ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,403 รายการ
เมื่อครั้งที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นั้น ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ เมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๒ และเหตุการณ์ในวันนั้น กรมศิลปากรได้ทูลเกล้าฯ ถวายต้นไม้เพื่อทรงปลูกเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสครั้งสำคัญนี้ คือ “ต้นกันเกรา” โดยทรงปลูกไว้ ณ บริเวณสวนด้านหน้าฝั่งขวาทางเข้าอาคารพิพิธภัณฑ์ ปัจจุบันมีอายุ ๑๒ ปี ยืนต้นแผ่กิ่งก้านชูช่อออกดอกอย่างงดงาม ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ “กันเกรา” (Tembusu) มีชื่อเรียกต่างกันไป ภาคกลางเรียก "กันเกรา" ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียก "มันปลา" ส่วนภาคใต้เรียก "ตำแสงหรือตำเสา" ถือเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง ต้นกันเกรามีลักษณะต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง ๑๕-๒๕ เมตร เปลือกสีน้ำตาลเข้ม ใบเดี่ยวออกตรงกันข้าม แผ่นใบรูปมน ปลายใบแหลมหรือยาวเรียว ใบเขียวมันวาว ดอก เมื่อเริ่มบานมีสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลิ่นหอม ภาษาท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ เรียก “ปกาสตราว” (ดอกกันเกรา) ซึ่งในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ มีต้นกันเกราขึ้นกระจายอยู่โดยทั่วไป ดอกกันเกราจะบานสะพรั่ง ส่งกลิ่นหอมในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ประชาชนชาวสุรินทร์ นิยมนำดอกกันเกรามาร้อยเป็นพวงมาลัยคล้องคอเทศกาลสงกรานต์ ดอกกันเกราเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดนครพนม นอกจากนี้ต้นกันเกรายังเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยนครพนม และมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด อีกด้วย--------------------------------------------------เรียบเรียงโดย : นางสาวอาภาภรณ์ เปล่งปลั่งศรี นักวิชาการวัฒนธรรม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์--------------------------------------------------อ้างอิง : https://toeywanida847.wordpress.com/ต้นไม้ประจำจังหวัดสุรินทร์ สืบค้น วันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๔ http://www.m-culture.in.th/album/96187/ดอกไม้ประจำจังหวัดสุรินทร์ สืบค้น วันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๔
ชื่อเรื่อง สัททาสังคหะ (สัททาสังคหสูตร)
สพ.บ. 372/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 32 หน้า กว้าง 6 ซม. ยาว 59.5 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา เทศน์มหาชาติ คาถาพัน ชาดก
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
องค์ความรู้เรื่อง : โยนกนาคพันธ์และสิงหนติโดย : นายสายกลาง จินดาสุ นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่. โยนกนาคพันธ์ คือ เมืองในตำนานที่ปรากฏร่องรอยการอพยพเคลื่อนย้ายเข้ามาของผู้คนและปรากฏร่องรอยการประดิษฐานพระพุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในแอ่งที่ราบเชียงราย - เชียงแสน เมืองแห่งนี้มีอายุตามตำนานในช่วง 148 ปีก่อนพุทธศักราช ถึง พ.