ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,400 รายการ



           สมัยอยุธยาแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ (สมเด็จหน่อพุทธางกูร) เกิดไข้ทรพิษระบาดครั้งนั้นทำให้ประชาชนทั้งในและนอกพระนครติดไข้ทรพิษล้มตายเป็นจำนวนมาก การเกิดโรคระบาดครั้งนั้นถือว่าหนักหนาสาหัสมาก ชาวบ้านเชื่อว่าการระบาดของโรคเกิดจากน้ำมือของผีห่า เพราะการแพทย์สมัยนั้นยังไม่ทันสมัย คงมีการรักษาด้วยสมุนไพรกันไปตามอาการ บางคนอาการหนักมากก็เสียชีวิตลง และเหตุการณ์โรคระบาดในครั้งนั้นทำให้สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ ทรงประชวรด้วยไข้ทรพิษ ถึงแม้ว่าหมอหลวงจะถวายพระโอสถรักษาอย่างสุดความสามารถ และมีการนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ พระองค์ก็เสด็จสวรรคตในที่สุด ภาพจากภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท เรียบเรียงโดย นายวรัญญู จันทร์สว่าง นักวิชาการวัฒนธรรม อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาที่มาของข้อมูลhttps://web.facebook.com/AY.HI.PARK/photos/a.306805456334966/1092584714423699/?type=3&theater


          อธิบดีกรมศิลปากรออกประกาศขยายเวลาปิดการให้บริการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุทยาน ประวัติศาสตร์ โบราณสถานที่เก็บค่าเข้าชม หอสมุดแห่งชาติ และหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เป็นการชั่วคราว ออกไป จนถึง ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๓ พร้อมทั้งยกเว้นการเรียกเก็บค่าตอบแทน หรือค่าธรรมเนียมจากเอกชนที่ได้รับอนุญาต ให้ประกอบกิจการเพื่อหาประโยชน์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุทยานประวัติศาสตร์ โบราณสถานที่เรียกเก็บ ค่าเข้าชม และหอสมุดแห่งชาติ ในงวดเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๓           นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ตามที่กรมศิลปากรประกาศปิดการให้บริการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุทยานประวัติศาสตร์ โบราณสถานที่เก็บค่าเข้าชม หอสมุดแห่งชาติ และหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เป็นการชั่วคราว จนถึงวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๓ ขณะนี้ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้ออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปอีกคราวหนึ่ง ตั้งแต่วันที่ ๑ – ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๓ ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติราชการของหน่วยงานในสังกัดกรมศิลปากรที่มีภารกิจให้บริการแหล่งเรียนรู้สอดคล้องกับประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน กรมศิลปากรจึงประกาศขยายเวลาการปิดให้บริการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุทยานประวัติศาสตร์ โบราณสถานที่เก็บค่าเข้าชม หอสมุดแห่งชาติ และหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เป็นการชั่วคราว ออกไปจนถึงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๓            อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวต่อไปว่า เพื่อเป็นการช่วยเหลือและลดภาระของเอกชนที่ได้รับอนุญาต ให้ประกอบกิจการเพื่อหาประโยชน์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุทยานประวัติศาสตร์ โบราณสถานที่เรียกเก็บ ค่าเข้าชม และหอสมุดแห่งชาติ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการปิดแหล่งเรียนรู้ดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ อธิบดีกรมศิลปากรจึงประกาศยกเว้นการเรียกเก็บค่าตอบแทน หรือ ค่าธรรมเนียมจากเอกชนที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการเพื่อหาประโยชน์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุทยานประวัติศาสตร์ โบราณสถานที่เรียกเก็บค่าเข้าชม และหอสมุดแห่งชาติ ในงวดเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๓ จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง



***บรรณานุกรม*** หนังสือหายาก พงษาวดารจีน เรื่องน่ำปก เล่ม ๑.  พระนคร : โรงพิมพ์พานิชศุภผล, ม.ป.ป..


หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            บาลีหัวเรื่อง                          วรรณกรรมพุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    20 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 53.5 ซม. บทคัดย่อ                      เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม  ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534



