ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,413 รายการ
ในการดำเนินงานทางโบราณคดีในกรุงเทพมหานคร เศษภาชนะดินเผาประเภทหนึ่งที่พบทั่วไป ในแหล่ง คือ เศษภาชนะดินเผาก้นกลม ตัวภาชนะคอดสั้น ขอบปากตั้งตรง หรือที่เรียกว่า ภาชนะทรงหม้อตาล ภาชนะดินเผาประเภทนี้ สันนิษฐานว่าใช้เป็นภาชนะบรรจุน้ำตาลเพื่อใช้ในครัวเรือน ซึ่งนับแต่สมัยอยุธยา – รัตนโกสินทร์ น้ำตาลเป็นสินค้าประเภทหนึ่งที่พ่อค้าชาวต่างประเทศนิยมชื้อจากไทย เนื่องจากคุณภาพดี ราคาถูก โดยในสมัยรัตนโกสินทร์ (พุทธศตวรรษที่ ๒๔ – ๒๕) น้ำตาลนับเป็นสินค้าสำคัญที่ชาวต่างประเทศให้ความสนใจ นอกเหนือจากข้าว เครื่องเทศ พริกไทยดำ รง ฝาง ฯลฯ บรรดาพืชผลเหล่านี้ส่งมาจากพื้นที่ตอนในของไทยมารวมอยู่ที่เมืองบางกอก แล้วจึงนำลงเรือสินค้าส่งต่อไปยังสิงคโปร์ บอมเบย์(ปัจจุบัน คือ มุมไบ ประเทศอินเดีย) และประเทศอังกฤษ เพื่อขายให้กับดินแดนต่างๆในยุโรป หนังสือวชิรญาณวิเศษ ร.ศ.๑๐๙ – ๑๑๐(พ.ศ.๒๔๓๓ – ๒๔๓๔) กล่าวถึง ผลผลิตน้ำตาลของไทยว่า “...สรรพน้ำตาลต่างๆที่ทำอยู่หรือมีอยู่ในประเทศเรานี้ มีอยู่ ๖ อย่าง คือ น้ำตาลทราย ๑ น้ำอ้อย ๑ น้ำตาลโตนด ๑ น้ำตาลมะพร้าว ๑ น้ำตาลจาก ๑ แต่น้ำตาลทรายนี้ต้องทำด้วยน้ำอ้อย น้ำตาลโตนดทำด้วยทะลายตาลหรืองวงตาลที่แรกออก น้ำตาลกรวดทำด้วยน้ำตาลทราย น้ำตาลมะพร้าวทำด้วยจั่นมะพร้าว น้ำตาลจากทำด้วยงวงจาก...” น้ำตาลที่มีการผลิตและใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทหม้อดินเผานั้นมีเฉพาะน้ำตาลโตนด ซึ่งราคาการจำหน่ายโดยทั่วไป ๑๔ หม้อเป็นเงิน ๑ บาท หากเป็นช่วงน้ำตาลโตนดขาดแคลน อาจจำหน่ายในราคา ๘ หม้อ ๑ บาท ภาชนะดินเผาทรงหม้อตาลที่พบส่วนใหญ่มีขนาดสูง ๗ – ๘ เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางส่วนปาก ๑๘ – ๒๓ เซนติเมตร อย่างไรก็ตาม ภาชนะดินเผารูปทรงนี้ยังพบในแหล่งโบราณคดีบริเวณศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ โรงพยาบาลศิริราช แหล่งโบราณคดีคลองคูเมือง(คลองบ้านขมิ้น) เช่นกัน โดยพบว่า ภาชนะดินเผาแบบนี้ หากมีขนาดเล็ก(ขนาดสูง ๓ – ๔ เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางส่วนปาก ๑๒.๖ – ๑๕ เซนติเมตร) มักพบมีปูนสีขาวบรรจุอยู่ภายในภาชนะดินเผานั้น (ซ้าย) ต้นมะพร้าว พืชชนิดหนึ่งที่ให้น้ำตาลในสยาม จากงานเขียนของซีมง เดอ ลา ลูแบร์(Simon de la Loubère) (ขวา) ซีมง เดอ ลา ลูแบร์(Simon de la Loubère) (พ.ศ.๒๑๘๕ – ๒๒๗๒) หัวหน้าคณะทูตฝรั่งเศสซึ่งเดินทางมาเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักอยุธยาเมื่อ พ.ศ.๒๒๓๐ (ซ้าย) ภาชนะดินเผาทรงหม้อตาล พบจากจากการดำเนินงานทางโบราณคดีบริเวณสนามด้านข้างพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (ขวา) ภาชนะดินเผาทรงหม้อตาล พบจากการงมในแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ (ซ้าย – ขวา) ภาชนะดินเผาทรงหม้อตาลขนาดเล็ก พบจากแหล่งโบราณคดีคลองคูเมืองเดิม(คลองบ้านขมิ้น) เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ------------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวเมธินี จิระวัฒนา นักโบราณคดีชำนาญการ กองโบราณคดี------------------------------------------------
ชื่อเรื่อง กฐินทานานิสํสกถา (อานิสงส์กฐิน)สพ.บ. 184/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 50 หน้า กว้าง 4.8 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง ไตรโลกวินิจฉัยบทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับทองทึบ ภาษาบาลี-ไทย ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณภิธมฺมเทสนา (เทศนาสังคิณี-ยมก)สพ.บ. 127/4ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 24 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง ธรรมเทศนา
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดประสพสุข ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.91/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 54 หน้า ; 5 x 56 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 54 (122-128) ผูก 5 (2564)หัวเรื่อง : สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (พระอภิธัมมสังคิรี-พระสมันตมหาปัฎฐาน) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ขอมภาษา : บาลี-ไทยบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง ปฐมสมฺโพธิ (ปฐมสมโพธิกถา)สพ.บ. 161/14ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 50 หน้า กว้าง 5.5 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา พระพุทธเจ้า
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
ตำรายาแผนโบราณ ชบ.ส. ๙๒
เจ้าอาวาสวัดนาจอมเทียน ต.นาจอมเทียน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕
เอกสารโบราณ (สมุดไทย)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.30/1-6
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
พระพุทธรูปนั่งปางแสดงธรรม มีพระมัสสุ สำริด สูง ๒๓ เซนติเมตร ศิลปะทวารวดี อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๖ (ประมาณ ๑,๐๐๐ – ๑,๑๐๐ ปีมาแล้ว) พบจากเจดีย์หมายเลข ๑๓ เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง พระพุทธรูปนั่ง ปางแสดงธรรม พระเศียรใหญ่ พระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยม พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา พระนาสิกใหญ่งุ้ม พระเนตรเหลือบลงต่ำ พระโอษฐ์หนาอมยิ้ม มีพระมัสสุอยู่เหนือขอบพระโอษฐ์ พระกรรณยาวเจาะเป็นช่อง เม็ดพระศกเล็ก พระอุษณีษะทรงกรวย พระรัศมีรูปดอกบัวตูม ครองจีวรห่มเฉียง จีวรเรียบบางแนบพระวรกาย ขอบสบงเป็นแนวที่บั้นพระองค์ มีชายสังฆาฏิอยู่เหนือพระอังสาซ้าย พระหัตถ์ขวายกขึ้นระดับพระอุระ แสดงวิตรรกะมุทรา (ปางแสดงธรรม) พระหัตถ์ซ้ายหงายขึ้นยึดชายจีวรไว้เหนือระดับพระเพลา ประทับนั่งขัดสมาธิราบอย่างหลวมๆ พระบาทซ้ายอยู่บนพระบาทขวา พระพุทธรูปองค์นี้แสดงถึงสุนทรียภาพและความนิยมแบบพื้นเมืองอันเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะทวารวดี ได้แก่ พระขนงที่ต่อกันเป็นรูปปีกกา และการแสดงวิตรรกะมุทรา เริ่มปรากฏอิทธิพลศิลปะเขมรขึ้น เห็นได้จากรูปแบบพระพักตร์สี่เหลี่ยม และพระพุทธรูปมีพระมัสสุเหนือขอบพระโอษฐ์ นอกจากนั้นรูปแบบพระรัศมีและสังฆาฏิที่พาดเหนือพระอังสาซ้ายนั้น เป็นอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบปาละ ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๗ (ประมาณ ๙๐๐ – ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว) ดังนั้นจึงอาจกำหนดอายุพระพุทธรูปองค์นี้ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๖ (ประมาณ ๑,๐๐๐ – ๑,๑๐๐ ปีมาแล้ว) การทำพระมัสสุหรือไรมัสสุ ในประติมากรรมสมัยทวารวดี น่าจะได้รับอิทธิพลโดยตรงจากศิลปะเขมร เนื่องจากการทำพระมัสสุนั้นมักปรากฏในกลุ่มเทวรูป และประติมากรรมภาพบุคคลหรือยักษ์ เริ่มตั้งแต่ศิลปะเขมร สมัยบาแค็ง (ราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๕ หรือประมาณ ๑,๑๐๐ ปีมาแล้ว) เป็นต้นมา ทั้งนี้นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่า การทำพระมัสสุหรือไรมัสสุในพระพุทธรูป อาจเกิดจากความเคยชินของช่างในการสร้างประติมากรรมที่เป็นเทวรูปก็เป็นได้ ----------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1501162320081515&id=153378118193282&sfnsn=mo ----------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. ศิลปะทวารวดี ต้นกำเนิดพุทธศิลป์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด, ๒๕๕๒. พนมบุตร จันทรโชติ และคณะ. นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง และเรื่องราวสุวรรณภูมิ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๕๐. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๖๒
