ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,340 รายการ
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 177/3กเอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
องค์ความรู้ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช เรื่อง "นามสถานในกาลเวลาแห่งนครศรีธรรมราช"ค้นคว้า/เรียบเรียง/กราฟิก : นางสาวสุขกมล วงศ์สวรรค์ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ
ชื่อเรื่อง อนุสรณ์เนื่องในงานฌาปนกิจศพ นายเจียก เขมะจารุ
ชื่อผู้แต่ง -
พิมพ์ครั้งที่ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม
ปีที่พิมพ์ 2522
จำนวนหน้า 180 หน้า
รายละเอียด
อนุสรณ์เนื่องในงานฌาปนกิจศพ นายเจียก เขมะจารุ ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม กรุงเทพมหานคร เมื่อวันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ.2522 เนื้อหาในหนังสือส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการประกันภัย
วันจันทร์ที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๕.๓๐ น. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร แถลงผลงานเนื่องในโอกาส ๑๑๒ ปีแห่งการสถาปนากรมศิลปากร เดินหน้า “อนุรักษ์ สืบทอด ต่อยอดมรดกศิลปวัฒนธรรม จากคุณค่าสู่มูลค่า” พร้อมเปิดตัว Application ในชื่อ FADiscovery สร้างประสบการณ์ใหม่ในการเที่ยวชมแหล่งเรียนรู้มรดกศิลปวัฒนธรรม
นับแต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดตั้งกรมศิลปากร เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๕๔ สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลา ๑๑๒ ปีที่กรมศิลปากรดำเนินภารกิจหลักในการธำรงรักษา อนุรักษ์ ฟื้นฟู เผยแพร่ สืบสาน สร้างสรรค์ พัฒนามรดกทางวัฒนธรรมของชาติ เพื่อธำรงคุณค่าและเอกลักษณ์ความเป็นชาติ โดยมุ่งเน้นการบูรณาการระหว่างภาคีภาครัฐ เอกชน และชุมชนท้องถิ่น เพื่อนำนโยบายของรัฐบาล ยุทธศาสตร์ของชาติและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ มาขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านมรดกศิลปวัฒนธรรมในความดูแลของกรมศิลปากร กรมศิลปากรมีเป้าประสงค์หลักในการส่งเสริมให้ประชาชนชาวไทยมีวิถีชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมที่ดีอย่างยั่งยืน ได้ดําเนินการและกําหนดกรอบแนวทางในการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติให้บรรลุตามเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการอนุรักษ์ สืบทอด ต่อยอดมรดกศิลปวัฒนธรรม จากคุณค่าสู่มูลค่า เพื่อให้วัฒนธรรมไทยกลายเป็นหนึ่งในกลไกที่สำคัญยิ่งของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยการรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทั้งมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้และมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ให้คงคุณค่าความเป็นของแท้และดั้งเดิมตามหลักวิชาการ ส่งต่อมรดกทางวัฒนธรรมที่ได้รับการอนุรักษ์ให้คงอยู่สู่คนรุ่นต่อไป เสริมสร้างโอกาสการมีส่วนร่วมให้แก่ประชาชน ผ่านกิจกรรมให้ความรู้ ความเข้าใจ ในความสําคัญของมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ เช่น การจัดกิจกรรมอบรมอาสาสมัครและเครือข่ายอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรม การส่งเสริมการศึกษาในแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม และต่อยอดมรดกศิลปวัฒนธรรม ซึ่งถือได้ว่าเป็นต้นทุนที่สําคัญของประเทศ ให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจแก่ประเทศชาติ ทั้งนี้ กรมศิลปากรได้ดำเนินการพัฒนาและสร้างมาตรฐานแหล่งเรียนรู้มรดกศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งส่งเสริมบทบาทหน้าที่ของแหล่งเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ ได้แก่
- การปรับปรุงและพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ให้มีมาตรฐาน ทันสมัยและน่าสนใจ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่นำมาจัดแสดงมีความปลอดภัยจากการเสื่อมสภาพ การจัดแสดงนิทรรศการถาวร มีการออกแบบตามหลักวิชาการ เน้นความงาม ความสำคัญของโบราณวัตถุ และการสื่อความหมายต่อผู้เข้าชม รวมทั้งออกแบบแสงสว่างในการจัดแสดงตามหลักวิชาการให้เหมาะสม สวยงาม และปลอดภัยต่อโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ สื่อการจัดแสดงที่ใช้มีความถูกต้องของข้อมูลทางวิชาการ มีระบบสืบค้นและนำชมสำหรับนักท่องเที่ยว เช่น QR Code, AR Code, Audio Guide
- การพัฒนางานด้านการจัดเก็บและอนุรักษ์โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ของชาติ มีการจัดตั้งคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เป็นสถานที่เก็บรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ให้เป็นไปตามหลักวิชาการสากล ซึ่งมีกำหนดจะเปิดให้บริการในปีนี้ และจัดสร้างศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์โบราณวัตถุ จังหวัดปทุมธานี ให้เป็นศูนย์อนุรักษ์โบราณวัตถุทุกประเภท ที่ได้มาตรฐานสากล มีความทันสมัย
- การปรับปรุงหอสมุดแห่งชาติ ให้ได้มาตรฐานทั้งสถานที่และการให้บริการ นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้ในการให้บริการ
- การปรับปรุงโรงละครแห่งชาติ ให้ได้มาตรฐานสากล มีศักยภาพถึงพร้อมในทุก ๆ ด้าน และเป็นไปตามมาตรฐานโรงละครระดับสากล
- การพัฒนาแหล่งเรือโบราณพนม-สุรินทร์ จังหวัดสมุทรสาคร ให้เป็นศูนย์เรียนรู้งานโบราณคดีที่สำคัญแห่งหนึ่งของกรมศิลปากร
กรมศิลปากร ได้ดำเนินงานโดยมุ่งเน้นให้หน่วยงานในสังกัดขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม พัฒนาระบบการให้บริการประชาชนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้บริการข้อมูลที่เหมาะสม สร้างสรรค์ และมีประสิทธิภาพ ทั้งระบบการสืบค้น และระบบการให้บริการข้อมูลผ่านเครือข่ายออนไลน์โดยขณะนี้ กรมศิลปากร เปิดประสบการณ์ใหม่ในการนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และมิติใหม่ในการให้บริการข้อมูล ด้วย Application FADiscovery เป็น Application นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และอุทยานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย โดยการให้ข้อมูลนำทาง ข้อมูลโบราณวัตถุชิ้นสำคัญ และจัดเก็บข้อมูลความต้องการ ความสนใจของผู้ใช้ที่ครบวงจร ตั้งแต่เริ่มเข้าชม จนกระทั่งออกจากพิพิธภัณฑ์ หรืออุทยานประวัติศาสตร์ ระบบจะทำการบันทึกความชื่นชอบ ความสนใจ และความต้องการในการเข้าชมไว้อย่างละเอียด ทำการแยก และจัดกลุ่มประเภทผู้เข้าชม และบันทึกประมวลผลแบบ Real Time เพื่อให้ทราบถึงความสนใจพิเศษของผู้เข้าชมแต่ละท่าน โดยแจ้งผลความต้องการและความสนใจไปยังผู้เข้าชมแบบรายบุคคล โดยระบบจะทำการประมวลผลความสนใจของประชาชนในประเด็นต่างๆ ทำการสืบค้นข้อมูล หนังสือ หรือบทความวิชาการที่เกี่ยวข้อง และส่งข้อมูลไปยังประชาชน เพื่อให้สามารถศึกษาเรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง และได้รับข้อมูลที่ตรงกับความต้องการของผู้เรียนรู้มากที่สุด มิติใหม่ในการให้บริการข้อมูล ด้วย Application FADiscovery นี้ จะเป็นการยกระดับการให้บริการและการเข้าถึงข้อมูลของกรมศิลปากรที่ครอบคลุมข้อมูลทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น พิพิธภัณฑ์ โบราณวัตถุ โบราณสถาน เอกสารโบราณ จารึก หนังสือ เอกสารจดหมายเหตุ ด้วย Application เดียว โอกาสนี้ สำนักช่างสิบหมู่ ยังได้จัดนิทรรศการพิเศษ “สืบ สร้าง สาน ศาสตร์ศิลป์” โดยนำผลงานศิลปกรรมที่สร้างสรรค์ขึ้นมาจัดแสดง เพื่อเผยแพร่ความรู้และข้อมูลในงานศิลปกรรม ก่อให้เกิดการสืบทอดภูมิปัญญาด้านงานช่างสิบหมู่อันเป็นมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๖๖ สำหรับผู้สนใจเข้าชมนิทรรศการผลงานของกรมศิลปากร เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม สินค้าท้องถิ่น ของที่ระลึกและหนังสือกรมศิลปากร ลดราคาพิเศษ ร่วมฟังการเสวนาวิชาการ พร้อมรับชมการแสดงนาฏศิลป์และดนตรี โดยสำนักการสังคีต สามารถเข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จนถึงวันที่ ๒๙ มีนาคมนี้
เลขทะเบียน : นพ.บ.380/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 44 หน้า ; 4.5 x 51 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 143 (26-39) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : อาการวัตตสูตร--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏฺธกถา ขุทฺทกนิกายฏฺธกกา (ธมฺมฺปทขั้นปลาย)อย.บ. 241/11หมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 56 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 58.5 ซม.หัวเรื่อง พระธรรมเทศนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา
ชื่อเรื่อง สพ.บ. 427/2 พระเจ้าห้าสิบชาติ (ห้าสิบชาติ)สพ.บ. 427/2ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 52 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 59 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เมืองโบราณยะรัง Ep.4 เมืองโบราณยะรัง : โบราณสถานและโบราณวัตถุชิ้นพิเศษ
---------------------------------------------------------------
สำหรับหัวข้อที่จะมานำเสนอในวันนี้ คือ เมืองโบราณยะรัง : โบราณสถานและโบราณวัตถุชิ้นพิเศษ จะมีเนื้อหาจะเป็นอย่างไรนั้นเชิญติดตามรับชมกันได้เลยค่ะ
---------------------------------------------------------------
Ep.1 เมืองโบราณยะรัง : เมืองโบราณสำคัญในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้
https://www.facebook.com/fad11songkhla/posts/628320109334790
Ep.2 เมืองโบราณยะรัง = ลังกาสุกะ?
https://www.facebook.com/fad11songkhla/posts/pfbid023vs8jRqA2iqonHKfjBgCMWEC6GfQLWyYHFy8ogMX3RVt1UG1uy2pSNVxkd2s9BT6l
Ep.3 เมืองโบราณยะรัง : การดำเนินงานทางด้านโบราณคดี
https://www.facebook.com/fad11songkhla/posts/pfbid02yA8FEeS67MfC8HzjSBSYFYPtYd2b3nmNpXf9FQuwkajWb5X4woZgmPtHJ4vyyA8dl
Ep.4 เมืองโบราณยะรัง : โบราณสถานและโบราณวัตถุชิ้นพิเศษ
EP.5 เมืองโบราณยะรัง : การศึกษาตำแหน่งที่ตั้งโบราณสถานด้วยเทคโนโลยีไลดาร์ (Li-DAR)
Ep.6 เมืองโบราณยะรัง : การศึกษาชายฝั่งทะเลโบราณอ่าวปัตตานี
--------------------
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร. พัฒนาการทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ๓ จังหวัดชายแดนใต้. สงขลา : สำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา, 2565.
การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้, ศูนย์. ลุ่มน้ำตานี, ปัตตานี : ศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 2525
เขมชาติ เทพไชย, รายงานการสำรวจขุดค้นทางด้านโบราณคดี บริเวณเมืองโบราณยะรังและใกล้เคียง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี, สงขลา : โครงการโบราณคดีประเทศไทย(ภาคใต้) กองโบราณคดี
กรมศิลปากร, 2528
เขมชาติ เทพไชย, “การวิจัยทางโบราณคดี ณ บริเวณเมืองโบราณยะรัง จังหวัดปัตตานี”, เอกสารหมายเลข 11 การสัมมนาวิจัยวัฒนธรรมภาคใต้ครั้งที่ 1 ณ โรงแรมไทยโฮเต็ล นครศรีธรรมราช 18-20 กันยายน 2532
ชูสิริ จามรมาน, รายงานผลการวิจัยเรื่องการวิจัยข้อมูลทางศิลปะและโบราณคดี ณ เมืองโบราณที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เพื่อศึกษาเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์, นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม, 2528
พรทิพย์ พันธุโกวิท, การศึกษาประติมากรรมสมัยทวารวดี ณ เมืองโบราณ อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี, วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร,2530
ภัคพดี อยู่คงดี, รายงานสังเขปผลการปฏิบัติงานทางวิชาการ โครงการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานเมืองยะรัง จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2531 และครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2532
ศิริพร ลิ่มวิจิตรวงศ์, รายงานการขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านประแวในปีพ.ศ.2541
ศิลปากรที่ 11 สงขลา, สำนัก. รายงานผลการดำเนินงานโครงการศึกษาและขยายฐานความรู้เมืองโบราณยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2561, เอกสารอัดสำเนา, 2561
ศิลปากรที่ 11 สงขลา, สำนัก. พัฒนาการทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ 3 จังหวัดชายแดนใต้,สมุทรสาคร : บริษัท บางกอกอินเฮาส์ จำกัด,2565
สว่าง เลิศฤทธิ์, การสำรวจขุดค้นทางด้านโบราณคดีบริเวณเมืองโบราณยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี, ปัตตานี : ศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 2530
อนันต์ วัฒนานิกร, แลหลังเมืองตานี, ปัตตานี : ศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 2528
อิบรอฮิม ซุกรี(เขียน), หะสัน หมัดหมาน(แปล) ประพน เรืองณรงค์(เรียบเรียง), ตำนานเมืองปัตตานี (Sejarah Kerajaan Melayu Pattani), ปัตตานี : ศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 2525
อมรา ศรีสุชาติ.ศรีวิชัยในสุวรรณทวีป. กรุงเทพฯ:กรมศิลปากร,2557.
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช จัดการบรรยายทางวิชาการออนไลน์สาธารณะ ประจำปี พ.ศ.2566 "คนพิพิธภัณฑ์อยากจะเล่า" ครั้งที่ 3 ขอเชิญร่วมฟังเรื่องเล่า ในหัวข้อ “นิทรรศการใหม่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี” เล่าเรื่องโดย นางสาวเชาวนี เหล็กกล้า หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี และนางสาวสิริภา เจริญเขต ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี ในวันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน 2566 ตั้งแต่เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป
ผู้สนใจสามารถติดตามชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง facebook live : Thalang National Museum พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง
ชื่อเรื่อง: จดหมายเหตุบัญชีน้ำฝนของสมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เล่ม ๒ ผู้แต่ง: สมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ปีที่พิมพ์: พ.ศ. ๒๔๗๒สถานที่พิมพ์: พระนครสำนักพิมพ์: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากรจำนวนหน้า: ๔๘ หน้า เนื้อหา: จดหมายเหตุบัญชีน้ำฝนของสมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เล่ม ๒ เจ้าพระยาพลเทพ เสนาบดีกระเกษตราธิการ พิมพ์ในงานพระราชพิธีจรดพระนังคัล ปี พ.ศ. ๒๔๗๒ พิมพ์ที่โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ทรงเริ่มจดในรัชกาลที่ ๓ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๘๙ และทรงพระอุตสาหะจดเป็นรายวันตลอดมานับได้ ๔๕ ปี จนถึง พ.ศ. ๒๔๓๓ รวมกันได้ ๑๓ เล่มสมุดไทย ในหนังสือเล่มนี้เป็นบัญชีฝนตกตั้งแต่ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๐๐ จนถึงปีขาล พ.ศ. ๒๔๐๙ รวม ๑๐ ปี โดยอธิบายเรื่องห่าฝน ปริมาณฝนที่ตกรายวัน ข้างขึ้นข้างแรมรายเดือน ทั้งยังได้จดหมายเหตุคล้ายกับปูมของโหรหลวงลงไว้ และทรงพระนิพนธ์โคลงไว้มีทุกเล่มสมุด จึงเห็นว่าเป็นตำราที่น่ารู้น่าอ่าน และจัดพิมพ์ให้แพร่หลาย เพื่อรักษาไว้มิให้สูญหาย
เลขทะเบียนหนังสือหายาก: ๙๐๔เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์: E-book ๒๕๖๖_๐๐๑๘หมายเหตุ: โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี ขอเชิญชมการถ่ายทอดสด Facebook Live กิจกรรมบรรยายพิเศษเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย เรื่อง "ยลโฉม (หน้า) ประติมา ทวารวดีชายฝั่งทะเลเพชรบุรี" วิทยากรโดย นางสาวพยุง วงษ์น้อย รักษาการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโบราณคดี (โบราณคดีและพิพิธภัณฑ์) (นักโบราณคดีทรงคุณวุฒิ) ในวันศุกร์ที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๖ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๑.๓๐ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : พระนครคีรี กรมศิลปากร
