ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,393 รายการ



           เครื่องประดับทองรูปทรงคล้ายมกุฎ ส่วนฐานเป็นวงแหวนซึ่งทำด้วยการนำทองเม็ดเล็กๆ มาติดกันไว้ (Granulated gold beads) ส่วนบนทำเป็นทรงกรวยคล้ายเครื่องประดับศีรษะ คือ “มกุฎ” ทอง ถือเป็นวัตถุดิบที่มีค่า หายาก เครื่องประดับทองได้ถูกค้นพบในเมืองท่าโบราณในภาคใต้ของประเทศไทยทั้งทางฝั่งอันดามันและอ่าวไทย เช่น แหล่งโบราณคดีภูเขาทอง จังหวัดระนอง แหล่งโบราณคดีคลองท่อมจังหวัดกระบี่ แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว จังหวัดชุมพร แหล่งโบราณคดีโคกทองจังหวัดสงขลา รูปทรงของเครื่องประดับที่พบมีหลากหลาย เช่นลูกปัดทองแบบรูปไข่ (Oval) ลูกปัดทองแบบกลม (Globular) ลูกปัดทองแบบเม็ดกลมต่อกันเป็นปล้อง ๆ (Segmented bead) ลูกปัดทองแบบวงแหวน (Annular) และแหวนทอง เป็นต้น           สำหรับเครื่องประดับทองคำชิ้นนี้พบจากแหล่งโบราณคดีบ้านบางกล้วย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเมืองท่าโบราณภูเขาทอง เจริญอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๖ - ๙ ลักษณะเด่นของโบราณวัตถุชิ้นนี้คือส่วนฐานของเครื่องประดับที่ทำเป็นรูปวงแหวน ซึ่งเป็นการนำทองเม็ดเล็กๆ มาติดกัน และยังพบเครื่องประดับที่นำลูกปัดทอง มาใช้ในลักษณะเช่นนี้รูปแบบอื่นๆ ที่ภูเขาทองอีกด้วย ในภาคใต้ยังพบเครื่องประดับทองรูปแบบนี้ที่เมืองท่าโบราณอื่นๆ อาทิ เขาสามแก้วและโคกทอง สำหรับในต่างประเทศพบที่เมืองตักศิลาประเทศอินเดีย และที่ประเทศอิหร่าน           จากข้อมูลที่ได้กล่าวมานั้นแสดงให้เห็นว่าเครื่องประดับทองที่ทำด้วยการนำทองเม็ดเล็กมาต่อติดกัน เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการเชื่อมโยงท่าการค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เกิดขึ้นในอดีต และจากรูปแบบของเครื่องประดับทองชิ้นนี้ซึ่งมีความงดงามและละเอียดมาก จึงเป็นไปได้ว่าเครื่องประดับทองชิ้นนี้คงถูกนำเข้ามาจากต่างแดนมาสู่เมืองท่าโบราณภูเขาทองในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๖ – ๙ ---------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง


ชื่อผู้แต่ง          กรมศิลปากร ชื่อเรื่อง           รายงานการสำรวจโบราณสถานในกรุงรัตนโกสินทร์ ประเภทวัง ศาลเจ้า อนุสาวรีย์ อาคารร้านค้า ครั้งที่พิมพ์        - สถานที่พิมพ์      กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์        กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์          ม.ป.ป จำนวนหน้า      255   หน้า รายละเอียด           รายงานการสำรวจโบราณสถานในกรุงรัตนโกสินทร์ ประเภทวัง ศาลเจ้า อนุสาวรีย์ อาคารร้านค้านี้ เป็นการเสนอข้อมูลเบื้องต้นของโบราณสถาน 4 ประเภทคือ วัง ศาลเจ้า อนุสาวรีย์และอาคารร้านค้าในแง่ของประวัติ ความเป็นมาและความสำคัญในอดีต ลักษณะทางสถาปัตยกรรม สภาพปัจจุบันและการเปลี่ยนแปลงซึ่งจะเป็นแนวทางในการจัดทำแผนงานในชั้นการอนุรักษ์ต่อไป พร้อมแผนผังและ     ภาพประกอบ    



องค์ความรู้ เรื่อง ทารกาภิบาล ของหลวงมงคลรัตน์ (ช่วง ไกรฤกษ์)  ตำราครรภ์รักษาและการเลี้ยงดูเด็กอ่อนแผนโบราณฉบับร้อยกรอง ก่อนได้รับอิทธิพลการแพทย์แบบตะวันตก จัดทำข้อมูลโดย นางสาวชนิดา สีหามาตย์ นักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ กลุ่มภาษาและวรรณกรรม สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์


