ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,399 รายการ
องค์ความรู้: ความทรงจำแห่งโลกในประเทศไทย
จารึกวัดโพธิ์ Epigraphic Archives of Wat Pho
จารึกวัดโพธิ์ Epigraphic Archives of Wat Pho มีแผ่นหินที่บันทึกเรื่องราว เป็นภาษาไทยเกี่ยวกับความรู้และสรรพวิชาต่าง ๆ ทั้งด้านการเมืองการปกครอง การค้าขาย และวัฒนธรรม ทั้งหมด 1,431 แผ่น ในช่วงตั้งแต่ปีค.ศ. 1831-1841 ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อปีพ.ศ.2551 และขึ้นทะเบียนในระดับโลกใน ปีพ.ศ.2554 “วัดโพธิ์” หรือ “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร” เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก เป็นวัดโบราณเก่าแก่ที่ราษฎรสร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ต่อมาได้ถือว่าเป็นพระอารามหลวงประจารัชกาลที่ 1 และมีการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ซึ่งได้เริ่มมี “จารึกวัดโพธิ์” ขึ้น โดยพระองค์ได้ทรงมีพระราชประสงค์ให้พระอารามแห่งนี้เป็น “มหาวิทยาลัย” สำหรับประชาชนทั่วไป พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นาเอาองค์ความรู้จากปราชญ์ของไทยและสรรพศิลปวิทยาการต่างๆ เช่น ตาราการแพทย์ โบราณคดี และวรรณกรรม โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอนทั้งหลาย ฯลฯ มาจารึกลงบนแผ่นหินอ่อน ประดับไว้ตามบริเวณผนัง-เสาพระระเบียงรอบพระอุโบสถ พระวิหาร พระวิหารคด และศาลารายรอบพระมณฑปภายในวัด ซึ่งทรงมุ่งหวังให้ยั่งยืนและเผยแพร่ให้ประชาชนศึกษาได้อย่างเสรี เป็นแหล่งเล่าเรียนวิชาความรู้ของมหาชน โดยไม่เลือกชนชั้น วรรณะ ยศถาบรรดาศักดิ์ เพราะในสมัยนั้นยังไม่มีหนังสือ ไม่มีโรงเรียน การเล่าเรียนส่วนใหญ่จะมีสอนให้อยู่ตามวัดต่างๆ เท่านั้น พระอารามแห่งนี้จึงเปรียบเสมือนมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย เพิ่มเติมจากการเล่าเรียนวิชาสามัญศึกษาที่มีอยู่ตามวัดทั่วไป แม้ว่าเวลาจะผ่านไปกว่า178 ปี วัดโพธิ์ก็ยังคงเป็นแหล่งเรียนรู้สรรพวิทยา เห็นได้จากความรู้เกี่ยวกับโยคะศาสตร์และตำราการนวดแผนโบราณวัดโพธิ์ เป็นที่รู้จักแพร่หลายออกไปทั่วโลกในปัจจุบัน
ได้รับการขึ้นทะเบียน มรดกความทรงจำเอเชียแปซิฟิก วันที่ 21/2/2551
ได้รับการขึ้นทะเบียน มรดกความทรงจำโลก วันที่ 27/5/2554
ได้รับการขึ้นทะเบียน มรดกความทรงจำประเทศไทย วันที่ 21/12/2558
ข้อมูล/ภาพ: สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
วัดห้วยเสือ ตั้งอยู่ ณ บ้านห้วยเสือ หมู่ที่ 5 ตำบลสมอพรือ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งจากการเข้าไปสำรวจพบว่าวัดแห่งนี้มีการรวบรวมภาพจิตรกรรม โดยเป็นเรื่องราวของ “พระเวสสันดรชาดก” ชาติที่ 10 ของเรื่องราว “ทศชาติชาดก” หรือก็คือ 10 ชาติ ของการเล่าเรื่องราวการที่พระพุทธเจ้าทรงเวียนว่ายตายเกิด จนเป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย ซึ่งในปัจจุบันภาพดังกล่าวได้ถูกจัดเก็บไว้เป็นอย่างดี ณ วัดห้วยเสือ เพื่อเป็นการดำรงและรักษาภาพจิตรกรรมการแสดงคำสอนอันดีงามและเรื่องราวความเป็นมาทางพุทธศาสนาให้คงอยู่ต่อไป
