ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,723 รายการ


ชื่อเรื่อง: เทศนาพิเศษ ถวายในเบญจมรัชชกาล ผู้แต่ง: กรม-วชิรญาณวโรรสปีที่พิมพ์: พ.ศ. ๒๔๖๓สถานที่พิมพ์: พระนครสำนักพิมพ์: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากรจำนวนหน้า: ๑๔๐ หน้า เนื้อหา: "เทศนาพิเศษ ถวายในเบญจมรัชชกาล" เล่มนี้ จัดพิมพ์ครั้งที่ ๒ ในการพระศพพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงปราจิณกิตติบดี พ.ศ. ๒๔๖๓ กล่าวถึง      เรื่องราวอันเนื่องด้วยตำนาน แต่งขึ้นเพื่อถวายเป็นราชกุศลพิเศษตามคราวฯ โดยแต่งถวายเทศนาในรัชชกาลที่ ๕ ซี่งหนังสือธรรมเรื่องนี้จัดเปนหมวดที่ ๒ ในลำดับแห่งเทศนาพระราชปวัตติ ๔ รัชชกาล อันสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชได้ทรงพิมพ์ขึ้น และได้ประทานเป็นของแจกครั้งทรงเลื่อนกรมเปนกรมพระเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ เนื้อความว่าด้วย (๑) ทศพิธราชธรรมจรรยาทิกถา พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ถวายในงารพระราชพิธีรชดาภิเษก เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ร.ศ. ๑๑๒ (๒) อัปปมาทธรรม เทศนาพิเศษ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร ถวายในการพระราชกุศลทักษิณานุประทาน วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๙ (๓) บุรพทิศานมัสสนธรรม เทศนาพิเศษ พระสุคุณคณาภรณ วัดบวรนิเวศวิหาร ถวายในการพระบรมอัฐิพระบาทสมเดจพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในจตุตถรัชชทวีธาภิเษกสมัย วันที่ ๔ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๒ (๔) จตุรงคธรรมสมาคมกถา เทศนาพิเศษ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ถวายในพระราชพิธีจตุตถรัชชทวีธาภิเษก วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๒ และ (๕) มตฺเตยฺยจริยากถา เทศนาพิเศษ หม่อมเจ้าพระสถาพรพิริยพรต ถวายในการพระบรมอัฐิกรมสมเด็จพระเทพศิรินทร์ทรามาตย์ สมเด็จพระบรมราชชนนี วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๒   เลขทะเบียนหนังสือหายาก: ๑๐๖๐เลขทะเบียนหนังสือหายากอิเล็กทรอนิกส์: E-book ๒๕๖๖_๐๐๒๒หมายเหตุ: โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖



          หอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช ขอเชิญชวนเด็กๆ และผู้สนใจ ร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน "สร้างสรรค์การประดิษฐ์ดอกกุหลาบจากใบเตย " วันเสาร์ที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๒๖ เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ หอสมุดแห่งนครศรีธรรมราช            ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ "ฟรี" ไม่เสียค่าใช้จ่าย (รับจำนวนจำกัด) สอบถามเพิ่มเติมได้ทาง Facebook หอสมุดแห่งชาติ นครศรีธรรมราช หรือ โทร. 0 7532 4137


องค์ความรู้ สำนักการสังคีตกรมศิลปากร “วงบัวลอย: วัฒนธรรมดนตรีในงานอวมงคล”             วงบัวลอย คือ วงดนตรีไทยประเภทหนึ่ง สำหรับนำมาบรรเลงในงานอวมงคล ประกอบด้วย ปี่ชวา ๑ เลา กลองแขกหรือกลองมลายู ๔ ใบ ซึ่งเราเรียกกันติดปากในภาษานักดนตรีไทยว่า “กลองสี่ปี่หนึ่ง” ต่อมาเมื่อเห็นว่ากลอง ๔ ใบ มีจำนวนมากไป จึงนิยมลดเหลือเพียง ๒ ใบ โดยกลองในวง บัวลอยจะต้องมีอุปกรณ์สำหรับตี เรียกว่า “ไม้ดีด” และเครื่องดนตรีอีกชนิด คือ เหม่ง มีลักษณะเช่นเดียวกับโหม่งแต่ไม่มีขาตั้งซึ่งผู้ที่ตีเหม่งจะต้องถือและตีเอง              