ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,380 รายการ
ศูนย์หนังสือกรมศิลปากร ขอมอบของขวัญปีใหม่ “ให้หนังสือเท่ากับให้ปัญญา” มอบหนังสือแด่คนที่ท่านรัก พบกับหนังสือประวัติศาสตร์ โบราณคดี พิพิธภัณฑ์ สถาปัตยกรรม ช่างศิลป์ไทย ภาษา หนังสือ วรรณกรรม และนาฏศิลป์ ดนตรี นำมาลดราคาหนังสือสูงสุด ๒๐% ระหว่างวันที่ ๑๕ ธ.ค.๖๗ - ๑๕ ม.ค.๖๘ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๓๐ น. ณ ร้านหนังสือกรมศิลปากร ชั้น ๑ อาคารเทเวศร์ หรือสามารถสั่งซื้อหนังสือทางออนไลน์ได้ที่ https://bookshop.finearts.go.th สอบถามเพิ่มเติม โทรศัพท์ ๐-๒๑๖๔-๒๕๐๑ ต่อ ๑๐๐๔ หรือ Facebook ศูนย์หนังสือกรมศิลปากร (ในวันและเวลาราชการ)
***บรรณานุกรม***
แสง มนวิทูร
ชินกาลมาลีปกรณ์ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นางพงษ์สวัสดิ์ สุริโยทัย ณ เมรุวัดธาตุทอง 15พฤศจิกายน พุทธศักราช 2518
กรุงเทพฯ
โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ
2518
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 กรกฎาคม 2560 เวลา 09.00 น. นายนิมิต วันไชยธนวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท และนางจุฬารัตน์ วันไชยธนวงศ์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดชัยนาท พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการและประชาชนชาวชัยนาท ได้ร่วมกันห่มผ้าพระธาตุเจดีย์เนื่องในเทศกาลวันเข้าพรรษา ณ วัดพระบรมธาตุวรวิหาร อำเภอเมืองชัยนาท เป็นการสักการบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รวมทั้งสร้างความสามัคคี และเชื่อมโยงพุทธศาสนิกชนให้ใกล้ชิดกับพุทธศาสนาให้มากยิ่งขึ้น
โดยประเพณีนี้ชาวจังหวัดชัยนาทได้จัดต่อเนื่องกันมาเป็นประจำทุกปี และเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของชาวชัยนาทอีกประเพณีหนึ่ง เพราะเชื่อว่า หากทำการห่มผ้าพระธาตุเจดีย์แล้วจะมีความเจริญรุ่งเรืองและเป็นสิริมงคลกับตนเองและครอบครัว ซึ่งวัดพระบรมธาตุวรวิหาร มีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ในองค์พระเจดีย์ ในอดีตวัดแห่งนี้เคยเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และประกอบพิธีพุทธาภิเษกของพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ โดยถือกันว่าน้ำหน้าวัดเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่นำไปใช้ในพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาอีกแห่งหนึ่ง และภายในวิหารมีบ่อน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ที่มีน้ำออกมาตามธรรมชาติ
อบรมผู้ใช้งานระบบสัมมนาออนไลน์ ในวันที่ 30 มีนาคม 2556
ตั้งแต่เวลา 9.00 - 16.00 โดยเจ้าหน้าที่บริษัท เอ็มเวิร์ค กรุ๊ป จำกัด
สถานที่ : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
ติดต่อ : เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์
โทรศัพท์ 02-2222222
วันเสาร์ที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ บุคลากรพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน และ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ สาขาเชียงแสน จัดกิจกรรมรณรงค์การดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราช กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี วันที่ ๒ เมษายน และเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๓ โดยจัดกิจกรรมทำความสะอาดพื้นที่โดยรอบและภายในอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ สาขาเชียงแสน และ โบราณสถานวัดป่าสัก ตามมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus disease ๒๐๑๙) COVID-๑๙
ในการนี้ได้มีการพ่นยาฆ่าเชื้อไวรัสบริเวณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน และสำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี ๒๕๖๓ เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ติดต่อราชการ
อบรมผู้ใช้งานระบบสัมมนาออนไลน์ ในวันที่ 28 มีนาคม 2556
ตั้งแต่เวลา 9.00 - 16.00 โดยเจ้าหน้าที่บริษัท เอ็มเวิร์ค กรุ๊ป จำกัด
ชื่อวัตถุ ชิ้นส่วนกลองมโหระทึก
ทะเบียน ๒๗/๒๘๙/๒๕๓๒
อายุสมัย ๒๐๐ปีก่อนพุทธกาล -พุทธศตวรรษที่ ๕ (๒,๑๐๐-๒,๗๐๐ ปีมาแล้ว)
วัสดุ สำริด
ประวัติ ไม่ปรากฏประวัติเดิม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง รับมาจากคลังพิพิธภัณฑ์ เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๒
สถานที่เก็บรักษา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง
“ชิ้นส่วนกลองมโหระทึก”
ชิ้นส่วนหน้ากลองโหระทึกมีสถาพไม่สมบูรณ์ บนหน้ากลองมีลวดลายต่างๆ มีลายพระอาทิตย์อยู่ตรงกลาง และลายอื่นๆ อาทิ ลายเรขาคณิต อาคารบ้านเรือน ลายสัตว์ อาทิ เสือ และนก บนหน้ากลองยังมีประติมากรรมลอยตัวเป็นรูปหอยติดอยู่อีกด้วย
กลองโหระทึก หมายถึง กลองที่ทำจากโลหะที่ผสมด้วยทองแดง ดีบุก และตะกั่ว สำหรับกลองมโหระทึกชิ้นนี้เป็นกลองที่พบมากในวัฒนธรรมดองซอน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่เจริญอยู่ทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ในช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ราวก่อนพุทธศตวรรษที่ ๒ – พุทธศตวรรษที่ ๗ (๑,๙๐๐ - ๒,๗๐๐ ปีมาแล้ว) และยังพบมากในทางตอนใต้ของประเทศจีนอีกด้วย ในประเทศเวียดนามได้พบหลักฐานการใช้กลองมโหระทึกขนาดเล็กเป็นเครื่องอุทิศให้กับคนตาย ส่วนกลองขนาดใหญ่มีการศึกษาตีความจากลวดลายว่าอาจใช้ในพิธีกรรมต่างๆ เช่น พิธีเฉลิมฉลอง และเพื่อความอุดมสมบูรณ์ เป็นต้น
กลองมโหระทึกเป็นสิ่งของล้ำค่าในวัฒนธรรมดองซอน ของเวียดนาม ทั้งนี้ ได้พบกลองมโหระทึกกระจายอยู่ในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงในประเทศไทยและในพื้นที่ภาคใต้ซึ่งพบกลองมโหระทึกแบบ เฮเกอร์ ๑ โดยพบในแหล่งโบราณคดีที่เจริญอยู่ในช่วงสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ พุทธศตวรรษที่ ๓ – ๙ (๑,๗๐๐ – ๒,๓๐๐ ปีมาแล้ว) โดยพบมากในฝั่งอ่าวไทยที่จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และสงขลา ส่วนฝั่งอันดามันพบที่แหล่งโบราณคดีควนลูกปัด (คลองท่อม) จังหวัดกระบี่ ซึ่งอาจจะเป็นชิ้นส่วนกบที่ติดอยู่บนหน้ากลองมโหระทึก
ชิ้นส่วนหน้ากลองมโหระทึกชิ้นนี้ไม่ปรากฏแหล่งที่มา แต่ก็เป็นหลักฐานสำคัญทางโบราณคดีโดยเฉพาะลาดลายบนหน้ากลองซึ่งมีรูปบ้านเรือน ซึ่งเป็นข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงอาคารหรือที่พักอาศัยของคนในสมัยก่อนเมื่อ ๑,๙๐๐ - ๒,๗๐๐ ปีมาแล้ว ซึ่งน่าจะเป็นรูปแบบที่พักของผู้คนในวัฒนธรรมดองซอนซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ผลิตกลองมโหระทึก ทั้งนี้ ได้พบหลักฐานการผลิตกลองมโหระทึกที่แหล่งโบราณคดีโนนหนองหอ จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งเป็นข้อมูลการค้นพบใหม่ที่น่าสนใจศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
เอกสารอ้างอิง
- กรมศิลปากร.ศัพทานุกรมโบราณคดี.กรุงเทพ : บริษัท รุ่งศิล์ปการพิมพ์ จำกัด, ๒๕๕๐.
- เขมชาติ เทพไชย.“กลองมโหระทึก : ที่พบในภาคใต้.” สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ พ.ศ.๒๕๒๙ เล่ม ๑. กรุงเทพ: อมรินทร์การพิมพ์, ๒๕๔๒.
- ธราพงศ์ ศรีสุชาติ, “เขาสามแก้ว : ชุมชนโบราณ” สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ พ.ศ.๒๕๒๙ เล่ม ๑.กรุงเทพ : สถาบันทักษิณคดี,๒๕๒๙: ๓๘๘ - ๓๙๖.
-เมธินี จิระวัฒนา.กลองมโหระทึกในประเทศไทย.กรุงเทพ : บริษัท อาทิตย์ โพรดักส์ กรุ๊ป จำกัด , ๒๕๕๐.
- Tingley, N.. Art of ancient Viet Nam :Fron river plain to open sea. Germany : E&B Engelhardt und Bauer, ๒๐๑๐.
- สุกัญญา เบาเนิด. หลักฐานสำคัญจากแหล่งโบราณคดีเนินหนองหอ จ.มุกดาหาร. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม ๒๕๖๐, จาก http://www.finearts.go.th
วันเสาร์ที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๓ เวลา ๑๐.๔๐ น. นักชั้นประถมศึกษาที่ ๑ ถึงชั้นมัธยมศึกษาที่ ๓ โรงเรียนบ้านหนองแวง ตำบลหนองแวง อำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์ นักเรียนจำนวน ๖๕ คน คุณครูจำนวน ๑๐ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมี นางถนอม หลวงกลาง พนักงานประจำห้อง ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม
ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