สำหรับ ทศชาติ เรื่อง “พระเวสสันดรชาดก” ว่าด้วยเรื่อง 13 กัณฑ์ ถือได้ว่าเป็นเรื่องราวที่รู้จักมากที่สุดและมีความสำคัญมากที่สุดในบรรดาทศชาติชาดกทั้ง 10 ตอน และเป็นสาเหตุที่เวสสันดรชาดกถูกยกให้เป็นมหาชาตินั้น ก็เนื่องจากชาดกเรื่องนี้ถือเป็นพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนจะได้เป็นพระพุทธเจ้า อีกทั้งยังเป็นพระชาติที่ทรงบำเพ็ญบารมีครบทั้ง 10 ประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ทานบารมี” ที่ทรงบริจาคทุกสิ่งทุกอย่างทุกอย่าง แม้แต่ภรรยาและบุตรของตนเองก็บริจาค ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ทำได้ยากและเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
นอกจากนั้น สาเหตุที่ “พระเวสสันดรชาดก” นั้นเป็นที่ยกย่องและน่าเลื่อมใส เพราะเรื่องเวสสันดรชาดกนั้นมีคุณค่าที่สามารถนำไปประยุกต์เข้ากับชีวิตประจำวันได้ทุกระดับ โดย 13 กัณฑ์ ของเรื่องราว “พระเวสสันดรชาดก” สามารถศึกษาเเละทำความเข้าใจเพิ่มเติมได้ ดังนี้
เอกสารเเละหลักฐานสำหรับการสืบค้น
1. วัดห้วยเสือ, ภาพจิตรกรรม ทศชาติ เรื่อง “พระเวสสันดรชาดก” ว่าด้วยเรื่อง 13 กัณฑ์.
2. เจริญ ไชยชนะ. (2502), มหาเวสสันดรชาดก ฉบับ 5 กัณฑ์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ ไชยวัฒน์.
3. กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2561), เทศน์มหาชาติมหากุศล. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
4. ทิวาวรรณ อายุวัฒน์. (2561). ““ทศชาติชาดก 101”, ใน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี (ผู้รวบรวม), บทความทางวิชาการ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี. (หน้า 1). นครปฐม :มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
ชื่อเรื่อง มหานิปาต(เวสฺสนฺตรชาดก)ชาตกปาลิขุทฺทกนิกาย(คาถาพัน)อย.บ. 170/1ขหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 68 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง มหาเวสสันดรชาดก
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา
สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอเชิญผู้สนใจร่วมกิจกรรม workshop ด้านการอนุรักษ์วัตถุพิพิธภัณฑ์จากเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมเพื่อสังคมในมิติของความยั่งยืน ภายใต้หัวข้อ “การจัดการคลังและวัตถุพิพิธภัณฑ์สู่ความยั่งยืน” โดยสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ร่วมกับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ไทย จัดขึ้นเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย 2566 (Thai Museum Day 2023) ระหว่างวันที่ 17 – 19 กันยายน 2566 ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
กิจกรรมประกอบด้วย
- DIY Book Cushion หมอนรองหนังสือ โดย Museum Siam
ทำหมอนรองหนังสือสามารถช่วยยืดอายุการใช้งานหนังสือเก่า และช่วยลดการเสื่อมสภาพของสันหนังสือ กิจกรรม DIY หมอนรองหนังสือด้วยวิธีที่ง่าย รวดเร็วและรีไซเคิลจากวัสดุกันกระแทก เช่น บับเบิ้ลแพ็ค โฟมกันกระแทก เป็นต้น
วันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน 2566 รอบเวลา 10.30 - 12.00 น.
วันอังคารที่ 19 กันยายน 2566 รอบเวลา 10.30 - 12.00 น.
* รับผู้ร่วมกิจกรรม จำนวน 10 คน ต่อรอบ สำหรับผู้ที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป
…………………………………………………………………………..
- Handmade book จากกล่องกระดาษ โดย Museum Siam
สมุดทำมือจากกระดาษที่ถูกใช้งานแล้ว กล่องกระดาษลูกฟูกสามารถนำมาเป็นสมุดเล่มใหม่ได้ง่ายๆ
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้พื้นฐานโครงสร้างหนังสือเพื่อดูแลรักษาหนังสือได้เอง เทคนิคการเย็บสมุดทำมือ พร้อมทั้งตกแต่งสมุดทำมือในแบบของตัวเอง
วันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน 2566 รอบเวลา 13.30 – 15.30 น.
วันอังคารที่ 19 กันยายน 2566 รอบเวลา 13.30 – 15.30 น.
* รับผู้ร่วมกิจกรรม จำนวน 10 คน ต่อรอบ สำหรับผู้ที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป
…………………………………………………………………………..
- รักษ์ “ภาพถ่ายเก่า” ตอน ซ่อมแซมปลุกชีวิต โดยกลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
การอนุรักษ์ภาพถ่ายเก่า อย่างการทำความสะอาดเบื้องต้นและการลอกเทปกาวออก โดยไม่ทำให้เกิดความเสียหายกับวัตถุ
วันจันทร์ที่ 18 กันยายน 2566 รอบเวลา 10.30 - 12.00 น.
* รับผู้ร่วมกิจกรรม จำนวน 10 คน ต่อรอบ
…………………………………………………………………………..
- รักษ์ “ภาพถ่ายเก่า” ตอน เก็บรักษาอย่างยั่งยืน โดยกลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ การเสริมความแข็งแรงให้ภาพถ่ายเก่า ผนึกรอยขาด และการเข้าเมาท์ ทำซองจัดเก็บภาพถ่ายเก่าให้อยู่กับคุณไปอีกนาน
วันจันทร์ที่ 18 กันยายน 2566 รอบเวลา 13.30 – 15.00 น.
* รับผู้ร่วมกิจกรรม จำนวน10 คน ต่อรอบ
…………………………………………………………………………..
- รักษ์ “จิตรกรรมสีน้ำ” อย่างง่ายง่าย โดยกลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
การอนุรักษ์งานจิตรกรรมประเภทงานสีน้ำ
ทั้งการทำความสะอาดเบื้องต้น อธิบายการเข้าเมาท์ และการจัดเก็บที่ถูกต้อง
วันจันทร์ที่ 18 กันยายน 2566 รอบเวลา 16.00 - 17.30 น.
* รับผู้ร่วมกิจกรรม จำนวน10 คน ต่อรอบ
…………………………………………………………………………..
- การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการจัดเตรียมวัตถุจัดแสดงนิทรรศการ หัวข้อการทำบอร์ดจัดแสดงวัตถุประเภทผ้าผืน โดยพิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
การให้ความรู้ด้านการดูแลเบื้องต้นด้านรักษาวัตถุประเภทผืนผ้า สำหรับการจัดแสดงนิทรรศการและโอกาสอื่นๆ รวมทั้งแนะนำอุปกรณ์และตัวอย่างวัสดุที่เหมาะสม โดยมีการฝึกปฏิบัติการทำบอร์ดจัดแสดง
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำชิ้นผลงานที่ตนเองทำกลับบ้านได้
วันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน 2566 รอบเวลา 10.30 - 12.00 น.
วันจันทร์ที่ 18 กันยายน 2566 รอบเวลา 10.30 – 12.00 น.
วันอังคารที่ 19 กันยายน 2566 รอบเวลา 10.30 - 12.00 น.
* รับผู้ร่วมกิจกรรม จำนวน 15 คน ต่อรอบ
…………………………………………………………………………..
- อนุรักษ์เชิงป้องกันกับสิ่งของใกล้ตัว โดยพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
การสาธิตและอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการอนุรักษ์เชิงป้องกันวัตถุพิพิธภัณฑ์ประเภทกระดาษ เช่น เอกสารจดหมายเหตุ การ์ดอวยพร โปสการ์ด การให้คำแนะนำเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการอนุรักษ์และจัดเก็บโบราณวัตถุอันมีค่าให้คงอยู่ยาวนานยิ่งขึ้น
วันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน 2566 รอบเวลา 13.30 - 15.00 น.
วันอังคารที่ 19 กันยายน 2566 รอบเวลา 13.30 - 15.00 น.