ชื่อเรียกของวงและเพลงที่ใช้คำว่า “บัวลอย” สันนิษฐานว่าตั้งชื่อเพื่อให้เป็นปริศนาธรรมเรื่องบัว ๔ เหล่า โดยคำว่า “บัวลอย” หมายถึง ดอกบัวที่พ้นสู่ผิวน้ำเปรียบได้กับผู้ที่หลุดพ้นจาก อาสวะกิเลส หรืออีกนัยยะอาจเป็นเจตนาในการตั้งชื่อวงและชื่อเพลงเพื่อให้คติธรรมแก่ผู้ตาย ว่าจะได้ขึ้นสู่สวรรค์หรือมีดวงตาเห็นธรรม              เพลงที่ใช้บรรเลงในวงบัวลอย เป็นเพลงที่บรรเลงกันเป็นชุดเรียกว่า “เพลงเรื่องบัวลอย” ซึ่งแต่ละสำนักดนตรีอาจมีการเรียงร้อยเพลงเรื่องบัวลอยที่แตกต่างกันออกไป สำหรับเพลงเรื่องบัวลอยที่บรรเลงและสืบทอดในสำนักการสังคีต กรมศิลปากร เป็นทางที่ได้รับสืบทอดจากพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) ประกอบด้วย ๑) เพลงรัวสามลา ๒) เพลงบัวลอย ๓) เพลงนางหน่าย (หนังหน่าย) ๔) เพลงรัวลาเดียว ๕) เพลงไฟชุม ๖) เพลงเร็ว ๗) เพลงรัวลาเดียว และ ๘) เพลงนางหงส์              จารีตและธรรมเนียมปฏิบัติของการบรรเลงวงบัวลอย จะนิยมตั้งวงดนตรีทางด้านซ้าย ของเมรุ สันนิษฐานว่ามาจากความเชื่อเรื่องการเวียนอุตราวรรตในงานอวมงคล โดยก่อนเริ่มการบรรเลง จะต้องมีการตั้งพานกำนลไหว้ครู ประกอบด้วย ดอกไม้ ธูป เทียน เหล้า บุหรี่ หมากพลูและเงินกำนล ซึ่งราคาเงินกำนลอาจแตกต่างกันไป เป็นต้นว่า ๖ บาท ๑๒ บาท ๒๔ บาท ๓๖ บาท ๑๖๐ บาท ๓๖๐ บาท ฯลฯ ทั้งนี้แล้วแต่ข้อกำหนดของแต่ละสำนักที่ได้ปฏิบัติกันมาไม่มีกฏหรือข้อบังคับตายตัว หลังเสร็จสิ้นงานแล้วเงินกำนลดังกล่าว จะถูกนำไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ครูผู้ล่วงลับต่อไป นอกจากนี้บางสำนักยังอาจมีการตั้งครอบน้ำมนต์ที่หน้าวงบัวลอยอีกด้วย โดยจะมีครูผู้ใหญ่หรือหัวหน้าวงบัวลอยเข้ากล่าวคำบูชาครู ตั้งพานกำนลเเละทำน้ำมนต์ไว้ก่อนเริ่มบรรเลง ต่อเมื่อบรรเลงแล้วเสร็จ จึงประพรมน้ำมนต์ให้แก่ผู้บรรเลงเพื่อความสวัสดิมงคล             ขั้นตอนการบรรเลงวงบัวลอย เริ่มจากเมื่อประธานในพิธีวางดอกไม้เพลิงหรือเมื่อได้ยินเสียงกริ่งสัญญาณดังขึ้น วงบัวลอยจะเริ่มบรรเลงทันทีและจะบรรเลงไปจนกระทั่งจบกระบวนเพลงเรื่อง บัวลอย ดังที่ นายปี๊บ คงลายทอง ศิลปินแห่งชาติ ได้อธิบายว่า   ทันทีที่ประธานจุดไฟ ปี่ชวาวงบัวลอยจะเริ่มขึ้นเพลงรัวสามลา จากนั้น คนในงานทยอยขึ้นวางดอกไม้จันทน์ วงบัวลอยยังคงบรรเลงต่อไปเรื่อย ๆ จบครบเพลงทั้งเรื่องบัวลอยและถ้าจบกระบวนเพลงแล้ว ยังวางดอกไม้จันทน์ไม่เสร็จ จะเป็นหน้าที่ของวงปี่พาทย์หรือวงปี่พาทย์นางหงส์บรรเลงรับต่อไป แต่จะไม่มีการบรรเลงเพลงเรื่องบัวลอยโดยวงบัวลอยวนซ้ำอีกครั้ง (ปี๊บ คงลายทอง, สัมภาษณ์, ๕ ตุลาคม ๒๕๖๖)             การนำวงบัวลอยไปใช้ในงานอวมงคล สามารถใช้ได้ตั้งแต่งานระดับพระบรมวงศานุวงศ์จนถึงสามัญชน โดยนิยมนำมาบรรเลงในวันพระราชทานเพลิงศพหรือฌาปนกิจศพ สำหรับการนำวงบัวลอยมาบรรเลงในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพและพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพนั้น ถูกนำมาบรรเลงครั้งแรกในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๙ ตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งแต่เดิมไม่มีธรรมเนียมการนำวงบัวลอยมาบรรเลงในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ และพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ ดังที่ นายสิริชัยชาญ ฟักจำรูญ ศิลปินแห่งชาติ ได้อธิบายไว้ว่า           แต่เดิมวงบัวลอยไม่ได้นำมาบรรเลงในงานออกพระเมรุ แต่ได้นำมาบรรเลงครั้งแรกในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมีกรมศิลปากร เป็นหน่วยงานรับผิดชอบจัดวงบัวลอยเข้าไปบรรเลงทั้งหมด ๒ วง ณ ทิมหลังด้านทิศเหนือและทิศใต้ของพระเมรุมาศ ซึ่งต้องบรรเลงทั้งหมด ๓ ช่วง คือ             ๑) บรรเลงเพลงรัวสามลาช่วงเชิญพระโกศเวียนพระเมรุมาศ โดยเมื่อพระโกศผ่านวงบัวลอยวงใด ก็ให้วงบัวลอยวงนั้นบรรเลงเพลงรัวสามลา เวียนรอบที่หนึ่งบรรเลงรัวลาที่ ๑ เวียนรอบที่สองบรรเลงรัวลาที่ ๒ และเวียนรอบที่สามบรรเลงรัวลาที่ ๓             ๒) บรรเลงเพลงเรื่องบัวลอยช่วงถวายพระเพลิงพระบรมศพ และ             ๓) บรรเลงเพลงเรื่องบัวลอยช่วงถวายพระเพลิงพระบรมศพ (ถวายพระเพลิงจริง) (สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ, สัมภาษณ์, ๓ ตุลาคม ๒๕๖๖)              ครั้นถึงพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในพุทธศักราช ๒๕๕๑ พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ในพุทธศักราช ๒๕๕๕ และพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในพุทธศักราช ๒๕๖๐ กรมศิลปากร จึงได้จัดวงบัวลอยเข้าไปบรรเลงในพระเมรุ และพระเมรุมาศด้วย โดยในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้มีการเพิ่มวงบัวลอยจากเดิม ซึ่งบรรเลงเพียง ๒ วง เป็นทั้งหมด ๔ วง ประจำอยู่ ณ ศาลาลูกขุนแต่ละทิศดังนี้ ๑) ศาลาลูกขุนทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือ มีนายสิงหล สังจุ้ย เป็นผู้ควบคุมวง ๒) ศาลาลูกขุนทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีจ่าอากาศเอก สุวัฒน์ อรรถกฤษณ์ เป็นผู้ควบคุมวง ๓) ศาลาลูกขุนทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีนายปี๊บ คงลายทอง ศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ควบคุมวง และ ๔) ศาลาลูกขุนทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีนายบุญช่วย โสวัตร เป็นผู้ควบคุมวง ส่วนรูปแบบการบรรเลงยังคงบรรเลงทั้งหมด ๓ ช่วง เหมือนเมื่อครั้งงาน พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี             ปัจจุบันวงบัวลอย ยังคงเป็นวงดนตรีที่นิยมนำมาบรรเลงสำหรับงานอวมงคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานอวมงคลของกลุ่มบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับวงการดุริยางคศิลป์ไทยและกลุ่มบุคคล ในแวดวงศิลปวัฒนธรรมที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมการบรรเลงดนตรีในงานอวมงคล แต่สำหรับงานอวมงคลของกลุ่มบุคคลโดยทั่วไปนั้น อาจไม่นิยมและแทบไม่ปรากฏหรือรู้จัก “วงบัวลอย” อีกแล้ว เนื่องจากสถานการณ์และสภาพสังคมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งประชาชนโดยทั่วไปเริ่มให้ความสำคัญและความเข้าใจเกี่ยวกับกับศิลปวัฒนธรรมดนตรีไทยลดลง ด้วยเหตุนี้ จึงควรช่วยกันรณรงค์ ศึกษา รักษา อนุรักษ์ ต่อยอดและทำความเข้าใจกับวัฒนธรรมดนตรีไทยให้มากขึ้น เพื่อให้ศิลปวัฒนธรรมของชาติแขนงนี้ ยังสามารถมีลมหายใจอยู่ร่วมกับประเพณี วิถีชีวิตและความเชื่อของคนไทยต่อไป ภาพที่ ๑ ปี่ชวา  ที่มา : ธำมรงค์  บุญราช    ภาพที่ ๒ กลองมลายูและไม้ดีด ที่มา : ธำมรงค์  บุญราช    ภาพที่ ๓ เหม่งและไม้ตี  ที่มา : ธำมรงค์ บุญราช   ภาพที่ ๔ วงบัวลอย ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  ณ ศาลาลูกขุนทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพระเมรุมาศ เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ ๒๖ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐  นายปี๊บ คงลายทอง ศิลปินแห่งชาติ (ปี่ชวา, ผู้ควบคุมวง) นายบุญสร้าง  เรืองนนท์ (กลองมลายูตัวผู้)  นายสุภร  อิ่มวงค์ (กลองมลายูตัวเมีย)  นายบุญช่วย แสงอนันต์ (เหม่ง) ที่มา : ธำมรงค์  บุญราช    ภาพที่ ๕ นายนัฐพงศ์  โสวัตร กล่าวคำบูชาครู ตั้งพานกำนล เเละทำน้ำมนต์  ก่อนเริ่มการบรรเลงวงบัวลอย ในงานณาปนกิจศพ นายบุญยืน ชิตท้วม  ณ ฌาปนสถาน วัดมกุฎกษัตริยาราม เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ ๔ ตุลาคม  พุทธศักราช ๒๕๖๑ ที่มา : ธำมรงค์  บุญราช     ภาพที่ ๖ วงบัวลอย ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายประสิทธิ์ ถาวร ศิลปินแห่งชาติ ณ ฌาปนสถาน วัดมกุฎกษัตริยาราม เมื่อวันอาทิตย์ ที่ ๙ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๖  นายบุญช่วย โสวัตร (ปี่ชวา) นายสมาน น้อยนิตย์ (กลองแขกตัวผู้)  นายบุญช่วย แสงอนันต์ (กลองแขกตัวเมีย)  นายวิทยา หนูจ้อย (เหม่ง) ที่มา : กลุ่มวิจัยและพัฒนาการสังคีต สำนักการสังคีต      ภาพที่ ๗ วงบัวลอย ในงานพระราชทานเพลิงศพหม่อมหลวงพรสรรพ์ ทองแถม ณ ฌาปนสถาน วัดมกุฎกษัตริยาราม เมื่อวันจันทร์ ที่ ๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๑  นายสิงหล สังจุ้ย (ปี่ชวา) นายปิยะ  แสวงทรัพย์ (กลองแขกตัวผู้)  นายประยงค์ ทองคำ (กลองแขกตัวเมีย)  นายสุกิตติ์ ทำบุญ (เหม่ง) ที่มา : ธำมรงค์  บุญราช    ภาพที่ ๘ นายนัฐพงศ์  โสวัตร ประพรมน้ำมนต์ให้กับนักดนตรีวงบัวลอยหลังบรรเลงแล้วเสร็จ ในงานณาปนกิจศพ นายบุญยืน ชิตท้วม  ณ ฌาปนสถาน วัดมกุฎกษัตริยาราม  เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ ๔ ตุลาคม  พุทธศักราช ๒๕๖๑ ที่มา : ธำมรงค์  บุญราช  ------------------------------------------------------- รายการอ้างอิง ปี๊บ คงลายทอง, ศิลปินแห่งชาติ. สัมภาษณ์, ๕ ตุลาคม ๒๕๖๖. สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ, ศิลปินแห่งชาติ. สัมภาษณ์, ๓ ตุลาคม ๒๕๖๖. --------------------------------------------------------------- เรียบเรียง : ดร. ธำมรงค์ บุญราช นักวิชาการละครและดนตรีปฏิบัติการ กลุ่มวิจัยและพัฒนาการสังคีต สำนักการสังคีต  


ชื่อเรื่อง                     ท้องถิ่นเมืองโบราณอู่ทอง (สาระประวัติศาสตร์) : ประวัติศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ผู้แต่ง                       สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                  ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์เลขหมู่                     959.373 ส691ทสถานที่พิมพ์               สุพรรณบุรีสำนักพิมพ์                 ม.ป.พ.ปีที่พิมพ์                    2551ลักษณะวัสดุ               150 หน้า : ภาพประกอบ ; 29 ซม.หัวเรื่อง                     สุพรรณบุรี – ประวัติศาสตร์                              แบบเรียน                              อู่ทอง(สุพรรณบุรี) -- ประวัติศาสตร์ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก           จัดทำโครงการ “พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเมืองโบราณอู่ทอง” มีเป้าหมายจัดทำหลักสูตรระดับท้องถิ่น  กำหนดเป็นระยะๆ ตามแนวการพัฒนาหลักสูตร กำหนดกรอบแนวการพัฒนา จัดทำลักษณะหน่วยการเรียนรู้สอดแทรกไว้ในรายวิชา ประวัติศาสตร์ ในระดับชันประถมศึกษาปีที่ 1 - 6    


         กลองแอว์ : กลองอืด : กลองตึ่งโนง           กลองแอว์ เป็นกลองขึ้นหนังหน้าเดียว ตัวกลองทำจากไม้รูปทรงกระบอก เอวคอดแกะสลักรอบเป็นเล็บช้าง คร่าวหูหิ่งทำจากหนังเป็นเส้นสายโยงเร่งเสียงถักขึงกับหน้ากลอง ตอนท้ายมีรูปทรงเรียวยาวกลึงเป็นปล้อง ปลายบานคล้ายดอกลำโพง          ภายในคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มีกลองแอว์ ๒ รายการ คือ ชิ้นที่ ๑ กลองแอว์ขนาดเล็กมีความสูงประมาณ ๑๔๕ เซนติเมตร ฝีมือของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าเมืองเชียงใหม่ กระทรวงมหาดไทยมอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ           ส่วนชิ้นที่ ๒ คือกลองแอว์พร้อมฐานล้อเกวียน มีความยาวประมาณ ๓๓๖ เซนติเมตร ตามประวัติระบุว่า พระยาเพ็ชรพิสัยศรีสวัสดิ์ส่งมาจากจังหวัดแพร่          คำว่า "กลองแอว์" มาจาก กลองมีสะเอว มีรูปร่างคล้ายคลึงกับกลองยาว แต่ขนาดใหญ่และยาวกว่ามาก สามารถพบได้ตามวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ใช้ตีบอกสัญญาณ เช่น ตีกลองเพล เรียกชุมนุมสงฆ์ทำพิธีสังฆกรรม และนัดหมายชาวบ้านมาร่วมงานกุศลต่างๆ           นิยมนำมาตีประชันประกวดเสียงระหว่างช่วงเดือน ๓-๔ ของภาคเหนือ ซึ่งตรงกับเดือนอ้าย-เดือนยี่ของภาคกลาง มักใช้บรรเลงร่วมกับตะโล้ดโป๊ด และเครื่องดนตรีอื่นๆ ประกอบการละเล่นพื้นเมือง เช่น ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ทั้งนี้ยังใช้ในกระบวนแห่เคลื่อนที่ในงานพิธีปอยหลวง งานแห่ครัวทาน และงานปอยลูกแก้ว (บวชเณร) ซึ่งเป็นงานประเพณีสำคัญด้วย          กลองแอว์ยังมีชื่อแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น โดยเรียกตามลักษณะของเสียงประโคม อาทิ ‘กลองตึ่งโนง’ มาจากการประโคมร่วมกับฆ้องใหญ่สลับกับฆ้องหุ่ย และตะโล้ดโป๊ด บรรเลงผสมวงกับเครื่องเป่า ทำให้มีเสียงกลองเป็นเสียง “ตึ่ง” และเสียงฆ้องเป็นเสียง "นง หรือ "โนง" เช่นเดียวกับที่มาของการเรียกขานชื่อกลองในจังหวัดต่างๆ           กล่าวคือ ‘กลองเปิ้งมง’ นิยมเรียกในเขตจังหวัดลำพูน ‘กลองตบเส้ง’ นิยมเรียกกันในจังหวัดลำปาง และ ‘กลองอืด’ นิยมเรียกกันในจังหวัดแพร่และน่าน เพราะมีเสียงกังวานยาวนานคล้ายเสียงอืดหรือเสียงลูกปลาย     อ้างอิง ธนิต อยู่โพธิ์. เครื่องดนตรีไทย พร้อมด้วยตำนานการผสมวงมโหรี ปี่พาทย์ และเครื่องสาย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร ๒๕๒๓


ป้อมทุ่งเศรษฐี..ป้อมทุ่งเศรษฐี ตั้งอยู่ในเขตตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร บริเวณทางทิศตะวันตกของแม่น้ำปิง ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 79 ตอนที่ 58 วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2505 กำหนดเขตที่ดินของโบราณสถาน เนื้อที่ 10 ไร่ 2 งาน.พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้คำจำกัดความว่า ป้อม คือ หอรบ หรือที่ซึ่งมีที่กำบังแข็งแรงสำหรับใช้ในการควบคุมการใช้อาวุธ.ป้อมทุ่งเศรษฐีมีลักษณะรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีป้อมประจำมุมรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนหรือรูปหัวลูกศร ป้อมมีความหนา 3.5 เมตร ในแต่ละด้านมีขนาดกว้าง 83 เมตร แนวกำแพงป้อมสูง 5 เมตร คงเหลือสภาพสมบูรณ์อยู่ 3 ด้าน โดยด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือได้ถูกรื้อถอนหลงเหลือเพียงแนวฐานกำแพง .ที่บริเวณกึ่งกลางของแนวกำแพงแต่ละด้านมีช่องประตูกว้าง 3 เมตร กำแพงด้านนอกก่อเป็นผนังสูง ด้านในก่อเป็นแท่นเชิงเทิน ตอนบนสุดก่อเป็นใบเสมาสูง 1 เมตร ช่องระหว่างใบเสมาสันนิษฐานว่าใช้สำหรับยิงอาวุธหรือสังเกตการณ์ ผนังกำแพงด้านในทุกด้านมีซุ้มคูหาลักษณะเป็นช่องเจาะลึกเข้าไปในกำแพงเป็นยอดแหลมแบบใบเสมาด้านละ 6 ช่อง ขนาดกว้าง 1.6 เมตร สูง 2 เมตร และลึก 1.8 เมตร .ป้อมประจำมุมวางตัวทแยงกับแนวแกนทิศ โดยมุมของป้อมทั้ง 4 จะหันไปทางด้านทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ผนังด้านในมีซุ้มคูหาลักษณะเช่นเดียวกับซุ้มคูหาบริเวณผนังกำแพงป้อม จำนวนด้านละ 6 ช่อง .ป้อมทุ่งเศรษฐีก่อด้วยศิลาแลงสอปูน ศิลาแลงที่ใช้ก่อสร้างมีขนาดกว้าง 25 เซนติเมตร ยาว 50 เซนติเมตร และหนา 6-15 เซนติเมตร ..ภายในซุ้มคูหาจะมีช่องขนาดเล็กลักษณะเป็นซุ้มยอดแหลมสูง 0.4 เมตร ก่อแบบสันเหลื่อม (Corbel Arch) ทะลุถึงด้านนอกกำแพง นอกจากนี้ยังมีการก่อศิลาแลงลักษณะพิเศษแบบสันโค้ง (True Arch) ที่แนวกำแพงด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือและทิศตะวันตกเฉียงใต้.การก่อแบบสันเหลื่อม (Corbel Arch) เป็นลักษณะการก่ออิฐบริเวณช่องว่างของผนังแบบวางซ้อนแต่ละขั้นเหลื่อมกันในแต่ละด้านอย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่งมาบรรจบกันที่จุดกึ่งกลางเกิดเป็นส่วนโค้ง เพื่อรองรับน้ำหนักด้านบน แต่ไม่ใช่โครงสร้างรูปโค้งที่แท้จริง.การก่อแบบสันโค้ง (True Arch) เป็นลักษณะการก่ออิฐบริเวณช่องว่างของผนังแบบเรียงอิฐหน้าวัววางเรียงต่อกันขึ้นไปจนมาบรรจบกับอิฐหน้าวัวที่เป็นจุดกึ่งกลาง เกิดเป็นโครงสร้างรูปโค้งที่แท้จริง สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากชาติตะวันตก  ..รูปแบบการก่อสร้างป้อมและแนวกำแพงเมืองที่มีเชิงเทินและใบเสมานั้น เป็นรูปแบบจากอิทธิพลตะวันตก ในพุทธศตวรรษที่ 21-22 ดังข้อสันนิษฐานของ นายประทีป เพ็งตะโก อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ในบทความเรื่อง ป้อมเพชร ปราการเหล็กแห่งอยุธยา ว่า “…เป็นไปได้ว่าชาวโปรตุเกสซึ่งเป็นชาวยุโรปมีบทบาทอยู่ในราชสำนักอยุธยามากที่สุดในขณะนั้น น่าจะมีส่วนในการออกแบบกำแพงเมืองและป้อมที่มีเชิงเทินและใบเสมา สำหรับเป็นที่กำบังกระสุนปืนให้สอดคล้องกับการสู้รบที่มีการใช้ปืนใหญ่ตามแบบตะวันตก ดังนั้นเอกสารทั้งฝ่ายไทยและต่างประเทศ ต่างรับรองในแนวเดียวกันว่ากำแพงก่ออิฐของอยุธยาน่าจะสร้างในระหว่างรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์และสมเด็จพระมหาธรรมราชาหรือทั้งสองรัชกาล...”  .จากการศึกษาพบว่าป้อมทุ่งเศรษฐีมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมเทียบเคียงได้กับป้อมปราการที่ก่อสร้างโดยชาวตะวันตก ตัวอย่างเช่น .ป้อมที่สร้างโดยชาวดัตช์ เช่น ป้อมอัมสเตอร์ดาม (Fort Amsterdam) ประเทศสหรัฐอเมริกา กำหนดอายุพุทธศตวรรษที่ 22 รวมถึงป้อมที่สร้างโดยชาวโปรตุเกสและซ่อมแซมโดยชาวดัตช์ในเวลาต่อมา เช่น ป้อมนาสเซา (Fort Nassau) ประเทศอินโดนีเซีย กำหนดอายุพุทธศตวรรษที่ 22 ป้อมมานนาร์ (Fort Mannar) ประเทศศรีลังกา กำหนดอายุพุทธศตวรรษที่ 22-23.นอกจากนี้ ประชุมพงศาวดารภาคที่ 27 เรื่อง ไทยกับฝรั่งเศสเป็นไมตรีกัน ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ ได้กล่าวถึงการสร้างป้อมโดยชาวฝรั่งเศสความว่า“...ด้วยพระราชประสงค์ของสมเด็จพระนารายณ์ เชอวาเลียเดอโชมองจึงให้เดอลามาร์ อยู่รับราชการในเมืองไทยต่อไป โดยให้มองซิเออร์เดอลามาร์ไปสร้างป้อมในที่ต่าง ๆ ตามชายทะเลในพระราชอาณาเขตร์ และจะได้สร้างป้อมใหม่ที่บางกอกเพื่อให้กองทหารฝรั่งเศสรักษา เพราะสมเด็จพระนารายณ์ได้มีรับสั่งให้ราชทูตสยามกับบาดหลวงตาซาด์ไปขอทหารฝรั่งเศสจากพระเจ้าหลุยที่ 14 แล้ว...”.