ศ.1088. ตำนานกล่าวถึงเจ้าชายสิงหนวติ พาผู้คนอพยพจากเมืองไทเทศ มุ่งลงทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ข้ามแม่น้ำสรภู มาตั้งบ้านเมืองอยู่ในแอ่งที่ราบแห่งหนึ่ง ไกลจากแม่น้ำขรนทีราว 7,000 วา (ไม่ไกลจากเมืองเก่าที่ล่มสลายไปก่อนหน้า คือ เมืองสุวรรณโคมคำ) นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญหลายท่านให้ความเห็นในทิศทางที่สอดคล้องกันว่า โยนกนาคพันธ์ คือบริเวณที่ปัจจุบันเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำขนาดใหญ่ที่คาบเกี่ยวระหว่างตำบลโยนก อำเภอเชียงแสน และตำบลจันจว้า ตำบลท่าข้าวเปลือก อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ที่รู้จักในชื่อ “เวียงหนองหล่ม”. อาจารย์คงเดช ประพัฒน์ทอง เชื่อว่าเมืองโยนนาคพันธ์ คือบริเวณที่ปัจจุบันเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำขนาดใหญ่ที่คาบเกี่ยวระหว่างตำบลโยนก – จันจว้า ห่างจากตัวเมืองเชียงแสนลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ราว 14 กิโลเมตร ซึ่งเป็นระยะห่างที่สอดคล้องกับระยะที่กล่าวไว้ในตำนานว่าเมืองโยนคนาคพันธ์ห่างจากแม่น้ำโขง 7,000 วา ศาสตราจารย์เจียง อิ้ง เหลียง มีความเห็นว่ากลุ่มคนไทได้ตั้งเมืองโยนกนาคพันธ์ขึ้นบนที่ราบเชียงแสนตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ 15 โดยอพยพเคลื่อนย้ายมาจากจีนตอนใต้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รณิดา ปิงเมือง (ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย) สำรวจและศึกษาความเป็นมาท้องถิ่น โบราณวัตถุสถานในพื้นที่ชุ่มน้ำเวียงหนองหล่มในปี 2552 พบโบราณสถานกว่า 34 แหล่งประกอบด้วยโบราณสถานประเภทวัด ที่กระจายตัวอยู่บริเวณขอบและกลางพื้นที่เวียงหนองหล่ม (รอบหนองน้ำกลางพื้นที่ คือ หนองยาว และหนองมน) รวมถึงโบราณสถานประเภทคู - คันดิน ที่ตั้งอยู่บนยอดดอยด้านทิศตะวันตกของพื้นที่. ทั้งนี้ในปีพ.ศ. 2552 สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ดำเนินการสำรวจพื้นที่บริเวณเวียงหนองหล่ม พบว่า ในพื้นที่บริเวณเวียงหนองหล่มพบแหล่งโบราณคดีเพิ่มขึ้น 24 แหล่ง พื้นที่ที่พบแหล่งโบราณคดีหนาแน่นที่สุดคือพื้นที่ตำบลท่าข้าวเปลือก โดยกระจายตัวอยู่รอบหนองหลวง, หนองกากอก, หนองขวาง, หนองมน และลำน้ำลัว ซึ่งเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติในพื้นที่ นอกจากนั้นยังมีโบราณสถานบางส่วนที่กระจายตัวอยู่บริเวณขอบพื้นที่ โดยเฉพาะขอบพื้นที่ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือที่เริ่มลาดสูงขึ้นเป็นพื้นที่เนินเขา ซึ่งต่อเนื่องไปจากแนวพื้นที่นี้ปรากฏพบโบราณสถานประเภทคู - คันดินตามพื้นที่ยอดดอย จากการสำรวจพบว่าโบราณสถานสถานที่อยู่กลางพื้นที่เวียงหนองล่มและตามขอบพื้นที่ส่วนมากเป็นศาสนสถานประเภทเจดีย์และวิหารที่วางตัวตามแนวแกนทิศตะวันออก-ตะวันตก โดยมีเนินวิหารที่มีผังค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดเฉลี่ย กว้าง 10 เมตร ยาว 20 เมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก และมีเนินเจดีย์ผังเนินค่อนข้างเป็นวงกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10 เมตร อยู่ทางทิศตะวันตกของพื้นที่เนินโบราณสถาน ซึ่งเป็นลักษณะตามแบบแผนการวางตัวของโบราณสถานในล้านนา จากการขุดตรวจในพื้นที่พบว่าโบราณสถานอยู่ลึกกว่าผิวดินปัจจุบัน 0.3 - 0.5 เมตร. สิ่งแรกที่เป็นข้อสังเกตที่น่าหยิบยกมาพิจารณาเกี่ยวกับโยนกนาคพันธ์ คือ ช่วงระยะเวลาการเกิดเมืองตามตำนาน หากพิจารณาตามช่วงเวลาที่ตำนานสิงหนวัติกล่าวถึง การเข้ามาตั้งบ้านเมืองของเจ้าชายสิงหนวติ ในแอ่งที่ราบเชียงแสน เกิดขึ้น 148 ปี ก่อนพระพุทธเจ้าปรินิพพาน (148 ปี ก่อนพุทธศักราช) หากเชื่อว่าช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้อาจมีเค้าความจริง การอพยพเคลื่อนย้ายเข้ามาของสิงหนวัติอาจเป็นร่องรอยการอพยพเคลื่อนย้ายผู้คนที่ปรากฏในเอกสารประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในพื้นที่ภาคเหนือก็เป็นได้ คือเกิดขึ้นราว 2,700 ปีมาแล้ว ซึ่งตรงกับสมัยก่อนประวัติศาสตร์ช่วงรอยต่อยุคสำริดกับยุคเหล็ก เวลาดังกล่าวเป็นช่วงสำคัญที่พัฒนาการทางสังคมเริ่มยกระดับจากชุมชน หมู่บ้าน สู่ความเป็นเมือง (สังคมเริ่มก้าวสู่ความเป็นเมืองเมื่อผู้คนเริ่มรู้จักการผลิตและใช้เหล็ก) ตำนานสิงหนวัติจึงอาจสะท้อนถึงการเคลื่อนย้ายผู้คนจากจีนตอนใต้มาสู่แอ่งที่ราบเชียงแสน ซึ่งเป็นแอ่งที่ราบขนาดใหญ่และเพียงพอแก่การรองรับการขยายตัวของประชากรและสังคมในช่วงปลายยุคสำริดที่ต่อเนื่องยังยุคเหล็ก หลักฐานทางโบราณคดีชิ้นหนึ่งที่อาจเชื่อมโยงความสัมพันธ์ดังกล่าว คือ การพบกลองมโหระทึกสำริด ที่เป็นโบราณวัตถุที่พบตั้งแต่จีนตอนใต้กระจายมาตามลำน้ำโขงจนถึงประเทศเวียดนาม กลองมโหระทึกที่เวียงหนองหล่มนี้มีที่มาว่าถูกพบจากการขุดลอกหนองเขียว ซึ่งเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ ที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเวียงหนองล่ม ใกล้กับโรงเรียนจันจว้าวิทยาคม แต่ทั้งนี้ประเด็นเรื่องช่วงเวลายังเป็นประเด็นที่ต้องมีการศึกษาถึงหลักฐานทางโบราณคดีประกอบอีกมาก มิสามารถนำช่วงเวลาตาม. ในพื้นที่ประเทศไทย เรามักจะพบหลักฐานการก่อเกิดรัฐหรือบ้านเมือง ในช่วง 1,300 – 1,500 ปีก่อน (ราว พ.ศ.1000 – 1300) ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างปลายยุคเหล็กกับยุคประวัติศาสตร์ เช่นเมืองของอาณาจักรทวารวดีในแอ่งที่ราบภาคกลาง หรือเมืองหริภุญชัย ในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งทุกแห่งมีเงื่อนไขการก่อเกิดบ้านเมืองที่คล้ายคลึงกัน คือมีศาสนาเป็นองค์ประกอบ ดังนั้นปัจจัยที่ควรถูกหยิบยกมาเป็นข้อสังเกตและพิจารณาช่วงเวลาแห่งการเกิดหรือพัฒนาขึ้นสู่ความเป็นเมืองของโยนกนาคพันธ์อีกข้อ คือ การประดิษฐานของพระพุทธศาสนาในพื้นที่. หลักฐานที่ปรากฏในตำนาน เกิดขึ้นหลังจากรัชกาลของสิงหนวัติ โดยเกิดในสมัยพระเจ้าอชุตราช กษัตริย์ลำดับที่ 3 แห่งโยนกนาคพันธ์ ในราว พ.ศ.100 หรือประมาณ 2,500 ปีมาแล้ว ตำนานกล่าวถึงการที่พระเจ้าอชุตราชได้รับพระบรมสารีริกธาตุจากพระกัสสปเถระ แล้วนำพระบรมสารีริกธาตุนั้นประดิษฐานบนดอยลูกหนึ่งที่เป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มคนพื้นเมืองเดิม (พระธาตุดอยตุง) ถ้าพิจารณาตามลำดับเวลาในตำนาน ช่วงเวลาแห่งการสถาปนาพระธาตุอันเป็นสัญลักษณ์และตัวแทนของการสถาปนาพระพุทธศาสนาในแอ่งที่ราบเชียงแสน เกิดขึ้นในต้นพุทธศตวรรษที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ไม่สัมพันธ์กับบริบทระลอกการแผ่ขยายพระพุทธศาสนาจากอินเดียสู่พื้นที่ต่างๆ ซึ่งการแผ่ขยายของพุทธศาสนาเกิดขึ้นในห้วงเวลาหลังจากนั้น ๒ ระลอกคือพุทธศตวรรษที่ 3 – 5 สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช และช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 ซึ่งเป็นสมัยหลังคุปตะที่ศาสนาเข้ามาพร้อมการขยายตัวทางการค้าจากมหาสมุทรอินเดีย ดังนั้นระยะเวลาในการพัฒนาขึ้นมาเป็นสังคมระดับเมืองของโยนกนาคพันธ์และการประดิษฐานพระพุทธศาสนาในแอ่งที่ราบเชียงแสน จึงควรเป็นเวลาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 4 - 12 ซึ่งความเป็นไปได้อาจอยู่ในช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ 12 ไปไม่มาก จากช่วงเวลาที่เทียบเคียงกับการประดิษฐานพระพุทธศาสนาและเกิดบ้านเมืองในพื้นที่อื่นๆของประเทศไทย ทั้งนี้มีข้อสังเกตประการหนึ่งว่า การเข้ามาของพุทธศาสนาในแอ่งที่ราบเชียงแสนอาจมีมาก่อน. การประดิษฐานพระพุทธศาสนาบนดอยตุงเล็กน้อย โดยนัยยะที่ปรากฏในตำนานที่ว่า พระมเหสีของพระเจ้า อชุตราช คือ ธิดาที่เกิดจากนางกวางที่ไปกินปัสสาวะของฤาษี เนื้อหาตอนนี้อาจตีความถึงการผสมกลมกลืนทางความเชื่อของกลุ่มคนพื้นเมืองเดิมที่มีสัตว์เป็นตัวแทน (นางกวาง) กับความเชื่อใหม่ที่อาจจะเป็นศาสนาพุทธที่ได้เริ่มแผ่ขยายมาตามปฏิสัมพันธ์ที่แอ่งที่ราบเชียงแสนมีต่อดินแดนภายนอก โดยตำนานให้ภาพแทนเป็นฤาษี (ช่วงเวลาดังกล่าวคนในพื้นที่อาจยังไม่คุ้นเคยกับนักบวชในศาสนา ฤาษีจึงอาจเป็นคำเรียกของนักบวชในยุคแรก / ในแอ่งที่ราบลำพูน-เชียงใหม่ พบหลักฐานการเข้ามาของพระพุทธศาสนาในตำนานพระธาตุดอยคำที่กล่าวถึงพระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดยักษ์ในพื้นที่ ซึ่งอาจหมายถึงกลุ่มคนที่มีวิถีชีวิตในแบบก่อนประวัติศาสตร์ ล้าหลัง ที่ตำนานให้ภาพแทนเป็นยักษ์ และนำไปสู่การก่อเกิดเมืองบริเวณเชิงดอยสุเทพโดยฤาษี ต่อมาจึงเกิดเมืองหริภุญชัยโดยมีฤาษีอีกตนเป็นผู้สร้าง พร้อมกับการเข้ามาของพระพุทธศาสนาจากที่ราบภาคกลาง ซึ่งช่วงเวลาตามตำนานอยู่ในราว พ.ศ. 1100 – 1204). ในความเห็นของผู้เขียนเอง (ตามข้อมูลหลักฐานที่ปรากฏ) ผู้เขียนขอตั้งเป็นข้อสันนิษฐานว่า การอพยพเคลื่อนย้ายผู้คนเข้ามาของสิงหนวัติอาจเกิดขึ้นในยุคก่อนประวัติศาสตร์ในช่วงใดช่วงหนึ่งของยุคเหล็ก (2,500 – 1,500 ปีมาแล้ว) โดยเป็นการอพยพเคลื่อนย้านจากจีนตอนใต้ลงมาเพื่อแสวงหาพื้นที่ทำกินและแหล่งทรัพยากรใหม่ รองรับการขยายตัวของสังคม ซึ่งในเวลานั้นอาจยังมิได้เป็นสังคมระดับเมือง (แต่เป็นชุมชนขนาดใหญ่) จนมีพัฒนาการก้าวสู่ความเป็นเมืองหลังจากที่มีการประดิษฐานพระพุทธศาสนาในพื้นที่ ซึ่งน่าจะอยู่ในช่วงเวลา 1,300 – 1,500 ปีมาแล้ว (พุทธศตวรรษที่ 11 – 13) อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานที่เป็นโบราณสถานที่มีอายุเก่าลงไปถึงช่วงเวลาก่อน พ.ศ.1088 ที่เมืองถล่มล่มจมลงเป็นหนองน้ำ โดยโบราณสถานที่สำรวจพบกำหนดอายุได้ในช่วงล้านนา ในพุทธศตวรรษที่ 19 - 22 (จากการกำหนดอายุเชิงเทียบกับโบราณวัตถุที่พบร่วมในแหล่ง). นอกจากนี้เมื่อเราพิจารณาสภาพภูมิศาสตร์พื้นที่ของแอ่งที่ราบเชียงราย – เชียงแสน เราอาจเข้าใจประเด็นดังกล่าวนี้ได้กระจ่างชัดขึ้น เหนือจากแอ่งที่ราบเชียงแสนขึ้นไปทางทิศเหนือซึ่งปัจจุบันเป็นเขตพื้นที่ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสหภาพเมียนมาร์ เป็นพื้นที่ภูเขากินบริเวณกว้าง ขวางผืนแผ่นดินเป็นแนวยาวก่อนที่จะพบพื้นที่ราบทางทิศเหนืออีกครั้งบริเวณตอนกลางของแอ่งที่ราบมณฑลยูนนาน แอ่งที่ราบเชียงแสนจึงถือเป็นแอ่งที่ราบผืนใหญ่ที่สุดที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของแอ่งที่ราบจีนตอนใต้ ดังนั้นเวียงหนองหล่ม ที่ตั้งอยู่บนแอ่งที่ราบเชียงแสน จึงเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการรองรับการผลิตภาคเกษตรที่หล่อเลี้ยงประชากรและการขยายตัวของสังคมที่ผู้คนและสิงหนวติต้องการ ------------------------------------- อ้างอิง -ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โบราณวัตถุและโบราณสถานในพื้นที่ชุ่มน้ำเวียงหนองล่ม. พิมพ์ครั้งที่๑. เชียงใหม่ ดอคคิวเมนทารี ดีไซน์ จำกัด. เชียงใหม่, ๒๕๕๒.ศิลปากร,กรม. ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๑, ๒๕๕๐.ศิลปากร,กรม. พงศาวดารโยนก. พิมพ์ครั้งที่๗. สำนักพิมพ์คลังวิทยา. กรุงเทพฯ, ๒๕๕๐. ศิลปากร,กรม. โครงการจัดทำแผนแม่บท การพัฒนาเมืองโบราณเชียงแสนให้เป็นมรดกโลก, ๒๕๕๐.
