ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,394 รายการ
องความรู้ เรื่อง ทับหลัง วัดศรีสวาย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จัดทำข้อมูลโดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง
ตำรายาแผนโบราณ ชบ.ส. ๙๐
เจ้าอาวาสวัดนาจอมเทียน ต.นาจอมเทียน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕
เอกสารโบราณ (สมุดไทย)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.30/1-4
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ประเพณีพระแข เป็นพิธีกรรมเก่าแก่ของชาวเขมร ซึ่งเราสามารถจะพบได้ในภาคอีสานบริเวณชายแดนเขมร เช่น อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ที่มีชาวไทยเชื้อสายเขมรอาศัยอยู่จังหวัดสุพรรณบุรีมีกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ กระจายตัวอยู่ทั่วทั้งจังหวัด สำหรับกลุ่มคนไทยเชื้อสายเขมรจะอาศัยรวมเป็นกลุ่มใหญ่ในเขตตำบลบ้านโพธิ์และตำบลตลิ่งชัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี โดยเฉพาะแถววัดสามทอง วัดสุวรรณนาคี วัดสกุลปักษี และวัดประชุมชน ส่วนใหญ่มีบรรพบุรุษอพยพมาจากกัมพูชาตั้งแต่ช่วงปลายสมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ และปัจจุบันยังคงสืบทอดประเพณีบางอย่างที่บรรพบุรุษเคยถือปฏิบัติไว้ซึ่งรวมถึงพิธีไหว้พระจันทร์ด้วย นอกจากนี้ ยังมีการประกอบพิธีนี้ในภาคกลาง ทางด้านทิศตะวันตกของอำเภอเมืองสุพรรณบุรี คือตั้งแต่ตำบลตลิ่งชัน บ้านปากคลองงูเหลือม บ้านสามทอง บ้านท่าข้าม บ้านบึง บ้านตีนเป็ด ศาลาขาว และหนองหิน ฯลฯ---------------------------------------------------------ผู้เรียบเรียง นางสาววารุณี วิริยะชูศรี บรรณารักษ์ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ ---------------------------------------------------------ข้อมูลอ้างอิง เจริญ ต้นมหาพราน. ประเพณีท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : แสงแดด, 2538.
....."ฝรั่งเศสแย่งกัน ร.ศ.112 กำลังยุ่ง อีตาปาวีปาเวอนั่น เคยได้ยินไหม มองซิเออร์ปาวี มาปันเขตแดน โอ๊ย ตัวแกสูงใหญ่ สูงกระทั่งถึงนี่ (ท่ามือสูงขึ้นไป) จมูกยังงี้ยาว น่ากลัว อีตาปาวี แกเอาของมาให้ยายอันหนึ่ง กระต่ายในกระหล่ำปลี กระหล่ำปลีใบเขียว แล้วพอไข มันดังน้องแนงๆ แล้วมันก็ค่อยๆ แง้มๆ ก็เห็นกระต่ายตาแดง ตัวขาว พอแง้มมันก็จู๊ดขึ้นมา ยายสะดุ้งเลย มันมีสปริง ยายเกือบหงายหลัง"
ส่วนหนึ่งจากบทสัมภาษณ์หม่อมศรีพรหมา กฤษดากร
ในหนังสือ อัตชีวประวัติของหม่อมศรีพรหมา กฤดากร
กดเข้าไปอ่านได้ที่
http://www.openbase.in.th/files/sitthiporn007.pdf