* รับผู้ร่วมกิจกรรม จำนวน 15 คน ต่อรอบ
…………………………………………………………………………..
- การอนุรักษ์เหรียญกษาปณ์ โดยกองส่งเสริมและพัฒนาทรัพย์สินมีค่าของรัฐ
ให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์เหรียญกษาปณ์ รวมไปถึงคำแนะนำในการจัดเก็บรักษาอย่างเหมาะสม เพื่อรักษาสภาพเหรียญให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ตามหลักวิชาการอนุรักษ์
วันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน 2566 รอบเวลา 16.00 - 17.30 น.
วันจันทร์ที่ 18 กันยายน 2566 รอบเวลา 13.30 – 15.00 น.
วันอังคารที่ 19 กันยายน 2566 รอบเวลา 16.00 - 17.30 น.
* จำนวนผู้ร่วมกิจกรรม 20 คน ต่อรอบ
+++กิจกรรมไม่มีค่าใช้จ่าย+++ สำรองที่นั่งได้ที่ https://shorturl.at/lpAJ4 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าร่วมแต่ละกิจกรรม วันที่ 14 กันยายน 2566ทาง Facebook : Thai Museum Day
บาตรประดับมุก
ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศักราช ๒๕๖๒
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาน สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ประทานยืมจัดแสดง
ผลงานศิลปกรรมออกแบบและจัดสร้างโดย สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร)
ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ กรมศิลปากรมอบหมายให้สำนักช่างสิบหมู่ ดำเนินการจัดสร้างศิลปกรรมที่ใช้สำหรับงานพระราชพิธี ๑ ชุด คือ เครื่องไทยธรรม หมายถึง สิ่งของที่ถวายพระภิกษุสงฆ์ ประกอบด้วย #บาตรประดับมุก และ #หีบประดับมุก (หีบใบใหญ่ภายในบรรจุหีบใบเล็กสามใบ)
โดยเครื่องไทยธรรมชุดนี้ถวายสมเด็จพระอริยวงศาคตญาน สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ในวันอาทิตย์ที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ ในช่วงท้ายของพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย และสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประเคนภัตตาหารแด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาน สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก รับพระราชทานฉันเสร็จแล้ว สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ถวายศีลและถวายพระธรรมเทศนา ๑ กัณฑ์ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมบูชากัณฑ์เทศน์ ทรงหลั่งทักษิโณทก เสด็จออกจากพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย
บาตรประดับมุก ประกอบด้วย บาตร ฝาบาตร และเชิงบาตร บาตรประดับมุกเป็นบาตรทรงมะนาวแป้น พื้นฝาบาตรประดับมุกทึบเต็มพื้นที่ (ปูพื้นอย่างโมเสก) ประดับเป็นรูปเหลี่ยมเพชร ฝาบาตรด้านบนประดับด้วยโลหะสลักดุนนูน ฉลุทองแดงชุบทอง รูปพระราชลัญจกรประจำรัชกาล พระจุฬมงกุฎมหาวชิราวุธประดิษฐานบนพานปากกระจับ ๒ ชั้น ประกอบด้านซ้ายและขวาด้วยฉัตรบริวาร ล้อมด้วยสายสร้อยและดวงตราเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์
รอบฝาบาตรประดับโลหะสลักดุนนูนรูปอัฏฐพิธมงคล หรือ #สัญลักษณ์มงคล ๘ ประการ ได้แก่ ๑.อุณหิสหรือกรอบหน้า ๒.คทาหรือกระบอง ๓.สังข์ ๔.จักร ๕.ธงชัย ๖.อังกุศหรือขอช้าง ๗.โคอุสภ ๘.กุมภ์หรือหม้อน้ำ สัญลักษณ์ของมงคล ๘ ประการนี้เป็นความเชื่อที่คนไทยแต่โบราณได้รับคติมาจากศาสนาพราหมณ์ฮินดู โดยสิ่งที่เป็นมงคลทั้งแปดนี้ มีความสัมพันธ์เนื่องในพระเป็นเจ้าในศาสนาพราหมณ์
