ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,400 รายการ


           กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ขอเชิญชวนประชาชนร่วมงาน “๔ วัด ๑ วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ” ณ วัดพระราม อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา วันอาทิตย์ที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมสามารถอ่านรายละเอียด และลงทะเบียนได้ทาง QR-code หรือทางลิ้งนี้ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSexOHIlzh9--JWQUGZPI8_BHYqw8WwGDTCWlCxkm3JmhKNQiw/viewform?fbclid=IwY2xjawGW8-pleHRuA2FlbQIxMAABHbeHkDy46TwXuUMFctqL4EXyX-u-1wRKm_5Lbdt_8xgIuhpNZVZjGyCxGw_aem_KH4HyZl_5iBvxAsTVV5m1g โดยเดินทางไปด้วยรถไฟขบวนพิเศษ (*มีรถไฟบริการฟรี เฉพาะเที่ยวไปเท่านั้น) รับจำนวนจำกัดเพียง ๑๕๐ ที่นั่ง------------------------------------------------------ **โปรดอ่าน***รายละเอียดการเดินทางไปเข้าร่วมกิจกรรมกำหนดการเชิญชวนประชาชนร่วมงาน ๔ วัด ๑ วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ (วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ วัดพระราม วัดไชยวัฒนาราม และ พระราชวังจันทรเกษม) วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ ณ วัดพระราม อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา   เวลา ๐๙.๓๐ - ๑๐.๒๐ น.                  ผู้เข้าร่วมกิจกรรมลงทะเบียนที่จุดลงทะเบียนบริเวณสถานีรถไฟหัวลำโพง เวลา ๑๐.๓๐ - ๑๑.๕๕ น.                  ออกเดินทางจากสถานีรถไฟหัวลำโพง ด้วยรถไฟขบวนพิเศษ ถึงสถานีรถไฟบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (มีรถไฟบริการฟรี เฉพาะเที่ยวไป รถออกเวลา ๑๐.๓๐ น.) เวลา ๑๑.๕๕ - ๑๖.๓๐ น.                 เที่ยวชมสถานที่ต่าง ๆ ในบริเวณพื้นที่บางปะอินตามอัธยาศัย (ผู้เข้าร่วมกิจกรรมต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง) - มีกิจกรรมถ่ายภาพย้อนยุคโดยห้องภาพฉายานิติกร ณ อาคารพลับพลา สถานีรถไฟบางปะอิน (ไม่เสียค่าใช้จ่าย) เวลา ๑๗.๐๐ - ๑๗.๑๕ น.                  ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเดินทางด้วยรถไฟขบวนพิเศษออกจากสถานีบางปะอินถึงสถานีอยุธยา (ไม่เสียค่าใช้จ่าย) เวลา ๑๗.๑๕ - ๑๘.๐๐ น.                  เดินทางจากสถานีรถไฟอยุธยาถึงวัดพระราม เวลา ๑๘.๒๐ - ๑๙.๐๐ น.                   การแสดงต้อนรับและพิธีเปิดงาน เวลา ๑๙.๐๐ - ๒๑.๐๐ น.                   ชมการแสดงระเบ็ง และโขน เรื่องรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนทุก และตอนพระรามข้ามสมุทร โดยสำนักการสังคีต กรมศิลปากร  --------------------------------------ข้อมูลการเดินทางสำหรับประชาชน         การเดินทางจากสถานีรถไฟบางปะอิน            มีบริการรถเช่าสาธารณะ (รถตุ๊กตุ๊ก) สำหรับว่าจ้างไปยังสถานที่ต่าง ๆ ในเขตพื้นที่บางปะอิน เช่น พระราชวังบางปะอิน วัดนิเวศธรรมประวัติ วัดชุมพลนิกายาราม ร้านอาหาร คาเฟ่ต่าง ๆ  เป็นต้น โดยราคาตามแต่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมตกลงกับผู้ให้บริการและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง            หากผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่ประสงค์ท่องเที่ยวภายในเขตพื้นที่บางปะอิน สามารถเดินทางต่อไปยังตัวเมืองอยุธยาได้โดยขบวนรถไฟจากสถานีบางปะอิน ซึ่งมี ๓ เที่ยว ได้แก่ ๑.     ขบวนรถไฟที่ ๒๓๓ ออกเดินทางเวลา ๑๒.๕๕ น. ถึงสถานีอยุธยาเวลา ๑๓.๐๖ น. ๒.     ขบวนรถไฟที่ ๒๑๑ ออกเดินทางเวลา ๑๔.๑๙ น. ถึงสถานีอยุธยาเวลา ๑๔.๓๑ น. ๓.     ขบวนรถไฟที่ ๒๐๗ ออกเดินทางเวลา ๑๕.๔๓ น. ถึงสถานีอยุธยาเวลา ๑๕.๕๗ น. **ขบวนรถทั้ง ๓ เที่ยวมีค่าโดยสารราคา ๓ บาท ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง**            หากผู้เข้าร่วมกิจกรรมประสงค์เดินทางต่อกับขบวนรถไฟเที่ยวพิเศษไปยังสถานีอยุธยา ขบวนรถไฟเที่ยวพิเศษจะออกจากสถานีบางปะอินเวลา ๑๗.๐๐ น. และถึงสถานีอยุธยาเวลา ๑๗.๑๕ น. (ไม่คิดค่าโดยสาร) การเดินทางจากสถานีรถไฟอยุธยาและการเดินทางเพื่อเที่ยวชมงาน ๔ วัด ๑ วังเมื่อครั้งต้นกรุงฯ            มีบริการรถเช่าสาธารณะ (รถตุ๊กตุ๊ก) จากสถานีรถไฟอยุธยาสำหรับเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ในบริเวณเมืองอยุธยา ***ราคาตามแต่ตกลงกับผู้รับจ้าง            มีบริการรถเช่าสาธารณะ (รถตุ๊กตุ๊ก) ประจำบริเวณวัดทั้ง ๔ วัด ได้แก่ วัดพระราม วัดราชบูรณะ วัดมหาธาตุ วัดไชยวัฒนาราม และพระราชวังจันทรเกษม สำหรับว่าจ้างเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ***ราคาตามแต่ตกลงกับผู้รับจ้าง   การเดินทางจากอยุธยากลับกรุงเทพฯ            ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถเดินทางกลับกรุงเทพฯ ได้เองตามอัธยาศัย โดยสามารถเดินทางได้หลายวิธีทั้งรถไฟและรถตู้สาธารณะ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้   รถไฟ   จากสถานีอยุธยา ถึงสถานีหัวลำโพง (ขบวนรถขาเข้า) -   ขบวนรถที่ ๒๑๐ บ้านตาคลี - กรุงเทพ (หัวลำโพง) ออกจากสถานีอยุธยา เวลา ๑๘.๔๘ น. ถึงสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) เวลา ๒๐.๓๕ น. (ค่าโดยสาร ๑๕ บาท) จากสถานีอยุธยา ถึงสถานีกรุงเทพอภิวัฒน์ (ขบวนรถขาเข้า) -   ขบวนรถที่ ๑๐๒ เชียงใหม่ - กรุงเทพอภิวัฒน์ ออกจากสถานีอยุธยา เวลา ๑๙.๑๖ น. ถึงสถานีกรุงเทพอภิวัฒน์ เวลา ๒๐.๒๕ น. (ค่าโดยสาร ๒๐ บาท) รถตู้สาธารณะ -            ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถขึ้นรถได้ที่ บขส. อยุธยา มีรถให้บริการเที่ยวแรกเวลา ๐๔.๐๐ น. เที่ยวสุดท้ายออกเวลา ๑๗.๓๐ น. (วิ่งเส้นทาง อยุธยา – รังสิต – ลาดพร้าว - BTS หมอชิต) (ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรับผิดชอบค่าโดยสารเอง) **บริการเสริมพิเศษ**              ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถจองรถตู้ล่วงหน้าเพื่อเดินทางกลับกรุงเทพฯ ได้ในราคา ๑๕๐ บาท โดยรถจะออกเดินทางจากวัดพระรามซึ่งเป็นสถานที่จัดงาน ๔ วัด ๑ วังเมื่อครั้งต้นกรุงฯ ในเวลา ๒๐.๓๐ น. ปลายทาง bts หมอชิต (วิ่งเส้นอยุธยา รังสิต ลาดพร้าว bts หมอชิต) แต่ต้องแจ้งให้ผู้จัดงานทราบล่วงหน้ารวมถึงต้องชำระเงินล่วงหน้าภายในวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ โดยสามารถโอนเงินเพื่อสำรองที่นั่งได้ที่บัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ เลขที่ ๔๓๕-๐๘๘๙๗๐-๐ ชื่อบัญชี น.ส.นภาพิมพ์ จินสกุล พร้อมเก็บสำเนาสลิปแจ้งการโอนเงินไว้เป็นหลักฐานสำหรับแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตอนเดินทางกลับ หมายเลขติดต่อ คุณนภาพิมพ์ โทร. ๐๘๕-๐๘๘-๖๗๗๓  


***บรรณานุกรม***  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชนิพนธ์โคลงสุภาษิต  (รวบรวมจากหนังสือ"ดุสิตสมิต") อนุสรณ์งานฌาปนกิจศพ นางทำงน นิธิภาพ(ไล้ โภควณิช) วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พุทธศักราช 2517 กรุงเทพฯ  โรงพิมพ์ธนาคารออมสิน 2517









พบเครื่องถ้วยชามลายน้ำทอง มีพระบรมฉายาลักษณ์ ร.5 ที่กาน้ำ และจาน ไม่ทราบว่ามีจริงหรือไม่ เนื่องจากไม่เคยเห็นในหนังสือ รวมทั้งภาพใน Internet ขอทราบรายละเอียดด้วยครับ


วันที่ 24 พ.ย.58 ชั้น 8 อาคารธนาลงกรณ์


อบรมผู้ใช้งานระบบสัมมนาออนไลน์ ในวันที่ 30 มีนาคม 2556 ตั้งแต่เวลา 9.00 - 16.00 โดยเจ้าหน้าที่บริษัท เอ็มเวิร์ค กรุ๊ป จำกัด


วัสดุ หินทราย แบบศิลปะ ศิลปะเขมรในประเทศไทย แบบบายน อายุสมัย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 (ประมาณ 800 ปีมาแล้ว) สถานที่พบ พบด้านในห้องบรรณาลัยติดผนังด้านทิศเหนือในการขุดแต่งกู่โพนระฆัง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อ พ.ศ.2545 พระวัชรธร เป็นรูปเคารพในพระพุทธศาสนา ลัทธิมหายาน ซึ่งถือเป็นพระอาทิพุทธ หรือประธานของพระพุทธเจ้าผู้ให้กำเนิดพระพุทธเจ้าองค์อื่นๆ สลักเป็นรูปเทพบุรุษประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานกลีบบัว ด้านล่างมีเดือยเพื่อเป็นแกนเสียบกับฐานรูปเคารพ ศิราภรณ์ทรงมงกุฎมีกระบังหน้าลักษณะศิลปะเขมรแบบบายน สวมกุณฑล (ตุ้มหู) พระหัตถ์ขวาทรงวัชระ สัญลักษณ์ของปัญญา พระหัตถ์ซ้ายทรงกระดิ่ง สัญลักษณ์ของอุบาย (อุปายะ-หนทาง หรือวิธีการ) โดยหันทางส่วนด้ามที่ทำเป็นรูปกลีบบัวออกมาข้างหน้า พระหัตถ์ทั้งสองซ้อนกันอยู่ที่ระดับพระนาภี


วันพฤหัสบดีที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘ นายขจร มุกมีค่า ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา พร้อมด้วย นางสาวพิมพ์นารา กิจโชติประเสริฐ หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ลงพื้นที่ตรวจสอบการเตรียมสถานที่เพื่อเตรียมความพร้อม ในการจัดงานเทศกาลเที่ยวพิมาย ๒๕๕๘ ที่จะจัดขึ้นระหว่างวัน ๑๑-๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ภายในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย



Messenger