ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,340 รายการ

ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           43/6ประเภทวัสดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                               52 หน้า : กว้าง 5.1 ซม. ยาว 57.3 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา



ชื่อผู้แต่ง           ชำเลือง วุฒิจันทร์ ชื่อเรื่อง           หลักชัย วันเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ๒๕๒๐ ครั้งที่พิมพ์        - สถานที่พิมพ์      กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์        คุรุสภาลาดพร้าว ปีที่พิมพ์          ๒๕๒๐ จำนวนหน้า      ๑๑๒ หน้า รายละเอียด      หนังสือเล่มนี้ คณะกรรมการจัดงานฉลองวันเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ได้มีมติให้จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่และจำหน่าย  รายได้จากการจำหน่ายหนังสือเล่มนี้ เพื่อสมทบทุนการศึกษาสำหรับนักเรียน  ที่ขาดแคลน เนื้อหาในหนังสือนี้ อบรมให้นักเรียน นิสิต ประชาชน มีความรัก เทิดทุนและยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศ คือ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ มีความภูมิใจในวัฒนธรรม เข้าใจ      การปกครองของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 144/4 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 177/3เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


วัดเจดีย์กลางทุ่ง ตั้งอยู่นอกเมืองนครชุมทางด้านทิศใต้ ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองกำแพงเพชร ตัววัดหันหน้าไปทางทิศตะวันออกไม่ปรากฏแนวกำแพงวัด แต่มีการขุดคูน้ำโดยรอบเพื่อแสดงขอบเขตวัดเรียกลักษณะนี้ว่า “อุทกสีมา” ซึ่งเป็นรูปแบบแผงผังวัดที่นิยมสร้างในสมัยสุโขทัย สิ่งก่อสร้างสำคัญภายในวัดประกอบด้วยวิหารก่อด้วยอิฐปัจจุบันเหลือเฉพาะส่วนฐานอาคาร ด้านหลังวิหารเป็นเจดีย์ประธานทรงยอดดอกบัวตูม สภาพค่อนข้างสมบูรณ์  ประกอบด้วยฐานหน้ากระดานในผังสี่เหลี่ยมซ้อนลดหลั่นกันสามชั้น จากนั้นเป็นฐานบัวที่ยืดท้องไม้สูงประดับลูกแก้วอกไก่ 2 เส้น อยู่ในผังสี่เหลี่ยม ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวลูกฟักเพิ่มมุมไม้ยี่สิบซ้อนกันสองชั้น (ชั้นแว่นฟ้า) ตามด้วยส่วนเรือนธาตุเพิ่มเหลี่ยมมุมไม้ยี่สิบรองรับส่วนยอดทรงดอกบัวตูม ส่วนปลีหักหาย           เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม มีที่มาของชื่อตามลักษณะของส่วนยอดซึ่งคล้ายดอกบัวตูม และการพบเจดีย์ลักษณะเดียวกันบางองค์ ปรากฏการทำกลีบบัวประดับทรงดอกบัวตูม โดยชื่อของเจดีย์ทรงนี้เรียกกันหลายอย่างอาทิเช่น เจดีย์ทรงดอกบัวตูม ทรงทะนาน หรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์           เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมนี้ถือเป็นรูปแบบเฉพาะของสถาปัตยกรรมสุโขทัย เนื่องจากพบเจดีย์ทรงนี้อย่างแพร่หลายตามหัวเมืองต่าง ๆ หรือที่เกี่ยวข้องกับเมืองสุโขทัย มีรายละเอียดส่วนประกอบโดยรวม ดังนี้            ส่วนฐาน ประกอบด้วยฐานหน้ากระดานหรือฐานเขียงอยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส 3-5 ฐาน รองรับฐานบัวลูกแก้วอกไก่ (บัวคว่ำ-บัวหงาย) ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส 1 ฐาน ซึ่งมีลักษณะเป็นฐานบัวที่ยืดท้องไม้สูงประดับลูกแก้วอกไก่ 2 เส้น            ส่วนกลาง ประกอบด้วยชุดฐานบัวลูกฟักซ้อนกัน 2 ฐาน ส่วนใหญ่อยู่ในผังเพิ่มมุมไม้ยี่สิบ นิยมเรียกชุดฐานบัวทั้งสองฐานนี้ว่า “ชั้นแว่นฟ้า” ถัดขึ้นไปเป็นส่วนของเรือนธาตุอยู่ในผังเพิ่มมุมไม้ยี่สิบเช่นเดียวกับฐานมี 2 รูปแบบ คือ เรือนธาตุไม่มีจระนำซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป ซึ่งพบมากที่สุด และรูปแบบเรือนธาตุมีจระนำซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปทั้งสี่ด้าน ซึ่งพบเพียงไม่กี่องค์เท่านั้น เช่น เจดีย์ประธานวัดตระพังเงิน เมืองสุโขทัย           ส่วนยอด ประกอบด้วยส่วนที่เชื่อมต่อเหนือเรือนธาตุมีชั้นซ้อน 1 ชั้น ประดับด้วยบรรพแถลง และกลีบขนุน แล้วจึงต่อด้วยส่วนยอด คือ ส่วนองค์ระฆัง ประกอบด้วยองค์ระฆังที่เป็นทรงพุ่มคล้ายดอกบัวตูม และเหนือส่วนยอดของดอกบัวตูมทำเป็นวงแหวนซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ลักษณะเดียวกับปล้องไฉนของเจดีย์ทรงระฆังรองรับส่วนยอดสุดคือ ปลี   ทั้งนี้ซุ้มบรรพแถลงของเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมมักพบการประดับหน้ากาลเต็มพื้นที่ คาดว่าน่าจะเป็นเพราะบรรพแถลงมีขนาดเล็กมาก และอยู่สูง เช่น เจดีย์ประธานวัดเจดีย์เจ็ดแถว            นอกจากนี้เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมบางกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ และเป็นเจดีย์ประธานอันสำคัญที่สุดของวัดจะมีการทำบันไดบริเวณส่วนฐานด้านทิศตะวันออกขึ้นไปถึงส่วนเรือนธาตุ โดยรวมแล้วเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมมีลักษณะรูปแบบเดียวกันกับที่กล่าวถึงข้างต้น จะมีเพียงบางองค์ ที่มีลักษณะแตกต่างไปคือ มีองค์ประกอบไม่ครบถ้วนตามระเบียบของเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมโดยทั่วไป เช่น ไม่มีชั้นเขียง ไม่มีชั้นแว่นฟ้า มีชั้นแว่นฟ้าเพียงชั้นเดียว หรือมีการเพิ่มชั้นฐานบัว เป็นต้น   ตัวอย่างเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ในเมืองสุโขทัย ได้แก่ เจดีย์ประธาน วัดมหาธาตุ, เจดีย์วัดอโสการาม และเจดีย์ประธานวัดตระพังเงิน เป็นต้น   การกำหนดอายุโดยวิธีการเปรียบรูปแบบสถาปัตยกรรม และอ้างอิงจากอายุของวัดที่พบรูปแบบสถาปัตยกรรมเดียวกัน ในที่นี้จึงทำการกำหนดอายุเปรียบเทียบโดยใช้เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมเป็นสื่อกลางในการอ้างอิงระหว่างวัดเจดีย์กลางทุ่ง ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร และเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมในสมัยสุโขทัย   1. หลักฐานทางโบราณคดีประเภทจารึก : ปรากฏจารึกวัดอโสการาม ซึ่งเป็นวัดที่ทำการขุดแต่งพบส่วนยอดของเจดีย์ลักษณะทรงยอดดอกบัวตูม โดยจารึกเป็นอักษรไทย ภาษาไทย อีกด้านหนึ่งเป็นอักษรขอม ภาษาบาลี กล่าวถึงสมเด็จพระราชเทพีศรีจุฬาลักษณ์ พระอัครมเหสี สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ทรงมีพระราชศรัทธาประดิษฐานพระสถูปไว้ในวัดอโสการาม ระบุปีพุทธศักราช 1956 นอกจากนี้ยังพบจารึกภายในบริเวณวัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัย เช่น จารึกปู่ขุนจิดขุนจอด อักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย พุทธศักราช 1935, จารึกเจดีย์น้อย อักษรสุโขทัย-ขอมสุโขทัย ภาษาไทย-สันสกฤต พุทธศตวรรษที่ 20-21 และจารึกลานทองสมเด็จพระมหาเถรจุฑามุณี อักษรไทยสุโขทัย-ธรรมล้านนา ภาษาไทย-บาลี พุทธศักราช 1919   2. หลักฐานทางโบราณคดีที่ได้จากการดำเนินการโครงการการศึกษาทางโบราณคดีเพื่อจัดลำดับอายุสมัยของแหล่งศิลปกรรมเมืองสุโขทัย โดยการดำเนินงานของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย กรมศิลปากร ทำการขุดค้นทางโบราณคดีในพื้นที่ทางทิศตะวันตกของวัดตระพังเงิน เมืองสุโขทัย ขนาดหลุม 2x2 เมตร จำนวน 2 หลุม แบ่งประเภทการกำหนดอายุโบราณวัตถุที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีเป็น 2 ประเภท ได้แก่   - การกำหนดอายุสมัยโดยวิธีเปรียบเทียบ                     - ชิ้นส่วนภาชนะแหล่งเตาสุโขทัย ได้แก่ ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งเขียนลายสีดำบนพื้นสีขาวลวดลายกงจักร ลายปลาในวงกลม ลายดอกไม้หรือลายพันธุ์พฤกษา ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งน้ำเคลือบสีเขียวหรือสังคโลกจากแหล่งเตาสุโขทัย กำหนดอายุราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 20                     - เครื่องถ้วยจีน ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนที่พบจากการขุดค้นทางโบราณคดีสามารถกำหนดอายุคร่าวๆได้ว่า ชิ้นที่พบว่ามีอายุเก่าสุดอยู่ในช่วงสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ (ปลายพุทธศตวรรษที่ 17 - ต้นพุทธศตวรรษที่ 18) ต่อมาคือสมัยเยวี๋ยน (ปลายพุทธศตวรรษที่ 18 - ปลายพุทธศตวรรษที่ 19) และสมัยราชวงศ์หมิง (พ.ศ.1911-2187) นอกจากนั้นยังพบภาชนะสำริดตกแต่งผิวด้านนอก-ด้านในด้วยวิธีถมปัด อายุสมัยอยู่ในช่วงราชวงศ์หมิงราวพุทธศตวรรษที่ 22 โดยเมื่อเปรียบเทียบชั้นดินวัฒนธรรมแล้วพบว่าเศษภาชนะดินเผาที่มีอายุสมัยอยู่ในช่วงราชวงศ์หมิงเหล่านี้ อยู่ในชั้นดินที่อยู่อาศัยสมัยสุโขทัย ร่วมสมัยกับชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อดินและชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งรูปทรงต่างๆ และชิ้นส่วนถ้วยชามสังคโลก - การกำหนดอายุสมัยโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์             จากรายงานผลการกำหนดค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ด้วยวิธี AMS Dating ตัวอย่างถ่าน และเปลือกหอยจากการดำเนินงานการขุดค้นทางโบราณคดี โครงการวิจัยการศึกษาทางโบราณคดีเพื่อจัดลำดับอายุสมัยแหล่งศิลปกรรมเมืองสุโขทัย ปีงบประมาณพุทธศักราช 2561 นำตัวอย่างถ่านที่พบในหลุมขุดค้นที่ 2 (TP.2) ทางทิศตะวันตกของวัดตระพังเงิน ระดับความลึกสมมติที่ 11 (160-170 cm.dt.) ไปกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ด้วยวิธีการเร่งอนุภาคมวลสาร (AMS) มีค่าอายุอยู่ในช่วงพุทธศักราช 1690-1758 ซึ่งมีอายุเก่ากว่าสมัยสุโขทัย โดยในระดับชั้นเดียวกันนี้พบโบราณวัตถุที่มีอายุสมัยร่วมกันคือ ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ กำหนดอายุโดยวิธีเปรียบเทียบราวปลายพุทธศตวรรษที่ 17 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 18 ผลการดำเนินงานทางโบราณคดีแสดงให้เห็นว่าหลุมขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณทิศตะวันตกของวัดตระพังเงินมี 2 ชั้นวัฒนธรรม ได้แก่ ชั้นที่อยู่อาศัยในยุคเริ่มแรกสุโขทัย และชั้นที่อยู่อาศัยสมัยสุโขทัย และจากหลักฐานทางโบราณคดีดังกล่าวข้างต้น สันนิษฐานว่าช่วงเวลาการสร้างวัดที่ปรากฏศิลปกรรมเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมอย่างช้าที่สุดคือช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 19 - 20 ดังนั้นการปรากฏรูปแบบเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมที่วัดเจดีย์กลางทุ่ง ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร และวัดตระพังเงิน เมืองสุโขทัย สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากอายุสมัยแห่งการก่อสร้างวัดทั้งสองแห่งที่อยู่ร่วมสมัยกันในฐานะที่เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองบริวารของอาณาจักรสุโขทัย ------------------------------------------------------ เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. ประชุมจารึก ภาคที่ 8 จารึกสุโขทัย. กรุงเทพฯ : สำนักหอสมุดแห่งชาติ, 2548. นารีรัตน์ ปรีชาพีชคุปต์, ธาดา สังข์ทอง และอนันต์ ชูโชติ ; ผู้แปลภาษาอังกฤษ, นันทนา ตันติเวสสะ และ สุรพล นาถะพินธุ.  นำชมอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร (Guide to Sukhothai Si Satchanalai and Kamphaeng Phet historical parks). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, 2519. เที่ยวเมืองพระร่วง. กรุงเทพฯ : มูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์, 2542. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. เจดีย์ในประเทศไทย : แนวคิด คติการสร้าง พัฒนาการทางรูปแบบ และการวิเคราะห์ทาง ประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : โครงการเจดีย์ในประเทศไทย แนวคิด คติการสร้าง พัฒนาการทางรูปแบบและการวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์, สนับสนุนทุนวิจัยโดย สถาบันวิจัย และพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร, ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2558.                     . เจดีย์ในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา. นนทบุรี : เมืองโบราณ, 2560.                     . ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, 2561.                     . ศิลปะสุโขทัย : บทวิเคราะห์หลักฐานโบราณคดี จารึก และศิลปกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ :  โรงพิมพ์สมาพันธ์, 2563. สันติ เล็กสุขุม. เจดีย์ ความเป็นมาและคำศัพท์เรียกองค์ประกอบเจดีย์ในประเทศไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ :  มติชน, 2553. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. การศึกษาทางโบราณคดีเพื่อจัดลำดับอายุสมัยของแหล่งศิลปกรรมเมืองสุโขทัย ปีงบประมาณ 2561. ม.ป.ท. : โครงการการศึกษาทางโบราณคดีเพื่อจัดลำดับอายุสมัยของแหล่งศิลปกรรมเมืองสุโขทัย, อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, ม.ป.ป.   -------------------------------------------------------- ที่มาของข้อมูล: อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร https://www.facebook.com/kpppark2534/posts/pfbid0yNCD4hjV5v9LxZNGmfR8aeQ9BiBE8T52uDMNiyK8jyeqn6Rd9cnwh2gtfNTjVEpMl --------------------------------------------------------   *เผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์ โดยกลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร  


ชื่อผู้แต่ง         สำนักงานเนติบัณฑิตยสภา. ชื่อเรื่อง           บทบัณฑิตย์ : นิตยสารของเนติบัณฑิตยสภา (เล่ม ๒๓ ตอน ๓ กรกฎาคม ๒๕๐๘) ครั้งที่พิมพ์       - สถานที่พิมพ์     พระนคร สำนักพิมพ์       สำนักงานเนติบัณฑิตยสภา. ปีที่พิมพ์          ๒๕๐๘ จำนวนหน้า      ๒๔๐ หน้า รายละเอียด            บทบัณฑิตย์ : นิตยสารของเนติบัณฑิตยสภา   มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่บทความวิชาการ บทความวิจัยและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการในสาขานิติศาสตร์และสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดความรู้ทางวิชาการแก่สังคมทั่วไปและเพื่อเป็นเอกสารประกอบการศึกษาค้นคว้าและการอ้างอิง


เลขทะเบียน : นพ.บ.379/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 18 หน้า ; 5 x 54 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 143  (26-39) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : ปัญญาบารมี--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.521/7ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.5 x 56 ซ.ม. : ล่องชาด-ลานดิบ-ชาดทึบ-รักทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 175  (260-266)) ผูก 7 (2566)หัวเรื่อง : สีมาวินิจฉัย--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อเรื่อง                         ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏฺธกถา ขุทฺทกนิกายฏฺธกกา (ธมฺมฺปทขั้นปลาย)อย.บ.                            241/10หมวดหมู่                       พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                  60 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 58.5 ซม.หัวเรื่อง                         พระธรรมเทศนา                                                                       บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา


ชื่อเรื่อง                  สพ.บ. 427/1 พระเจ้าห้าสิบชาติ (ห้าสิบชาติ)สพ.บ.                    427/1ประเภทวัสดุมีเดีย      คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                 พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ             52 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 59 ซม.หัวเรื่อง                   พุทธศาสนา                            ชาดก                     บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี



ชื่อเรื่อง: ปาฐกถา เรื่อง เขตต์แดนของรัฐ ผู้แต่ง: ดิเรก ชัยนามปีที่พิมพ์: พ.ศ. ๒๔๘๓สถานที่พิมพ์: พระนครสำนักพิมพ์: โรงพิมพ์พานิชศุภผล จำนวนหน้า: ๗๘ หน้า เนื้อหา: "เขตต์แดนของรัฐ" เป็นปาฐกถาซึ่งได้แสดงให้ทราบโดยละเอียดถึงเหตุผลแห่งการที่ไทยเรียกร้องขอปรับปรุงเส้นเขตต์แดนด้านอินโดจีนของ    ฝรั่งเศส ให้เป็นไปตามหลักธรรมชาติและความยุติธรรม ประกอบกับแสดงให้ทราบถึงพฤติการณ์แห่งความเป็นมาในการติดต่อกับฝรั่งเศสเกี่ยวกับ          กรณีเรื่องนี้ โดยนายดิเรก ชัยนาม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศ เป็นผู้กล่าวปาฐกถาในครั้งนี้ และกรมโฆษณาการได้จัดพิมพ์ เพื่อเป็นประโยชน์แก่การศึกษา ค้นคว้าของประชาชนชาวไทย ทั้งเผยแพร่ให้ได้ทราบความจริงของกรณีนี้โดยกว้างขวางยิ่งขึ้น  เลขทะเบียนหนังสือหายาก: ๘๘๒เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์: E-book ๒๕๖๖_๐๐๑๗หมายเหตุ: โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ (ไฟล์ดิจิทัลเพื่อการอนุรักษ์เท่านั้น)


วันจันทร์ที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เวลา ๐๘.๕๒ น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดอาคารคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยมี นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร. ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารและข้าราชการกระทรวงวัฒนธรรม ผู้แทนหน่วยงานและประชาชนในจังหวัดปทุมธานี เฝ้าฯ รับเสด็จ กรมศิลปากรได้น้อมนำแนวพระราชดำริในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ได้พระราชทานไว้ในหลายโอกาสเกี่ยวกับการจัดสร้างคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ให้มีพื้นที่เพียงพอต่อปริมาณโบราณวัตถุที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี ปรับปรุงพัฒนาให้เป็นสถานที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุอย่างเป็นระบบตามมาตรฐานพิพิธภัณฑ์วิทยา เพื่อการอนุรักษ์โบราณวัตถุของชาติ และใช้ประโยชน์ได้มากขึ้นด้วยการเปิดให้บริการศึกษา ค้นคว้า วิจัย พุทธศักราช ๒๕๔๕ กรมศิลปากรจึงได้ย้ายโบราณวัตถุจากคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ซึ่งเดิมใช้พื้นที่อาคารจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มาจัดเก็บ ณ อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก จังหวัดปทุมธานี โดยจัดวางตามหมวดหมู่ประเภทวัสดุตามหลักการอนุรักษ์โบราณวัตถุ ออกแบบห้องคลังต่างๆ ให้เป็นคลังเปิดเพื่อการศึกษา หรือ Visible Storage ที่เปิดให้ผู้เข้าเยี่ยมชมมองเห็นได้จากภายนอกผ่านผนังกระจก ต่อมาเมื่อ พุทธศักราช ๒๕๕๙ รัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากรก่อสร้างอาคารคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหลังใหม่ในพื้นที่ว่างของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ออกแบบให้เป็นอาคารคลังโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุโดยเฉพาะ ตั้งแต่รูปแบบอาคารที่คำนึงถึงการควบคุมความร้อน ความชื้นจากภายนอกอาคาร ติดตั้งระบบควบคุมสภาพแวดล้อมภายในอาคารเพื่อปกป้องและรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ให้มีความยั่งยืนและปลอดภัยตามมาตรฐานคลังพิพิธภัณฑ์สากล ได้แก่ ระบบจัดเก็บตามประเภทวัสดุของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ระบบตรวจสอบและควบคุมอุณหภูมิความชื้น ระบบปรับอากาศ ระบบป้องกันอัคคีภัย ป้องกันภัยธรรมชาติ และการโจรกรรม โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์อาคารคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติได้ถูกออกแบบและวางระบบการบริหารจัดการให้เป็นคลังเปิด (Visible Storage) เพื่อให้บริการในรูปแบบของคลังเพื่อการศึกษา (Study Collection) ตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้บริการใน ๒ รูปแบบ คือการเข้าศึกษาตามอัธยาศัยในพื้นที่บริการทั่วไป ได้แก่ ห้องสมุด ห้องสอบค้นฐานข้อมูลโบราณวัตถุ และใช้บริการสำเนาไฟล์ภาพถ่ายโบราณวัตถุ การบริการอีกรูปแบบหนึ่งคือ การศึกษาชิ้นงานโบราณวัตถุ ซึ่งต้องยื่นคำร้องขออนุญาต เมื่อได้รับอนุญาต เจ้าหน้าที่จะอำนวยความสะดวกนำเข้าศึกษาโบราณวัตถุในพื้นที่ควบคุมชั้นใน โดยจะเปิดให้บริการแก่นักศึกษา นักวิจัย และประชาชน เข้าศึกษาโบราณวัตถุในคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดปทุมธานี ได้ตั้งแต่วันที่ ๑๙ กันยายน ศกนี้ ซึ่งตรงกับวันพิพิธภัณฑ์ไทย นอกจากนี้ กรมศิลปากรยังมีบริการบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ให้สามารถชมบรรยากาศห้องคลังโบราณวัตถุ และโบราณวัตถุชิ้นสำคัญในมุมมอง ๓๖๐ องศา ผ่านทางแอพพลิเคชั่น Virtual Smart Museum และ FA Discovery เพื่อให้โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่เก็บรักษาในคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ยังประโยชน์แก่ประชาชนทุกคนให้สามารถเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการปกป้องคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมของชาติให้คงคุณค่าต่อไป


ชื่อเรื่อง                     ท้องถิ่นเมืองโบราณอู่ทอง รายวิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ผู้แต่ง                       สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                  ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์เลขหมู่                     959.373 ส691ทสถานที่พิมพ์               สุพรรณบุรีสำนักพิมพ์                 ม.ป.พ.ปีที่พิมพ์                    2551ลักษณะวัสดุ               56 หน้า : ภาพประกอบ ; 29 ซม.หัวเรื่อง                     สุพรรณบุรี – ประวัติศาสตร์                              แบบเรียน                              อู่ทอง(สุพรรณบุรี) -- ประวัติศาสตร์ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก           จัดทำโครงการ “พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเมืองโบราณอู่ทอง” มีเป้าหมายจัดทำหลักสูตรระดับท้องถิ่น  กำหนดเป็นระยะๆ ตามแนวการพัฒนาหลักสูตร กำหนดกรอบแนวการพัฒนา จัดทำลักษณะหน่วยการเรียนรู้สอดแทรกไว้ในรายวิชา ประวัติศาสตร์ ในระดับชันประถมศึกษาปีที่ 1 - 6        


Messenger