ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,340 รายการ
วันที่ ๒๒ - ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๙ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี จันทบุรี ได้จัดโครงการฝึกอบรมการอ่านแบบ ขยายแบบ และสร้างเรือจำลอง โดยมี นายเอิบเปรม วัชรางก ูร ผู้อำนวยการกองโบราณคดีใต้น้ำ เป็นประธานในพิธีเปิดและได้รับเกียรติจากอาจารย์ประทับ ขาวมาลา และอาจารย์นเรศ โพธิรัตน์ จากกลุ่มงานพัฒนาเรือประมง สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีประมงทะเล เป็นวิทยากรบรรยาย
วัดช้างล้อม ตั้งอยู่ทางฝั่งเหนือของคลองแม่ลำพัน ได้พบศิลาจารึกที่วัดนี้เขียนเล่าเหตุการณ์ในระหว่างก่อน พุทธศักราช ๑๙๐๕ - ๑๙๓๓ ว่า พนมไสดำผัวแม่นมเทด เป็นขุนนางผู้จงรักภักดีต่อพระมหาธรรมราชาลิไท มีใจศรัทธาออกบวชตามพระมหาธรรมราชาลิไท และได้อุทิศที่ดินของตนสร้างวิหาร ในปี พุทธศักราช๑๙๓๓ สร้างพระพุทธรูป หอพระไตรปิฎก ปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ อุทิศบุญกุศล ถวายแด่พระมหาธรรมราชาลิไทซึ่งเสด็จสวรรคตแล้ว และสร้างพระพุทธรูปหินอุทิศบุญกุศลถวายแด่ มหาเทวี พระขนิษฐาของพระมหาธรรมราชาลิไทผู้เคยปกครองเมืองสุโขทัย โบราณสถานวัดนี้มีพื้นที่กว้างขวาง มีคูน้ำล้อมรอบ นอกคูน้ำห่างไปทางตะวันออกมีพระอุโบสถที่มีน้ำล้อมรอบเรียกว่า อุทกสีมาหรือนทีสีมา เป็นวัดที่มีขนาดใหญ่มาก เจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ทรงระฆัง ที่ฐานเจดีย์ทำเป็นรูปช้างล้อมจำนวน ๓๒ เชือก มีลายประทักษิณโดยรอบ ที่วิหารหน้าเจดีย์มีพระพุทธรูปปูนปั้นชำรุดมากแล้ว สิ่งก่อสร้างอื่นก็มี เจดีย์ราย มีกำแพงแก้วล้อมรอบชั้นหนึ่งก่อนชั้นของคูน้ำ วัดตระพังทองหลาง วัดโบราณแห่งนี้ตั้งอยู่ริมถนนจรดวิถีถ่อง ที่ตั้งโบราณสถานอยู่ในวัดตระพังทองหลางซึ่งเป็นวัดสมัยปัจจุบันซ้อนทับวัดโบราณอยู่ไม่ปรากฏหลักฐานเอกสารว่าสร้างในสมัยใด มีมณฑปประกอบวิหารที่งดงามแห่งหนึ่งของสุโขทัย มีเจดีย์ราย มีคูน้ำล้อมรอบ และพระอุโบสถอยู่ทางตะวันออก วัดนี้ไม่มีเจดีย์ประธาน แต่ใช้มณฑปทำหน้าที่เหมือนเป็นเจดีย์ประธานอันเป็นลักษณะเฉพาะแบบหนึ่งของการสร้างวัดที่สุโขทัย มณฑปก่อด้วยอิฐ เป็นอาคารในผังรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ภายในมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่เต็มพื้นที่ แต่ปัจจุบันชำรุดหมดแล้ว มณฑปด้านทิศตะวันออกเป็นซุ้มประตู อีกสามด้านเป็นผนังที่ประดับด้วยปูนปั้น เป็นเรื่องตามพุทธประวัติที่ชำรุดเกือบหมดแล้ว แต่จากหลักฐานที่บันทึกเป็นภาพถ่ายเก่าทำให้ทราบเรื่องราวได้ดังนี้ ผนังด้านเหนือ เป็นภาพตอนพระพุทธเจ้าทรมานช้างนาฬาคีรี โดยปั้นรูปพระพุทธองค์ประทับยืนเคียงข้างด้วยอัครสาวกคือพระอานนท์ ที่ปลายพระบาทของพระพุทธเจ้ามีร่องรอยให้ทราบว่าเป็นหัวเข่าช้าง ซึ่งคุกเข่ายอมแพ้พระพุทธเจ้า ผนังด้านใต้ เป็นภาพตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ภายหลังเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาปั้นรูปพระพุทธเจ้าในท่าลีลา มีพระอินทร์กับพระพรหมและเหล่าทวยเทพตามเสด็จมาส่ง ได้มีการถอดพิมพ์ภาพปูนปั้นนี้ขณะที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์กว่าจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง สุโขทัย ผนังด้านตะวันตก เป็นภาพตอนพระพุทธเจ้าโปรดเทศนาสั่งสอนพวกศากยวงศ์ ที่เมืองกบิลพัสดุ์ ขณะทรงสั่งสอนทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ เป็นรูปรัศมีเปลวไฟล้อมรอบพระพุทธองค์และมีรูปบรรดาพระญาติแวดล้อมอยู่ภายนอกรูปรัศมีนั้น บรรดาภาพปูนปั้นเหล่านี้แสดงถึงลักษณะศิลปะสุโขทัยที่เจริญสูงสุด หรือที่เรียกว่ายุคทองของศิลปะสุโขทัย ซึ่งอายุอยู่ในราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐ วัดเจดีย์สูง ตั้งอยู่ริมถนนจรดวิถีถ่อง อยู่ถัดจากวัดตระพังทองหลางไปทางตะวันออก ชื่อของวัดคงเรียกตามลักษณะของเจดีย์ประธานในวัดที่ตั้งอยู่บนฐานสูง ฐานเจดีย์กว้างขนาด ๑๔ x ๑๔ เมตร ตัวองค์เจดีย์เป็นทรงระฆัง ส่วนฐานก่อเป็นแท่นสูง ย่อมุมไม้ยี่สิบ ลักษณะคล้ายกับผนังของมณฑปแต่ก่อทึบทุกด้าน วัดเจดีย์สูงน่าจะเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยตอนปลายแล้ว โดยดูจากลักษณะการทำฐานสูง และลักษณะของเครื่องเจดีย์ทั้งองค์ ก็พัฒนาการต่อมาจากเจดีย์จำลองทำด้วยสำริดที่ได้จากวัดสระศรี และเจดีย์เอนที่เมืองศรีสัชนาลัย
กระทรวงวัฒนธรรมขอเชิญชมละครเวทีอิงประวัติศาสตร์ เรื่อง นางเสือง ตั้งแต่บัตนี้ - 27 มกราคมนี้ สำรองที่นั่งได้ที่ ศาลาเฉลิมกรุง และไทยทิคเก็ตเมเจอร์ โทร.02-2623456, 022258757-8
พระคเณศ
เลขทะเบียน ๐๙/๓๑๔/๒๔๙๗
ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ ๑๕
หินทราย ขนาด สูง ๖๙ เซนติเมตร หน้าตักกว้าง ๓๑.๕ เซนติเมตร
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ประทานให้กรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๐
พระคเณศประทับนั่งขัดสมาธิราบอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมด้านหลังทำเป็นซุ้มมีลักษณะเป็นเสาสี่เหลี่ยมหัวเสาเป็นรูปบัวหงาย มีมกรคายนาคสามเศียรอยู่ด้านบน ถัดไปเป็นลายใบไม้สอบขึ้นไปเป็นยอดแหลม
พระคเณศองค์นี้มีเศียรเป็นช้าง มีงาซ้ายข้างเดียว พระวรกายอวบอ้วน มีสองกร สวมมงกุฎทรงกรวยหรือชฎามกุฎ พระหัตถ์ขวาทรงถืองาที่หักไว้ ส่วนพระหัตถ์ซ้ายและงวงหักหายไปแต่ซ่อมแซมใหม่ บริเวณบั้นพระองค์มีชายผ้าพับย้อนออกมาด้านหน้า ประทับนั่งขัดสมาธิราบโดยฝ่าพระบาทด้านซ้ายและขวาซ้อนทับกัน