เลขทะเบียน : กจ.บ.192/1ชื่อเรื่อง : ตำราวินิจฉัยโรคข้อมูลและลักษณะ : อักษรมอญ ภาษามอญ เส้นจาร ฉบับลานดิบ ประวัติ : ได้มาจากวัดท่าขนุน ต.ท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2533 จำนวน 1คัมภีร์ 1 ผูก จำนวนหน้า : 42 หน้า
กรมศิลปากรเตรียมเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ ในวันพิพิธภัณฑ์ไทย ๑๙ กันยายน ๒๕๖๔ พบโฉมใหม่ของการจัดแสดงโบราณวัตถุสมัยทวารวดี กว่า ๒๖๐ รายการ รับชมผ่านระบบออนไลน์ ได้ทาง facebook fanpage กรมศิลปากร และ youtube กรมศิลปากร นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า เนื่องในโอกาสวันพิพิธภัณฑ์ไทย ๑๙ กันยายน ๒๕๖๔ กรมศิลปากรกำหนดเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ ในรูปแบบใหม่ผ่านทางสื่อออนไลน์ ตามแบบชีวิตวิถีใหม่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด ๑๙ ภายหลังจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ ปิดให้บริการมาเป็นระยะเวลาเกือบ ๓ ปี ตั้งแต่เดือนเมษายน ๒๕๖๒ จนกระทั่งถึงเดือนกันยายน ๒๕๖๔ เพื่อปรับปรุงการจัดแสดงนิทรรศการถาวรภายในใหม่ โดยจัดแสดงโบราณวัตถุสมัยทวารวดี จำนวนกว่า ๒๖๐ รายการ อาทิ ธรรมจักร พระพุทธรูปทวารวดี จารึกวัดพระงาม เนื่องจากเมืองนครปฐมโบราณเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาเมืองในสมัยทวารวดี และเป็นเมืองสำคัญที่ตั้งอยู่ทางพื้นที่ลุ่มน้ำแม่กลอง – ท่าจีน จากทำเลที่ตั้งของเมืองนครปฐมโบราณที่มีความเหมาะสมต่อการตั้งเป็นบ้านเมือง จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เมืองนครปฐม มีความเจริญรุ่งเรือง กลายเป็นเมืองขนาดใหญ่นับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒ เป็นต้นมา โดยมีการพบหลักฐานโบราณวัตถุในสมัยทวารวดีเป็นจำนวนมาก ซึ่งได้รวบรวมจัดแสดงไว้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ การรวบรวมโบราณวัตถุที่พบที่เมืองนครปฐมครั้งใหญ่เกิดขึ้นในพุทธศักราช ๒๔๓๘ จากความ สนพระทัยในด้านประวัติศาสตร์ - โบราณคดีของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น โดยโบราณวัตถุที่รวบรวมได้ในระยะแรกถูกนำมาเก็บรักษาไว้บริเวณระเบียงคด รอบองค์พระปฐมเจดีย์ พุทธศักราช ๒๔๕๔ ได้เคลื่อนย้ายโบราณวัตถุดังกล่าวเข้าไปไว้ในวิหารด้านตรงข้ามพระอุโบสถ เรียกว่า “พระปฐมเจดีย์พิพิธภัณฑสถาน” ต่อมากรมศิลปากรใช้พื้นที่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ขององค์พระปฐมเจดีย์สร้างอาคารถาวรและเคลื่อนย้ายโบราณวัตถุที่ได้จากการรวบรวมในครั้งนั้นมาจัดแสดงเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมตั้งแต่ พุทธศักราช ๒๕๑๔ เป็นต้นมา โดยใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์” ตลอดระยะเวลาในการให้บริการประชาชนมากว่า ๕๐ ปี ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ ได้มีการปรับปรุงการจัดแสดงหลายครั้ง ครั้งล่าสุดในพุทธศักราช ๒๕๔๐ ซึ่งเป็นเวลากว่า ๒๐ ปีมาแล้ว ประกอบกับการรองรับโบราณวัตถุที่ค้นพบจากการดำเนินงานทางด้านโบราณคดีในเมืองนครปฐมที่พบหลักฐานทางโบราณคดีใหม่ ๆ มากมาย จึงได้จัดทำโครงการปรับปรุงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ขึ้น กรมศิลปากรหวังว่าการปรับปรุงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ ในครั้งนี้ จะทำให้ผู้ชมได้ เรียนรู้และมีความเข้าใจในประวัติศาสตร์ โบราณคดีและศิลปกรรมของไทย อีกทั้งเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดความสนใจ ในการศึกษา “ทวารวดี” ในเมืองนครปฐมโบราณ อันเป็นประโยชน์อย่างกว้างขวางในทางวิชาการต่อไป