ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 41,150 รายการ

ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1  สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร ปีที่พิมพ์ : 2474 หมายเหตุ : พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ ท่านผู้หญิงยมราช (ตลับ สุขุม) วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2474             ลัทธิธรรมเนียมต่างๆ ภาคที่ 19 ตำราแบบธรรมเนียมในราชสำนัก ครั้งกรุงศรีอยุธยา นี้ ในตอนต้นกล่าวถึงตำรากระบวนเสด็จพระราชดำเนินครั้งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งมีทั้งกระบวนเสด็จโดยทางชลมารคและกระบวนเสด็จทางสถลมารค สำหรับกระบวนเสด็จทางสถลมารคนั้นประกอบไปด้วยกระบวนราบ กระบวนช้าง และกระบวนม้า กล่าวถึงกระบวนเสด็จพระพุทธบาท และการรักษาพระนครเวลาเสด็จไม่อยู่ และในตอนปลายกล่าวถึงตำราหน้าที่มหาดเล็ก ตำราหน้าที่ชาวที่ ตำราหน้าที่ตำรวจ ตำราหน้าที่กรมวัง ตำราราชาภิเษกครั้งกรุงศรีอยุธยา ตำราอุปราชาภิเษกเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต และพระตำราทรงเครื่องต้น


ชื่อเรื่อง : สารคดีการแพทย์ ชื่อผู้แต่ง : ดร.สยามสมัย ปีที่พิมพ์ : 2503 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์ จำนวนหน้า : 434 หน้า สาระสังเขป : สารคดีการแพทย์ เล่มนี้ ดร. สยามสมัยได้รวบรวมความรู้ทางวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ให้ผู้อ่านได้มีความรู้เบื้องต้นของอาการต่าง ๆ ว่าเป็นเพราะโรคหรือเพราะสาเหตุใด จะได้รู้เท่าทัน และถ้ามีผู้ที่เผชิญความเจ็บไข้ได้ป่วยอยู่ จะได้รู้ตัวรีบจัดการไปรับการรักษาอย่างถูกวิธี ก่อนที่จะเสียชีวิตอันมีค่าโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้


#อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี เดือนมีนาคม สำหรับชาวนครราชสีมา เป็นเดือนแห่งการระลึก วีรกรรมท่านท้าวสุรนารี หรือเป็นที่รู้จักกันว่า "วีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์" ซึ่งเป็นเหตุการณ์ ขณะท้าวสุรนารีเเละหญิงชาวเมืองนครราชสีมาถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลย เเต่ภายหลังเมื่อพักแรมที่บ้านสัมฤทธิ์ (ปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลสัมฤทธิ์ อำเภอพิมาย) สามารถเข้าสู้เเละรอดพ้นภัยจากข้าศึกศัตรูได้สำเร็จ จนภายหลัง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได่สถาปนาคุณหญิงโมขึ้นเป็นท้าวสุรนารี ในปี 2370 อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี สร้างขึ้นในปี 2476 โดยมี ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เเละพระเทวาภินิมมิต ซึ่งพื้นเพเป็นชาวนครราชสีมา ร่วมกันออกแบบ อนุสาวรีย์หล่อด้วยทองแดงรมดำสูง 185 เซนติเมตร หนัก 325 กิโลกรัม ประดิษฐานอยู่บนไพทีสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองสูง 250 เซนติเมตร หน้าประตูชุมพล (ประตูเมืองนครราชสีมาด้านทิศตะวันตก) เเละทำพิธีเปิดในช่วงต้นปี 2477 เเละได้มีการซ่อมแซมส่วนฐานอนุสาวรีย์เพื่อบรรจุอัฐิของท่าน ในปี 2510 โดยมีสภาพดังปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน กรมศิลปากร ได้กำหนดให้ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี เเละประตูชุมพล พร้อมด้วยแนวกำแพงเมืองนครราชสีมาใบเสมาข้างละ 10 ใบ ที่ยืดออกจากประตูชุมพล เป็นโบราณสถานสำหรับชาติ ในปี 2480 ในเขตพื้นที่เมืองเก่านครราชสีมา ยังมีโบราณสถานที่กรมศิลปากร ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานอีก 3 แห่ง ได้แก่ วัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร สถานพระนารายณ์ เเละศาลหลักเมือง "...เป็นแสงสว่างอยู่กลางเมือง รุ่งเรืองสตรีวีรชน ใครไหว้ใครบน ได้ดังอธิษฐาน..." ปัจจุบัน อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ยังคงตั้งเด่นตระหง่านหน้าประตูชุมพล เป็นที่เคารพบูชา ขอพร ผ่านไปผ่านมาต้องเเวะไหว้ ของชาวนครราชสีมา เเละชาวไทย ทุกคน มายาวนานกว่า 87 ปี


ชื่อผู้แต่ง         - ชื่อเรื่อง            อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพร้อยเอกแม้น สังขวิจิตร ครั้งที่พิมพ์     - สถานที่พิมพ์   กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์      โรงพิมพ์กรมสารบรรณทหารอากาศ ปีที่พิมพ์          2517 จำนวนหน้า     197 หน้า รายละเอียด                  หนังสือที่ระลึกงานพระราทานเพลิงศพร้อยเอกแม้น สังขวิจิตร เนื้อหาประกอบด้วยประวัติผู้เสียชีวิต คำไว้อาลัย พระธรรมจักรกัปปวัตนสูตรเทศนาโดยสมเด็จพระสังฆราชวัดเบญจมบพิตรธรรมอันเหตุแห่งความเจริญยศ โดยสมเด็จพระสังฆราชวัดมงกุฎกษัตริยาราม ทำอย่างไรจึงจะอายุวัฒโก การปฏิบัติครั้งแรกในไทย (ร.ศ.๑๓๐) เรื่องสิ้น “ปู่แม้น” โดยสังขวิจิตร และก้อยแกลงโดยนาวาอากาศเอกมานะ สังขวิจิตร บุตรชาย


          กรมศิลปากร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ขอเชิญถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุ สามเณร และร่วมทำบุญ เนื่องในเทศกาลเข้าพรรษา ประจำปี ๒๕๖๕ ในวันที่ ๑๗ – ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร          การจัดกิจกรรมเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ถือเป็นธรรมเนียม ปฏิบัติของกรมศิลปากรมาตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๖๔ โดยอาราธนาพระภิกษุและสามเณร เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานเป็นกรณีพิเศษ ปีละ ๒ วัน พร้อมทั้งจัดถวายภัตตาหารเพลและกัปปิยภัณฑ์ต่าง ๆ สำหรับปีนี้ ซึ่งเป็นโอกาสครบรอบ ๑๐๑ ปี กรมศิลปากรจึงจัดกิจกรรมดังกล่าวขึ้น ระหว่างวันที่ ๑๗ - ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ตรงกับแรม ๔ ค่ำ และแรม ๕ ค่ำ เดือนแปด เพื่อให้พระภิกษุสามเณร ผู้ดูแลรักษาทรัพย์สินในพระศาสนาอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติที่เก็บรักษาไว้ตามวัดต่าง ๆ ได้เข้าชมโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ เนื่องในพระพุทธศาสนาที่จัดแสดงภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร            ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคปัจจัยและถวายกัปปิยภัณฑ์ เพื่อร่วมทำบุญในกิจกรรมดังกล่าว ได้ที่ งานธุรการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๗๐ เวลา ๐๘.๓๐ น. – ๑๖.๓๐ น. (วันพุธ – วันอาทิตย์)


ชื่อเรื่อง                     สพ.ส.6 ตำรายาแผนโบราณประเภทวัสดุ/มีเดีย       สมุดไทยดำISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                  เวชศาสตร์ลักษณะวัสดุ              25; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง                    เวชศาสตร์                        ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   ประวัติวัดลาวทอง ต.สนามชัย  อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 15 ส.ค.2538 


ชื่อเรื่อง                                มหานิปาต (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกปาลิ ขุทฺทกนิกาย (คาถาพัน) สพ.บ.                                  419/1 ประเภทวัสดุมีเดีย                 คัมภีร์ใบลาน หมวดหมู่                             พุทธศาสนา ลักษณะวัสดุ                         86 หน้า กว้าง 5.5 ซม. ยาว 56.7 ซม. หัวเรื่อง                                พุทธศาสนา                                            เทศน์มหาชาติ                                            ชาดก บทคัดย่อ/บันทึก           เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอมธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ  ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี



          กรมศิลปากร ขอเชิญร่วมกิจกรรมเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย พุทธศักราช ๒๕๖๕ Museum Talk “พลังพิพิธภัณฑ์ สร้างสรรค์ไทย: The Power of Thai Museums” พร้อมเปิดให้เข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยไม่เก็บค่าธรรมเนียมเข้าชม ในวันจันทร์ที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๕ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร            ตามที่คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบให้วันที่ ๑๙ กันยายน ของทุกปี เป็นวันพิพิธภัณฑ์ไทย กรมศิลปากร โดยสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และภาคีเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ไทยขอเชิญร่วมรับฟัง Museum Talk “พลังพิพิธภัณฑ์ สร้างสรรค์ไทย: The Power of Thai Museums” กับมุมมองหลากหลายและประสบการณ์จากเครือข่ายพิพิธภัณฑ์กรมศิลปากร ที่จะมาเป็นแรงพลังให้พิพิธภัณฑ์ไทยอีกมากมาย ก้าวเดินต่อไปพร้อมกับสังคมโลกอย่างมั่นคง ในวันจันทร์ที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๕ ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตั้งแต่เวลา ๐๙.๓๐ น เป็นต้นไป และถ่ายทอดสดผ่านทาง YouTube และ Facebook : Office of National Museums, Thailand ประกอบด้วย การปาฐกถาพิเศษ เรื่อง พิพิธภัณฑ์กับการอนุรักษ์มรดกไทย โดยอธิบดีกรมศิลปากร การบรรยายพิเศษ “A New Museum Definition: ICOM Prague 2022” โดยนางสมลักษณ์ เจริญพจน์ ผู้อำนวยการศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ (SPAFA) และการบรรยายใน ๓ หัวข้อ ได้แก่           "The Power of Achieving Sustainability" เรื่อง การเพิ่มคุณค่าสู่การสร้างมูลค่าภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยพระปลัดประพจน์ สุปภาโต เจ้าอาวาสวัดสำโรง พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดสำโรง จังหวัดนครปฐม เรื่อง พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน การอนุรักษ์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยนายเอิบเปรม วัชรางกูร ที่ปรึกษาด้านโบราณคดี มูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เรื่อง พิพิธภัณฑ์ที่มุ่งเน้นความหลากหลายและความยั่งยืนทางวัฒนธรรม โดย ผศ.ดร.พรู คูศรีพิทักษ์ วิวิธชาติพันธุ์ พิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยาวัฒนธรรม สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล            “The Power of Innovating on Digitalisation and Accessibility" เรื่อง การปรับตัวเข้าสู่โลกออนไลน์: นิทรรศการหมุนเวียนเล่าเรื่องอาคารกับวันวานรอบพิพิธภัณฑ์และการเริ่มต้นเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลพระปกเกล้าศึกษา โดยนางกาญจนา ศรีปัดถา ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง E-BOOK ใน QR CODE โดย นาวาเอก ไพรัช สมุทรสินธุ์ หัวหน้าพิพิธภัณฑ์ทหารเรือ กองประวัติศาสตร์ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ กองทัพเรือ เรื่อง การบริหารพิพิธภัณฑ์ในยุคดิจิทัล โดยนางสาวสำเภาว์ งามเชย รองผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) เรื่อง พิพิธภัณฑ์กับการสื่อสารร่วมสมัย โดยนายชนะภพ วัณณโอฬาร ภัณฑารักษ์ สำนักศิลปและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา            “The Power of Community Building Through Education” เรื่อง พิพิธภัณฑ์ในสังกัดกองส่งเสริมและพัฒนาทรัพย์สินมีค่าของรัฐ และการมีส่วนร่วมกับชุมชน โดยนายชลทิตย์ ไชยจันทร์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนาทรัพย์สินมีค่าของรัฐ กรมธนารักษ์ เรื่อง งานวิจัยพื้นที่สามวัยโดยบริบทของนิทรรศการ และกิจกรรมในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เป็นฐาน โดยนางสาววิลาสินี ไตรยราช ผู้อำนวยการกองวิจัยและบริการวิชาการ ศูนย์พัฒนาความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เรื่อง ความรู้เรื่องที่ดินกับชุมชนผ่านวัตถุจัดแสดง โดยนายชัยวัฒน์ ไชยประเสริฐ ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑ์กรมที่ดิน เรื่อง พิพิธภัณฑ์รัฐสภา: MUSEUM FOR ALL โดยนายเชษฐา ทองยิ่ง ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานพิพิธภัณฑ์และจดหมายเหตุ สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง มิวเซียมสยามและชุมชนท่าเตียน โดยนายทวีศักดิ์ วรฤทธิ์เรืองอุไร ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายนิทรรศการและกิจกรรม มิวเซียมสยาม สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ          ทั้งนี้ ในวันจันทร์ที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๕ เนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เปิดให้บริการเป็นกรณีพิเศษ งดเก็บค่าธรรมเนียมเข้าชม โดยสามารถเข้าชมการจัดแสดงนิทรรศการได้ทุกห้องจัดแสดง  อาทิ นิทรรศการพิเศษ เรื่อง “เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย: สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก” ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน การจัดแสดงนิทรรศการถาวร ประณีตศิลป์สยาม ณ หมู่พระวิมาน พระราชวังบวรสถานมงคล การจัดแสดงนิทรรศการถาวร ประวัติศาสตร์และโบราณคดี อาคารมหาสุรสิงหนาท และอาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ ผู้สนใจสามารถเข้าชมโดยไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชม ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร           นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมนำผู้สนใจเข้าชมนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย : สานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก” ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในวันจันทร์ที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. บรรยายนำชมโดยวิทยากรจากทีมงานผู้จัดนิทรรศการฯ ทั้งนักโบราณคดี ภัณฑารักษ์และนักวิชาการอิสระ และเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถเข้าชมและฟังการบรรยายได้อย่างทั่วถึง จึงจัดการเข้าชมเป็นสองรอบคือ รอบแรกเวลา ๑๓.๓๐ น. (ลงทะเบียน เวลา ๑๓.๐๐ น.) และรอบที่สองเวลา ๑๔.๔๕ น. (ลงทะเบียนเวลา ๑๔.๐๐ น.) รอบละ ๓๐ คนเท่านั้น ผู้สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่หน้าห้องประชุม อาคารดำรงราชานุภาพ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒ และ ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๓๓ เวลา ๐๘.๓๐ น. – ๑๖.๓๐ น. วันพุธ - วันอาทิตย์ สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม ทางผู้จัดฯ มีของที่ระลึกแจกสำหรับผู้ที่แต่งกายเข้ากับบรรยากาศของนิทรรศการพิเศษ 


         เวียนบรรจบครบรอบความสัมพันธ์ทางพระราชไมตรี ๑๓๕ ปี ระหว่างรัฐบาลญี่ปุ่นสมัยเมจิ กับรัฐบาลไทยรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้ร่วมลงนามในหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี ทางการค้าแลการเดินเรือเมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ.๒๔๓๐ ทว่าโดยแท้จริง ชาวญี่ปุ่นรู้จักเราในนาม “ชิยามุโระ” (สยาม?) หรือ “ชามุโรโกกุ” (อยุธยา) มาแล้วกว่า ๖๐๐ ปี แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันดีของสองอาณาจักรที่มีต่อกันตั้งแต่ระดับราชสำนักถึงการพาณิชย์ในระดับรัฐบาล เพจคลังกลางฯ จึงขอใช้โอกาสนี้ เสนอเนื้อหาว่าด้วยเรื่อง ...๑๓๕ ปีแห่งพระราชไมตรีทางการค้า สนธิสัญญา กับความสัมพันธ์ระหว่างกรุงสยาม แลกรุงญี่ปุ่น             โดยการค้าระหว่างอาณาจักรช่วงยุคแรก เกิดขึ้นระหว่างกรุงศรีอยุธยากับ “ริวกิว” อาณาจักรอิสระที่ตั้งอยู่ในเกาะโอกินาวะ มีสินค้าที่นิยมใช้แลกเปลี่ยนค้าขาย เช่น สุรา ผ้าฝ้าย ผ้าไหม พริกไทย ไม้ฝาง ตลอดจนสินค้ากลุ่มเครื่องปั้นดินเผา ดังมีหลักฐานการขุดค้นบริเวณปราสาทซูริ และปราสาทนาคิจิน ไม่ว่าจะเป็นตลับเคลือบขาวเขียนลายสีน้ำตาล และเศษสังคโลกเคลือบเขียวจากจังหวัดสุโขทัย แต่ส่วนใหญ่เป็นไหสี่หูจากเตาแม่น้ำน้อย จังหวัดสิงห์บุรี ซึ่งแต่ละที่ก็มีวิธีการใช้งานแตกต่างกัน อย่างภาชนะที่พบบริเวณปราสาทซูริน่าจะนำมาใช้ประกอบพิธีกรรมด้วยพบอยู่ในพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงใช้บรรจุกระดูกเจ้าเมืองในอดีต ส่วนภาชนะที่พบบริเวณใจกลางปราสาทนาคิจิน สันนิษฐานว่าภาชนะเหล่านี้น่าจะถูกนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน นอกจากนั้น ยังเคยขุดพบภาชนะที่มีอายุในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๒ เช่น ไหประทับลายดอกไม้ ซึ่งเทคนิคการกดประทับแสดงให้เห็นว่าโบราณวัตถุชิ้นนี้ผลิตจากเตาบ้านบางปูน จังหวัดสุพรรณบุรี หรือหม้อซุงโกะรุกุ (สวรรคโลก?) กำหนดอายุอยู่ในสมัยอยุธยาตอนกลาง สอดรับกับที่ช่วงเวลาหนึ่งของประเทศญี่ปุ่นมีการสร้างเครื่องปั้นดินเผาเลียนแบบศิลปะอยุธยา เรียกว่า ภาชนะกลุ่มเตาซะซุมะ           จนเมื่อมีการทำสนธิสัญญาระหว่างกันเมื่อปี ๒๔๓๐ แล้ว ได้เกิดความร่วมมือกันในหลายด้านโดยลำดับ ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนให้เกิดกรมช่างไหมในกระทรวงเกษตรและพาณิชย์ สมัยรัชกาลที่ ๕ การก่อตั้งโรงเรียนประจำสำหรับผู้หญิง ภายหลังสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงแวะสังเกตการณ์กิจการด้านการศึกษา ณ ประเทศญี่ปุ่น ทั้งยังโปรดเกล้าฯ ให้จ้างครูมาอยู่ประจำที่โรงเรียนนั้นถึง ๓ คน นอกจากนี้ ยังมีนายช่างญี่ปุ่น “มิกิ ซาคาเอะ” ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงรัก ได้เข้ามาปฏิบัติราชการในสำนักพระราชวัง รับหน้าที่ซ่อมแซมงานศิลปกรรม ตลอดจนเครื่องราชูปโภคต่าง ๆ ในพระบรมมหาราชวัง กระทั่งภายหลังได้บรรจุเป็นครูมหาวิทยาลัยศิลปากร รวมถึงในด้านศาสนา เมื่อประเทศไทยได้รับมอบพระบรมสารีริกธาตุจากประเทศอินเดีย รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประสานขอพระราชทานพระบรมสาริกธาตุนั้น ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานที่วัดนิทไทจิ เมืองนาโงยา แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันดีของสองอาณาจักรที่เจริญวัฒนาสืบมา อย่างไรก็ดี แม้ญี่ปุ่นจะกำลังเข้าสู่ปีที่ ๔ ของยุคเรวะและประเทศไทยอยู่ในแผ่นดินรัชกาลที่ ๑๐ ก็ตาม ความสัมพันธ์ของสองอาณาจักรก็จะยังแนบแน่น มั่นคงไม่เสื่อมคลายเฉกเช่นที่ผ่านมา               ภาพที่ ๑ ตัวอย่างชั้นดินและเครื่องปั้นดินเผาจากการขุดค้นทางโบราณคดี ภาพที่ ๒ ตัวอย่างไหสี่หูและภาชนะกระเบื้องเคลือบที่พบในประเทศญี่ปุ่น ภาพที่ ๓ ตัวอย่างไหสี่หูญี่ปุ่นที่นำเข้าจากประเทศไทย            เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร


ผู้เรียบเรียง  นางสาววารุณี วิริยะชูศรี บรรณารักษ์



สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 144/6 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 177/3ขเอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


          กรมศิลปากร โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป เปิดรับสมัครอบรมศิลปะภาคฤดูร้อน ครั้งที่ ๔๐ ให้แก่เด็กและเยาวชน ตลอดจนประชาชนผู้สนใจ ใน ๓ ทักษะ ได้แก่ วาดการ์ตูน, สีน้ำ, และลายเส้น แบ่งเป็น รอบเช้า ๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. และรอบบ่าย ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. สมัครได้ตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๖ ทุกวันพุธ - อาทิตย์ เวลา ๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. (หยุดวันจันทร์ - วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครได้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป โทร. ๐ ๒๒๘๑ ๒๒๒๔          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป จัดอบรมศิลปะในช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน ระหว่างวันที่ ๑๙ – ๓๐ เมษายน ๒๕๖๖ วันพุธ – อาทิตย์ (หยุดวันจันทร์ – อังคาร) จำนวน ๓ หลักสูตร ได้แก่ การวาดการ์ตูน การวาดสีน้ำ และการวาดลายเส้น ดังนี้                                    ๑. การวาดการ์ตูน เรียนพื้นฐานการวาดการ์ตูน โดยฝึกการสังเกต และนำเอาลักษณะเด่นของ สิ่งต่าง ๆ มาถ่ายทอดลงในผลงานศิลปะสร้างสรรค์ เพื่อเสริมสร้างและต่อยอดจินตนาการ แบ่งเป็นระดับ ป.๑ - ป.๓ และ ป.๔ – ป.๖            ๒. การวาดสีน้ำ เรียนพื้นฐานการวาดภาพสีน้ำ ตั้งแต่การผสมสี การวางโครงร่างของภาพ โดย สอดแทรกการลงสีด้วยเทคนิคต่าง ๆ เช่น การระบายสีเปียกบนเปียก เปียกบนแห้ง และการระบายเคลือบ แบ่งเป็นระดับ ป.๔ - ป.๖ และ ม.๑ ขึ้นไป – บุคคลทั่วไป           ๓. การวาดเส้น เรียนพื้นฐานการวาดภาพลายเส้นแบบต่างๆ การวาดเส้นจากหุ่นนิ่ง การให้น้ำหนักและแสงเงา ระดับ ม.๑ ขึ้นไป – บุคคลทั่วไป           ผู้สนใจเข้าร่วมอบรมศิลปะภาคฤดูร้อน ครั้งที่ ๔๐ สามารถสมัครด้วยตนเอง หรือสมัครโดยผู้ปกครอง ตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๖ (ไม่รับสมัครหรือรับจองทางออนไลน์) วันพุธ - อาทิตย์ เวลา ๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. (หยุดวันจันทร์ - อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) เอกสารที่ใช้ในการสมัคร ได้แก่ รูปถ่าย ๑ นิ้ว จำนวน ๑ ใบ สำเนาทะเบียนบ้านหรือสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับการอบรม ค่าลงทะเบียน คนละ ๑,๗๐๐ บาท ต่อหลักสูตร (รวมอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรมแล้ว) สมัครและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า (เชิงสะพานพระปิ่นเกล้า) เขตพระนคร กรุงเทพฯ โทร. ๐ ๒๒๘๑ ๒๒๒๔ และ ๐๘ ๕๒๐๕ ๙๗๔๐ วันพุธ – วันอาทิตย์ หรือเฟสบุ๊ก : TheNationalGalleryThailand  


Messenger