ตามตำนานเล่าว่า พระคเณศหรือพระพิฆเนศวร์เป็นพระโอรสของพระศิวะและพระอุมา บางตำนานก็ว่า เป็นโอรสของพระอุมาองค์เดียว มีลักษณะรูปร่างอวบอ้วน ผิวกายสีแดง มีเศียรเป็นช้าง มีงาเดียว มีสี่กร สิ่งของที่ถือมีหลายอย่าง อาทิ คฑา จักร วัชระ บ่วงบาศก์ ขอช้าง สังข์ ขนมโมทกะ พาหนะของพระองค์คือ หนู พระคเณศเป็นหนึ่งในเทพที่สำคัญที่สุดองค์หนึ่งในศาสนาฮินดู โดยเป็นเทพเจ้าแห่งความเฉลียวฉลาด การขจัดอุปสรรค และศิลปวิทยาการ
ในปัจจุบันพระองค์เป็นที่นับถือของชาวฮินดูเป็นอย่างยิ่ง เมื่อจะประกอบพิธีกรรมทางศาสนา หรือจัดงานฉลองเกี่ยวกับศาสนาทุกครั้งจะต้องสักการะพระคเณศก่อน เพื่อให้พิธีกรรมและงานดังกล่าวสำเร็จลุล่วงไปโดยปราศจากอุปสรรคใดๆ นอกจากนั้นพระองค์ยังได้รับความนับถืออย่างมากในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ที่นับถือศาสนาพุทธและศาสนาฮินดูอีกด้วย
จากลักษณะของพระคเณศองค์นี้ที่มีซุ้มสลักเป็นรูปมกรคายนาค เป็นลวดลายที่แสดงถึงอิทธิพลศิลปะเขมรแบบเกาะแกร์ (ราว พ.ศ.๑๔๖๔ – พ.ศ.๑๔๘๘)
Ganesha
Registration No. 09/314/2497
Lopburi Art, ca. 10th century
Sandstone, Height 69 cm. Width 31.5 cm.
Donated by Somdet Phra Maha Viravong to the Fine Arts Department in 1927.
This Ganesha is sitting on the square base under a leaf-decorated arch. He bears an elephant’s head with a tusk, he is chubby, has two arms and is wearing a crown. In his right hand he holds a broken tusk. His left hand and trunk have been restored. The design of the background is reminiscent of the Khmer Koh Ker art style (921 – 945).
Ganesha is a son of Siva and Uma. He is represented as a short pot-bellied man with red skin; he has an elephant’s head bearing a single tusk and has four arms. In his hands he holds a gada, a cakra (wheel), a vajra (thunderbolt), an elephant hock, a noose and a sweet called Modaka. His mount is a rat.
Ganesha is one of the most popular Hindu Gods. He is revered as the remover of all obstacles, the god of art and wisdom. Ganesha is extremely respected by Hindus and Buddhists in Thailand and abroad and is always invoked before other deities during religious ceremonies and rituals.
***บรรณานุกรม***
หนังสือหายาก
ประวัติการฑูตของไทย ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้า ดิลกฤทธิ์ กฤดากร ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๑. พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, ๒๕๐๑.