ผู้ที่สนใจกระบวนการสร้างบาตรประดับมุก สามารถอ่านได้จากลิ้งค์ด้านล่างนี้
https://datasipmu.finearts.go.th/academic/38
ชื่อเรื่อง สพ.ส.57 กฎหมายลักษณะต่างๆประเภทวัสดุ/มีเดีย สมุดไทยดำISBN/ISSN -หมวดหมู่ กฏหมายลักษณะวัสดุ 39; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง กฎหมายลักษณะต่างๆ ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก ประวัติวัดป่าเลไลยก์ ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 16 ส.ค..2538
เอกชัยเหินหาว และเอกชัยหลาวทอง เป็นชื่อเรือ 2 ลำคู่กัน ลักษณะใกล้เคียงกันคือหัวเรือเป็นรูปดั้งเชิดสูงงอนขึ้นไป ลงรักปิดทองเขียนลายรดน้ำรูปเหรา (อ่านเห-รา) ซึ่งเป็นสัตว์ในตำนาน ลักษณะคล้ายมังกรแต่มีหัวเป็นงูหรือนาค อย่างไรก็ตามเรือ 2 ลำนี้มีรูปลักษณ์ของหัวเรือที่ต่างกันอยู่บ้างเป็นที่สังเกตได้
เอกชัยเหินหาว และเอกชัยหลาวทอง เป็นชื่อเรือ 2 ลำคู่กัน ลักษณะใกล้เคียงกันคือหัวเรือเป็นรูปดั้งเชิดสูงงอนขึ้นไป ลงรักปิดทองเขียนลายรดน้ำรูปเหรา (อ่าน เห-รา) ซึ่งเป็นสัตว์ในตำนาน ลักษณะคล้ายมังกรแต่มีหัวเป็นงูหรือนาค อย่างไรก็ตามเรือ 2 ลำนี้มีรูปลักษณ์ของหัวเรือที่ต่างกันอยู่บ้างเป็นที่สังเกตได้ เอกชัยเหินหาว แปลว่า “ชัยชนะสูงสุดทะยานสู่ท้องฟ้า” เอกชัยหลาวทอง แปลว่า “เรือทองที่บรรจงสร้าง (โดยการหลาวหรือเหลา) เพื่อชัยชนะ” หรือแปลว่า “หลาว (อาวุธ) ทองคำที่นำชัยชนะ” ชื่อเรือ 2 ลำนี้ปรากฏอยู่ในสมุดภาพเรือในกระบวนพยุหยาตราชลมารคสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พุทธศักราช 2199 - 2231) แห่งกรุงศรีอยุธยา
เรือเอกชัยเหินหาว และเอกชัยหลาวทองตามรูปลักษณ์ปัจจุบัน สร้างขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 (พุทธศักราช 2325 - 2352) เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 ระเบิดจากอากาศยานที่ถล่มกรุงเทพมหานครสร้างความเสียหายให้กับเรือพระราชพิธีทั้งสองลำนี้มาก ดังนั้นในพุทธศักราช 2508 กองทัพเรือและกรมศิลปากรร่วมกันบูรณะเรือสองลำนี้ใหม่โดยใช้หัวเรือเดิมมาประกอบ
เรือ 2 ลำถือว่าเป็นเรือคู่ชัก หมายความว่าใช้เป็นเรือชักลากเรือพระที่นั่ง เช่น ชักลากเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์เมื่อน้ำเชี่ยวหรือต้องการให้แล่นเร็วขึ้น และเป็นเรือคู่นำหน้าเรือพระที่นั่ง ต่อมาใช้เป็นเรือสำหรับให้ข้าราชการชั้นสูงนั่ง เรือแต่ละลำมีความยาว 27.50 เมตร กว้าง 1.97 เมตร ลึกถึงท้องเรือ 60 เซนติเมตร กินน้ำลึก 72 เซนติเมตร น้ำหนัก 7.7 ตัน แต่ละลำมีกำลังพลประกอบด้วย ฝีพาย 38 คน นายเรือ 2 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน
ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/royalbarges
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ขอเชิญร่วมกิจกรรมภายใต้โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวยามค่ำคืน อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ยลโขนมรดกโลกสัญจร ตระการตากับการแสดงมหัศจรรย์แสงแห่งศรีเทพ Si Thep World Heritage Illumination 2024 ภาพ เสียง และสีสันสุดอลังการ เฉลิมฉลองเมืองโบราณศรีเทพได้รับการประกาศเป็นแหล่งมรดกโลกจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)
นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า ตามที่เมืองโบราณศรีเทพและโบราณสถานในสมัยทวารวดีที่เกี่ยวข้อง เข้าสู่บัญชีมรดกโลกทางวัฒนธรรมได้สำเร็จ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2566 นับเป็นเหตุการณ์สำคัญเหตุการณ์หนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ของไทย เกิดกระแสมีผู้เข้าเยี่ยมชมอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพมากขึ้นกว่า 10 เท่า และนับจากวันที่ได้รับมรดกโลกจนถึงขณะนี้มีนักท่องเที่ยวครบ 1 ล้านคนแล้ว กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม จึงจัดกิจกรรมเพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสดังกล่าว ณ โบราณสถานเขาคลังนอก อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ระหว่างวันที่ 3 – 5 พฤษภาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 18.00 – 21.00 น. เพื่อให้ประชาชนได้สัมผัสบรรยากาศการท่องเที่ยวโบราณสถานสำคัญที่สวยงามในช่วงค่ำคืน โดยมีกิจกรรม ประกอบด้วย
1. นิทรรศการ 120 ปี แห่งการค้นพบเมืองโบราณศรีเทพ นำเสนอข้อมูลนับตั้งแต่การค้นพบเมืองโบราณร้างในเขตมณฑลเพชรบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2447 สู่เมืองโบราณศรีเทพ แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าโดดเด่น จนได้รับการยอมรับว่าเป็น “เมืองมรดกโลก” ในปัจจุบัน
2. กิจกรรมส่งเสริมการสร้างงานศิลปกรรมแก่ชุมชน ชมการสาธิตการทอผ้า การจักสาน และผลิตภัณฑ์จากชุมชนเมืองโบราณศรีเทพ ที่ออกแบบโดยสำนักช่างสิบหมู่ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากงานศิลปกรรม ที่พบ ณ เมืองโบราณศรีเทพ
3. การแสดง Light & Sound “มหัศจรรย์แสงแห่งศรีเทพ Si Thep World Heritage Illumination 2024” ด้วยเทคนิคการฉาย Projection Mapping บนโบราณสถานเขาคลังนอก ชมการเติมเต็ม ต่อยอดมหาสถูปเขาคลังนอกเป็นครั้งแรกผ่านการฉายแสงเลเซอร์ และอุโมงค์แสง
4. ยลโขนมรดกโลกสัญจร เยือนนครประวัติศาสตร์ศรีเทพ พิเศษในวันที่ 3 และ 5 พฤษภาคม 2567 เวลา 20.00 – 21.30 น. พบกับการแสดงโขน ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้จากยูเนสโก โดยสำนักการสังคีต นำการแสดง โขน ตอนลักนางสีดา ยกรบ ไปจัดแสดงท่ามกลางความงดงามของโบราณสถานยามค่ำคืน พร้อมการแสดงระบำศรีเทพที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ด้วยแนวคิดการประดิษฐ์ท่ารำจากลักษณะทางสถาปัตยกรรม โบราณวัตถุ รวมทั้งประติมากรรมปูนปั้นที่ฐานของโบราณสถาน
นอกจากนี้ ยังมีการจัดกิจกรรมพิเศษการถ่ายภาพลงตราไปรษณียากร “Personalized Stamp” และการแสดงดนตรีและนาฏศิลป์พื้นบ้าน โดยนักเรียนและชาวบ้านในชุมชนโดยรอบเมืองโบราณศรีเทพอีกด้วย ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง www.sithep.org
โรงเรียนชลประทานวิทยา จ.นนทบุรี (เวลา 13.00 น.) จำนวน 255 คนวันพฤหัสบดีที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. คณะนักเรียน จากโรงเรียนชลประทานวิทยา จ.นนทบุรี จำนวน ๒๕๕ คน เข้าเยี่ยมชม ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ โดยมีว่าที่ร้อยตรีรุ่งเรือง ชื่นชม ตำแหน่ง พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ เป็นวิทยากรนำชมในครั้งนี้