ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 39,660 รายการ

อยู่ในระหว่างดำเนินการจัดพิมพ์



ภายหลังจากการสวรรคตของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ รวมไปถึงพระราชวังเมืองลพบุรีก็ถูกทิ้งร้างไร้การดูแลทำนุบำรุงอย่างเมื่อครั้งเมื่อสมเด็จพระนารายณ์ยังดำรงพระชนม์ชีพอยู่ . พระราชวัง และพระที่นั่งองค์ต่าง ๆ รวมไปถึงสิ่งก่อสร้างอื่นในรัชกาลของพระองค์ เช่น บ้านหลวงรับราชทูตหรือ บ้านวิชาเยนทร์ วิทยาลัยแห่งเมืองลพบุรี หรือวัดสันเปาโล ต่างก็มิได้รับการดูแล ถูกทิ้งไว้ให้เสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา . ในปัจจุบันพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ รวมไปถึงบริเวณด้านหลังพระที่นั่งอันเป็นที่อยู่ของข้าราชบริพารฝ่ายใน เหลือเพียงส่วนฐานของอาคารเท่านั้น นอกจากเกิดการเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลาแล้ว ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระราชประสงค์ศิลาแลงมาก่อพระเจดีย์ที่วัดสระเกศ ดังปรากฏในชุมนุมพระบรมราชาธิบาย ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาคที่ 4 หมวดโบราณสถาน ความว่า “...เมื่อครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ศิลาแลงมาก่อพระเจดีย์ที่วัดสระเกศ มีพระบรมราชโองการดำรัสให้ข้าราชการไปเที่ยวหาศิลาแลงในเมืองร้างเก่า ๆ มา ครั้งนั้นผู้รับสั่งไปเที่ยวรื้อศิลาแลงที่เป็นผนังตึกและกำแพงของวัดของบ้านและตะพานช้างในกรุงเก่าไปทูลเกล้าฯ ถวายเป็นอันมาก ครั้งนั้นจึงพวกหนึ่งมารื้อพระที่นั่งสุทธาสวรรค์ ขนเอาศิลาแลงไปเสียด้วย การที่พระที่นั่งสุทธาสวรรค์ต้องรื้อดังนี้ก็มีเพียงใน 20 ปีลงมา ก่อนนั้นขึ้นไปไม่มีใครรื้ออะไร...” . เหตุการณ์ดังกล่าวคงเป็นหนึ่งในมูลเหตุที่ทำให้พระที่นั่งสุทธาสวรรย์มีสภาพดังที่เห็นในปัจจุบัน . การศึกษารูปแบบสันนิษฐานเดิมของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์จึงเหลือเพียงตัวอักษรเป็นส่วนใหญ่ สำหรับเรื่องราวเกี่ยวกับพระที่นั่งสุทธาสวรรย์จากเอกสารของไทยนั้นมีเนื้อความอยู่น้อยมาก โดยส่วนใหญ่กล่าวไว้เพียงว่าเป็นพระที่นั่งที่อยู่ภายในพระราชวังเมืองลพบุรีตั้งอยู่ด้านขวาของพระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท ส่วนในคำให้การขุนหลวงหาวัด และคำให้การชาวกรุงเก่าได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตกแต่งพระที่นั่งองค์นี้ด้วยอ่างแก้วน้ำพุ ความว่า “...พระราชทานพระนามพระที่นั่งที่ลพบุรีนั้นว่า ดุสิตมหาปราสาท แล้วให้สร้างพระที่นั่งซ้ายขวาดุสิตมหาปราสาทอีก 2 องค์...แล้วให้สร้างอ่างแก้วน้ำพุไว้ในทิศเหนือและทิศใต้ของพระที่นั่งเหล่านั้น...” - คำให้การชาวกรุงเก่า “...เสวยราชย์อยู่ในกรุงทวาราวดีนั้นได้ ๑๐ ปี แล้วเสด็จไปสร้างเมืองอยู่ที่เมืองเก่าอันหนึ่ง ชื่อเมืองละโว้ จึ่งสมมุตินามเรียกว่าเมืองลพบุรี มีกำแพงแลป้อม แลสร้างปราสาทชื่อดุสิตมหาปราสาท แล้วมีพระที่นั่งฝ่ายขวา ชื่อสุธาสวรรย์ ฝ่ายซ้ายชื่อจันทพิศาล มีพระปรัศซ้ายขวา แล้วมีน้ำพุอ่างแก้ว มีน้ำดั้นน้ำดาษ...” - คำให้การขุนหลวงหาวัด . รายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับพระราชฐานชั้นในของพระราชวังเมืองลพบุรีถูกบันทึกไว้โดย นิโกลาส์ แชร์แวส นักเดินทางชาวฝรั่งเศสที่เดินทางมาสยาม เมื่อ พ.ศ. 2224 – 2229 โดยได้บรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ไว้ในหนังสือเรื่อง Histoire naturelle et politique du royaume de Siam. จัดพิมพ์โดย l'Imprimerie de Pierre le Mercier เมื่อปี ค.ศ. 1688 (พ.ศ. 2231) หรือที่รู้จักกันในชื่อภาษาไทยคือ ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม แปลเป็นภาษาไทยโดย สันต์ ท.โกมลบุตร ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2506 โดยสำนักพิมพ์ก้าวหน้า บันทึกดังกล่าวทำให้ทราบรายละเอียดของพระที่นั่งองค์สำคัญนี้อย่างมาก . “...เมื่อลงบันไดไปสัก 15 หรือ 20 ขั้น ก็ถึงพระราชฐานชั้นที่สาม อันเป็นที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดิน เป็นพระราชฐานส่วนที่มีอาณาบริเวณกว้างขวาง ทองคำแพรวพราวไปทั่วทุกหนทุกแห่งเช่นในพระราชฐานชั้นที่สอง หลังคาประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลืองคล้ายกับทองคำมาก ยามเมื่อต้องแสงตะวัน ต้องมีสายตาดีมากจึงจะทนทานแสงสะท้อนได้ พระตำหนักหลังนี้มีกำแพงปีกกาล้อมรอบ ที่มุมทั้งสี่มีสระน้ำใหญ่สี่สระ บรรจุน้ำบริสุทธิ์ เป็นที่สรงสนานของพระเจ้าแผ่นดินภายใต้กระโจมซึ่งคลุมกั้น สระน้ำที่อยู่ทางขวามือมีลักษณะคล้ายถ้ำเล็ก ๆ มีพรรณไม้เล็ก ๆ ขึ้นเขียวชอุ่มอยู่เสมอ และพรรณไม้ดอกที่มีกลิ่นหอมตระหลบอบอวลอยู่ตลอดเวลา มีธารน้ำใสจ่ายน้ำให้แก่สระทั้งสี่นี้ ทางเข้าพระราชฐานชั้นนี้อนุญาตให้เฉพาะแต่เหล่ามหาดเล็กในพระองค์ กับขุนนางชั้นผู้ใหญ่ลางคนอันเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยเท่านั้น ส่วนขุนนางอื่น ๆ หมอบอยู่บนกำแพงแก้วบนพรมผืนใหญ่ เมื่อพระเจ้าแผ่นดินเสด็จออก ขุนนางรับพระราชดำรัสจากบัญชรพอได้ยิน ขุนนางชั้นผู้น้อยหมอบอยู่บนเสื่อเบื้องล่างกำแพงแก้ว ก้มหน้ามองพื้น ลางทีก็อยู่ห่างจากองค์พระเจ้าแผ่นดินตั้งร้อยก้าว โดยรอบกำแพงแก้วนี้ สร้างเป็นห้องเล็ก ๆ ค่อนข้างสะอาด เป็นที่อยู่อาศัยของบรรดามหาดเล็กและทหารยาม ไกลออกไปทางซ้ายมือเป็นแปลงพรรณไม้ดอกที่หายาก และน่าดูพิเศษสุดในมัธยมประเทศ ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินทรงปลูกด้วยพระหัตถ์เอง ครั้นแล้วก็ถึงอุทยานใหญ่ตรงหน้าพระตำหนัก ปลูกต้นส้มใหญ่ มะนาวและพรรณไม้ในประเทศอย่างอื่นอีก มีใบดอกหนาทึบ แม้ยามแดดร้อนตะวันเที่ยงก็ร่มรื่นอยู่เสมอ ตามสองข้างทางเดินเป็นกำแพงอิฐเตี้ย ๆ มีโคมทองเหลืองติดตั้งไว้เป็นระยะ และตามไฟขึ้นในระยะที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระทับอยู่ ระหว่างหลักโคมสองหลัก มีสิ่งก่อสร้างคล้ายเตาหรือแท่น สำหรับใช้เผาไม้หอมส่งกลิ่นไปไกล ๆ จึงไม่น่าแปลกใจว่าเหตุไฉนพระเจ้ากรุงสยามจึงทรงโปรดพระที่นั่งสำราญของพระองค์นัก เหล่าสนมกำนัลก็มีที่พักอาศัยงดงามเป็นตึกแถว ยาวขนานไปกับพระตำหนักที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดินและพระราชธิดา ตั้งแต่มุมโน้นจนจรดมุมนี้ และการเข้าออกก็ยากมาก ห้ามแม้กระทั่งพระราชโอรส มีแต่พวกขันทีเท่านั้น ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปถวายการปรนนิบัติได้...” ............................................................................. สำหรับตอนต่อไป จะพาทุกท่านเข้าไปสำรวจส่วนต่าง ๆ ของเขตพระราชฐานชั้นในผ่านหลักฐานที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน รับรองว่ามีมุมมองใหม่ ๆ ที่หลายท่านยังไม่เคยเห็นอย่างแน่นอนค่ะ จะเป็นอย่างไรติดตามตอนต่อไปได้ ในวันพุธ ที่ 29 มิถุนายน 2565 ............................................................................. อ้างอิง กรมศิลปากร. หนังสือนำชมพระนารายณ์ราชนิเวศน์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : บริษัท นะรุจ จำกัด, 2560. คำให้การขุนหลวงหาวัด ฉบับหลวง. เข้าถึงได้จาก : https://vajirayana.org/คำให้การขุนหลวงหาวัด-ฉบับหลวง ชุมนุมพระบรมราชาธิบาย ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาคที่ 4 หมวดโบราณสถาน. เข้าถึงได้จาก : https://vajirayana.org/ชุมนุมพระบรมราชาธิบาย-ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว-ภาคที่-4-หมวดโบราณสถาน นิโกลาส์ แชร์แวส. ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม : ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช. สันต์ ท. โกมลบุตร แปล. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ก้าวหน้า, 2506. ............................................................................. เรียบเรียงโดย นางสาววสุนธรา ยืนยง นักวิชาการวัฒนธรรม







ชื่อผู้แต่ง        สวีฟต์,ยอนาธัน ชื่อเรื่อง         กัลลิเวอร์  ผจญภัย ครั้งที่พิมพ์     - สถานที่พิมพ์   พระนคร สำนักพิมพ์     ก้าวหน้า ปีที่พิมพ์        ๒๕๐๗ จำนวนหน้า    ๕๐๐ หน้า รายละเอียด                   นวนิยายที่แต่งขึ้นมาเพื่อเสียดสีการเมืองในประเทศอังกฤษระหว่างศตวรรษที่ ๑๘ แต่มีเนื้อหาอ่านสนุกชวนติดตาม กัลลิเวอร์ กัปตันเรือจากอังกฤษได้เดินทางไปสู่ประเทศที่แปลกประหลาดหลายแห่ง ครั้งแรกเขาประสบอุบัติเรือแตกในดินแดนที่พลเมืองสูงเพียงหกนิ้ว จนชาวเมืองเรียกเขาว่า มนุษย์ภูเขา เขาได้เดินทางไปสู่ดินแดนของมนุษย์ยักษ์ ที่ทำให้เขากลายเป็นของเล่นพระราชา วรรณกรรมที่สอดแทรกปรัชญาการดำเนินชีวิต เสียดสีสังคมมนุษย์และการเมือง