ขอบคุณหนังสือออนไลน์จาก โครงการ OpenBase.in.th
... กล่าวกันว่าการกินหมากอาจจะเป็นวัฒนธรรมที่ไทยรับมาจากอินเดียมาช้านาน แต่ไม่มีหลักฐานชัดเจน จนถึงสมัยสุโขทัย ราวพุทธศตวรรษที่๑๙ จึงมีหลักฐานปรากฏในศิลาจารึกว่า ในเมืองสุโขทัยนั้นมีป่าหมากและป่าพลู จึงเป็นไปได้ว่าชาวสุโขทัยนิยมกินหมากกันมากจนถึงกับปลูกต้นหมากและต้นพลูไว้ในเมือง ในปัจจุบันคนจำนวนไม่น้อย อาจไม่รู้ว่าการกินหมากเป็นอย่างไร? หมาก ( หมาก ชื่อเรียกต้นปาล์มหลายชนิดในวงศ์ Palmae โดยเฉพาะชนิด Areca catechu Linn รสฝาด เคี้ยวกินกับปูน พลู ซึ่งรวมเรียกการกินหมาก ) ใช้เนื้อในของผลหมากสดหรือหมากตากแห้ง ใบพลู ( พลู ชื่อไม้เถาชนิด Piper betal Linn. ในวงศ์ Piperaceae มีรสเผ็ดร้อนใช้กินกับหมากและใช้ทำยาได้ ) มักใช้ใบพลูสดที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป บางทีใช้ใบพลูแห้ง หรือเรียกว่าพลูนาบ (นาบกับกระทะที่ตั้งไฟจนร้อนให้แห้ง)ปูนแดง ( ปูนแดง ปูนสุกที่ผสมกับผงขมิ้นและน้ำจะเป็นสีแดง สำหรับป้ายพลูกินหมาก ) การกินหมากอาจจะมีส่วนประกอบอื่นอีกตามความชอบของแต่ละคน เช่น การบูร สีเสียด ยาจืด ด้วยก็ได้ การกินหมากจะต้องป้ายปูนแดงลงบนใบพลูแล้วเคี้ยวไปพร้อมกับหมาก ซึ่งจะมีรสเผ็ดร้อน ผู้กินหมากเคี้ยวไปเรื่อยๆ (คล้ายเคี้ยวหมากฝรั่ง) พร้อมกับบ้วนน้ำหมากทิ้งเมื่อมีน้ำหมากมากเกินไป การกินหมากจะไม่กลืนซากหมากหรือกากหมากที่เคี้ยว แต่ต้องคายทิ้ง เมื่อหมากหมดรสแล้ว สิ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของการกินหมากอีกอย่างหนึ่งคือ “เชี่ยนหมาก” เชี่ยนหมาก เป็นภาชนะสำหรับใส่เครื่องกินหมาก มีรูปแบบแตกต่างและทำด้วยวัสดุหลายชนิด เช่น ทอง เงิน ทองเหลือง ไม้ หวาย ย่านลิเพา ฯลฯ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฐานะของเข้าของ เพราะนอกจากจะเป็นภาชนะใส่เครื่องกินหมากแล้ว ในสมัยก่อนเชี่ยนหมากยังเป็นเครื่องแสดงฐานะทางสังคมหรือเจ้าของอีกด้วย การกินหมากเป็นวัฒนธรรมที่แพร่หลายในสมัยก่อน แม้แต่พระมหากษัตริย์และเจ้านายชั้นสูงในราชสำนักก็ยังกินหมากกันทั่วไป แม้ในสมัยต่อมาจะเลิกกินหมากแล้วก็ตาม เชี่ยนหมาก หรือ “พานพระขันหมาก” ก็ยังเป็นเครื่องประกอบอยู่ในเครื่องราชูปโภคที่ประกอบพระราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ ดังที่ พระวงวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ได้ทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือ เรื่อง พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ตอนหนึ่งว่า “... พานพระขันหมากสำหรับรัชกาลที่ ๑ ทรวดทรงและฝีมืองามยิ่งนัก เป็นฝีมือเอกประเภทเดียวกับ พานพระมหากฐิน และพานพระบายศรี ซึ่งเป็นชิ้นศิลปกรรมในรัชกลที่ ๑ และกล่าวกันว่าพานพระขันหมากนี้ ได้สร้างหุ่นไม้ขึ้นทดลองก่อน แต่เมื่อทรงได้ดีงามพอใจแล้ว จึงได้ลงมือทำด้วยทอง ...” นอกจากเชี่ยนหมากจะเป็นหลักฐานการกินหมากของคนไทยแล้ว เชี่ยนหมากและอุปกรณ์การกินหมากอื่นๆ เช่น เต้าปูน กรรไกรหนีบหมาก ตลับสีผึ้ง ตะบัน สิ่งเหล่านี้ เป็นงานศิลปหัตถกรรมที่แสดงให้เห็นความสามารถด้านการช่างของคนไทยในแต่ละภาคแต่ละท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี----------------------------------------------------------ผู้เรียบเรียง : นางสาววารุณี วิริยะชูศรี บรรณารักษ์ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ ----------------------------------------------------------ข้อมูลอ้างอิง วิบูลย์ ลี้สุวรณ. มรดกวัฒนธรมพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ : ต้นอ้อ 1999, 2544. เลขหมู่ 306.0899591 ว634ม
ชื่อเรื่อง อาการวตฺตสุตฺต (อาการวัตตสูตร)
สพ.บ. 371/1คประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 46 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา เทศน์มหาชาติ คาถาพัน ชาดก
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
องค์ความรู้เรื่อง : ที่มาของ "หลวงพ่อนาก"โดย : นายจตุรพร เทียมทินกฤต. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ ที่ห้องล้านนา ตึกประพาสพิพิธภัณฑ์ ขอเชิญท่านไปชมพระพุทธรูปองค์หนึ่ง “หลวงพ่อนาก” มีความงามพุทธศิลป์เป็นศิลปะสุโขทัย มีสังฆาฏิที่ยาวจรดพระนาภี ทรวดทรงเพรียวบางแต่ได้สัดส่วน แต่พระพักตร์และท่านั่งขัดสมาธิเพชรออกไปทางศิลปะล้านนา ในการหล่อพระพุทธรูปนิยมใช้สำริด มีส่วนผสมของ ทองแดง ดีบุก ทองคำ เงิน แต่จากการหล่อหลวงพ่อนากมีการใส่ส่วนผสมของทองแดงมากกว่า สีผิวของท่านออกสีแดงเรื่อๆ อาจจะโดยความตั้งใจทำให้เป็นโลหะผสมที่เรียกกันว่า “นาก”๑ หรือกะส่วนผสมผิด แต่ออกมาเป็นพระพุทธรูปที่งดงามเป็นเอกองค์หนึ่ง ก่อนที่จะมาอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ท่านมีประวัติความเป็นมาว่ามาจาก พ.ท.ปัจจุบันเป็นจังหวัดพะเยา โดยถูกนำมาจากโบราณสถานวัดป่าแดงหลวงดอนไชยบุญนาค(วัดป่าแดง(บุนนาค) ดังนี้. ก่อนอื่นต้องอธิบายสภาพโดยสังเขป “วัดป่าแดงหลวงดอนไชยบุญนาค” ตำบลท่าวังทอง อ.เมือง จ.