ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,403 รายการ
ชื่อเรื่อง ปฐมสมฺโพธิ (ปฐมสมโพธิกถา)สพ.บ. 161/9ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 38 หน้า กว้าง 5.5 ซ.ม. ยาว 55.5 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา พระพุทธเจ้า
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
ตำรายาแผนโบราณ ชบ.ส. ๙๑
เจ้าอาวาสวัดนาจอมเทียน ต.นาจอมเทียน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕
เอกสารโบราณ (สมุดไทย)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.30/1-5
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อผู้แต่ง ภิญโญ จิตต์ธรรม
ชื่อเรื่อง เที่ยวสงขลา
พิมพ์ครั้งที่ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ ส.การพิมพ์
ปีที่พิมพ์ 2506
จำนวนหน้า 362 หน้า
เที่ยวสงขลา เป็นคู่มือนำเที่ยวจังหวัดสงขลา เป็นจังหวัดที่ใหญ่โต มีธรรมชาติที่สวยงามน่าเที่ยว มีโบราณวัตถุ โบราณสถาน และประวัติศาสตร์ที่น่ารู้น่าศึกษา มีความเป็นมาและความสำคัญสำคัญทางประวัติศาสตร์อย่างไร
บันทึกเรื่องราวจากเอกสารจดหมายเหตุ : “ปี 2489 ข้าวราคาสูงถึงหาบละ 80 บาท เมื่อจันทบุรีขาดแคลนข้าวสาร จึงขอซื้อและขนย้ายข้าวทางเรือจากชลบุรีและกรุงเทพฯ” ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยได้ทำข้อตกลงกับอังกฤษในเรื่องข้าวไว้ว่า รัฐบาลไทยจะต้องส่งข้าวให้แก่รัฐบาลอังกฤษเป็นปริมาณ 1.5 ล้านตันโดยไม่คิดมูลค่า จึงเป็นเหตุให้รัฐบาลตราพระราชบัญญัติสำรวจและห้ามกักกันข้าว พ.ศ.2489 เพื่อควบคุมการขนย้ายข้าวออกนอกเขตและป้องกันการกักตุนข้าว จากเอกสารจดหมายเหตุ ได้ระบุถึงการสั่งซื้อและขนย้ายข้าวไว้ว่า คณะกรมการจังหวัดจันทบุรีได้ตั้งให้นายสิริ ไมตรีรักษ์ เป็นตัวแทนได้รับอนุญาตในการขนย้ายข้าวทางเรือ โดยวันที่ 23 เมษายน พ.ศ.2489 คณะกรมการจังหวัดชลบุรีมีโทรเลขถึงคณะกรมการจังหวัดจันทบุรี แจ้งว่านายสิริ ไมตรีรักษ์ ได้นำข้าวสาร 80 กระสอบ และข้าวเหนียว 30 กระสอบ รวม 110 กระสอบ ออกจากท้องที่อำเภอเมืองชลบุรี มายังร้านไมตรีพาณิชย์ ตลาดจันทบุรี ขอให้จังหวัดจันทบุรีตรวจสอบชนิดและจำนวนให้ถูกต้อง วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2489 นายสิริ ไมตรีรักษ์ แจ้งคณะกรมการจังหวัดจันทบุรีว่า ได้ขนย้ายข้าวสาร 15% ปริมาณ 270 หาบ จำนวน 150 กระสอบ มาจากกรุงเทพฯ ร้านจีนไถ่ ตำบลวัดเกาะ โดยเรือใบมาขึ้นที่ท่าผ่องศรี และขนขึ้นเก็บไว้ ณ ร้านสหบูรพา ถนนขวาง 30 กระสอบ และร้านไมตรีรักษ์ ถนนเบญจมราชูทิศ 120 กระสอบ ขอให้ทางคณะกรมการอำเภอเมืองจันทบุรีและพาณิชย์จังหวัดมาทำการตรวจข้าวด้วย------------------------------------------------------------ผู้เขียน นางสาวสุจิณา พานิชกุล นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี------------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี. เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดจังหวัดจันทบุรี จบ 1.2.5/25 เรื่องการสำรวจข้าว นายศิริ ไมตรีลักษณ์ ขนข้าว 150 กระสอบ จากกรุงเทพฯ (23 เมษายน – 7 กันยายน 2489). ภาพจาก http://oknation.nationtv.tv อ้างอิงจากหนังสือเรื่อง เข้าของประเทศสยาม พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา พ.ศ.2470
18 พฤศจิกายน 2446 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเลื่อนยศฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็นพระเจ้านครเมืองน่าน มีนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏ ว่า พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุระมหาราชวงษาธิบดี สุจริตจารีราชานุภาวรักษ์ วิบูลยศักดิกิตติไพศาล ภูบาลบพิตร์ สถิตย์ ณ นันทราชวงษ์ พระเจ้านครน่าน
วัดซาก บ้านหินสองก้อน ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี สิ่งสำคัญ ๑. ฐานเจดีย์ ๒. อุโบสถ ๓. วิหาร ประวัติและความสำคัญ วัดซาก ไม่ปรากฏประวัติความเป็นมาที่ชัดเจน เดิมบริเวณวัดมีเนินดินและซากเจดีย์ใหญ่ จากการขุดค้นพบว่าโบราณสถานวัดซากนี้มีการก่อสร้างทับซ้อนกันโดยฐานชั้นล่างเป็นศิลาแลง ส่วนฐานชั้นบนก่ออิฐ สันนิษฐานว่าคงจะสร้างขึ้นในสมัยลพบุรี (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๘) เป็นอย่างช้า และต่อมาได้รับการบูรณะในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในปี พ.ศ. ๒๒๓๑ พระเพทราชากับหลวงสรศักดิ์คบคิดกันจับเจ้าฟ้าอภัยทศและเจ้าพระยาวิชาเยนทร์มาประหารชีวิตที่วัดนี้พบชิ้นส่วนประติมากรรมขนาดใหญ่หลายชิ้น เช่น เศียรยักษ์ศิลา ฯลฯ ซึ่งปัจจุบันส่วนหนึ่งเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี และบางส่วนได้นำไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันชาวบ้านได้สร้างวัดใหม่ขึ้นในบริเวณโบราณสถานและตั้งชื่อว่าวัดซาก ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดหินสองก้อนตามชื่อหมู่บ้าน ลักษณะรูปแบบศิลปกรรม ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นปรางค์ก่อด้วยศิลาแลง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยลพบุรี ปัจุบันพังทลายลงเหลือแต่ส่วนฐานย่อมุมมีบันไดขึ้นลงทั้งสี่ด้านและมีมุขยื่นออกมาทางด้านทิศตะวันออก (ด้านหน้า) ต่อมาในสมัยอยุธยามีการสร้างสิ่งก่อสร้างเพิ่มเติม ได้แก่ ระเบียงคตก่อด้วยอิฐ และใช้อิฐก่อซ่อมแซมองค์ปรางค์ในบางส่วน การขึ้นทะเบียน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๓ ตอนที่ ๒๔ วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๗๙ -------------------------------------------------------------(ที่มา : ทะเบียนโบราณสถานในเขตสำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี)
สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live โครงการเผยแพร่ความรู้ทางออนไลน์ให้กับอาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม (อส.มศ.) และบุคคลทั่วไป ในวันอังคารที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๔ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๒.๑๕ น. ชมผ่านช่องทาง Facebook Fanpageและ YouTube สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย โดยจะมีวิทยากรกิตติมศักดิ์ผู้มีความรู้และประสบการณ์ ที่จะมาให้ความรู้ในรูปแบบออนไลน์ ดังนี้ เวลา ๐๙.๑๕ – ๑๐.๑๕ น. บรรยาย เรื่อง “นิติธรรม นิติรัฐ ในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม” โดย นายอนันต์ ชูโชติ อดีตอธิบดีกรมศิลปากรเวลา ๑๐.๑๕ – ๑๑.๑๕ น. บรรยาย เรื่อง “เที่ยวทิพย์สำราญ ไปกับอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร” โดย นายบัณฑิต ทองอร่าม หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรเวลา ๑๑.๑๕ – ๑๒.๑๕ น. เสวนาบรรยาย เรื่อง “วัดเจดีย์ยอดทอง : พุ่มข้าวบิณฑ์แห่งพิษณุโลก สู่งานวิจัย สงวนรักษา บูรณะโบราณสถานและการบูรณาการร่วมกับภาคประชาชน”โดย นางรัตติยา ไชยวงศ์ นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย และ นายบุญเชิด สถาพร นายช่างเทคนิคอาวุโส ผู้อำนวยการกลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : https://www.facebook.com/fad6sukhothai และช่องทาง Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCD2W0so8kn4bL-WOu8Doqnw ทั้งนี้ ผู้ชมจะได้ร่วมลุ้นรับของที่ระลึกสุดพิเศษตลอดรายการ
วันอังคารที่ ๒๘ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๔ เวลา ๑๑.๓๐ น. นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร พร้อมด้วยนายอรุณศักดิ์ กิ่งมณี รองอธิบดีกรมศิลปากร รับมอบหนังสือเอกสารทางวิชาการอันทรงคุณค่า และหนังสือหายาก จากศาสตราจารย์ ดร.สันติ เล็กสุขุม และในโอกาสนี้ ท่านอธิบดีและท่านรองอธิบดีได้ร่วมมอบหนังสือเพื่อใช้เป็นสาธารณประโยชน์และคลังความรู้ทางวิชาการ ณ ห้องสมุดสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ชั้น ๖ อาคารกรมศิลปากร เทเวศร์