มาตรการป้องกันการระบาดของโรคติดต่อ COVID-19 สำหรับการเปิดให้บริการแหล่งเรียนรู้ของกรมศิลปากร ประเภทพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอสมุดแห่งชาติ และหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ภายหลังมาตรการผ่อนปรนของรัฐบาล
ประชุมพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔ หมวดปกิณณกะ ภาค 2 นี้มี 18 เรื่อง กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ได้ตรวจสอบและคัดจากสมุดไทยคำ ซึ่งเก็บรักษาไว้ในหอสมุดแห่งชาติ 16 เรื่อง
องค์ความรู้หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา : คัมภีร์ใบลาน : หลักฐานยืนยัน “ท้าวสุรนารี”
แม้จะมีการกล่าวยืนยันตัวตนของ “คุณผู้หญิงโม” “ย่าโม” หรือ “ท้าวสุรนารี” จากลูกหลานที่สืบเชื้อสาย และจากหลักฐานสำคัญ แต่ก็ยังคงเป็นประเด็นปัญหาที่ถกเถียงกันอยู่บ่อยครั้งในหมู่ประชาชนและสังคมออนไลน์ จนกลายเป็นเรื่องยากที่จะยุติและมีข้อสรุปที่แน่ชัด
เอกสารสำคัญอย่างหนึ่งที่ยืนยันถึงตัวตนของท้าวสุรนารี คือ เอกสารโบราณ ประเภทคัมภีร์ใบลาน เรื่อง พระธาตุกถา และพระปุคคลบัญญัติ ฉบับทองทึบ จารด้วยอักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย หน้าปกของคัมภีร์ใบลานจารบอกปี ชื่อเรื่อง และชื่อผู้สร้างคัมภีร์ใบลานว่า “พระพุทธศักราชล่วงแล้วได้ ๒๓๗๕ พระวัสสา ปีมะโรง จัตวาศก พระปุคฺคลบัฺติปการณ นิฏฺิตํ ผูก ๔ ท่านพญาปลัด คุณผู้หญิงโม สร้างไว้สำหรับพระศาสนาแล” สันนิษฐานว่า ภายหลังเสร็จสงครามเจ้าอนุวงศ์ ท่านพญาปลัดและคุณผู้หญิงโม ได้มีศรัทธาสร้างคัมภีร์ใบลานถวายแก่วัดอิสาน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เพื่อเป็นพุทธบูชา สืบทอดพระศาสนา และเพื่อให้พระภิกษุสามเณรได้ศึกษาเล่าเรียนพระอภิธรรม
พระธาตุกถา เป็น 1 ใน 7 คัมภีร์ของพระอภิธรรม ว่าด้วยปรมัตถธรรมอันสงเคราะห์กันได้ และสงเคราะห์กันไม่ได้ เกี่ยวด้วยธาตุเป็นส่วนมาก โดยมีคัมภีร์ปรมัตถทีปนี ซึ่งเป็นคัมภีร์อรรถกถา แต่งอธิบายบทหรือข้อความที่เข้าใจยากในคัมภีร์พระธาตุกถานั้น
พระปุคคลบัญญัติ เป็น 1 ใน 7 คัมภีร์ของพระอภิธรรม แสดงหลักธรรมต่างๆ เช่น ขันธ์ เป็นต้นว่า ทำไม ด้วยเหตุใด จึงเรียกว่า ขันธ์ เป็นต้น และคัมภีร์นี้ ที่เรียกว่า ปุคคลบัญญัติ เพราะกล่าวถึงบุคคลมากกว่าหลักธรรมอื่นๆ คือ กล่าวทั้งอุทเทส และนิทเทส ส่วนหลักธรรมอื่นๆ กล่าวเฉพาะอุทเทสเท่านั้น
คัมภีร์ใบลานทั้ง ๒ ฉบับนี้ พบที่วัดอิสาน โดยพระครูปลัดสมพงษ์ มหาพโล เจ้าอาวาสวัดอิสาน ได้มอบให้กับหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา เป็นผู้จัดเก็บและดูแลรักษา ปัจจุบันเก็บรักษาและจัดแสดงที่ห้องอีสานศึกษา หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
ข้อมูล-ภาพ : นางสาวอุไร คำมีภา นักภาษาโบราณปฏิบัติการ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา
หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง พุทธสานา พุทธศาสนา -- บทสวดมนต์ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 28 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม. บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534
เลขทะเบียน : นพ.บ.6/16ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.5 x 56 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 4 (33-46) ผูก 14หัวเรื่อง : บาลีสมันต--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.29/14ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.5 x 58 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 15 (161-174) ผูก 13หัวเรื่อง : มหามูลกมฺมฏฐาน(มุลลกัมมัฏฐาน) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม