ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,380 รายการ

องค์ความรู้ : ภาพเก่าจากฟิล์มกระจกOld Picture from Glass Plate Negativesพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญที่ทุ่งพญาไท ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของพระราชวังพญาไท (ปัจจุบันคือโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า)The Royal Ploughing Ceremony at Thung Phaya Thai field, south of Phya Thai Palace (It is now Phra Mongkutklao Hospital)ภาพ/ข้อมูล : หนังสือฟิล์มกระจกฉลองมรดกความทรงจำแห่งโลก



องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “เงาะ พันธุ์สีชมพู และ เงาะโรงเรียน” เงาะ เป็นผลไม้ปลูกกันมากในจันทบุรี นอกเหนือจากทุเรียน ช่วงนี้กำลังมีผลผลิตออกสู่ท้องตลาด ทั้งเงาะ พันธุ์สีชมพู และเงาะโรงเรียน เราจะมาทำความรู้จักกับ “เงาะ” ผลไม้ที่ชาวสวนจันทบุรีปลูกกัน “เงาะ” เป็นผลไม้ที่ทุกคนรู้จักกันดี ที่ปัตตานีบางคนจะเรียกเงาะว่า “พรวน” อังกฤษเรียก “รัมบูตาน” ตามอินโดนีเซีย (รัมบุท แปลว่า ขน) ฟิลิปปินส์เรียก รัมบูตาน บ้าง ยูซาน (Usan) บ้าง เขมรเรียก “ซาวมาว” เวียดนามเรียก “ไหวทิว” (Vai thieu) เงาะในธรรมชาติเป็นต้นไม้สูงใหญ่ สูงได้กว่า 10 เมตร แต่เงาะปลูกจะสูงได้ประมาณ 4 – 7 เมตร แผ่กิ่งก้านสาขา รัศมีพุ่มประมาณ 4 – 5 เมตร เงาะปลูกส่วนมากมีใบเพียง 3 คู่ ด้านบนเกลี้ยง บางครั้งก็มีขนอ่อนเล็กน้อยที่เส้นกลางใบ ด้านล่าง (ใต้ใบ) มีขนบ้าง ไม่มีขนบ้าง ปลายใบตัดเรียวแหลม เส้นใบเห็นเด่นชัด ยอดอ่อนมีขน ช่อดอก มีทั้งที่แทงออกจากยอดเทียม (ตามด้านข้างกิ่ง) และยอดแท้ (ปลายกิ่ง) ดอกถ้าไม่เป็นดอกเพศผู้ ก็เป็นดอกเพศกระเทย ชาวสวนเรียกเงาะกระเทย หรือเงาะตัวเมีย ชาวสวนจันทบุรีนิยมปลูกเงาะอยู่ 2 พันธุ์ คือ พันธุ์สีชมพู ซึ่งเป็นเงาะพันธุ์พื้นเมืองที่มีแหล่งกำเนิดดั้งเดิมในจันทบุรี เนื้อนุ่มหวาน เมื่อสุกผลจะมีสีชมพูทั้งลูกและขนสวยสดชื่นยิ่งนัก อีกพันธุ์ คือ เงาะโรงเรียน ซึ่งมีถิ่นกำเนิดที่อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี และมีผู้นำมาปลูกในจังหวัดจันทบุรี เมื่อราวปี พ.ศ. 2505 – 2510 ลักษณะของผลเงาะโรงเรียน จะใหญ่กว่าเงาะสีชมพู เนื้อนุม กรอบ หวาน หอม เมื่อสุกผลจะมีสีแดงเข้มแซมด้วยขนสีแดงอมเขียว ราคาซื้อขายสูงกว่าพันธุ์เงาะสีชมพู แต่ให้ผลผลิตต่อต้นน้อยกว่าเงาะพันธุ์สีชมพู และการบำรุงรักษาเมื่อติดลูกจนกระทั่งถึงเก็บเกี่ยวค่อนข้างสิ้นเปลืองและยากกว่าพันธุ์สีชมพู อ้างอิง : ที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี : อัมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ. 2533. ไพโรจน์ ผลประสิทธิ์. ผลไม้ไทยๆ : สำนักนายกรัฐมนตรี. 2545 ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี


          วัดห้วยเสือ ตั้งอยู่ ณ บ้านห้วยเสือ หมู่ที่ 5 ตำบลสมอพรือ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งจากการเข้าไปสำรวจพบว่าวัดแห่งนี้มีการรวบรวมภาพจิตรกรรม โดยเป็นเรื่องราวของ “พระเวสสันดรชาดก” ชาติที่ 10 ของเรื่องราว “ทศชาติชาดก” หรือก็คือ 10 ชาติ ของการเล่าเรื่องราวการที่พระพุทธเจ้าทรงเวียนว่ายตายเกิด จนเป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย ซึ่งในปัจจุบันภาพดังกล่าวได้ถูกจัดเก็บไว้เป็นอย่างดี ณ วัดห้วยเสือ เพื่อเป็นการดำรงและรักษาภาพจิตรกรรมการแสดงคำสอนอันดีงามและเรื่องราวความเป็นมาทางพุทธศาสนาให้คงอยู่ต่อไป             สำหรับ ทศชาติ เรื่อง “พระเวสสันดรชาดก” ว่าด้วยเรื่อง 13 กัณฑ์ ถือได้ว่าเป็นเรื่องราวที่รู้จักมากที่สุดและมีความสำคัญมากที่สุดในบรรดาทศชาติชาดกทั้ง 10 ตอน และเป็นสาเหตุที่เวสสันดรชาดกถูกยกให้เป็นมหาชาตินั้น ก็เนื่องจากชาดกเรื่องนี้ถือเป็นพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนจะได้เป็นพระพุทธเจ้า อีกทั้งยังเป็นพระชาติที่ทรงบำเพ็ญบารมีครบทั้ง 10 ประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ทานบารมี” ที่ทรงบริจาคทุกสิ่งทุกอย่างทุกอย่าง แม้แต่ภรรยาและบุตรของตนเองก็บริจาค ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ทำได้ยากและเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ที่สุด            นอกจากนั้น สาเหตุที่ “พระเวสสันดรชาดก” นั้นเป็นที่ยกย่องและน่าเลื่อมใส เพราะเรื่องเวสสันดรชาดกนั้นมีคุณค่าที่สามารถนำไปประยุกต์เข้ากับชีวิตประจำวันได้ทุกระดับ โดย 13 กัณฑ์ ของเรื่องราว “พระเวสสันดรชาดก” สามารถศึกษาเเละทำความเข้าใจเพิ่มเติมได้ ดังนี้             เอกสารเเละหลักฐานสำหรับการสืบค้น           1. วัดห้วยเสือ, ภาพจิตรกรรม ทศชาติ เรื่อง “พระเวสสันดรชาดก” ว่าด้วยเรื่อง 13 กัณฑ์.           2. เจริญ ไชยชนะ.  (2502),  มหาเวสสันดรชาดก ฉบับ 5 กัณฑ์.  กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ ไชยวัฒน์.           3. กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม.  (2561),  เทศน์มหาชาติมหากุศล.  กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.           4. ทิวาวรรณ อายุวัฒน์.  (2561).  ““ทศชาติชาดก 101”, ใน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี (ผู้รวบรวม), บทความทางวิชาการ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี.  (หน้า 1).  นครปฐม :มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.


ชื่อเรื่อง                         มหานิปาต(เวสฺสนฺตรชาดก)ชาตกปาลิขุทฺทกนิกาย(คาถาพัน)อย.บ.                            170/2กหมวดหมู่                       พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                  68 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง                         มหาเวสสันดรชาดก                                                               บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา


ชื่อเรื่อง                      ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏธกถา ขุทฺทกนิกายฏธกถ (ธมฺมปทขั้นปลาย)อย.บ.                           240/2หมวดหมู่                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ               56 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ; ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง                        พุทธ                                      ศาสนา                                                           บทคัดย่อ/บันทึก     เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ


         พระบรมสาทิสลักษณ์  พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ  พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงรับการถวายน้ำพระพุทธมนต์จากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก  เมื่อวันเสาร์ที่  ๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒  ณ ชาลาพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน          เทคนิค : สีฝุ่นบนตาลปัตร          ศิลปิน : นายกฤษฎา  กันต์แจ่ม             ตำแหน่ง : จิตรกร          กลุ่มงาน : กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร          ผลงานศิลปกรรมออกแบบและจัดสร้างโดย  กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖  เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร)          การเขียนพระบรมสาทิสลักษณ์ด้วยเทคนิคการเขียนสีฝุ่นบนตาลปัตรชิ้นนี้  จิตรกรได้บันทึกประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  ในวันเสาร์ที่ ๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จออกจากหอพระสุราลัยพิมานเข้ายังพระที่นั่งไพศาลทักษิณ  โดยริ้วขบวนพราหมณ์  เสด็จฯ ไปยังมณฑปพระกระยาสนาน  ณ ชาลาพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน  เมื่อเสด็จฯ ถึงทรงจุดธูปเงินเทียนทอง  สังเวยเทวดากลางหาว  แล้วเสด็จขึ้นมณฑปพระกระยาสนาน  ประทับเหนือตั่งอุทุมพรราชอาสน์  แปรพระพักต์สู่ทิศบูรพาเพื่อสรงพระมุรธาภิเษก  ทรงรับการถวายน้ำพระพุทธมนต์จากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก     ผู้ที่สนใจขั้นตอนการการเขียนสีฝุ่นบนตาลปัตร สามารถเข้าชมวีดิทัศน์ได้ทางลิ้งค์ด้านล่าง https://datasipmu.finearts.go.th/knowledge/26  


องค์ความรู้ : สำนักการสังคีต เรื่อง โขนพบโนรา มรดกวัฒนธรรมบนวิถีสืบสานและสร้างสรรค์ โขนพบโนรา มรดกวัฒนธรรมบนวิถีสืบสานและสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการแสดงนาฏศิลป์และดนตรีสัญจรของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร โดยมีเป้าหมายในการเดินทางไปจัดการแสดงยังพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วภูมิภาค โดยการเดินทางสัญจรไปจัดการแสดงที่ภาคใต้เมื่อปี ๒๕๖๖ ได้เพิ่มความแปลกใหม่และท้าทาย ด้วยการนำ “โขน” และ “โนรา” สองศิลปะการแสดงที่มีรากวัฒนธรรมหยั่งลึก ซึ่งได้รับการประกาศรับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติอย่างเป็นทางการ จากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) มาจัดแสดงบนเวทีเดียวกัน ภายใต้การนำเสนอวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ ชุดรามมกุฎอยุธยา กำกับการแสดงโดยปกรณ์ พรพิสุทธิ์ นาฏศิลปิน (ด้านอำนวยการแสดง) “โขน” กำเนิดมาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ กระบี่กระบอง และหนังใหญ่ เป็นนาฏกรรมเก่าแก่ที่มีแบบแผนสืบมาแต่โบราณ ผ่านการพัฒนาแก้ไขปรับปรุงให้ประณีตงดงามขึ้นตามลำดับ ผู้แสดงเป็นตัวยักษ์และลิงสวมหัวโขนปิดหน้า ผู้แสดงตัวพระ – นาง ซึ่งสมมติเป็นเทพบุตร เทพธิดา และมนุษย์ ชาย หญิง สวมศิราภรณ์ประดับศีรษะ แสดงท่าเต้นและรำไปตามบทพากย์ - เจรจา บทร้อง และเพลงหน้าพาทย์ โดยมีวงปี่พาทย์บรรเลงประกอบการแสดง เว้นแต่ตัวแสดงที่เป็นตัวตลกจะเป็นผู้เจรจาเอง “โนรา” ศิลปะการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ที่มีลีลาการร่ายรำที่งดงาม แข็งแรง กระฉับกระเฉง ประกอบการขับกลอนด้วยท่วงทำนองที่ไพเราะ มีลูกคู่และดนตรีร้องรับด้วยจังหวะที่คึกคักฉับไวอันเป็นเอกลักษณ์ มีรากมาจากพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์เพื่อบูชาวิญญาณบรรพชนและมีความผูกพันกับวิถีชีวิตคนใต้มาอย่างช้านาน โขนพบโนรา นับเป็นมิติใหม่แห่งการแสดงที่ผสานร่วมมือกันในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เชื่อมร้อยมรดกวัฒนธรรมให้เป็นหนึ่งเดียว โดยความร่วมมือระหว่างสำนักการสังคีต กรมศิลปากร และมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา ได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ ศิลปินแห่งชาติประจำปี ๒๕๖๔ สาขาศิลปะการแสดง (โนรา) มารับบทเป็นพระอินทร์แปลง และร่วมออกแบบบทร้อง เพลงดนตรี สร้างสรรค์ผสมผสานท่ารำโนราให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่องที่เป็นแกนหลัก แสดงร่วมกันระหว่างนาฏศิลปินจากสำนักการสังคีต และผู้แสดงโนราจากมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา กระบวนการจัดทำบทการแสดงโขนพบโนรา เรื่องรามเกียรติ์ ชุดรามมกุฎอยุธยา เริ่มจากการจัดทำบทโขนขึ้นเป็นหลัก โดยจรัญ พูลลาภ นักวิชาการละครและดนตรีชำนาญการพิเศษ สำนักการสังคีต เป็นผู้ปรับปรุงบทการแสดงในตอนศึกอินทรชิตแผลงศรพรหมาสตร์จากบทเดิมของกรมศิลปากร ซึ่งนำมาจากบทคอนเสิร์ตพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า ฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ด้วยเป็นตอนที่มีความเหมาะสมที่จะนำไปร้อยเรียงเป็นบทการแสดงโขนร่วมกับโนรา โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ ศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์เรียบเรียงบทชมช้างเอราวัณและระบำหน้าช้างในส่วนของโนรา โดยปรับทำนองและคำร้องเพลงกลอนโนราตั้งแต่ช่วงอินทรชิตแปลงกายเป็นพระอินทร์ - อินทรชิตแผลงศรพรหมาสตร์ให้เป็นทางโนราได้อย่างลงตัว สวยงาม สะท้อนถึงอัตลักษณ์ของทั้งสองศิลปะได้เป็นอย่างดี โขนพบโนรา เรื่องรามเกียรติ์ ชุดรามมกุฎอยุธยา จัดแสดงครั้งแรกวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๖๖ ณ ศูนย์ประชุมเฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบ พระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง เนื้อเรื่องกล่าวถึง ทศกัณฐ์มีบัญชาให้กาลสูรไปแจ้งแก่อินทรชิตให้ทำพิธีชุบศรพรหมาสตร์ อินทรชิตแปลงกายเป็นพระอินทร์ และสั่งให้ไพร่พลแปลงกายเป็นเทวดา นางฟ้า นาค ฤษี และขบวนเกียรติยศ การุณราชแปลงเป็นช้างเอราวัณ เคลื่อนขบวนจับระบำรำฟ้อนไปในอากาศทำกลลวงให้ฝ่ายกองทัพพระลักษมณ์หลงกล เมื่อสบโอกาส อินทรชิตจึงแผลงศรพรหมาสตร์ถูกพระลักษมณ์และพลวานรสลบไป ต่อมาพิเภกได้บอกสรรพยาในการแก้ไขพิษศรพรหมาสตร์แก่พระราม จนพระลักษมณ์และพลวานรฟื้นกลับคืนมาอีกครั้ง จากนั้นยกกองทัพออกทำศึกกับทศกัณฐ์จนได้รับชัยชนะ เมื่อเสร็จศึกจึงรับนางสีดาพร้อมยกขบวนกองทัพคืนกลับไปปกครอง กรุงศรีอยุธยา เหล่าบรรดาเทพบุตร นางฟ้า ต่างร่วมกันจับระบำรำฟ้อนถวายพระพรชัยด้วยความยินดี รูปแบบการแสดง การแสดงโขนดำเนินเรื่องด้วยการขับร้อง การพากย์ - เจรจา และบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ ตามรูปแบบของการแสดงโขน โนราดำเนินเรื่องตามเนื้อเรื่องหลักของการแสดงโขน โดยผู้แสดงโนราเป็นผู้ขับกลอนเองและดนตรีร้องรับ ทั้งนี้ได้มีการผสมผสานกับเพลงบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์เครื่องคู่ในการรำโนรา ใช้เวลาทำการแสดงประมาณ ๒ ชั่วโมง ๒๐ นาที การแต่งกาย ผู้แสดงโขนแต่งกายยืนเครื่องตามจารีต ผู้แสดงโนราสวมเครื่องแต่งกายโนราที่ร้อยเรียงขึ้นด้วยลูกปัดสีสันต่าง ๆ สวมปีกหาง ศีรษะสวมเทริดทรงสูง และออกแบบพัฒนาชุดพระอินทร์แปลงขึ้นใหม่อย่างโนรา โดยใช้โทนสีเขียวและเหลืองทอง ตามความหมายและเอกลักษณ์ของตัวละคร รวมทั้งการใช้ ศร อาวุธประจำตัวของตัวละครตามจารีตของการแสดงอย่างครบถ้วน ดนตรีและเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง ใช้วงปี่พาทย์เครื่องคู่ประกอบการแสดงโขน และใช้วงปี่พาทย์ชาตรี (วงโนรา) บรรเลงประกอบการแสดงโนรา กำกับดนตรีโดย พงค์พันธ์ เพชรทอง ดุริยางคศิลปินอาวุโส สำนักการสังคีต ปรับวิธีการบรรเลงเพลงลิงลาน และเพลงกราวรำพม่าให้เป็นสำเนียงพื้นบ้านภาคใต้ เพื่อให้สอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างหน้าทับของวงปี่พาทย์และวงโนรา ในบทบาทของผู้แสดงโนรา รายการอ้างอิง กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. โนรา ศิลปะการร้อง รำ ที่ผูกพันกับชีวิต. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, ๒๕๖๓. จรัญ พูลลาภ. นักวิชาการละครและดนตรีชำนาญการพิเศษ สำนักการสังคีต กรมศิลปากร. สัมภาษณ์. ๒๓ มกราคม ๒๕๖๗. พงค์พันธ์ เพชรทอง. ดุริยางคศิลปินอาวุโส สำนักการสังคีต กรมศิลปากร. สัมภาษณ์. ๒๔ มกราคม ๒๕๖๗. ภาพถ่าย กลุ่มวิจัยและพัฒนาการสังคีต สำนักการสังคีต กรมศิลปากร บทความโดย ธัญนัฏกร กล่ำแดง นักวิชาการละครและดนตรีปฏิบัติการ สำนักการสังคีต


ชื่อเรื่อง                    สพ.ส.56 คาถาอาคมประเภทวัสดุ/มีเดีย       สมุดไทยดำISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                  ไสยศาสตร์ลักษณะวัสดุ              37; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง                    คาถาอาคม                    ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   ประวัติวัดป่าเลไลยก์ ต.รั้วใหญ่  อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 16 ส.ค..2538


          เรือเสือทะยานชล และเรือเสือคำรณสินธุ์ เป็นเรือ 2 ลำที่ดัดแปลงมาจากเรือรบ (เรือที่ใช้ในการรบหรือการสงคราม) เป็นเรือนำกระบวนเรือพยุหยาตราชลมารค ในสมัยโบราณ เรียกเรือลักษณะนี้ว่า เรือพิฆาต           เรือเสือทะยานชล และเรือเสือคำรณสินธุ์ เป็นเรือ 2 ลำที่ดัดแปลงมาจากเรือรบ (เรือที่ใช้ในการรบหรือการสงคราม) เป็นเรือนำกระบวนเรือพยุหยาตราชลมารค ในสมัยโบราณ เรียกเรือลักษณะนี้ว่า เรือพิฆาต เรือแต่ละลำวาดลงสีรูปเสือไว้ที่หัวเรือซึ่งมีช่องที่มีปืนใหญ่ยื่นออกมา ถือเป็นเรือพิทักษ์กระบวนเรือพยุหยาตราชลมารคด้วย จึงต้องให้อำมาตย์ผู้ใหญ่ฝ่ายทหารเป็นผู้นั่งประจำในคฤห์ (เก๋ง) ของเรือทั้งสองลำนี้ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พุทธศักราช 2199 - 2231) เรือนำหน้ากระบวนพยุหยาตราชลมารคประกอบด้วย เรือพิฆาต 3 ลำ และเรือแซ 5 ลำ ทหารมีฝีมือประจำบนเรือพิฆาต อำมาตย์ผู้ใหญ่ฝ่ายทหารประจำบนเรือแซ           ชื่อเรือเสือทะยานชล และเรือเสือคำรณสินธ์ุ ปรากฏชื่อในลิลิตกระบวนแห่พระกฐินพยุหยาตราทั้งทางสถลมารคแลทางชลมารคในพุทธศักราช 2387 แต่ไม่ทราบว่าสร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อใด เรือทั้งสองลำนี้ซ่อมแซมขึ้นใหม่ในพุทธศักราช 2534           เรือทั้ง 2 ลำ ภายในท้องเรือทาสีแดง มีความยาว 22.23 เมตร กว้าง 1.75 เมตร ลึกถึงท้องเรือ 70 เซนติเมตร กินน้ำลึก 2.45 เมตร มีกำลังพลประกอบด้วย คนนั่งประจำคฤห์ 3 คน ฝีพาย 26 คน นายเรือ 1 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน  ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/royalbarges



องค์ความรู้เรื่อง เรื่อง เรียนรู้เรื่องกระดาษกับการสื่อสานวัฒนธรรมอย่างบรรจง เรียบเรียงโดย/ออกแบบ : นางภควรรณ คุณากรวงศ์ บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ




ชื่อเรื่อง                    วัดม่วง ตำบลอินทร์บุรี อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรีผู้แต่ง                       พเยาว์ เข็มนาคประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือท้องถิ่นหมวดหมู่                   ศาสนาเปรียบเทียบและศาสนาอื่นๆ เลขหมู่                      294.3135 พ225วสถานที่พิมพ์               กรุงเทพฯสำนักพิมพ์                 ทเวลล์พริ๊นต์ ปีที่พิมพ์                    2552ลักษณะวัสดุ               116 หน้า หัวเรื่อง                     วัดม่วง -- ประวัติ                              จิตรกรรมพุทธศาสนาภาษา                       ไทย บทคัดย่อ/บันทึกวัดม่วง เป็นสำคัญวัดหนึ่งในประวัติศาสตร์ของชาติ ประวัติกล่าวไว้ว่าสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 แต่จากคำบาทเล่าของชาวบ้านกล่าวว่าสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ของกรุงรัตนโกสินทร์ โดยกลุ่มลาวอพยพจากเวียงจันทร์ได้เลือกบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นสถานที่ตั้งบ้านเรือนอยู่สืบทอดกันมาจนถึงทุกวันนี้


Messenger