ชื่อเรื่อง ท้องถิ่นเมืองโบราณอู่ทอง รายวิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผู้แต่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN -หมวดหมู่ ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์เลขหมู่ 959.373 ส691ทสถานที่พิมพ์ สุพรรณบุรีสำนักพิมพ์ ม.ป.พ.ปีที่พิมพ์ 2551ลักษณะวัสดุ 54 หน้า : ภาพประกอบ ; 29 ซม.หัวเรื่อง สุพรรณบุรี – ประวัติศาสตร์ แบบเรียน อู่ทอง(สุพรรณบุรี) -- ประวัติศาสตร์ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก จัดทำโครงการ “พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเมืองโบราณอู่ทอง” มีเป้าหมายจัดทำหลักสูตรระดับท้องถิ่น กำหนดเป็นระยะๆ ตามแนวการพัฒนาหลักสูตร กำหนดกรอบแนวการพัฒนา จัดทำลักษณะหน่วยการเรียนรู้สอดแทรกไว้ในรายวิชา ประวัติศาสตร์ ในระดับชันประถมศึกษาปีที่ 1 - 6
“จารึกเมืองศรีเทพ” ตามประวัติระบุว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพบที่เมืองโบราณศรีเทพ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ ตรงกับ ร.ศ.๑๒๕ เมืองศรีเทพปัจจุบันอยู่ในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ จารึกนี้ส่งมาเก็บรักษาที่คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๐
มีลักษณะเป็นเสากลมรูปคล้ายตะปูหัวเห็ดหรือคล้ายดอกบัวตูม ทำจากหินทรายเนื้อละเอียด จารึกอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต จำนวน ๑ ด้าน มี ๖ บรรทัด มีคำว่า “ขีลัง” ซึ่งแปลว่า “หลัก” โดยปรากฏในหนังสือเรื่อง เที่ยวที่ต่างๆ ภาค ๓ เล่าเรื่องเที่ยวมณฑลเพชรบูรณ์ พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ หน้า ๒๐ ความว่า
“ ...ศิลาจารึกพบที่เมืองศรีเทพครั้งนี้แปลกมาก สัณฐานคล้ายตะปูหัวเห็ด ข้างปลายที่เสี้ยมแหลมเป็นแต่ถากโคลน สำหรับฝังดินขัดเกลี้ยง แต่ที่หัวเห็ดจารึกอักษรไว้ที่นั้นเป็นอักษรคฤนถ์ชั้นก่อนหนังสือขอม แต่ตรงที่จารึกแตกชำรุดเสียมาก ได้เอาศิลานี้มาที่กรุงเทพ (หอวชิรญาณ) ให้อ่าน ดูเป็นภาษาสันสกฤตมีคำว่า ขีลัง ซึ่งแปลว่าหลัก จึงเข้าใจว่าศิลาแท่งนี้คือหลักเมืองศรีเทพแบบโบราณ เขาทำเป็นรูปตะปูตอกไว้ลงในแผ่นดิน ประสงค์ว่าให้มั่นคง...” และต่อมานายชะเอม แก้วคล้าย มีการอ่านชำระใหม่ เป็นคำว่า “ขิลํ” จากถ้อยความว่า “เวตฺตย ขิลํ สโจทฺยม” แปลว่า เขาเป็นผู้รู้ความรุ่งเรืองทั้งสิ้น
เนื่องจากเนื้อหินด้านหนึ่งของจารึกแตกหาย ข้อความจารึกแต่ละบรรทัดจึงเหลืออยู่เฉพาะช่วงกลาง เนื้อหาที่เหลือโดยสรุปกล่าวถึงการสรรเสริญบุคคลว่าเป็นผู้เปี่ยมด้วยความรู้และยังเป็นผู้มีธรรม ซึ่งอาจเป็นพระราชาหรือเชื้อพระวงศ์ที่ปกครองเมืองศรีเทพ ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๑
อ้างอิง
กรมศิลปากร. “จารึกในประเทศไทย เล่ม ๑ อักษรปัลลวะ หลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๔”. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ภาพพิมพ์, ๒๕๒๙.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. “เรื่องเที่ยวที่ต่าง ภาค ๓ เล่าเรื่องเที่ยวมณฑล เพชรบูรณ์และเรื่องความไข้ เมืองเพชรบูรณ์”. กรุงเทพฯ: วิศัลย์การพิมพ์, ๒๕๑๙.
ดูรายละเอียดสำเนาจารึกได้ที่ : ฐานข้อมูลเอกสารโบราณ จารึก สมุดไทย http://manuscript.nlt.go.th/.../ctrlObjec.../mid/1855/id/207
หรือติดตามอ่านได้ในหนังสือที่ระลึก “คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ”