ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,407 รายการ

             กรมศิลปากร โดยศูนย์หนังสือกรมศิลปากร ร่วมจำหน่ายหนังสือในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 29 ทั้งหนังสือออกใหม่ หนังสือเก่า และหนังสือหายาก ลดราคาสูงสุดถึง 20% ตั้งแต่วันที่ 10 – 20 ตุลาคม 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ฮอลล์ 5 - 7 ชั้น LG บูธ H18               นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า กรมศิลปากรได้นำหนังสือเผยแพร่องค์ความรู้ศิลปวัฒนธรรมด้านต่างๆ ทั้งจดหมายเหตุ วรรณคดี ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ที่หน่วยงานในสังกัดกรมศิลปากรจัดพิมพ์ใหม่และหนังสือยอดนิยม มาจำหน่ายในราคาลดพิเศษ 10 - 20% ภายในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 29 เพื่อให้ผู้สนใจสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ศิลปวัฒนธรรมของกรมศิลปากรได้ภายในงานเดียว โดยมีหนังสือที่น่าสนใจ อาทิ หนังสือเรือพระราชพิธี จัดพิมพ์โดยสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หนังสือตามรอยฝรั่งเล่าความหลังเมืองพริบพรี จัดพิมพ์โดยสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ หนังสือศาลาไทยในต่างประเทศ จัดพิมพ์โดยสำนักสถาปัตยกรรม หนังสือช่างศิลป์ไทยเทิดไท้องค์ราชัน จัดพิมพ์โดยสำนักช่างสิบหมู่ หนังสือการเสด็จประพาสยุโรป ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดพิมพ์โดยสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ นอกจากนี้ ยังมีนิตยสารศิลปากร และสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น โปการ์ดภาพจดหมายเหตุ โปสการ์ดที่ระลึก มาจำหน่ายอีกด้วย              ขอเชิญผู้สนใจเยี่ยมชมและเลือกซื้อหนังสือได้ที่ร้านหนังสือกรมศิลปากร ภายในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 29 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ฮอลล์ 5 - 7 ชั้น LG บูธ H18 ระหว่างวันที่ 10 – 20 ตุลาคม 2567 เวลา 10.00 – 21.00 น. หรือสั่งซื้อทางออนไลน์ได้ที่ https://bookshop.finearts.go.th สอบถามเพิ่มเติม Facebook ศูนย์หนังสือกรมศิลปากร หนังสือเทเวศร์ที่(ไม่)รู้จัก ลดราคาพิเศษ เหลือเพียง 256 บาท หนังสือวัวในวัฒนธรรมไทย ลดราคาพิเศษ เหลือเพียง 120 บาท หนังสือเวตาลปกรณัม ลดราคาพิเศษ เหลือเพียง 208 บาท หนังสือกามโรคในสังคมไทย ลดราคาพิเศษ เหลือเพียง 104 บาทหนังสือตามรอยฝรั่ง เล่าความหลังเมืองพริบพรี ลดราคาพิเศษ เหลือเพียง 240 บาทหนังสืออุภัยพจน์ คำกลอนพิศาลการันต์ ลดราคาพิเศษ เหลือเพียง 176 บาท


***บรรณานุกรม***  เบ็นเนตต์,โรล์ฟ (พันแหลม) ประพฤติการแห่งนายเรือเอกลอเล็สส์ ของ พันแหลม มูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัย จัดพิมพ์โดยเสด็จพระกุศลซึ่งสมเด็จพระเจ้าภคินี เธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงบำเพ็ญพระกุศล เนื่องในวันคล้ายวันพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ 26 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2513 ครบ 45 ปี พระนคร  โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย 2513


นที่พบ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2531 สถานที่พบไร่นายแพทย์สำนวน  ปาลวัฒน์วิไชย  บ้านหัวถนน ตำบลหางน้ำสาคร อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท  ห่างจากเมืองอู่ตะเภาไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 1 กิโลเมตร           ห่างจากเนินโคกวัดไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 200 เมตร (จากคำบอกเล่า เนินโคก วัดคือบริเวณโบสถ์โบราณ) เหตุที่พบ  บริเวณนี้เดิมปลูกต้นสน หลังจากถูกตัดเหลือแต่ตอ ชาวบ้านมาขุดเอาไปเผาถ่าน จึงพบโดยบังเอิญ ความสำคัญของธรรมจักร เป็นธรรมจักรลักษณะโปร่งขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยพบในประเทศไทย ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เมตร มีจารึกเป็นอักษรปัลลวะ ภาษาบาลี เรื่องธรรมจักรกัปปวัตนสูตร  ตั้งอยู่บนเสาแปดเหลี่ยม กว้างเหลี่ยมละ 20 ซ.ม.  อายุของธรรมจักร ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12  







อยากทราบว่ารับนักศึกษาฝึกงานหรือเปล่าครับ ผมเรียน วัฒนธรรม สาขา ประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณดคี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ครับ 


 ในช่วงเดือนเมษายน ถึง เดือนพฤษภาคม 2555 ที่ผ่านมา กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 11 อุบลราชธานี ได้ดำเนินโครงการเครือข่ายร่วมด้วยช่วยกันอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งโบราณคดีดอนไร่ ต.เจียด อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี โดยมีกิจกรรมที่สำคัญ คือ กิจกรรมร่วมด้วยช่วยกันศึกษาการจัดพิพิธภัณฑ์ กิจกรรมร่วมด้วยช่วยกันขุดศึกษาแหล่งโบราณคดีดอนไร่ และกิจกรรมร่วมด้วยช่วยกันปรับปรุงและพัฒนาพิพิะภัณฑ์ชุมชนวัดถ้ำพระศิลาทอง ซึ่งทุกกิจกรรมได้เสริมสร้างการมีส่วนร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมปฏิบัติ ร่วมทุนและร่วมรับผลที่เกิดขึ้นกับสมาชิกเครือข่ายมรดกศิลปวัฒนธรรมตำบลเจียดทุกคน เป็นการดำเนินกิจกรรมอย่างเท่าเทียมความความรู้ ความสามารถและศักยภาพที่แต่ละฝ่ายมีร่วมกัน โดยเฉพาะกิจกรรมการขุดค้นแหล่งโบราณคดีดอนไร่และการปรับปรุงพิพิะภัณฑ์ชุมชนวัดถ้ำพระศิลาทอง ยังเป็นการร่วมแรงร่วมใจกันของสมาชิกเครือข่ายโดยไม่มีการว่าจ้างใดๆเช่นทุกปีที่ผ่านมา


