ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,340 รายการ


ผู้แต่ง : หลวงวิจิตรวาทการ ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ ปีที่พิมพ์ : 2481 หมายเหตุ : -               หนังสือประวัติศาสตร์การเสียดินแดนสยามในสมัยรัตนโกสินทร์ 8 ครั้ง เล่มนี้ กล่าวถึงรายละเอียดการเสียดินแดนของของไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ จำนวน 8 ครั้ง นับตั้งแต่ครั้งที่ 1 เกาะปีนังและปรอวินส์เวลเลสลี ครั้งที่ 2 ทะวาย ตะนาวศรี มะริด ครั้งที่ 3 ประเทศเขมร ครั้งที่ 4 แคว้นสิบสองจุไทย ครั้งที่ 5 ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง นครหลวงพระบาง และอาณาเขตต์นครจำปาศักดิ์ฝั่งตะวันออก ครั้งที่ 6 อาณาเขตต์หลวงพระบางฝั่งขวา นครจำปาศักดิ์และมโนไพร ครั้งที่ 7 มณฑลบูรพา และครั้งที่ 8 ประเทศราชมะลายู ไทรบุรี ปลิศ กะลันตัน และตรังกานู



ลวดลายต่าง ๆ ที่ใช้ในการตกแต่งเครื่องสังคโลก แบ่งออกเป็น ๒ แบบ คือ ลวดลายที่พบเห็นได้ในธรรมชาติ เช่น ลายดอกไม้ ลายพันธุ์พฤกษา ลายสัตว์ และลวดลายประดิษฐ์ จำพวกลายเรขาคณิต ลายช่องกระจก ซึ่งลวดลายเหล่านี้ยังเป็นหลักฐานที่แสดงถึงการรับอิทธิพลมาจากต่างชาติด้วย เช่น ลายพันธุ์ไม้ก้านขด ที่พบในภาชนะดินเผาของจีน ลายตาราง (หรือลายร่างแห หรือลาpสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน) ที่สันนิษฐานว่าน่าจะสืบทอดมาจากลายประแจจีน เป็นต้นไม่เพียงช่วยให้เครื่องสังคโลกมีความสวยงามเท่านั้น แต่ลวดลายดังกล่าวยังถือเป็นลายมงคลที่ซ่อนความหมายต่าง ๆ ไว้อีกด้วย เช่น ลายดอกบัว หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ ความบริสุทธิ์ และฤดูร้อน ลายดอกเบญจมาศ หมายถึง การหยุดพักผ่อน การมีอายุยืน และฤดูใบไม้ร่วง ลายดอกโบตั๋น หมายถึง ความร่ำรวย เกียรติยศ ความรัก ความงาม และฤดูใบไม้ผลิ ลายดอกพิกุล และ ลายปลา หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ ลายปลาคู่ หมายถึง ความปรองดองและความสุขในชีวิตสมรส ลายนกยูง หมายถึง ความงามและการมีเกียรติยศ


ชื่อเรื่อง                     สุภาษิตสามอย่างผู้แต่ง                       กรมศิลปากรประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   บุคคลในสาขาสังคมศาสตร์เลขหมู่                      923.1593 ศ528รสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์ไทยเกษม ปีที่พิมพ์                    2503ลักษณะวัสดุ               124 หน้าหัวเรื่อง                     สุภาษิตและคำพังเพย                              หนังสืออนุสรณ์งานศพ     ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   เนื้อหาภายในประกอบด้วยสวัสดิรักษาแต่งเป็นสองสำนวน คือ แต่งเป็นคำฉันท์สำนวนหนึ่ง สันนิษฐานว่าเป็นสำนวนครั้งกรุงเก่า และเป็นคำกลอนอีกสำนวนหนึ่งโดยสุนทรภู่ ส่วนสุภาษิตสอนเด็กและสุภาษิตสอนหญิง เป็นสำนวนกลอนของสุนทรภู่  


ชื่อเรื่อง                           เทศนาสังคิณี-มหาปัฎฐานสพ.บ.                                  194/4ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           18 หน้า กว้าง 4.87ซ.ม. ยาว 54.2 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี




เลขทะเบียน : นพ.บ.78/11ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  50 หน้า ; 4 x 51.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 48 (59-70) ผูก 11 (2564)หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา(ทสชาติ)ชาตกฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา(ลำมโหสถ) --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.125/8ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า ; 4.5 x 51.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 72 (248-256) ผูก 8 (2564)หัวเรื่อง : เอกนิปาต (นิไสเอกนิปาต)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.149/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  68 หน้า ; 4.5 x 55 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 91 (392-403) ผูก 5 (2564)หัวเรื่อง : สตฺตปฺปปกรณาภิธมฺม (อภิธรรมสังคิณี-พระมหาปัฎฐาน)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ลายอรุณเทพบุตรเหนือประตูของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ภาพโดย chaipat kaewjaras         พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของประเทศไทย เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๗๕ ทำให้วันที่ ๑๐ ธันวาคมของทุกปี ถือเป็นวันที่ระลึกวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ โดยมี “อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย” เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ที่ถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงบ่อยครั้ง แม้ว่าประวัติการสร้างจะห่างกันถึง ๘ ปี แต่สถาปัตยกรรมแห่งนี้ ก็ได้มีการออกแบบสัญลักษณ์บางประการให้เชื่อมโยงกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของไทย ว่าด้วยเรื่อง “อรุณเทพบุตร...บุรุษผู้มาก่อนองค์สูรยะ” พร้อมทั้งนำเสนอโบราณวัตถุที่เกี่ยวข้องกับประติมานวิทยาทางศาสนาฮินดู ที่ปรากฏบนอนุสรณ์สถานดังกล่าว     “อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย” หลักกิโลเมตรที่ ๐ ของทางหลวงสายประธานทั้ง ๔ สายแห่งนี้ เป็นผลงานการออกแบบของหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล โดยมีศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง ซึ่งองค์ประกอบของอนุสาวรีย์ล้วนมีความหมายเชิงสัญลักษณ์ ไม่ว่าจะทางเป็นตัวเลขหรือทางประติมานวิทยา ดังจะเห็นได้จาก “ลายอรุณเทพบุตร” ที่ประดับบริเวณหน้าบันเหนือประตูทั้ง ๖ ด้าน ลักษณะเป็นเทพผู้มีพระวรกายครึ่งองค์ ทรงแพนหางนกยูง สอดรับกับเทวกำเนิดที่ระบุว่าเทพองค์นี้เกิดก่อนกำหนด ทำให้ไม่มีพระวรกายส่วนล่าง ประกอบกับพระนามที่แปลว่า “แดงเรื่อ” หรือ แสงตะวันเมื่อแรกขึ้น ก็สอดรับกับหน้าที่ของพระองค์ ผู้เป็นสารถีขับรถให้องค์พระสูรยะ ซึ่งในส่วนของพระสูรยะ นอกจากจะแสดงออกเป็นรูปบุคคลชายนั่งขัดสมาธิ มือทั้งสองถือดอกบัวยกขึ้นระดับหน้าอกแล้ว ยังอาจถูกตีความมาในรูปของ “ครุฑ” เทวพาหนะของพระวิษณุ ผู้เป็นหนึ่งในกลุ่มอาทิตยเทพ (พระสูรยะ พระวิษณุ และเทวีอุษา) ได้อีกด้วย ดังนั้น หากพิจารณาตามตำนานว่า“ครุฑ” คือน้องชายของอรุณเทพบุตรแล้ว ดังนั้น การที่อรุณเทพบุตร(เกิด)มาก่อนครุฑ จึงเปรียบได้ถึงอรุณเทพบุตรผู้เป็นสารถีนำรถของพระสูรยะนั่นเอง ภาพครุฑบนปกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ ๑๕ ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๓๔ คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ           อย่างไรก็ดี จากการศึกษาของศาสตราจารย์ชาตรี ประกิตนนทการ (อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร) พบว่าลายอรุณเทพบุตรไม่เคยถูกใช้เป็นลายประดับอาคารใดมาก่อน หากแต่สืบประวัติย้อนไปได้ว่า สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเคยเขียนรูปอรุณเทพบุตรในลักษณะท่าทางแบบเดียวกันอยู่ภาพหนึ่ง กระทั่งปรากฏครั้งแรกที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย รวมถึงปรากฏบริเวณหน้าบันพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ บางเขน ในเวลาต่อมา ดังนั้น การปรากฏตัวของอรุณเทพบุตรเหนือพานรัฐธรรมนูญในที่นี้ จึงอาจหมายถึง แสงสว่างที่แรกขึ้นและเริ่มส่องสว่างเข้าสู่เมืองไทยยุคใหม่ หรือหมายถึง “เวลาย่ำรุ่ง” ของวันที่ ๒๔ มิถุนายน ที่พระสูรยะ (ประชาธิปไตย) มาประดิษฐานที่บ้านเมืองนี้ ก็เป็นได้        เผยแพร่โดย : นายศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ / เทคนิคภาพ : นายอริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ


ยันต์และคาถา ชบ.ส. ๕๘ เจ้าอาวาสวัดราษฏร์สามัคคี ต.พลูตาหลวง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕ เอกสารโบราณ (สมุดไทย)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.25/1-7 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สำนักการสังคีต กรมศิลปากรขอเชิญชมงานสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๔วันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๔เวลา ๑๗.๓๐ - ๑๙.๓๐ น.ณ เวทีกลางแจ้ง บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครรายการแสดง๑. การบรรเลงเพลงโหมโรงมหาราช (วงปี่พาทย์ไม้นวม)๒. การแสดงชุดอาศิรวาทราชสดุดีจักรีวงศ์๓. ละคร เรื่องพระมหาชนกนำแสดงโดย ศิลปินสำนักการสังคีตกำกับการแสดงโดย สมเจตน์ ภู่นาชมฟรี*โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ โทร. ๐ ๒๒๒๑ ๐๑๗๑


Messenger