สมฺโพชฺฌงฺค (สติ-อุเปกฺขาสมฺโพชฺฌงฺค)
ชบ.บ.52/1-5
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง มาเลยฺยสุตฺต (มาลัยหมื่น)
สพ.บ. 318/1ข
ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลาน
หมวดหมู่ พุทธศาสนา
ลักษณะวัสดุ 38 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 56.7 ซม.
หัวเรื่อง พุทธศาสนา
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับชาดทึบ-ลานดิบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก วัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.268/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 60 หน้า ; 4.5 x 57.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 117 (232-239) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
พระเปิม พระเปิม เป็นหนึ่งในพระพิมพ์ดินเผาที่มีชื่อเสียงของเมืองลำพูน คำว่าเปิม ในภาษาท้องถิ่นภาคเหนือแปลว่า แบน พระเปิม ส่วนใหญ่มีขนาดความกว้างราว ๒.๕- ๓ เซนติเมตร สูง ๔ เซนติเมตร คล้ายกับพระคงซึ่งเป็นพระพิมพ์แสดงปางมารวิชัย พระเศียรโล้น ไม่มีพระเกตุมาลา ครองจีวรห่มคลุมเรียบบางแนบพระวรกาย ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานมีกลีบบัว รองรับด้วยแนวเส้นตรง ๒ - ๓ เส้น เหนือขึ้นไปเป็นซุ้มปรกโพธิ์ ลักษณะรูปแบบของพระเปิม จะแตกต่างไปจากพระคงคือ พระพักตร์จะชัดเจนกว่า และไม่มีเส้นประภาวลี หรือรัศมีรอบพระวรกาย มีชายสบงแผ่ออกมาเป็นรูปครึ่งวงกลมออกมาระหว่างพระเพลา ลักษณะการประทับนั่งแบบขัดสมาธิเพชรที่ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธรูปในศิลปะพุกามที่มีรูปแบบจากพระพุทธรูปขัดสมาธิเพชรในศิลปะอินเดียแบบปาละและคุปตะที่ปรากฏในพระพุทธรูป และพระพิมพ์ชนิดอื่นๆในวัฒนธรรมหริภุญไชย กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ พระเปิม ข้อมูลส่วนใหญ่ต่างกล่าวว่าพบที่กรุวัดดอนแก้ว ปัจจุบันเป็นวัดร้างอยู่บริเวณทิศตะวันออกของวัดต้นแก้ว ตรงข้ามแม่น้ำกวง หน้าวัดพระธาตุหริภุญไชย ปรากฏในตำนานว่าเป็นที่พระนางจามเทวีให้สร้างขึ้น เรียกว่า วัดอรัญญิกรัมการาม ซึ่งพบโบราณวัตถุประเภทอื่นๆ เช่น ศิลาจารึก อักษรมอญโบราณ และพระพุทธรูปหินทรายศิลปะหริภุญไชย อ้างอิง บัณฑิต เนียมทรัพย์. “พระพิมพ์ที่พบในจังหวัดลำพูน” สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๙.สุรพล ดำริห์กุล. ประวัติศาสตร์และศิลปะหริภุญไชย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๔๗ อัศวี ศรจิตติ. “พระพิมพ์สกุลลำพูน”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปบัณฑิต (โบราณคดี) คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร,๒๕๕๑.
ชุดองค์ความรู้ "นานาสาระ...คาม" ตอนที่ 3 เรื่อง "โบราณสถานวัดสุวรรณาวาส : 3 มรดกวัฒนธรรมล้ำค่า คู่หล้ากันทรวิชัย"
โบราณสถานวัดสุวรรณาวาส ตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งภายในวัดมีมรดกวัฒนธรรมของชาติที่สำคัญ ถึง 3 รายการ ได้แก่ 1) สิมหลังเก่า 2) พระพุทธรูปมิ่งเมือง ที่สร้างขึ้นในวัฒนธรรมทวารวดี สลักจากหินทรายก้อนเดียว เเละเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง 1 ใน 2 องค์ ของชาวกันทรวิชัย3) จารึกหินทรายสีแดง จารอักษรไทยน้อย ภาษาไทย-ภาษาบาลี ซึ่งปัจจุบันเลือนรางลงมากแล้ว โดยโบราณสถานแห่งนี้จะมีข้อมูลทางโบราณคดี ประวัติศาสตร์อย่างไรบ้างนั้น โปรดติดตามได้เลยครับ ...
เรียบเรียงนำเสนอโดย นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา
เสนีย์ ปราโมช. ชุมนุมวรรณคดีทางการเมือง. พระนคร: ไทยวัฒนาพานิช , 2511.
คณะผู้จัดทำหนังสือเล่มนี้มีเป้าหมายในการจัดทำเพื่อหาทุนช่วยเหลือพรรคประชาธิปัตย์ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวบทบาทของ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ที่ทำหน้าที่ในบทบาทต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วย 8 เรื่อง ด้วยกัน
เรื่องที่ 1 การเจรจาระงับสถานะสงครามกับบริเตนใหญ่ ที่จะต้องเดินทางไปทำความเข้าใจและลงนามในสันติภาพกับอเมริกา ขากลับเดินทางเดินทางผ่านอังกฤษเพื่อคงความเป็นมิตรทางการทูตเอาไว้ และการเจรที่แคนดีเพื่อลงนามในสัญญา ๒๑ ข้อ ซึ่งไม่สามารถลงนามได้เห็นว่าเป็นการลดเกียรติของไทย ฝรั่งเศสขอดินแดนคืนและให้ส่งพระแก้วมรกตไปกำนัลด้วย
เรื่องที่ 2 เบื้องหลังประวัติศาสตร์ ว่าด้วยการปฏิวัติแบบปาฎิหาริย์ ที่เกิดจากการอ่านคำว่าปฎิวัติ เป็นปาฎิหาริย์ ของนายควง อภัยวงศ์ ว่าด้วยรัฐบาลอุบัติเหตุ ที่นายควง อภัยวงศ์และคณะได้เข้านั่งบริหารประเทศแทนรัฐบาลชุดเก่าหลังจากที่เกิดปฏิวัติในวันที่ 8 กันยายน 2490 ซึ่งมีคำเปรียบเปรยเกิดขึ้นว่า นักการเมืองคนใดตายเพื่ออุดมคติ นักการเมืองคนนั้นไม่มีวันตาย” การรับรอง “วิทยะฐานะ”รัฐบาลไทย ที่เป็นช่วงการส่งข้าวออกมากที่สุด การลี้ภัยของนายปรีดี พนมยงค์ เรื่องว่าด้วยสภาประวัติศาสตร์ของนักแก่เมือง กล่าวถึงการออกกฎหมายแทนพระมหากษัตริย์ที่อยู่ในสมัย 90 วัน ซึ่งมีวุฒิสภา ที่ประกอบด้วยบุคคลซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ เลือกตั้ง เรื่องว่าด้วยพระมหากษัตริย์ ซึ่งได้กล่าวว่าคนไทยมีหัวเป็นนักประชาธิปไตย แต่มีหัวใจนิยมพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์ทรงสืบสายประวัติศาสตร์ของชาติไทยมาอย่างยาวนาน ซึ่งยอมแพ้ยอมเสียเสียสละทุกอย่างเพื่ชาติไทยจะได้อยู่ต่อไป ซึ่งต่างชาติได้ยอมรับในพระปรีชาสามารถในพระปิยมหาราชที่สร้างประเทศให้ก้าวไปไกลและรวดเร็วยิ่งกว่าประเทศใด ๆ ในเอเชียตะวันออก เรื่อง ว่าด้วยอำนาจตุลาการ ที่ใช้ดูแลบ้านเมืองเพื่อปราบอธรรม ซึ่งรัฐสภาพิจารณาการออกกฎหมายและศาลเป็นผู้ใช้อำนาจให้เกิดความยุติธรรมประชาชนทุกหมู่เหล่า
เรื่องที่ 3 ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอเมริการะหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นปาฐกถาในระหว่างที่เป็นทูตอยู่ที กรุงวอชิงตัน ซึ่งกำหนดให้คนไทยทุกคนต่อต้านผู้รุกรานบ้านเมืองไทย และให้มีการแลกเปลี่ยนประโยชน์ซึ่งกันและกัน มีงบประมาณที่จะนำมาช่วยเหลือในการสงคราม และมีแถลงการณ์ว่าการณ์ที่ไทยประกาศสงครามกับอเมริกานั้นเป็นโมฆะเสียแล้ว
เรื่องที่ 4 ปราศรัยกับประชาธิปัตย์ ที่เกี่ยวกับการปกครองแบบประชาธิปไตยและแบบที่มีพระเจ้าแผ่นดินใช้อำนาจแบบสมบูรณาญาสิทธิราช
เรื่องที่ 5 หัวข้อสัมมนาทางการเมือง ที่สรุปได้ว่าการพัฒนาประชาธิปไตย แต่กลับกลายเป็นเผด็จการไปก็มี เพราะเสียงของคนข้างมากนั่นเอง ผลของการการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 เกิดจากการเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสเหตุการณ์ของโลก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ได้สั่งให้ร่างรัฐธรรมนูญปกครองแผ่นดินขึ้น
เรื่องที่ 6 รัฐธรรมนูญปี 2511 ซึ่งการร่าง 2511 ใช้เวลาร่างรวม 10 ปี และได้เรียกรัฐธรรมนูญฉบับนี้ว่ารัฐธรรมนูญฟันปลอม
เรื่องที่ 7 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกับเสถียรภาพทางการเมือง เป็นการสัมมนาเรื่องการเมืองอีกครั้งที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นความสำคัญเกี่ยวกับอนาคตและความเจริญของบ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง ที่สร้างความมั่งคงแข็งแรงให้กับบ้านเมือง
เรื่องที่ 8 การเมืองที่ต้องฝากไว้ให้กับคนไทยรุ่นใหม่ ซึ่งเปรียบเสมือนต้นไม้ที่ให้ร่มเงา ที่เป็นหน้าที่ของทุกคนในการช่วยกันปลูกดูแล เพื่อความเป็นระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
ชุดองค์ความรู้ "นานาสาระ...คาม" ตอนที่ 3 เรื่อง "โบราณสถานวัดสุวรรณาวาส : 3 มรดกวัฒนธรรมล้ำค่า คู่หล้ากันทรวิชัย"
โบราณสถานวัดสุวรรณาวาส ตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งภายในวัดมีมรดกวัฒนธรรมของชาติที่สำคัญ ถึง 3 รายการ ได้แก่ 1) สิมหลังเก่า 2) พระพุทธรูปมิ่งเมือง ที่สร้างขึ้นในวัฒนธรรมทวารวดี สลักจากหินทรายก้อนเดียว เเละเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง 1 ใน 2 องค์ ของชาวกันทรวิชัย3) จารึกหินทรายสีแดง จารอักษรไทยน้อย ภาษาไทย-ภาษาบาลี ซึ่งปัจจุบันเลือนรางลงมากแล้ว โดยโบราณสถานแห่งนี้จะมีข้อมูลทางโบราณคดี ประวัติศาสตร์อย่างไรบ้างนั้น โปรดติดตามได้เลยครับ ...
เรียบเรียงนำเสนอโดย นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา
การไถนาเป็นการเตรียมที่นาให้พร้อม ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกสุดของการปลูกข้าว ก่อนที่ชาวนาจะลงมือทำนาด้วยวิธีการปักดำต้นกล้าหรือหว่านเมล็ดข้าวลงในที่นา การไถนาเป็นการพรวนดิน ทำให้ดินร่วนซุยขึ้น ช่วยกำจัดวัชพืช เช่น ต้นหญ้าต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการให้ออกไปจากที่นา และปรับพื้นดินให้ราบเรียบเสมอกัน ชาวนาเริ่มลงมือไถนาประมาณปลายเดือนเมษายน ถึงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ฤดูฝน
ก่อนลงมือหว่านเมล็ดข้าวหรือปักดำต้นกล้า ชาวนาจะไถนาอย่างน้อย 2 ครั้ง ไถครั้งแรก เรียกว่า “ไถดะ” ไถครั้งที่สอง เรียกว่า “ไถแปร”
เครื่องมือที่ใช้ในการไถนาหรือพรวนดินในที่นา เรียกกันว่า “คันไถ” ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ ตัวคันไถ หางยาม (หางไถ) และหัวหมู ทำด้วยไม้เนื้อแข็งและประกอบเข้าด้วยกันโดยการต่อเข้าลิ่ม
ส่วนประกอบสำคัญของคันไถ มีดังนี้
- คันไถ คือส่วนที่ยื่นออกไปด้านหน้า เพื่อเชื่อมต่อกับส่วนที่ผูกควาย เป็นไม้อีกท่อนหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบของตัวไถ ส่วนที่ต่อเข้ากับหางไถจะทำเป็นเดือยตัวผู้เพื่อใช้ต่อเข้ากับรูเดือยตัวเมียที่ส่วนหางไถ ทำให้แน่นโดยใช้ลิ่มตอกยึด ส่วนปลายคันไถยื่นออกไปข้างหน้า โค้งทำมุมต่ำลง มีปลายจะงอยขึ้นมา
- หางยาม หรือหางไถ คือ ส่วนที่ชาวนาใช้จับขณะไถนา เป็นไม้ชิ้นเดียวที่มีลักษณะเอียงจากหัวหมูประมาณ ๑๕ องศา ยาวมาจนถึงส่วนที่ต่อเข้ากับคันไถ และเจาะรูสี่เหลี่ยมผืนผ้าทะลุชิ้นไม้เพื่อใส่ลิ่มต่อเข้ากับคันไถ เหนือส่วนนี้ขึ้นไปทำเป็นรูปโค้งเพื่อสะดวกต่อการจับ เวลาประกอบเข้าเป็นตัวไถแล้ว ส่วนนี้จะตั้งขึ้นและส่วนโค้งก็จะยื่นไปด้านหลังตั้งอยู่ระดับสะเอว
- หัวหมู คือ ส่วนที่ใช้ไถดิน ประกอบด้วยไม้หนึ่งชิ้นบากปลายให้แหลมและมีลักษณะบาน เจาะรูเดือยตัวเมียสี่เหลี่ยมสำหรับต่อเข้ากับหางไถ ส่วนท้ายจะทำเป็นรูปท่อนกลมยาว
- ผาล ทำด้วยเหล็ก ใช้สำหรับพลิกหรือไถพรวนดิน สวมต่ออยู่กับส่วนหัวหมูและหางไถโดยการตอกเข้าลิ่ม
ในสมัยโบราณชาวนาใช้แรงงานวัวควายในการลากไถนา แต่ปัจจุบันนิยมใช้รถแทรกเตอร์หรือที่เรียกกันว่าควายเหล็กไถนาแทนวัวควาย เพราะสะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลา และแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตร อย่างไรก็ตาม การใช้เครื่องจักรกลเข้ามาแทนแรงงานวัวควายในการไถนา ทำให้ชาวนาปัจจุบันประสบปัญหาต้นทุนจากค่าใช้จ่ายเรื่องราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูงขึ้น
ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งไม่เคลือบ ผลิตจากแหล่งเตาบ้านบางปูน ตำบลพิหารแดง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ส่วนบนตกแต่งลายกดประทับในกรอบสามเหลี่ยม คล้ายลายเฟื่องอุบะและกรวยเชิงที่ประดับบนศาสนสถานในวัฒนธรรมเขมร ส่วนล่างตกแต่งลายกดประทับรูปบุคคล คันไถและวัวคู่ อาจหมายถึงพิธีแรกนาขวัญ แสดงถึงการให้ความสำคัญในเรื่องการปลูกข้าวหรือเกษตรกรรมของผู้ปกครองรัฐสุพรรณภูมิ เมื่อพุทธศตวรรษที่ 19-20 หรือประมาณ 600-700 ปีมาแล้ว
ปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย จังหวัดสุพรรณบุรี
ภาพลายเส้นบนภาชนะดินเผา พบที่บ้านบางปูน ตำบลพิหารแดง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ตกแต่งลายกดประทับรูปบุคคล คันไถและวัวคู่ อาจหมายถึงพิธีแรกนาขวัญ แสดงถึงการให้ความสำคัญในเรื่องการปลูกข้าวหรือเกษตรกรรมของผู้ปกครองรัฐสุพรรณภูมิ เมื่อพุทธศตวรรษที่ 19-20 หรือประมาณ 600-700 ปีมาแล้ว
-------------------------------------------------------------
อ้างอิง
- จารึก วิไลแก้ว. แหล่งเตาเผาบ้านบางปูน. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2531.
- คันไถโบราณ ตำนานและความเชื่อของชาวนา. เข้าถึงได้จาก https://e-shann.com/คันไถโบราณตํานานและคว/ สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2565.
- สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ. ข้าวไทย. กรุงเทพฯ : ปลาตะเพียน, 2555.
-------------------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทยwww.facebook.com
บทความจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่านจากจุลสารแป้นเกล็ดจุลสารเรื่องราวอาคาร สาระความรู้ ศิลปกรรม สถาปัตยกรรมคณะกรรมการกองทุนเพื่อการอนุรักษ์อาคารเก่าเมืองน่านฉบับที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๔ - พฤษภาคม ๒๕๖๕สามารถอ่านบทความเพิ่มเติม จุลสารฉบับต่างๆ ตั้งแต่ฉบับที่ ๑ และเอกสารดาวน์โหลด ฟรี ได้ที่ https://www.nancreativecity.org/เอกสารดาวน์โหลด?fbclid=IwAR0a00Hv-HnzOsG38KckG6nxZXj0QNEbJVkqBdmWEhiEA7-Jb6P8jDpHN2o