วันอังคารที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๑.๓๕ – ๑๒.๑๗ น. คุณประภาพรรณ  พร้อมคณะจากกรุงเทพมหานคร รวมจำนวน ๓ คน เข้าเยี่ยมชมอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท โดยมีนางสาวมนัสญา  ปริวรรณ ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม


ถึง จันทร์, 24 กุมภาพันธ์ 2556 -  1:00จาก จันทร์, 24 มีนาคม 2556 - 10:00   อบรมผู้ใช้งานระบบสัมมนาออนไลน์ ในวันที่ 20 มีนาคม 2556 ตั้งแต่เวลา 9.00 - 16.00 โดยเจ้าหน้าที่บริษัท เอ็มเวิร์ค กรุ๊ป จำกัด สถานที่ : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศติดต่อ : เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 02-2222222


สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรมได้ดำเนินการโครงการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ด้วยโปรแกรมประยุกต์ LINE Official Account ของกระทรวงวัฒนธรรมภายใต้ชื่อ @mculture เพื่อให้บุคคลภายในหน่วยงานและประชาชนรับทราบ และสามารถส่งข้อมูลข่าวสาร กิจกรรม และองค์ความรู้ต่างๆให้ประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนทราบ


วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี  หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พาณิชย์นาวี จันทบุรี จัดนิทรรศการ "รำลึกพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชต่อประชาชนชาวจังหวัดจันทบุรี โดยมีนาย พงศ์พัฒน์ วงศ์ตระกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดงาน ณ ห้องโถงอาคารสำนักงานพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พาณิชย์นาวี ต.บางกะจะ อ.เมือง จ.จันทบุรี


          ไข้ทรพิษ (Smallpox) หรือฝีดาษ เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ทำให้เกิดตุ่มหนองพุพองขึ้นทั่วทั้งตัว ติดต่อผ่านการสัมผัสหรือหายใจ จึงสามารถระบาดได้อย่างรุนแรงและรวดเร็ว ในสมัยอยุธยาปรากฏหลักฐานการระบาดของไข้ทรพิษหลายครั้ง แม้แต่พระมหากษัตริย์หลายพระองค์ก็ประชวร หรือสวรรคตด้วยโรคนี้ ซึ่งโรคไข้ทรพิษนี้ ซิมอง เดอ ลาลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนาราชณ์มหาราชระบุไว้ว่า คือโรคห่าของชาวสยามนั่นเอง           ล่วงมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ โรคไข้ทรพิษยังมีการระบาดอยู่บ่อยครั้ง และคร่าชีวิตราษฎรเป็นจำนวนมากทุกปี เมื่อหมอบรัดเล มิชชันนารีชาวอเมริกัน เดินทางมายังสยามในสมัยรัชกาลที่ ๓ จึงพยายามทดลองปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ โดยได้รับการสนับสนุนจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และบุคคลสำคัญท่านอื่นๆ จนสามารถปลูกฝีในหมู่ราษฎรได้สำเร็จ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้มีหมอและมิชชันนารีจำนวนหนึ่งออกปลูกฝีให้แก่ราษฎรทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมือง โดยใช้หนองฝีที่ส่งมาจากต่างประเทศ           จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ มีการจัดตั้งสถานผลิตหนองฝีของรัฐบาล และมอบหมายให้เทศาภิบาลปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษแก่ราษฎรตามหัวเมือง ทำให้ขยายการปลูกฝีได้อย่างกว้างขวาง ครั้นในสมัยรัชกาลที่ ๖ จึงมีการประกาศพระราชบัญญัติจัดการป้องกันไข้ทรพิษ เพื่อบังคับให้ราษฎรทุกคนต้องปลูกฝี ทำให้จำนวนราษฎรที่ได้รับการปลูกฝีมีเพิ่มขึ้นปีละหลายหมื่นคน จนถึงหลายแสนคนในเวลาต่อมา           ความสำเร็จของการจัดการกับไข้ทรพิษเป็นผลมาจากวิธีป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพ คือการปลูกฝีที่เอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ เป็นผู้คิดค้นขึ้น และได้รับการยอมรับไปทั่วโลก นำไปสู่การปลูกฝีเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคแก่ประชากรให้มากที่สุด จนกระทั่งโรคนี้หมดไปจากสังคมไทยและสังคมโลกในที่สุด ภาพ :  นายแพทย์แดน บีช แบรดลีย์ หรือหมอบรัดเล ผู้ริเริ่มการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษในสยาม ด้วยวิธีการของเอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ ภาพ : การปลูกฝีแก่ราษฎรในสมัยรัชกาลที่ ๕ ภาพ : ราษฎรในหัวเมืองรอรับการปลูกฝี ภาพ : เด็กที่เป็นโรคไข้ทรพิษ ภาพ : เด็กที่ได้รับการปลูกฝีที่แขนเรียบเรียงโดย นายธันวา วงศ์เสงี่ยม นักอักษรศาสตร์ชำนาญการ กลุ่มประวัติศาสตร์


Messenger