โดยป้อมวิไชยเยนทร์  กรุงเทพมหานคร ที่ปรากฏรูปแบบในแผนผังที่เขียนโดย เดอ ลาลูแบร์ ซึ่งประพันธ์ขึ้นในราวปี พ.ศ. 2231 ก็มีลักษณะรูปแบบผังใกล้เคียงกับป้อมทุ่งเศรษฐี เมืองกำแพงเพชร..จากการศึกษาด้วยวิธีการศึกษาเปรียบเทียบ (Comparative Dating) หลักฐานทางโบราณคดีดังกล่าว สันนิษฐานว่าป้อมทุ่งเศรษฐีน่าจะมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 22-23.ป้อมทุ่งเศรษฐีเป็นโบราณสถานที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้พื้นที่เมืองนครชุมในช่วงสมัยที่อยุธยามีอำนาจปกครองเมืองกำแพงเพชร และแม้ว่าความเป็นศูนย์กลางในด้านต่าง ๆ จะเปลี่ยนย้ายไปอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิงที่เมืองกำแพงเพชร แต่พื้นที่ในแถบเมืองนครชุมก็ยังคงความเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ โดยเฉพาะการเป็นพื้นที่หน้าด่านและฐานที่มั่น เพื่อใช้สนับสนุนในการรับศึกสงครามของอยุธยากับหัวเมืองฝ่ายเหนือและพม่า...เอกสารอ้างอิงกลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา. (2557). โครงการจัดการความรู้ เรื่อง รูปแบบ ลวดลายประดับ และวัสดุก่อสร้างของพระปรางค์สมัยอยุธยา ประจำปีงบประมาณ 2557. กรมศิลปากร.ประกาศกรมศิลปากร เรื่องขึ้นทะเบียนโบราณสถาน. (26 มิถุนายน 2505). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 79 ตอนที่ 58. หน้า 1468.ประทีป เพ็งตะโก. (2564). ป้อมเพชร ปราการเหล็กแห่งอยุธยา. ใน ประทีปวิทรรศน์ รวมเรื่องโบราณคดีอยุธยา (หน้า 123-139). กรมศิลปากร.พิพัฒน์ กระแจะจันทร์. (2560). การค้าในการเมือง กับ มองซิเออร์ เดอ ลามาร์ วิศวกรฝรั่งเศสผู้ออกแบบป้อม กำแพงเมืองในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์. วิจิตรศิลป์, 8 (2), 185 - 264.มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. (2554). นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา.ลันเย, มองซิเออร์. (2465). ประชุมพงศาวดารภาคที่ 27 เรื่อง ไทยกับฝรั่งเศสเป็นไมตรีกัน ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ (อรุณ อมาตยกุล, ผู้แปล). โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร.ลาลูแบร์, ซิมอน เดอ. (2557). จดหมายเหตุ ลาลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม (พิมพ์ครั้งที่ 4). ศรีปัญญา.สามเพชร. (2543). รายงานการขุดแต่งและขุดค้นโบราณสถาน ป้อมทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร. [เอกสารอัดสำเนา].สามเพชร. (2543). รายงานการบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์ป้อมทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร. [เอกสารอัดสำเนา].สายันต์ ไพรชาญจิตร์. (2554). โบราณคดีเครื่องถ้วยในสยาม แหล่งเตาล้านนาและสุพรรณบุรี. โครงการศิลปากรพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.Cyril M. Harris. (2006). Dictionary of Architecture and Construction (4th ed.). McGraw-Hill.Jaap Jacobs. (2015). Dutch Colonial Fortifications in North America 1614-1676. New Holland Foundation.Joëlla van Donkersgoed. (2018). Reinterpretations at Fort Nassau in the Banda Islands, Indonesia. The Newsletter, 26 (2), 40.Smithsonian Institution. (2011). Timelines of History: The Ultimate Visual Guide to The Events That Shaped the World. Dorling Kindersley.Urban Development Authority. (n.d.). Mannar Development Plan 2018-2030 (Volume I). Urban Development Authority.




