ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,432 รายการ

วันนี้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ขอนำเสนอองค์ความรู้เรื่อง "สมุดไทยเรื่องพระมาลัย" โดยนักศึกษาฝึกงานจากมหาวิทยาลัยนเรศวร


[Event] กิจกรรมวันพิพิธภัณฑ์สากล 2567Museums for Education and Research : พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาและวิจัย วันที่ 15 พฤษภาคม 2567เวลา 09.30 – 12.30 น.สามารถรับชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook และ YoutubeOffice of National Museums, Thailand สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ขอเชิญร่วมเฉลิมฉลองกิจกรรมวันพิพิธภัณฑ์สากล 2567 กับเวทีการบรรยายและเสวนาโดยผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานด้านพิพิธภัณฑ์ รวมทั้งผู้มีส่วนสนับสนุนการศึกษาพิพิธภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆมาถ่ายทอดความรู้ พร้อมเบื้องหลังแนวทางการสร้างสรรค์กิจกรรมทางการศึกษาของพิพิธภัณฑ์ที่หลากหลายเพื่อเน้นย้ำความสำคัญของพิพิธภัณฑ์ในฐานะผู้ให้บริการทางการศึกษาและวิจัยอย่างแท้จริง กิจกรรมนี้เหมาะสำหรับใครบ้าง-   เครือข่ายพิพิธภัณฑ์ไทย-   สมาชิก ICOM Thailand-   ผู้ปฏิบัติงานและครีเอเตอร์ด้านพิพิธภัณฑ์ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม นิทรรศการ และหอศิลป์-   ผู้ที่ติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์-   นักวิชาการศึกษา นักเรียน นักศึกษา กำหนดการกิจกรรม09.30 – 09.45 น. พิธีเปิด09.45 – 10.00 น. “นโยบายการศึกษาและวิจัยของกรมศิลปากร”โดย นายพนมบุตร จันทรโชติ - อธิบดีกรมศิลปากร10.00 – 10.15 น. “มหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023”โดย นายประสพ เรียงเงิน - ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย10.15 – 10.30 น. “Museums for Education and Research in Taiwan”โดย National Taiwan Museum10.30 – 10.45 น. “พื้นที่ให้เล่า : เล่าเรื่องประวัติศาสตร์อย่างไรให้น่าสนใจ”โดย นางสาวมนสิชา รุ่งชวาลนนท์ เจ้าของ Facebook Page “พื้นที่ให้เล่า”10.45 – 11.00 น. “เที่ยวพิพิธภัณฑ์ทั่วโลกไปกับ Google”โดย นายจิระวัฒน์ ภูมิศรีแก้ว อดีตผู้บริหารบริษัท Google Thailand จำกัด11.00 – 11.15 น. “กิจกรรมการศึกษาพิพิธภัณฑ์ผ้าฯ : ประสบการณ์ภาคปฏิบัติ ในสังคมแห่งการเรียนรู้”โดย นางสาวณชนก วงศ์ข้าหลวง ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ11.15 – 12.00 น. “กิจกรรมสร้างสรรค์ ส่งเสริม Soft Power จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ”โดย นางสาววัชรี ชมภู ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรีนางสาวศุภวรรณ นงนุช ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครนางสาวธีรนาฎ มีนุ่น ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลาเวลา 12.00 – 12.30 น. “ฟื้นชีวิตโรงกลึงเก่า สู่พิพิธตลาดน้อย”โดย นายชลทิตย์  ไชยจันทร์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนาทรัพย์สินมีค่าของรัฐ กรมธนารักษ์นายจุฤทธิ์ กังวานภูมิ ผู้แทนจากชุมชนตลาดน้อย #วันพิพิธภัณฑ์สากล2567 #imd2024 #สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ #กรมศิลปากร


องค์ความรู้ เรื่อง 5 ขุนเขาแห่งเมืองอู่ทอง เรียบเรียง นางสาวกาญจนา ศรีเหรา บรรณารักษ์


นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร รับมอบเงินบริจาคจากชาวบ้านเขื่อนคงคา ตำบลโคกสะอาด อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ นำโดย 1.นายพิเชษฐ์ ที่รัก นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะอาด 2.นายบุญเรียน คำคง รองนายก อบต.โคกสะอาด 3.นายชัยศรี พันรัมย์ ส.อบต.บ้านเขื่อน ม.6 4.นายสิทธิโชค อินมา ผู้ช่วยผญบ.ม.6 5.นายมาโนช ผมทำ ผู้ช่วยผญบ.ม.6 6.นางสุภา เชญชาญ ตัวแทนผู้บริจาค เพื่อสมทบเงินกองทุนโบราณคดี กรมศิลปากร จำนวน 854,787.-บาท (แปดแสนห้าหมื่นสี่พันเจ็ดร้อยแปดสิบเจ็ดบาทถ้วน) วัตถุประสงค์เพื่อบูรณะอุโบสถวัดเขื่อนคงคา ตำบลโคกสะอาด อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์



เทศบาลเมืองแสนสุข จ.ชลบุรี (เวลา 11.00-12.00 น.) จำนวน 244 คน  วันพุธที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ น. คณะจากสำนักงานเทศบาลเมืองแสนสุข ต.แสนสุข อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรี จำนวน ๒๔๔ คน เข้าศึกษาดูงาน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ โดยมีนายธิริทธิ์ เรืองทวีทรัพย์ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ และนางสาว ณัฏฐกานต์ มิ่งขวัญ ตำแหน่ง เจ้าพนักงานพิพิธภัณฑ์ชำนาญงาน พร้อมด้วยว่าที่ร้อยตรีรุ่งเรือง ชื่นชม ตำแหน่ง พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ เป็นวิทยากรนำชมในครั้งนี้


           หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ขอเป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งปันหนังสือและสื่อการเรียนรู้ให้กับห้องสมุดที่ขาดแคลนหรือได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติในพื้นที่ภาคเหนือ ในโครงการ Read Me Around @NL.CNX สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : m.me/446551452388843 หรือ Scan QR Code             ท่านที่สนใจอยากจะเป็นส่วนนึงในการแบ่งปัน สามารถนำหนังสือใหม่ หรือหนังสือมือสองสภาพดีมาบริจาคด้วยตัวเองได้ที่หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ 20/1 ถนน บุญเรืองฤทธิ์ ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่ 50100 (ในวันและเวลาทำการ) ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมทาง Inbox Facebook : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ NL.CNX หรือ โทร 0 5327 8322


๑.การจัดแสดงภาพในอาคารจัดแสดง แบ่งออกเป็น    ชั้นล่าง จัดแสดงเรื่องราวด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดีของจังหวัดชัยนาท โบราณวัตถุที่จัดแสดง ได้แก่ เครื่องใช้ เครื่องประดับสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยทวารวดี พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ อีกส่วนหนึ่งจัดแสดงโบราณวัตถุที่สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา เช่น ตู้พระธรรม เครื่องบริขารถมปัด ประติมากรรมและเครื่องถ้วยในศิลปะลพบุรี สุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ และศิลปะจีนภาพห้องจัดแสดงชั้นล่าง ชั้นบน จัดแสดงพระพิมพ์ที่ได้จากการดำเนินงานทางโบราณคดีในประเทศไทย ตั้งแต่พระพิมพ์ในศิลปะทวารวดี ศิลปะศรีวิชัย ศิลปะลพบุรี ศิลปะอยุธยา ศิลปะรัตนโกสินทร์ แม่พิมพ์พระพิมพ์ แผงพระพิมพ์ไม้ และพระพุทธรูปสำริดขนาดเล็ก ในห้องจัดแสดงชั้นบนนี้ มีโบราณวัตถุชิ้นสำคัญของชาติ คือ พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านนา อิทธิพลสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๑ เป็นโบราณวัตถุที่เป็นสมบัติชิ้นสำคัญของชาติ พระพุทธรูปโบราณลักษณะนี้มีอยู่เพียงชิ้นเดียวในประเทศ ภาพห้องจัดแสดงชั้นบน  (ขวา)พระพุทธรูปปางมารวิชัย (หลวงพ่อเพชร) ศิลปะล้านนา-สุโขทัยโบราณวัตถุชิ้นสำคัญของชาติ ๒.การจัดแสดงนอกอาคารจัดแสดง อาคารพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน เป็นการจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตร การทำมาหากิน วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี ของคนไทยในอดีต แสดงถึงภูมิปัญญาพื้นบ้านที่คิดประดิษฐ์สิ่งของจากวัสดุธรรมชาติ ในการดำรงชีวิตประจำวันภาพอาคารจัดแสดงพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน







แหล่งโบราณคดีโนนหนองหอ ต.นาอุดม อ.นิคมคำสร้อย จ.มุกดาหาร เป็นแหล่งโบราณคดีในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย หรือ ยุคเหล็ก อายุประมาณ 2500 -1500 ปีมาแล้ว จากการดำเนินงานระหว่าง ปี 2550-2552 ทั้งงานโบราณคดีและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการมรดกศิลปวัฒนธรรมในชุมชนท้องถิ่น ทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลทางวิชาการที่สำคัญทั้งยังเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นในวงการโบราณคดีประเทศไทย นั่นก็คือ การค้นพบแหล่งผลิตกลองมโหระทึกในประเทศไทย  เมื่อพิจารณาถึงการแพร่กระจายกลองมโหระทึกตามชุมชนโบราณหลายแห่งในประเทศไทย ซึ่งเดิมเราต่างก็เชื่อกันว่ากลองมโหระทึกเหล่านั้นผลิตขึ้นในแถบจีนตอนใต้และเวียดนามเหนือทั้งสิ้น   จากหลักฐานสำคัญของแหล่งโบราณคดีโนนหนองหอ ไม่ว่าจะเป็น ชิ้นส่วนแม่พิมพ์กลอง เบ้าหลอม ก้อนโลหะ (สำริด /ทองแดง)  แม่พิมพ์เครื่องมือ  เครื่องมือเครื่องใช้สำริด  ได้แสดงถึงกิจกรรมด้านโลหะกรรมอย่างชัดเจน  โดยเฉพาะการหล่อกลองมโหระทึก ซึ่งยังไม่เคยปรากฎหลักฐานในดินแดนประเทศไทยมาก่อน    และอาจเป็นไปได้ว่ากลองมโหระทึกหลายใบที่พบในประเทศไทย โดยเฉพาะในเขตพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร อาจจะผลิตขึ้นที่แหล่งโบราณคดีแห่งนี้  นอกจากนั้นหลักฐานต่างๆที่ค้นพบยังบ่งบอกถึงลักษณะร่วมกันทางวัฒนธรรมหลายประการ สามารถนำไปสู่การอธิบายและแปลความการติดต่อสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างผู้คนในกลุ่มวัฒนธรรมเตียนในจีนตอนใต้ วัฒนธรรมดองซอนในเวียดนามตอนเหนือ และชุมชนโบราณของประเทศไทยต่อไป        ( โดย สุกัญญา เบาเนิด นักโบราณคดีชำนาญการ)            หมายเหตุ ดูหลักฐานสำคัญที่คลังภาพ  http://www.finearts.go.th/node/125/shows_teaser/photos


วันอังคารที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๐.๒๐ – ๑๐.๕๕ น. นักท่องเที่ยวจากจังหวัดอุดรธานี รวมจำนวน ๙ คน เข้าเยี่ยมชมอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท โดยมีนางสาวมนัสญา  ปริวรรณ ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม


Messenger