ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,404 รายการ
วัดห้วยเสือ ตั้งอยู่ ณ บ้านห้วยเสือ หมู่ที่ 5 ตำบลสมอพรือ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งจากการเข้าไปสำรวจพบว่าวัดแห่งนี้มีการรวบรวมภาพจิตรกรรม โดยเป็นเรื่องราวของ “พระเวสสันดรชาดก” ชาติที่ 10 ของเรื่องราว “ทศชาติชาดก” หรือก็คือ 10 ชาติ ของการเล่าเรื่องราวการที่พระพุทธเจ้าทรงเวียนว่ายตายเกิด จนเป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย ซึ่งในปัจจุบันภาพดังกล่าวได้ถูกจัดเก็บไว้เป็นอย่างดี ณ วัดห้วยเสือ เพื่อเป็นการดำรงและรักษาภาพจิตรกรรมการแสดงคำสอนอันดีงามและเรื่องราวความเป็นมาทางพุทธศาสนาให้คงอยู่ต่อไป
สำหรับ ทศชาติ เรื่อง “พระเวสสันดรชาดก” ว่าด้วยเรื่อง 13 กัณฑ์ ถือได้ว่าเป็นเรื่องราวที่รู้จักมากที่สุดและมีความสำคัญมากที่สุดในบรรดาทศชาติชาดกทั้ง 10 ตอน และเป็นสาเหตุที่เวสสันดรชาดกถูกยกให้เป็นมหาชาตินั้น ก็เนื่องจากชาดกเรื่องนี้ถือเป็นพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนจะได้เป็นพระพุทธเจ้า อีกทั้งยังเป็นพระชาติที่ทรงบำเพ็ญบารมีครบทั้ง 10 ประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ทานบารมี” ที่ทรงบริจาคทุกสิ่งทุกอย่างทุกอย่าง แม้แต่ภรรยาและบุตรของตนเองก็บริจาค ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ทำได้ยากและเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
นอกจากนั้น สาเหตุที่ “พระเวสสันดรชาดก” นั้นเป็นที่ยกย่องและน่าเลื่อมใส เพราะเรื่องเวสสันดรชาดกนั้นมีคุณค่าที่สามารถนำไปประยุกต์เข้ากับชีวิตประจำวันได้ทุกระดับ โดย 13 กัณฑ์ ของเรื่องราว “พระเวสสันดรชาดก” สามารถศึกษาเเละทำความเข้าใจเพิ่มเติมได้ ดังนี้
เอกสารเเละหลักฐานสำหรับการสืบค้น
1. วัดห้วยเสือ, ภาพจิตรกรรม ทศชาติ เรื่อง “พระเวสสันดรชาดก” ว่าด้วยเรื่อง 13 กัณฑ์.
2. เจริญ ไชยชนะ. (2502), มหาเวสสันดรชาดก ฉบับ 5 กัณฑ์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ ไชยวัฒน์.
3. กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2561), เทศน์มหาชาติมหากุศล. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
4. ทิวาวรรณ อายุวัฒน์. (2561). ““ทศชาติชาดก 101”, ใน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี (ผู้รวบรวม), บทความทางวิชาการ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี. (หน้า 1). นครปฐม :มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
ชื่อเรื่อง มหานิปาต(เวสฺสนฺตรชาดก)ชาตกปาลิขุทฺทกนิกาย(คาถาพัน)อย.บ. 170/2ขหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 66 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง มหาเวสสันดรชาดก
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา
ท้าวเวสสุวรรณ เป็นเทพผู้ยิ่งใหญ่ในหมู่ท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ เป็นอธิบดีแห่งอสูร โดยเป็นเทพผู้ปกป้องพระพุทธศาสนา และผู้คุ้มครองโลกมนุษย์ด้านทิศเหนือ เป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภ ที่มีขุมทรัพย์มหาศาล
Vessavana (Thao Wessuwan) is one of the Four Great Heavenly Kings and the King of Asuras. He is the guardian deity who protects Buddhism and the world in the north. Also, he is the god of wealth with immense treasure.