รายงานการเดินทางไปปฏิบัติราชการ ณ ราชอาณาจักรกัมพูชา   1.      ชื่อโครงการ การประชุมเชิงปฏิบัติการว่าด้วยทรัพย์สินทางวัฒนธรรมและพิพิธภัณฑ์แห่งอาเซียน (ASEAN Cultural Properties and Museum International Workshop) 2.      วัตถุประสงค์ เพื่อเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการว่าด้วยทรัพย์สินทางวัฒนธรรมและพิพิธภัณฑ์แห่งอาเซียน และนำเสนอรายงาน Country Report 3.      กำหนดเวลา ระหว่างวันที่ 13 – 19 พฤศจิกายน 2560 4.      สถานที่ กรุงพนมเปญ และจังหวัดเสียมเรียบ 5.      หน่วยงานผู้จัด Sophia University Asia Center for Research and Human Development ประเทศญี่ปุ่น 6.      หน่วยงานสนับสนุน กระทรวงวัฒนธรรมและวิจิตรศิลป์ และ APSARA National Authority ราชอาณาจักรกัมพูชา 7.      กิจกรรม ศึกษาดูงานในแหล่งมรดกวัฒนธรรมที่สำคัญในกรุงพนมเปญและจังหวัดเสียมเรียบ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้แทนประเทศในกลุ่มอาเซียนที่เข้าร่วม และนำเสนอรายงาน Country Report ในที่ประชุม 8.      คณะผู้แทนไทย 8.1   นายทศพร   ศรีสมาน           ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ 8.2   นายสิทธิชัย  พูดดี              นักโบราณคดีปฏิบัติการ 8.3   นางสาวดวงกมล  กมลานนท์  ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ 9.      สรุปสาระของกิจกรรม วันที่ 13 พฤศจิกายน 2560 (วันที่ 1)           -ผู้เข้าร่วมการประชุมจาก 8 ประเทศ เดินทางถึงกรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา วันที่ 14 พฤศจิกายน 2560 (วันที่ 2)           -พิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและวิจิตรศิลป์                   (H.E. Madame Phoeurng Sakcona) ณ กระทรวงวัฒนธรรมและวิจิตรศิลป์ กรุงพนมเปญ -ศึกษาดูงาน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพนมเปญ กรุงพนมเปญ           วันที่ 15 พฤศจิกายน 2560 (วันที่ 3) -ศึกษาดูงานพิพิธภัณฑ์กำปงธม จังหวัดกำปงธม -ศึกษาดูงานแหล่งมรดกโลกปราสาทสมโบร์ไพรกุก วันที่ 16 พฤศจิกายน 2560 (วันที่ 4) -เข้าเยี่ยมคารวะอธิบดี APSARA National Authority -การบรรยายพิเศษ โดย ผู้อำนวยการภาคสนามของ Sophia Asia Center (Mr. Satoru Miwa) -การบรรยายพิเศษ โดย ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์โบราณสถานในนครวัดและโบราณคดีเชิงป้องกัน ของ  APSARA Authority (Dr. Ly Vanna) -ศึกษาดูงานสำนักงานอนุรักษ์โบราณวัตถุนครวัด บรรยายนำชม โดย ผู้อำนวยการสำนักงานอนุรักษ์  โบราณวัตถุนครวัด (นาย Kim Sothin) -ศึกษาดูงานพิพิธภัณฑ์ Preah Norodom Sihanouk – Angkor บรรยายนำชม โดย ผู้อำนวยการ  พิพิธภัณฑ์ (Dr. Chhom Kunthea) วันที่ 17 พฤศจิกายน 2560 (วันที่ 5) -การบรรยายพิเศษ โดย Dr. U Nyunt Han ผู้แทนจาก SPAFA -การนำเสนอรายงาน Country Report จากผู้เข้าร่วมการประชุมจาก 8 ประเทศ จำนวน 16 คน วันที่ 18 พฤศจิกายน 2560 (วันที่ 6) -ศึกษาดูงานการบูรณะทางเดินเข้าปราสาทด้านทิศตะวันตก ณ แหล่งมรดกโลกนครวัด -การบรรยายพิเศษ โดย อาจารย์จากมหาวิทยาลัย Royal University of Fine Arts. (Prof. Ang Choulean) -พิธีปิด วันที่ 19 พฤศจิกายน 2560 (วันที่ 7) --ผู้เข้าร่วมการประชุม เดินทางกลับประเทศ 10.  ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม ประเทศในกลุ่มอาเซียนมีมรดกวัฒนธรรมทางโบราณคดีที่มีความคล้ายคลึงกันในหลายๆ ด้าน เช่น วัสดุ รูปแบบศิลปะ เทคนิคการก่อสร้าง ดังนั้นการได้เรียนรู้รูปแบบการจัดการมรดกวัฒนธรรมของแต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียน รวมถึงการได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องการจัดการวัตถุวัฒนธรรมทั้งที่อยู่ติดที่ในแหล่งโบราณสถานหรือที่ได้ถูกเคลื่อนย้ายมาจัดเก็บหรือจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ จึงเป็นการสร้างมิติของการเรียนรู้ในเรื่องของการจัดการวัตถุทางวัฒนธรรมให้ลึกและกว้างขวางมากยิ่งขึ้น     ...............................................................ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ                (นางสาวดวงกมล  กมลานนท์)                ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ


หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            บาลี/ไทยหัวเรื่อง                          พระปริยัติธรรม (บาลี)                                    การศึกษาและการสอนประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    26 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 56.5 ซม. บทคัดย่อ                      เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากพระครูวิมลสังวร วัดแค ต.รั้วใหญ่ อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.33/ข/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  44 หน้า  ; 4 x 50.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 19 (194-204) ผูก 7หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


วันจันทร์ที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ นายจารึก วิไลแก้ว ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา เข้าประชุมตรวจสอบข้อเท็จจริงในพื้นที่และร่วมประชุมพิจารณาแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียน เกี่ยวกับการรุกล้ำแนวเขตโบราณสถานคูเมือง-กำแพงเมืองบ้านตะลุงเก่า ร่วมกับคณะกรรมการ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน สำนักที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานธนารักษ์พื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมด้วยผู้ร้องเรียน ณ ห้องประชุมพนมรุ้ง ศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์



1. ตำรายาเกร็ด เช่น ยาต้มแก้ฝีในท้อง 8 จำพวก, แก้กลอนห้าประการ, แก้ฝีริดสีดวง 8 จำพวก ยาฝีในท้อง ยากระไส ยาฟอกฝ่าตีน, ยาสะเลด, ยามุตะกิต, ยาะตุทั้ง 5, ยาตะมอย ฯลฯ 2. เวทย์มนต์คาถา ใช้ลงฝักส้มป่อย


การประชุมผู้บริหารกรมศิลปากร (Conference)วันศุกร์ที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ณ ห้องประชุมสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา


Messenger