         หนังสือ : เซเปียนส์ ประวัติย่อมนุษยชาติ sapiens          ผู้เขียน :  ยูวัล โนอาห์ แฮรารี          ผู้แปล : นำชัย ชีววิวรรธน์          หนังสือ best seller ที่แปลเป็นภาษาอื่นๆ แล้วมากกว่า 50 ภาษา และได้รับรางวัลมากมาย หนังสือเล่มนี้รวบรวมเรื่องราวของมวลมนุษยชาติ homo sapiens กว่า 70,000 ปีเอาไว้อย่างย่อๆ แต่ครบถ้วนทุกมิติความคิด ไม่ว่าจะเป็นมุมมองเชิงวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ศาสนา ฯลฯ และต่อเนื่องยาวนานจากต้นกำเนิดบรรพบุรุษของมนุษย์อย่าง ‘ป้าลูซี่’ ไปจนถึงโลกยุคดิจิทัลและอินเทอร์เน็ตในคริสต์ศตวรรษที่ 21 เนื้อหาแบ่งออกเป็น 4 ส่วน เหมือน 4 ยุคสมัยของมนุษยชาติ ตั้งแต่ยุคปฏิวัติการเรียนรู้ ยุคปฏิวัติเกษตรกรรม ยุคแห่งการรวมตัวของมนุษยชาติ และยุคปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ซึ่งแต่ละยุคสมัยนั้น ผู้เขียนได้ใส่ความรู้ที่ทันสมัยจากงานวิจัยล่าสุด ปนเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยมากมาย พร้อมทั้งสอดแทรกมุมมองส่วนตัว และการตั้งโจทย์คำถามให้เราคิดตามไว้ตลอด   ห้องบริการ 1 หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ เลขหมู่ : 599.9 ฮ865ซ


         ลูกไก่ชน (Chick)          ศิลปิน : ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ (Paitun Muangsomboon)          ปีพุทธศักราช: ปี พ.ศ.2487 (1953)          เทคนิค: สำริด (Bronze)          ขนาด : สูง 29 เซนติเมตร (H.29 cm.)            แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/silpabhirasri/360/model/s04ok/   ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/silpabhirasri




ชื่อเรื่อง                     ฌาปนกิจฺจานิสํสกถา (ฉลองกระดูก) สพ.บ.                       467/1 หมวดหมู่                   พุทธศาสนา ภาษา                       บาลี-ไทยอีสาน หัวเรื่อง                     พุทธศาสนา      ประเภทวัสดุ/มีเดีย        คัมภีร์ใบลาน ลักษณะวัสดุ                20 หน้า : กว้าง 4.7 ซม. ยาว 57 ซม. บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดด่านช้าง ต.ด่านช้าง อ.ด่านช้าง  จ.สุพรรณบุรี



         กลุ่มเครื่องมือหินกะเทาะ          ลักษณะ : เป็นเครื่องมือหินกะเทาะหน้าเดียว คือมีการกะเทาะผิวหินออกทั้งหมดด้านหนึ่ง ส่วนอีกด้านเป็นผิวหินเดิม เรียกเครื่องมือลักษณะนี้ว่า เครื่องมือหินแบบโฮบินเนียน (Hoabinian) โดยมี การกะเทาะให้เป็นรูปทรงตามแต่ที่ผู้กะเทาะจะใช้งาน ได้แก่ การสับ ตัด หั่น หรือทุบ อาหารหรือไม้ อาจจะมีการเข้าด้ามกับไม้ แต่ไม่หลงเหลือหลักฐานเพราะมีการย่อยสลายแล้ว          นอกจากการพบเครื่องมือหินกะเทาะ อันเป็นหลักฐานที่แสดงความเก่าแก่ของการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในพื้นที่ถ้ำองบะ จังหวัดกาญจนบุรี เครื่องมือหินเหล่านี้ยังเป็นหลักฐานที่แสดงถึง ความร่วมมือของนักโบราณคดีไทย และนักโบราณคดี ผู้วิจัยจากหลากหลายประเทศ ตามโครงการความร่วมมือระหว่างไทย และเดนมาร์ก ภายหลังจากการค้นพบเครื่องมือหินระหว่างการเป็นเชลยศึกของ ดร.เอช อาร์ ฟาน เฮเกอเรน (Dr. H.R. Van Heekeran) นักโบราณคดีชาวดัชต์ (เนเธอร์แลนด์) โครงการความร่วมมือนี้เป็นการดำเนินงานทางโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ที่มีมาตรฐานครั้งแรกในประเทศไทย และส่งผลให้การดำเนินงานทางโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยเป็นที่สนใจ เกิดการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีในหลายภูมิภาค เช่น แหล่งโบราณคดีศูนย์การทหารปืนใหญ่ จังหวัดลพบุรี แหล่งโบราณคดีโนนนกทา จังหวัดขอนแก่น แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี          ขนาด : ชิ้นที่ 3 ยาว 10.5 ก.8          ชนิด : หิน          อายุ/สมัย : ก่อนประวัติศาสตร์ อายุ 12,000 – 4,000 ปีมาแล้ว          ประวัติ/ตำนาน : ก่อนประวัติศาสตร์ อายุ 12,000 – 4,000 ปีมาแล้ว     แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=51727   ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th


Messenger