ผู้แต่ง : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพฉบับพิมพ์ : - สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : ม.ป.พ. ปีที่พิมพ์ : 2478 หมายเหตุ : พิมพ์แจกในงานปลงศพ นางหุ่น แผลงอัคเณย์ ณ วัดน้อยนพคุณ บางซื่อ พระนคร เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2478                    เป็นปาฐกถากล่าวถึงหลักของพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าได้นำมาสั่งสอนแก่คนทั้งหลาย และมูลเหตุแห่งการสร้างวัดตามประเพณีอันมีมาตั้งแต่ก่อนพุทธกาล


ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 41 เรื่องจดหมายเหตุของพ่อค้าฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาตั้งครั้งกรุงศรีอยุธยา ตอนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภาคที่ 2.  พิมพ์ครั้งที่ 2. พระนคร: โรงพิมพ์ ส่วนท้องถิ่น, 2508. กระทรวงมหาดไทย พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นาวาเอกหลวงศุภชลาศัย (บุง  ศุภชลาศัย) วันที่ 4 พฤศจิกายน 2508 คำแปลจดหมายเหตุของคณะพ่อค้าฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาตั้งครั้ง กรุงศรีอยุธยาภาค 2 นี้ นับเป็นประชุมพงศาวดารภาคที่ 41 ได้ขอคัดภาษาฝรั่งเศส มาจากประเทศฝรั่งเศส ในพ.ศ. 2463  จดหมายเหตุ เล่มนี้ว่าโดยรูปเรื่องที่เกี่ยวกับพงศาวดาร ก็คล้ายกับจดหมายเหตุคณะบาทหลวงฝรั่งเศส ผิดกันแต่ความมุ่งหมาย ถ้าเป็นของคณะบาทหลวง จะมุ่งหมายในการสอนศาสนามากกว่า มีเหตุการณ์อันใดที่เกี่ยวกับศาสนาก็จดบันทึกไว้ ส่วนประวัติเหตุการณ์บ้านเมือง ใครรู้เห็นอย่างไรก็จดบันทึกไปตามนั้น ซี่งสามารถให้ความรู้ในพงศาวดารสมัยนั้น959.3035 ป517ปศ


๐ ๒๑ ตุลาคม ๒๔๔๓ วันพระราชสมภพ “สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี” หรือ “สมเด็จย่า” ของพสกนิกรชาวไทย ๐ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงเป็นพระบรมราชชนนีของพระมหากษัตริย์ไทยแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ๒ พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐม รามาธิบดินทร รัชกาลที่ ๘ และ พระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 และ สมเด็จ พระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวง นราธิวาสราชนครินทร์ ทั้งเป็นพระอัยยิกา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหา วชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ ๐ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงได้รับการยกย่องเป็นพระราชมารดาที่ประเสริฐสุด โดยทรงอภิบาลอบรมพระราชธิดาและพระราชโอรสทั้ง ๓ พระองค์ ด้วยพระองค์เองอย่างดีเยี่ยมทั้งด้านพระราชจริยวัตร การศึกษา การอบรมขัดเกลาพระกิริยาอัธยาศัย ทรงเอาพระราชหฤทัยใส่ในกิจการทุกเรื่องจนพระมหากษัตริย์ทั้ง ๒ พระองค์  ๐ พระราชกรณียกิจที่พระองค์ทรงปฏิบัติตลอดพระชนม์ชีพ ได้สร้างคุณูปการแผ่ไพศาลต่อแผ่นดินไทยมากมายไม่ว่าจะด้านบริหารราชแผ่นดิน ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ด้านการศึกษาของเยาวชนในชนบทไทยและงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ๐ ด้วยพระจริยวัตรที่เปี่ยมไปด้วยพระเมตตา พระกรุณาธิคุณ “สมเด็จย่า” จึงทรงเป็นที่รักใคร่เลื่อมใสศรัทธาและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่พสกนิกรทั้งแผ่นดิน --------------------------------------------------------------- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ (หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. โทรศัพท์ : ๐๕๓-๒๒๑๓๐๘ e-mail : cm_museum@hotmail.com


ชื่อเรื่อง                           กฐินทานานิสํสกถา (อานิสงส์กฐิน)สพ.บ.                             183/1กประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           38 หน้า กว้าง 4.6 ซ.ม. ยาว 54.4 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 อานิสงส์กฐินบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับทองทึบ ภาษาบาลี-ไทย ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                                สตฺตปฺปกรณภิธมฺมเทสนา (เทศนาสังคิณี-ยมก)สพ.บ.                                  127/1ขประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           48 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 ธรรมเทศนา บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดประสพสุข ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี



ชื่อเรื่อง                                ปฐมสมฺโพธิ (ปฐมสมโพธิกถา)สพ.บ.                                  161/4ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           42 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 55 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           พระพุทธเจ้า บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี



องความรู้ เรื่อง ทับหลัง วัดศรีสวาย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จัดทำข้อมูลโดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง


Messenger