พะเยา จากหลักฐานเดิมจากประวัติวัดป่าแดงของพระราชวิสุทธิโสภณ(พระอุบาลีคุณูปมาจารย์) วัดสองแห่งอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน โดยแยกจากออกจากกัน คือวัดป่าแดงหลวงดอนไชย กับวัดบุนนาค กลายเป็นวัดร้าง จึงมีการรวมพื้นที่เข้าเป็นวัดเดียวกันและบูรณะวัดขึ้นมาใหม่ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ ซึ่งภายในพื้นที่บริเวณวัดในปัจจุบันมีเนินโบราณสถานมากถึง ๒๕ เนินที่ยังไม่ได้ทำการขุดแต่งทางโบราณคดี ทางกรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๙๘ ตอนที่ ๑๗๗ ประกาศวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๗ พื้นที่ ๗๒ ไร่ ๑ งาน ๕๒ ตารางวา. วัดป่าแดงหลวงดอนไชย ตั้งอยู่บนส่วนยอดของเนิน ปัจจุบันได้มีก่อสร้างวิหารและเจดีย์ใหม่ทับบนฐานรากเดิมโดยมีแนวแกนของวัดวางตัวตามแนวตะวันออก-ตะวันตก เดิมเคยปรากฏแนวกำแพงล้อมรอบพื้นที่บริเวณวัด แต่ถูกรื้อทำลายจนเหลือแนวอิฐ ส่วน วัดบุนนาค ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ห่างออกไป ๒๐๐ เมตร ซึ่งแนวแกนของวัดกลับวางตัวตามแนวเหนือใต้ โดยองค์ประกอบสำคัญของวัดบุญนาค ประกอบด้วยเจดีย์ประธานซึ่งเป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัย คือมี ชั้นเขียง ๓ ชั้น (แต่ถูกซ่อมแซมไป) ที่องค์ระฆังมีมาลัยเถา ๓ ชั้น ซึ่งเป็นลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย องค์เจดีย์และอาคารทรงจัตุรมุข ได้มีการขุดแต่งทางโบราณคดีในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ และบูรณะในปีพ.ศ. ๒๕๓๒. ทางด้านทิศใต้ขององค์เจดีย์ห่างออกมาประมาณ ๓๐ เมตร มีเนินดินขนาดใหญ่ซึ่งจากประวัติเป็นสถานที่ค้นพบ จารึกหลักที่ พย.๙ ซึ่งมีข้อความ กล่าวถึง พระมหาเถรติกประหญา อารามาธิบดี วัดพญาร่วง ได้ทำบุญในปี พ.ศ. ๒๐๔๒ และอุทิศสิ่งของถวายวัด ซึ่ง พญาร่วง หรือพระยาร่วง เป็นคำที่นิยมใช้เรียกขาน กษัตริย์ของแคว้นสุโขทัย ซึ่งพระยาร่วง ในที่นี้(พะเยา) กล่าวจะหมายถึงใครไม่ได้ นอกจากพระเจ้ายุธิษฐิระ ซึ่งเป็นเจ้าเมืองสองแคว (พิษณุโลก) ที่ได้ผิดใจกับพระบรมไตรโลกนาถ ได้พาผู้คนมาเข้าด้วยพระเจ้าติโลกราช ในปี ๑๙๙๔(?) ศิลาจารึกหลักนี้ นายบุญรัตน์ ทิพย์มณี พบที่วัดบุนนาค จังหวัดพะเยา เหตุที่ได้ชื่อว่าวัดบุนนาค สันนิษฐานว่า มีต้นบุนนาคขึ้นอยู่ก่อน แต่ตำนานซึ่งเขียนในสมัยพระครูศรีวิลาสวชิรปัญญา ว่าชื่อ วัดพญาร่วง ต่อมานายบุญรัตน์ ทิพย์มณี ได้นำมามอบแก่พระโสภณธรรมมุนี (คือ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๖) อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ หรือหลวงพ่อใหญ่ ของชาวพะเยา ส่วนเนินดินขนาดใหญ่ที่กล่าว ต่อมาใน ปี ๒๕๔๘ ทางสำนักงานศิลปากรที่ ๗ น่าน(เดิม) ได้ทำการขุดค้นขุดแต่งทางโบราณคดี และบูรณะ ปี ๒๕๕๑. ใน ปี ๒๔๖๐ ได้เกิดเหตุร้ายเจดีย์ประธานองค์นี้จากบันทึกของ พระครูศรีวิราชปัญญา๒ เจ้าคณะเมืองพะเยา ว่า “ใน วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ ว่าพระเทพวงค์และธุเจ้าเทพ ได้ไปพบ หลักฐานจากซากหลงเหลือ จากผู้ร้ายมาลักขุดเจดีย์วัดบุนนาค มีหีบหินกว้าง ๓ ศอก ลึก ๓ ศอก พระเทพวงค์บอกได้ว่า มีการขุด วันเดือน ๑๒ ออก ๑๐ ค่ำ๓ ตรงกับวันที่เกิดเหตุ วันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๖๐ (ในขณะนั้นวัดร้างไม่มีการดูแล) และ มีการตามจับได้ที่บ้านร้อง อำเภองาว (อยู่ห่างออกไปทางทิศใต้กว่า ๓๐ กิโลเมตร) ซึ่งมีพระพุทธรูปองค์หนึ่ง เหลือรอดจากการถูกหลอม เป็นพระพุทธรูปโลหะผสม(สำริด แต่มีสัดส่วนทองแดงมากกว่าปรกติ)” ซึ่งต่อมาได้ยึดและจัดเก็บไว้ที่ ศาลจังหวัดเชียงราย๔. เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาส เชียงราย ในปี ๒๔๖๙ อำมาตย์ตรีหลวงอดุลยธารณ์ปรีชาไวท์ ผู้พิพากษาศาลเชียงรายทูลเกล้าถวาย ต่อมาได้พระราชทานให้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ คือพระพุทธรูปที่เรียกกันว่า หลวงพ่อนาก ปรากฏ ว่ามีจารึกที่บริเวณฐานขององค์พระ กล่าวถึงพระนามของ พระเจ้ายุธิษฐิราม เป็นผู้สร้างพระพทุธรูปองค์นี้ เมื่อ มศ. ๑๓๙๘ (พ.ศ. ๒๐๑๙) ในช่วงปลายรัชกาลพระเจ้าติโลกราช ได้มีความนิยมทำจารึกปีที่สร้างไว้ที่ส่วนฐาน สรุปความได้ว่า “ศักราช ๑๓๙๘ [ม.ศ. ๑๓๙๘ ตรงกับ พ.ศ. ๒๐๑๙ ] ในปีวอก เดือน ๓ ขึ้น ๑๕ ค่ำ วันอาทิตย์ อุตรภัทรนักษัตร โสริยาม พระราชาผู้เป็นใหญ่ทรงพระนาม พระเจ้ายุษฐิรราม เป็นพระราชาผู้ครองเมืองอภิวทรงประสูติในวงค์ของนักรบผู้กล้าหาญเป็นเยี่ยม ทรงประกอบด้วย(ทศพิธราช) ธรรม แตกฉานพระไตรปิฏก ได้ทรงสร้างพระพุทธรูปทอง (สำริด) องค์นี้มีน้ำหนักสิบสี่พัน(๑๔,๐๐๐) เพื่อดำรง(พระศาสนา) ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” เมื่อได้สอบทานช่วงเวลานั้น พระเจ้ายุธิษฐิระ ได้มาครองเมืองพะเยาแล้ว ได้ปรากฏในจารึก ลพ ๒๔ สรุปความได้ว่า “ในปี ๘๓๖( จศ.๘๓๖-พ.ศ. ๒๐๑๗) พระเจ้าติโลกราชให้พญาสองแควเก่า มากินเมืองพะเยา มาสร้างบ้านพองเต่าให้เป็นที่อยู่”. ถ้าท่านมีโอกาสไปเยี่ยมชม วัดบุนนาค ใต้ต้นไม้ใหญ่(มะม่วง?) อยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ ๓๐ เมตร ของเจดีย์ประธาน ที่โคนต้นพบแผ่นปูนซีเมนต์ มีการจารข้อความ ว่า “สถานที่ตรงนี้เหล่าคนร้ายได้พากันขุดองค์พระเจดีย์และนำพระทองคำหน้าตัก ๒๐ กว่านิ้ว ๔ องค์ ทำการหลอมเพื่อเอาทองคำเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐ วันที่ ๒๑ สิงหาคม เวลาหลอมตอนแรกไม่ละลายจึงพากันตั้งศาลเพียงตา อธิษฐานขอเกิดเป็นคนชาติเดียว...(อักษรเลือน)” เมื่อไปตรวจสอบเอกสารพบว่า ตรงกันกับเหตุการณ์การลักลอบขุดที่วัดบุนนาค มีเพียงครั้งเดียว สิงหาคม ๒๔๖๐ ตามบันทึกว่า “วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๒ จุลศักราช ๑๒๗๙ พุทธศักราช ๒๔๖๐ ตรงกับ รศ.๑๓๖ เวลาเช้า ๓ โมงเช้า(๐๙.๐๐ น.)” จึงอาจจะเป็นความสับสนวัน ปี ของผู้จาร แต่จากข้อความ ทำให้ว่าได้ทราบสูญเสียพระพุทธรูปที่มีขนาดใกล้เคียงกับหลวงพ่อนาค ไปให้กับความโลภของมนุษย์ ถึง ๔ องค์ สันนิษฐานว่าคงจะมีพุทธศิลป์ที่งามไม่ด้อยกว่าหลวงพ่อนาก ที่หลงเหลือให้อนุชนรุ่นหลังได้ชมเชิงอรรถ๑. นาก ในที่นี้เป็นคำนาม หมายถึง โลหะผสมชนิดหนึ่ง โดยเอาทองคำ เงิน กับทองแดงผสมเข้าด้วยกัน นิยมใช้ทำรูปพรรณต่าง ๆ เป็นวิเศษณ์ หมายถึง เรียกสีอย่างสีทองปนแดง เช่น ชมพู่สีนาก เป็นต้น๒.พระครู วิลาสวชิรปัญญา (ปินตา ชอบจิต 2404-2487)”ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะแขวงเมืองพะเยา (ในอดีตพะเยามีฐานะเป็นอำเภอหรือแขวงหนึ่งของจังหวัดเชียงราย) ระหว่าง พ.ศ. 2404-2487 นอกจากนี้ ยังเป็นเจ้าอาวาสวัดหัวข่วงแก้ว วัดราชคฤห์ และเจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ (วัดพระเจ้าตนหลวง) มีรวบรวมเก็บไว้ที่หอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคำ มีจำนวน 11 เล่ม เป็นการบันทึกประจำวัน เหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับพิธีกรรมศิลปวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น รวมถึงการปกครองคณะสงฆ์ ด้วยอักษรธรรมล้านนาในกระดาษฟุลสแก็ปที่เย็บเป็นเล่ม ได้มีคุณประโยชน์แก่ชนรุ่นหลังเหลือคณานับ๓.นับตามปฏิทินจันทรคติล้านนา จะแตกต่างกับทางภาคกลาง(จุลศักราชไทย) นับเร็วกว่าประมาณ ๒ เดือน๔. อำเภอพะเยาได้ยกฐานะขึ้นเป็น จังหวัดพะเยา แยกจาก จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2520-อ้างอิง-คณะกรรมจัดทำหนังสือวัดป่าแดงบุนนาค(ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์). ตำนานพระธาตุป่าแดงหลวงดอนไชยและพระรัตนบุนนาคไชยปราการ.พะเยา,กอบคำการพิมพ์.พระธรรมวิมลโมลี.เมืองพะเยาจากตำนานและประวัติศาสตร์.พะเยา:๒๕๔๖.พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ “ หลวงพ่อนาก พระพุทธรูปพระเจ้ายุธิษฐิระ” ศิลปากร ปีที่ ๔๖ ฉบับที่ ๑ (มกราคม-กุมภาพันธ์) ๒๕๔๖.๑๐๕-๑๑๔.สุจิตต์ วงษ์ เทศ บรรณาธิการ.(๒๕๓๘). ประชุมจารึกเมืองพะเยา. กรุงเทพฯ: บริษัทพิฆเณศ พริ้นติ้งเซ็นเตอร์.
สุจิตต์ วงษ์ เทศ บรรณาธิการ.ประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม เมืองพะเยา. กรุงเทพฯ: บริษัทพิฆเณศ พริ้นติ้งเซ็นเตอร์.