ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,403 รายการ
แนะนำหนังสือให้อ่าน
ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. พระราชนิพนธ์บทเจรจาละครเรื่องอิเหนา : พระอัจฉริยภาพด้านวรรณคดีการแสดงของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส, 2562. 343 หน้า. ภาพประกอบ. 220 บาท.
ให้ความรู้ในเรื่องของวรรณคดีไทย และวรรณคดีการแสดงเรื่องอิเหนา ความรู้เรื่องบทเจรจาละครอิเหนา พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกำหนดให้ใช้เป็นบทแสดงละครในร่วมกับบทละครในเรื่องอิเหนาพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทำให้การแสดงละครอิเหนามีลักษณะผสมผสานของละครใน ละครพูดและละครนอก
895.9112
ช221พ ( ห้องหนังสือทั่วไป 2 )
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 149/3เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 178/6งเอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “ร.ศ. ๒๔๒ ชมตู้ลายทอง สืบสานงานศิลป์” วิทยากรโดย นางศิวพร เฉลิมศรี นักภาษาโบราณชำนาญการพิเศษ และนางสาวยุวเรศ วุทธีรพล นักภาษาโบราณชำนาญการพิเศษ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ดำเนินรายการโดย นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ วันพฤหัสบดีที่ ๒ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๖ ตั้งแต่เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น.
ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
ชื่อเรื่อง : เสด็จประพาสจันทบุรี พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางกิมเฮียะ อังศุสิงห์ ณ สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 30 มีนาคม 2508 ชื่อผู้แต่ง : จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระปีที่พิมพ์ : 2508สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : สหกรณ์ขายส่งแห่งประเทศไทยจำนวนหน้า : 116 หน้า สาระสังเขป : พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสจันทบุรี จัดพิมพ์เพื่อเป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางกิมเฮียะ อังศุสิงห์ ณ สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 30 มีนาคม 2508 โดยเนื้อหาในเล่มนี้ได้จัดพิมพ์เฉพาะตอนที่บันทึกเล่าถึงเมืองจันทบุรี เมื่อวันเสด็จไป คือ วันพุธ แรม 4 ค่ำ เดือนยี่ พ.ศ.2419 ซึ่งกล่าวถึงสภาพเมืองจันทบุรี เมื่อราว 90 ปีมาแล้ว โดยการนำเสนอเนื้อหาด้านประวัติศาสตร์และวรรณคดีของเมืองจันทบุรี เช่น เมืองจันทบุรีวันไปเมือง ว่าด้วยการช่างการค้าขายเมืองจันทบุรี แลหัวเมืองขึ้นจันทบุรี การค้าที่ในเมืองจันทบุรี เป็นต้น
โบราณวัตถุที่พบจากกลุ่มโบราณสถานคอกช้างดิน เมืองโบราณอู่ทอง
กลุ่มโบราณสถานคอกช้างดิน ตั้งอยู่เชิงเขาด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเขาคอก นอกคูเมืองโบราณอู่ทอง ห่างไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ ๓ กิโลเมตร ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร พบโบราณสถานทั้งหมด ๒๐ กลุ่มใหญ่ ประกอบด้วยโบราณสถานที่สร้างเป็นคันดิน และโบราณสถานที่สร้างด้วยโครงสร้างอิฐ
ศิลาแลง และหิน
กลุ่มโบราณสถานคอกช้างดินที่สร้างเป็นคันดินมีทั้งหมด ๔ แห่ง ลักษณะเป็นคันดินคล้ายอ่างเก็บน้ำ เดิมเชื่อว่าเป็นคอกขังช้างหรือเพนียดคล้องช้าง แต่ปัจจุบันพบหลักฐานจากการดำเนินงานทางโบราณคดีที่โบราณสถานคอกช้างดินหมายเลข ๓ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๔ พบว่าสร้างขึ้นเพื่อกักเก็บน้ำที่ไหลมาจากเขาคอกทางทิศเหนือ
โบราณสถานที่สร้างด้วยอิฐ ศิลาแลง และอิฐ ตั้งอยู่บริเวณที่ราบเชิงเขาคอก ปัจจุบันปรากฏเป็นเนินดิน แบ่งเป็นกลุ่มได้ ๑๖ กลุ่ม ส่วนมากยังไม่ได้ขุดศึกษา โบราณสถานคอกช้างดินที่สร้างด้วยอิฐ ศิลาแลง และอิฐ
ซึ่งผ่านการดำเนินงานทางโบราณคดีมาแล้วและพบหลักฐานที่สำคัญ มีดังนี้
• โบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๕ ผ่านการขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ โบราณวัตถุสำคัญที่พบได้แก่ เอกมุขลึงค์
• โบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๖ ผ่านการขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ โบราณวัตถุสำคัญที่พบได้แก่ ขันสำริด เชิงเทียนสำริด ตุ้มเหล็ก และแท่งเหล็ก เป็นต้น
• โบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๗ ผ่านการขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ โบราณวัตถุสำคัญที่พบได้แก่ ภาชนะดินเผาบรรจุแท่งเงินตัด เหรียญเงินมีจารึก "ศรีทวารดี ศวรปุณยะ" เหรียญเงินมีสัญลักษณ์มงคล (รูปหอยสังข์ รูปศรีวัตสะ รูปพระอาทิตย์) ชิ้นส่วนหัวงูดินเผา เครื่องถ้วยจีน เคลือบสีเขียวสมัยราชวงศ์ถัง เป็นต้น
• โบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๑๓ ผ่านการขุดค้นทางโบราณคดี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๔ โบราณวัตถุสำคัญที่พบได้แก่ แผ่นเหล็กคล้าย ใบมีดเหล็ก แหวนสำริด แม่พิมพ์หรือเบ้าหลอมดินเผา เป็นต้น
• โบราณสถานคอกช้างดินหมายเลข ๑๘ ผ่านการขุดค้นทางโบราณคดี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๙ โบราณวัตถุสำคัญที่พบได้แก่ กระปุกดินเผาบรรจุเหรียญเงิน เป็นต้น
โบราณวัตถุที่สำคัญมี ดังนี้
o ชิ้นส่วนภาชนะมีพวย เป็นชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อดินส่วนปาก คอ และบ่า มีพวยหนึ่งข้าง สันนิษฐานว่าป็นภาชนะสำหรับใช้สรงน้ำในพิธีกรรม โบราณวัตถุชิ้นนี้พบจากโบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๓
o ศิวลึงค์ เป็นศิวลึงค์ที่ทำจากหินขนาดสูง เพียง ๑๘.๕ เซนติเมตร ส่วนฐานเป็น แท่งสี่เหลี่ยมส่วนปลายเป็นแท่งกลมมน เนื่องจากเป็นศิวลึงค์ขนาดเล็ก จึงสันนิษฐานว่าอาจไม่ใช่ศิวลึงค์ประจำ ศาสนสถาน แต่สามารถพกพาเพื่อนำไปประกอบพิธีกรรมหรือบูชาได้
o ภาชนะดินเผาบรรจุเหรียญเงินตราสังข์ เป็นภาชนะดินเผา ส่วนลำตัวคล้ายบาตรพระ ส่วนคอแคบสูง ภายในบรรจุเหรียญ เงินตราสังข์เต็มกระปุก พบจากโบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๑๘
o ขัน เป็นขันสำริดทรงกระบอก เนื้อหนาผิวไม่สม่ำเสมอ สันนิษฐานว่าขึ้นรูปด้วยการตี และเป็นเครื่องใช้ในพิธีกรรม โบราณวัตถุชิ้นนี้พบจากโบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๖
o เชิงเทียน เป็นเชิงเทียนสำริด สันนิษฐานว่าขึ้น รูปด้วยการตี และเป็นเครื่องใช้ ในพิธีกรรม พบจากโบราณสถาน คอกช้างดิน หมายเลข ๖
o ตุ้มเหล็กเป็นตุ้มเหล็กรูปสี่เหลี่ยมคางหมู สภาพไม่สมบูรณ์ มีสนิมกินทั้งชิ้น ไม่ทราบลักษณะการใช้งาน แต่สันนิษฐานว่าเป็นตุ้มถ่วงชั่งน้ำหนัก พบจากโบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๖
o แท่งเหล็ก เป็นแท่งเหล็กเรียวยาวสภาพไม่สมบูรณ์ มีสนิม ไม่ทราบลักษณะ การใช้งานแต่สันนิษฐานว่าเป็นคานที่ใช้กับเครื่องชั่งน้ำหนัก เนื่องจากพบจากโบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๖ ใกล้กับตุ้มเหล็ก
o ใบมีด เป็นแผ่นเหล็กแบนยาว ด้านหนึ่งบางกว่าอีกด้าน คล้ายกับใบมีด มีสนิมเกาะทั้งแผ่น พบจากโบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๑๓
o แหวน เป็นเส้นลวดขดเกลียวเป็นเส้น และขดเป็นวงแหวน ไม่ทราบ ลักษณะการใช้งานที่แท้จริง สันนิษฐานว่าอาจเป็นของใช้ในพิธีกรรม พบจากโบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข ๑๓
o เบ้าหลอมเป็นแผ่นดินเผา มีหลุมตรงกลาง สันนิษฐานว่าเป็นเบ้าหลอมหรือ แม่พิมพ์ พบจากโบราณสถาน คอกช้างดิน หมายเลข ๑๓
โบราณสถานคอกช้างดิน มีทั้งส่วนที่คันดินสำหรับกักเก็บน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และส่วนที่เป็นอาคารศาสนสถานเนื่องในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เนื่องจากพบศิวลึงค์ ซึ่งเป็นรูปเคารพในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไศวนิกาย สัมพันธ์กับการเลือกใช้ภูเขาเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ อันเปรียบเสมือนเขาไกรลาศ ที่ประทับของพระศิวะ พื้นที่บริเวณคอกช้างดินจึงน่าจะเป็นพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำพิธีกรรมของพราหมณ์ในไศวนิกาย
ที่มาข้อมูล
กรมศิลปากร. โบราณคดีคอกช้างดิน. กรุงเทพฯ : ฟันนี่พับบลิชชิ่ง, ๒๕๔๕.
กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. สหมิตรพริ้นติ้ง : นนทบุรี, ๒๕๔๕.
เลขทะเบียน : นพ.บ.400/11ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4 x 50.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 145 (48-57) ผูก 11 (2566)หัวเรื่อง : สัมมหาวัคค์--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง สวดมนต์สิบสองตำนาน (สวดมนต์สิบสองตำนาน)สพ.บ. 435/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 150 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 56.5 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
วันนี้ในอดีต วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเข้าตีเมืองจันทบุรี วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ยึดเมืองจันทบุรีได้สำเร็จ
ย้อนหลังไปเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ.2310 ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ คือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ยกทัพ บุกตีเมืองจันทบูร และได้ปลุกขวัญกำลังใจเหล่าทหารด้วยการ ทุบหม้อข้าว หมายจะได้กินข้าวเช้าในเมืองจันทบูร หากตีเอาเมืองไม่ได้ ก็ให้ตายด้วยกันเสียให้หมด ถือว่าเป็นกลศึกที่ปลุกขวัญกำลังใจแก่ทหารกล้าเป็นอย่างมาก และเป็นยุทธวิธีอันลือลั่นมาจนถึงทุกวันนี้
"เราจะตีเมืองจันทบุรีในค่ำวันนี้ เมื่อกองทัพหุงข้าวเสร็จแล้ว ทั้งนายไพร่ให้เททิ้งอาหารที่เหลือและต่อยหม้อเสียให้หมด หมายไปกินข้าวเช้าด้วยกันที่ในเมืองเอาพรุ่งนี้ ถ้าตีเอาเมืองไม่ได้ในค่ำวันนี้ ก็จะให้ได้ตายเสียด้วยกันให้หมดทีเดียว"
ในวันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2310 ครั้นถึงเวลา 19.00 น. เจ้าตากจึงได้สั่งให้ทหารไทยและจีนลอบเข้าไปอยู่ตามสถานที่ที่ได้วางแผนไว้แล้ว ให้คอยฟังสัญญาณเข้าตีเมืองพร้อมกัน จึงให้โห่ขึ้นให้พวกอื่นรู้
เมื่อเวลา 03.00 น. เจ้าตากก็ขึ้นคอช้างพังคีรีบัญชร ให้ยิงปืนสัญญาณพร้อมกับบอกพวกทหารเข้าตีเมืองพร้อมกันส่วนเจ้าตากก็ไสช้างเข้าพังประตูเมืองจนทำให้บานประตูเมืองพังลง ทหารเจ้าตากจึงกรูกันเข้าเมืองได้ พวกชาวเมืองต่างพากันละทิ้งหน้าที่หนีไป ส่วนพระยาจันทบุรีก็พาครอบครัวลงเรือหนีไปยังเมืองบันทายมาศ เจ้าตากตีเมืองจันทบุรีได้ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 7 แรม 3 ค่ำ จุลศักราช 1129 ปีกุน นพศก เพลา 3 ยามเศษ ตรงกับวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2310 เวลาประมาณ 03.00 น. หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว 2 เดือน
วัดห้วยเสือ ตั้งอยู่ ณ บ้านห้วยเสือ หมู่ที่ 5 ตำบลสมอพรือ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งจากการเข้าไปสำรวจพบว่าวัดแห่งนี้มีการรวบรวมภาพจิตรกรรม โดยเป็นเรื่องราวของ “พระเวสสันดรชาดก” ชาติที่ 10 ของเรื่องราว “ทศชาติชาดก” หรือก็คือ 10 ชาติ ของการเล่าเรื่องราวการที่พระพุทธเจ้าทรงเวียนว่ายตายเกิด จนเป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย ซึ่งในปัจจุบันภาพดังกล่าวได้ถูกจัดเก็บไว้เป็นอย่างดี ณ วัดห้วยเสือ เพื่อเป็นการดำรงและรักษาภาพจิตรกรรมการแสดงคำสอนอันดีงามและเรื่องราวความเป็นมาทางพุทธศาสนาให้คงอยู่ต่อไป
สำหรับ ทศชาติ เรื่อง “พระเวสสันดรชาดก” ว่าด้วยเรื่อง 13 กัณฑ์ ถือได้ว่าเป็นเรื่องราวที่รู้จักมากที่สุดและมีความสำคัญมากที่สุดในบรรดาทศชาติชาดกทั้ง 10 ตอน และเป็นสาเหตุที่เวสสันดรชาดกถูกยกให้เป็นมหาชาตินั้น ก็เนื่องจากชาดกเรื่องนี้ถือเป็นพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนจะได้เป็นพระพุทธเจ้า อีกทั้งยังเป็นพระชาติที่ทรงบำเพ็ญบารมีครบทั้ง 10 ประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ทานบารมี” ที่ทรงบริจาคทุกสิ่งทุกอย่างทุกอย่าง แม้แต่ภรรยาและบุตรของตนเองก็บริจาค ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ทำได้ยากและเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
นอกจากนั้น สาเหตุที่ “พระเวสสันดรชาดก” นั้นเป็นที่ยกย่องและน่าเลื่อมใส เพราะเรื่องเวสสันดรชาดกนั้นมีคุณค่าที่สามารถนำไปประยุกต์เข้ากับชีวิตประจำวันได้ทุกระดับ โดย 13 กัณฑ์ ของเรื่องราว “พระเวสสันดรชาดก” สามารถศึกษาเเละทำความเข้าใจเพิ่มเติมได้ ดังนี้
เอกสารเเละหลักฐานสำหรับการสืบค้น
1. วัดห้วยเสือ, ภาพจิตรกรรม ทศชาติ เรื่อง “พระเวสสันดรชาดก” ว่าด้วยเรื่อง 13 กัณฑ์.
2. เจริญ ไชยชนะ. (2502), มหาเวสสันดรชาดก ฉบับ 5 กัณฑ์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ ไชยวัฒน์.
3. กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2561), เทศน์มหาชาติมหากุศล. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
4. ทิวาวรรณ อายุวัฒน์. (2561). ““ทศชาติชาดก 101”, ใน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี (ผู้รวบรวม), บทความทางวิชาการ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี. (หน้า 1). นครปฐม :มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.