปุ่น ๒.๓ เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น ๓.   กำหนดเวลา           วันที่ ๒๔ มิถุนายน – ๔ กรกฎาคม (๑๐ วัน) ๔.   สถานที่                 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โตเกียว  ประเทศญี่ปุ่น ๕.   หน่วยงานผู้จัด        พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ คิวชู  ประเทศญี่ปุ่น ๖.   หน่วยงานสนับสนุน   พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โตเกียว  ประเทศญี่ปุ่น                                 กรมศิลปากร ประเทศไทย ๗.   กิจกรรม                เข้าร่วมประชุมกับคณะทำงานฝ่ายพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ คิวชู และพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ โตเกียว เพื่อร่วมวางแนวทางและเตรียมแผนการดำเนินการจัดนิทรรศการพิเศษ เปิดกล่องบรรจุและหีบห่อ เพื่อตรวจสภาพและจัดวางโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และร่วมให้แนวทางในการจัดแสดงในนิทรรศการพิเศษจนแล้วเสร็จ                 ๘.   คณะผู้แทนไทย คณะจากประเทศไทยที่เข้าร่วมดำเนินการ  จำนวน ๓ คน  ดังนี้ ๑.      นายเสน่ห์  มหาผล  ผู้อำนวยการกลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ ๒.      นางสาวดาริกา  ธนะศักดิ์ศิริ ภัณฑารักษ์ชำนาญการ รักษาการผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ๓.      นางสาววัชรี  ชมภู  ภัณฑารักษ์ชำนาญการ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร  ๙.   สรุปสาระของกิจกรรม ๑. เข้าร่วมประชุมกับคณะทำงานฝ่ายพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ คิวชู และพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ โตเกียว เพื่อร่วมวางแนวทางและเตรียมแผนการดำเนินการจัดนิทรรศการพิเศษ ๒. เปิดกล่องบรรจุและหีบห่อ เพื่อตรวจสภาพและจัดวางโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และร่วมให้ แนวทางในการจัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ ๓. เข้าร่วมพิธีเปิดนิทรรศการพิเศษเนื่องในโอกาส 130 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย - ญี่ปุ่น เรื่อง Thailand: Brilliant Land of the Buddha และเข้าชมนิทรรศการพร้อมชมสินค้าที่ระลึก  ๑๐.  ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม การทำงานร่วมกับภัณฑารักษ์ชาวญี่ปุ่น  ทำให้เรียนรู้กระบวนการการในการทำงานด้านพิพิธภัณฑ์ที่มีมาตรฐานสากล ซึ่งสามารถนำแนวทางในการดำเนินงานมาเป็นแบบอย่าง ปรับประยุกต์ใช้กับการทำงานพิพิธภัณฑ์ได้อย่างมาก 


เลขทะเบียน : นพ.บ.8/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า  ; 4 x 55 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 5 (47-61) ผูก 14หัวเรื่อง : สมนฺตปาสาทิกา--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.33/ข/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  38 หน้า  ; 4 x 50.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 19 (194-204) ผูก 8หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


Messenger