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 146/6เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 178/4ช เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : กำลังความคิด ชื่อผู้แต่ง : หลวงวิจิตรวาทการปีที่พิมพ์ : 2494 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : วรรธนะวิบูลย์จำนวนหน้า : 552 หน้าสาระสังเขป : เป็นเรื่องราวของการสร้างสมรรถภาพของมันสมอง การฝึกประสาท ทางตา ทางหู ทางกาย ทางใจ สมาธิ ปฏิภาณ เหตุผล การตัดสินใจ ลักษณะของศิลปิน มโนคติ ความจำ ความเฉียบแหลมคมคาย ความสังเกต การเปรียบเทียบ การทอดถ่ายความรู้เปรียบเทียบกำลังความคิดกับหัวข้อธรรมทางพุทธศาสนา


  ชื่อผู้แต่ง           อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพคุณหญิงโสภาพรรณ  โกมารกุลมนตรี ต.จ. ชื่อเรื่อง            อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพคุณหญิงโสภาพรรณ  โกมารกุลมนตรี ต.จ. ครั้งที่พิมพ์        พิมพ์ครั้งที่ ๑ สถานที่พิมพ์      กรุงเทพมหาคร สำนักพิมพ์        บริษัทธิ์บพิธการพิมพ์ จำกัด ปีที่พิมพ์           ๒๕๒๓ จำนวนหน้า       ๑๐๐หน้า : ภาพประกอบ. หมายเหตุ         อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพคุณหญิงโสภาพรรณ  โกมารกุลมนตรี ต.จ.                      ณ เมรุวัดชลประทานรังสฤษฎ์ วันเสาร์ที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๔                      เป็นหนังสือเกี่ยวกับประวัติของคุณหญิงโสภาพรรณ  โกมารกุลมนตรีเป็นการครองชีวิตอย่างมีหลักธรรมประจำใจ ประกอบกับมีความผูกพันธ์ใกล้ชิดกับธรรมชาติท่านถึงแก่กรรมด้วยอาการสงบ สิริรวมอายุได้ ๘๒ปี ๑๑ เดือน


ชื่อเรื่อง : ไทยรบพม่า ชื่อผู้แต่ง : ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยา ปีที่พิมพ์ : 2514 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : ศรีเมืองการพิมพ์ จำนวนหน้า : 884 หน้า สาระสังเขป : ไทยรบพม่า เป็นการรวมเรื่องไทยรบกับพม่าเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีสงครามเกิดขึ้น ๒๔ ครั้ง ครั้งสมัยกรุงธนบุรี ๑๐ ครั้ง และสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ๑๐ ครั้ง หนังสือเรื่องนี้ เมื่อพิมพ์ครั้งแรกข้าพเจ้าทราบว่าผู้ที่ชอบอ่านมักเป็นทหารมากกว่าพลเรือน บางทีจะเป็นเพราะพวกพลเรือนเห็นชื่อเรื่องก็เข้าใจเสียว่า เป็นหนังสือแสดงแต่การรบพุ่งอันเป็นประโยชน์ในทางความรู้ของผู้เป็นทหาร ข้าพเจ้าจึงขอแจ้งความให้ทราบในที่นี้ว่า ข้าพเจ้าตั้งใจแต่งหนังสือเรื่องนี้ให้เป็นประโยชน์ในทางความรู้พงศาวดารเป็นสำคัญ ในหนังสือนี้มีคติทางการเมืองฝ่ายพลเรือนอยู่แต่ต้นจนปลาย ใครอ่านถึงจะเป็นทหารหรือพลเรือนก็คงจะได้ความรู้เรื่องพงศาวดารสยาม ซึ่งยังไม่ปรากฏในหนังสือเรื่องอื่นมีอยู่มาก


ชื่อเรื่อง           วิศวกรรมสาร (ปีที่ 32 ฉบับที่ 1  ก.พ,เม.ย,มิ.ย 2522) ชื่อผู้แต่ง         วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พิมพ์ครั้งที่       - สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์       โรงพิมพ์นำอักษร ปีที่พิมพ์          2522 จำนวนหน้า      64 หน้า รายละเอียด                    เป็นวารสารส่งเสริมความรู้ทางวิชาการในด้านวิศวกรรมศาสตร์ และเป็นสื่อกลางในการแสดง   ความคิดเห็นทางวิชาการเกี่ยวกับวิศวกรรมศาสตร์ อันจะนำไปสู่ความริเริ่มเพื่อขยายงานที่กระทำอยู่ให้กว้างขวาง และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับวิศวกรรมศาสตร์  เนื้อหาภายในประกอบด้วย 6 บทความ เช่น การวางแผนผังโรงการโดยวิธีเชิงปริมาณ  การประเมินปริมาณการระบายน้ำจากโครงการชลประทานที่เหมาะสม    ต่อการลงทุน  การศึกษาบำบัดน้ำเสียในโรงทอผ้า ฯลฯ


“มังกร” จากความเชื่อในตำนานสู่สัญลักษณ์มงคล มังกร (ภาษาอังกฤษ : Dragon, ภาษาจีน : 龙 อ่านว่า หลง) เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะสัตว์วิเศษในตำนานและวรรณกรรมของโลกตะวันออกและโลกตะวันตกหากแต่มีลักษณะแตกต่างกันไปตาความเชื่อของแต่ละชนชาติโดยมังกรปรากฏเด่นชัดในดินแดนแถบเอเชียตะวันออก ได้แก่ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น โดยเฉพาะในวัฒนธรรมจีนให้ความสำคัญกับมังกรจนถึงกับยกย่องเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติเลยทีเดียวมังกรที่พบในตำนานของทางยุโรปและของทางเอเชียแตกต่างกันทั้งในแง่ของลักษณะและสัญลักษณ์โดยลักษณะของมังกรในดินแดนเอเชียตะวันออกเป็นสัตว์ผสมจากสัตว์ ๙ ชนิด จัดอยู่ในประเภทสัตว์เลื้อยคลานหรืองู ไม่มีปีกแต่สามารถบินไปในอากาศได้ขณะที่มังกรของทางยุโรปจะมีขา มีปีก และสามารถพ่นไฟได้ ในแง่สัญลักษณ์ในคติความเชื่อของจีนซึ่งแผ่ขยายไปยังวัฒนธรรมเกาหลีและญี่ปุ่นด้วยนั้นจะถือว่ามังกรเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับฟ้าฝนและแหล่งน้ำ มีสถานะเป็นเทพเจ้ารวมถึงเป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดิซึ่งเป็นสมมติเทพดังจะเห็นได้จากการสงวนให้มังกร ๕ เล็บ ใช้ประดับตกแต่งบนข้าวของเครื่องใช้ของจักรพรรดิและรัชทายาทลำดับที่ ๑ - ๒ เท่านั้น สำหรับรัชทายาทในลำดับถัดมาหรือขุนนางในระดับต่าง ๆ จะจำแนกด้วยการประดับมังกรที่มีรายละเอียดแตกต่างกัน นอกจากนี้มังกรยังถูกกำหนดให้เป็นสัตว์ประจำทิศตะวันออกในศาสตร์ฮวงจุ้ยอีกด้วย ขณะที่ตำนานทางยุโรปจะถือมังกรเป็นสัตว์อันตรายและน่าสะพรึงกลัวสำหรับมนุษย์ เป็นสัญลักษณ์ของความชั่วร้ายซึ่งเป็นคติที่สืบมาจากความหวาดกลัวงูของชาวยุโรปและยังเป็นศัตรูตัวฉกาจของเหล่าวีรบุรุษ ผู้ใดสามารถสังหารมังกรได้จะได้รับการยอมรับและขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ เหตุนี้มังกรจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของกษัตริย์ทั้งที่มีตัวตนจริงและกษัตริย์ในตำนานจากความเชื่อในวัฒนธรรมจีน มังกรจึงติดตัวชาวจีนไปทุกหนทุกแห่งและได้แผ่ขยายความเชื่อไปยังดินแดนที่ไปถึงโดยปรากฏในงานศิลปกรรมจีนทุกแขนงไม่ว่าจะเป็นจิตรกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม หรือแม้แต่ของใช้อย่างเครื่องถ้วยก็ตามซึ่งนอกจากจะใช้ในชีวิตประจำวันแล้วยังใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่งอาคารสถานที่เพื่อเสริมบารมีและความเป็นสิริมงคลให้กับเจ้าของและผู้อยู่อาศัยเช่นกัน


Messenger