ผู้ออกแบบ: นายธรรมรัตน์ กังวาลก้อง
จิตรกรรมปฏิบัติการ สำนักช่างสิบหมู่
ข้อมูล: สมุดภาพมรดกศิลปวัฒนธรรม
เรื่อง ภูมิบริรักษ์ : ครุฑ ยักษ์ นาค
องค์ความรู้สุพรรณบุรี เรื่อง พระพุทธบาทไม้วัดพระรูปผู้เรียบเรียง :
นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการ
หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
ชื่อพระพุทธรูป พระพุทธเจ้าประทับยืน
สถานที่ประดิษฐาน ถ้ำยายจูงหลาน (ถ้ำเขาน้อย) ต.ถ้ำรงค์ อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี
ประวัติ ถ้ำยายจูงหลาน (ถ้ำเขาน้อย) เป็นภูเขาหินปูนขนาดเล็กวางตัวในแนวเหนือ – ใต้ ภายในถ้ำประกอบด้วยคูหา ๒ คูหาด้วยกัน แต่ละคูหาได้ค้นพบหลักฐานสำคัญทางโบราณคดี ซึ่งสันนิษฐานได้ว่า ถ้ำยายจูงหลาน หรือ ถ้ำเขาน้อย เป็นศาสนสถานในวัฒนธรรมทวารวดีที่เกิดจากการดัดแปลงถ้ำธรรมชาติให้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ มีความเหมาะสมต่อการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา งานประติมากรรมปูนปั้นที่ปรากฏอยู่บนผนังถ้ำ หรือที่ชาวบ้านรู้จักกันในชื่อ “พระพุทธเจ้าถือไม้เท้า” กรมศิลปากร ได้สันนิษฐานว่า เป็นภาพพุทธประวัติตอนเสด็จกลับกรุงกบิลพัสด์ โดยลักษณะของประติมากรรมปูนปั้นได้รับอิทธิพลของศิลปะอินเดียผสมผสานกับศิลปะแบบพื้นเมืองทวารวดี จึงเป็นหลักฐานสำคัญชิ้นหนึ่งที่บอกเล่าเรื่องราวของวัฒนธรรมทวารวดีในเขตลุ่มแม่น้ำเพชรบุรี
ชื่อเรือทั้งสองลำนี้ สะท้อนความรับรู้วรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 (พุทธศักราช 2325 - 2352) เป็นวรรณกรรมที่ดำเนินเรื่องตามมหากาพย์รามายณะของอินเดีย
ชื่อเรือทั้งสองลำนี้ สะท้อนความรับรู้วรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 (พุทธศักราช 2325 - 2352) เป็นวรรณกรรมที่ดำเนินเรื่องตามมหากาพย์รามายณะของอินเดีย
โขนเรือกระบี่ปราบเมืองมาร เป็นรูปวานร (ลิง) ร่างกายสีขาว ไม่สวมเครื่องประดับหัว ส่วนเครื่องประดับกายและผ้านุ่งลงรักปิดทองประดับกระจก ชื่อเรือและลักษณะโขนเรือเช่นนี้ทำให้ทราบว่าเป็นรูปของหนุมาน ทหารเอกของพระราม ขุนกระบี่ผู้นำกองทัพวานรต่อสู้กับกองทัพของทศกัณฐ์เจ้ากรุงลงกา ความชั่วร้ายของทศกัณฐ์ทำให้เรียกกรุงลงกาว่า เมืองมาร ถือเป็นฝ่ายอธรรม
โขนเรือกระบี่ราญรอนราพณ์ เป็นรูปวานร (ลิง) ไม่สวมเครื่องประดับหัว ร่างกายสีดำ ส่วนเครื่องประดับกาย และผ้านุ่งลงรักปิดทองประดับกระจก ชื่อเรือและลักษณะโขนเรือเช่นนี้ทำให้ทราบว่า เป็นรูปของนิลพัท ขุนกระบี่ผิวดำดั่งชื่อผู้นำกองทัพวานรต่อสู้ทำลายล้างกองทัพของราพณ์ (อีกชื่อหนึ่งของทศกัณฐ์ในมหากาพย์รามายณะ เรียกว่า ราวณะ)
เรือทั้งสองลำสร้างขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พุทธศักราช 2325 - 2352) แต่ปรากฏชื่อเรือชัดเจนในเอกสารสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พุทธศักราช 2394 - 2411) เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ ๒ ระเบิดจากอากาศยานที่ถล่มกรุงเทพมหานครสร้างความเสียหายให้กับเรือพระราชพิธีทั้งสองลำนี้มาก ดังนั้นในพุทธศักราช ๒๕๐๘ กองทัพเรือและ เรือแต่ละลำมีความยาว 26.80 เมตร กว้าง 2.10 เมตร ลึกถึงท้องเรือ 51 เซนติเมตร หนัก 5.62 ตัน มีกำลังพลประกอบด้วย ฝีพาย 36 คน นายเรือ 1 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนกระทุ้งเส้า (ให้จังหวะ) 2 คน และคนตีกลองชนะ 10 คน
ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/royalbarges
ชื่อเรื่อง เมืองประวัติศาสตร์ ลพบุรีครั้งที่ -ผู้แต่ง กรมศิลปากรประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN 974-90127-5-5หมวดหมู่ ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์เลขหมู่ 959.317 ศ528มสถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติปีที่พิมพ์ 2545ลักษณะวัสดุ 134 : มีภาพประกอบ ; 21 ซม.หัวเรื่อง ลพบุรี – โบราณสถาน ลพบุรี – ประวัติศาสตร์ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสาระความรู้และการนำชมเมืองประวัติศาสตร์ ลพบุรี เพื่อดำรงไว้ซึ่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง จัดกิจกรรม “เส้นสาย ลายศิลป์ บ้านเชียงสมัยก่อนประวัติศาสตร์” ทุกวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ที่ไม่ตรงกับวันจันทร์และวันอังคาร เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๒ เมษายน ถึงวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๗ จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่ผู้เข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง ได้ทดลองนำลวดลายบนโบราณวัตถุต่างๆ ในวัฒนธรรมบ้านเชียง เช่น ภาชนะดินเผา ตราประทับดินเผา ลูกกลิ้งดินเผา มาประยุกต์เป็นลวดลายบนถุงผ้าและกระเป๋าผ้า ส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมบ้านเชียงในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง และจะได้รับผลงานเป็นของที่ระลึกกลับบ้านไปอีกด้วย
ผู้สนใจสามารถไปร่วมกิจกรรมได้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๗
สอบถามรายละเอียดและติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ เฟสบุ๊ก เพจ “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง : Banchiang National Museum” https://www.facebook.com/bcnmfinearts หรือ โทร. ๐ ๔๒๒๓ ๕๐๔๐
โรงเรียนใฝ่ดีวิทยา จ.นครนายก (เวลา 11.00 น.) จำนวน 90 คนวันศุกร์ที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ น. คณะนักเรียนโรงเรียนใฝ่ดีวิทยา ต.ชุมพล อ.องครักษ์ จ.นครนายก จำนวน ๙๐ คน เข้าเยี่ยมชม ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ โดยมีว่าที่ร้อยตรีรุ่งเรือง ชื่นชม ตำแหน่ง พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ เป็นวิทยากรนำชมเด็ก ๆ ในครั้งนี้
กรมศิลปากร โดยศูนย์หนังสือกรมศิลปากร ร่วมจำหน่ายหนังสือในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 29 ทั้งหนังสือออกใหม่ หนังสือเก่า และหนังสือหายาก ลดราคาสูงสุดถึง 20% ตั้งแต่วันที่ 10 – 20 ตุลาคม 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ฮอลล์ 5 - 7 ชั้น LG บูธ H18
นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า กรมศิลปากรได้นำหนังสือเผยแพร่องค์ความรู้ศิลปวัฒนธรรมด้านต่างๆ ทั้งจดหมายเหตุ วรรณคดี ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ที่หน่วยงานในสังกัดกรมศิลปากรจัดพิมพ์ใหม่และหนังสือยอดนิยม มาจำหน่ายในราคาลดพิเศษ 10 - 20% ภายในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 29 เพื่อให้ผู้สนใจสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ศิลปวัฒนธรรมของกรมศิลปากรได้ภายในงานเดียว โดยมีหนังสือที่น่าสนใจ อาทิ หนังสือเรือพระราชพิธี จัดพิมพ์โดยสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หนังสือตามรอยฝรั่งเล่าความหลังเมืองพริบพรี จัดพิมพ์โดยสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ หนังสือศาลาไทยในต่างประเทศ จัดพิมพ์โดยสำนักสถาปัตยกรรม หนังสือช่างศิลป์ไทยเทิดไท้องค์ราชัน จัดพิมพ์โดยสำนักช่างสิบหมู่ หนังสือการเสด็จประพาสยุโรป ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดพิมพ์โดยสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ นอกจากนี้ ยังมีนิตยสารศิลปากร และสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น โปการ์ดภาพจดหมายเหตุ โปสการ์ดที่ระลึก มาจำหน่ายอีกด้วย
ขอเชิญผู้สนใจเยี่ยมชมและเลือกซื้อหนังสือได้ที่ร้านหนังสือกรมศิลปากร ภายในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 29 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ฮอลล์ 5 - 7 ชั้น LG บูธ H18 ระหว่างวันที่ 10 – 20 ตุลาคม 2567 เวลา 10.00 – 21.00 น. หรือสั่งซื้อทางออนไลน์ได้ที่ https://bookshop.finearts.go.th สอบถามเพิ่มเติม Facebook ศูนย์หนังสือกรมศิลปากร
หนังสือเทเวศร์ที่(ไม่)รู้จัก ลดราคาพิเศษ เหลือเพียง 256 บาท หนังสือวัวในวัฒนธรรมไทย ลดราคาพิเศษ เหลือเพียง 120 บาท หนังสือเวตาลปกรณัม ลดราคาพิเศษ เหลือเพียง 208 บาท หนังสือกามโรคในสังคมไทย ลดราคาพิเศษ เหลือเพียง 104 บาทหนังสือตามรอยฝรั่ง เล่าความหลังเมืองพริบพรี ลดราคาพิเศษ เหลือเพียง 240 บาทหนังสืออุภัยพจน์ คำกลอนพิศาลการันต์ ลดราคาพิเศษ เหลือเพียง 176 บาท
***บรรณานุกรม***
เบ็นเนตต์,โรล์ฟ (พันแหลม)
ประพฤติการแห่งนายเรือเอกลอเล็สส์ ของ พันแหลม มูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัย จัดพิมพ์โดยเสด็จพระกุศลซึ่งสมเด็จพระเจ้าภคินี เธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงบำเพ็ญพระกุศล เนื่องในวันคล้ายวันพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ 26 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2513 ครบ 45 ปี
พระนคร
โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย
2513
นที่พบ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2531
สถานที่พบไร่นายแพทย์สำนวน ปาลวัฒน์วิไชย บ้านหัวถนน ตำบลหางน้ำสาคร อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท ห่างจากเมืองอู่ตะเภาไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 1 กิโลเมตร ห่างจากเนินโคกวัดไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 200 เมตร (จากคำบอกเล่า เนินโคก วัดคือบริเวณโบสถ์โบราณ)
เหตุที่พบ บริเวณนี้เดิมปลูกต้นสน หลังจากถูกตัดเหลือแต่ตอ ชาวบ้านมาขุดเอาไปเผาถ่าน จึงพบโดยบังเอิญ ความสำคัญของธรรมจักร เป็นธรรมจักรลักษณะโปร่งขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยพบในประเทศไทย
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เมตร มีจารึกเป็นอักษรปัลลวะ ภาษาบาลี เรื่องธรรมจักรกัปปวัตนสูตร ตั้งอยู่บนเสาแปดเหลี่ยม กว้างเหลี่ยมละ 20 ซ.ม. อายุของธรรมจักร ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12