ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 43,473 รายการ
องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “ทุเรียน ”
จันทบุรีเป็นเมืองท่องเที่ยว มีสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติมากมาย ทั้งน้ำตก ทะเล หาดทราย และยังได้ชื่อว่าเป็นเมืองผลไม้ ที่มีผลไม้นานาชนิด โดยเฉพาะ ทุเรียน ที่เป็นผลไม้มีชื่อเสียงของจันทบุรี ได้ชื่อว่าเป็น ราชาแห่งผลไม้ ประเทศจีนนิยมชมชอบผลไม้จากจันทบุรี จนเป็นสินค้าส่งออก โดยเฉพาะทุเรียนหมอนทอง
เดิมทีเดียวทุเรียนเมืองจันท์ เป็นทุเรียนพันธุ์พื้นเมือง ต้นสูงแหงนคอตั้งบ่า ลูกเล็ก เนื้อบาง เม็ดใหญ่ ชาวสวนจึงเริ่มเสาะหาทุเรียนพันธุ์ดี ที่ให้ผลผลิตสูง คุณภาพดี เมื่อก่อนราวๆ 50 – 60 ปี สมัยนั้นเรียกว่าทุเรียนหม้อ เพราะเป็น กิ่งตอนที่ชำมาในหม้อดินขนาดย่อมๆจากจังหวัดนนทบุรีเข้ามาปลูก และค่อยๆตัดโค่นต้นพันธุ์พื้นเมืองลง
ปัจจุบันเมื่อเอ่ยถึงทุเรียนเมืองจันท์ ถือว่าเป็นทุเรียนพันธุ์ดีทุกสวนทุกต้น พันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากคือ พันธุ์หมอนทอง พันธุ์ชะนี และพันธุ์ก้านยาว ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ตลาดนิยม รสชาติอร่อย มีการผสมพันธุ์ทุเรียนพันธุ์ใหม่ๆอีกหลายสายพันธุ์ เพื่อให้ได้ผลผลิตคุณภาพดี เนื้อนุ่มสวย เม็ดลีบ ถึงแม้จะมีราคาแพง แต่คนที่อยากบริโภคก็จะหาซื้อมารับประทานกัน
ทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีสีสันไม่เหมือนเงาะเมื่อสุกแล้ว ทุเรียนเมื่อสุกจะมีกลิ่นหอมชวนกิน นอกจากจะรับประทานสดๆเมื่อสุกแล้ว เนื่อทุเรียนยังนำไปแปรรูปเพื่อให้เก็บไว้กินได้นานๆนอกฤดูกาล มีทั้งทุเรียนกวน ทุเรียนทอด ท๊อฟฟี่ทุเรียน ทองม้วนพับทุเรียน และยังทำเป็นอาหารอื่นๆที่มีทุเรียนเป็นส่วนประกอบอีกด้วย
อ้างอิง : ที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี : อัมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ. 2533
ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้
นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
ทำไม ? โรงเชือดจึงหยุดฆ่าสัตว์ในวันพระ
ในปี ๒๔๘๑ - ๒๔๘๗ และ ๒๔๙๑ - ๒๕๐๐ เป็นช่วงที่จอมพล แปลก พิบูลสงคราม หรือ ป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทย เอกสารจดหมายเหตุชุดจังหวัดจันทบุรี ได้ระบุว่า พ.ศ.๒๔๙๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีคำสั่งถึงทุกจังหวัด ด้วยนายกรัฐมนตรีเห็นควรสั่งห้ามการฆ่าสัตว์ในวันพระและในวันหยุดราชการเนื่องในวันทางพระพุทธศาสนา
.
ต่อมาในปี ๒๔๙๒ กระทรวงมหาดไทยได้ชี้แจงถึงคำสั่งดังกล่าวว่า การห้ามฆ่าสัตว์ตามที่สั่งการมานั้น มีความประสงค์เพื่อแสดงถึงการเคารพสักการะในพระพุทธศาสนา และเพื่อประหยัดอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ด้วย ทั้งนี้ให้งดฆ่าเฉพาะวันที่ตรงกับวันพระ โดยให้ถือหลักการนับเวลาทางสุริยคติตามประกาศนับเวลาในราชการ
.
ปัจจุบันราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.๒๕๕๙ เรื่องกำหนดวันและเวลาฆ่าสัตว์ พ.ศ.๒๕๖๕ ความในข้อ ๓ ให้หยุดฆ่าโค กระบือ แพะ แกะ สุกร และนกกระจอกเทศ ยกเว้นสัตว์ปีก ในวันและเวลา ดังต่อไปนี้
(1) วันพระ นับตั้งแต่เวลา ๐๐.๐๑ นาฬิกา จนถึงเวลา ๒๔.๐๐ นาฬิกา
(2) วันเข้าพรรษา นับตั้งแต่เวลา ๐๐.๐๑ นาฬิกา จนถึงเวลา ๒๔.๐๐ นาฬิกา
(3) วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว, วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง และวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี นับตั้งแต่เวลา ๐๐.๐๑ นาฬิกา จนถึงเวลา ๒๔.๐๐ นาฬิกา
ผู้สนใจสามารถค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี และระบบสืบค้นเอกสารจดหมายเหตุ https://archives.nat.go.th/
ผู้เรียบเรียง
นางสาวสุจิณา พานิชกุล นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี
------------------------------
เอกสารอ้างอิง :
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี. เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดจังหวัดจันทบุรี จบ ๑.๑.๑.๘/๒๙ เรื่องห้ามการฆ่าสัตว์ในวันพระและวันหยุดราชการทางพระพุทธศาสนา (๑๙ ตุลาคม - ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๑).
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี. เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดจังหวัดจันทบุรี จบ ๑.๑.๑.๔/๓๗๖ เรื่องขออนุญาตทำการฆ่าสุกรในวันพระ และการนับวันทางสุริยคติ (๑๗ มกราคม - ๒ มีนาคม ๒๔๙๒).
กรมศิลปากร. ๒๕๐๐. บันทึกผลงานของรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๙๑-๒๔๙๙. พระนคร : ศิวพร.
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๙ ตอนที่ ๔๐ ก วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๕ หน้า ๗ เรื่องกำหนดวันและเวลาฆ่าสัตว์ พ.ศ.๒๕๖๕.
รายงานผลการตรวจสอบโบราณวัตถุที่พบจากที่พักสงฆ์เกาะโนนข่า ภายในเขตอ่างเก็บน้ำห้วยค้อ ตำบลเขวาไร่ อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม
นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เข้ารับตำแหน่ง พร้อมเข้าสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกรมศิลปากร
วันอังคารที่ ๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๐๙ น. นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เดินทางเข้ารับตำแหน่ง พร้อมเข้าสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกรมศิลปากร โดยมีนางรักชนก โคจรานนท์ รองอธิบดีกรมศิลปากร นายบพิตร วิทยาวิโรจน์ รองอธิบดีกรมศิลปากร พร้อมด้วยผู้บริหาร ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรให้การต้อนรับ ณ กรมศิลปากร
แผ่นโลหะดุนรูปพระพุทธรูปแสดงวิตรรกมุทรา ขนาบข้างด้วยบริวาร
ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๖
กรมศิลปากร ขุดได้ที่วัดพระประโทณ จังหวัดนครปฐม เมื่อเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๓
ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องทวารวดี อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
แผ่นโลหะสัมฤทธิ์และทองคำดุนรูปพระพุทธรูปยืนแสดงวิตรรกมุทรา (ปางแสดงธรรม) สองพระหัตถ์ ขนาบข้างด้วยบริวาร พระพุทธรูปมีพุทธลักษณะทรงยืนสมภังค์ (ยืนตรง) พระเศียรมีเม็ดพระศกมีขนาดใหญ่ พระขนงต่อกันเป็นปีกกา พระเนตรเปิด พระนาสิกใหญ่แบะออก และพระโอษฐ์แย้มพระสรวล รอบพระเศียรมีวงโค้งแทนความหมายถึงศิรประภา* พระวรกายครองจีวรห่มคลุม ชายจีวรด้านหน้าตกลงมาเป็นวงโค้งรูปอักษรโรมันตัวยู (U) ทรงยืนอยู่เหนือฐานบัว ใต้ต้นโพธิพฤกษ์ ขนาบข้างด้วยพระอาทิตย์-พระจันทร์
รูปบุคคลเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า ส่วนพระเศียรแสดงการทรงมงกุฎยอดแหลม พระกรรณทรงกุณฑลขนาดใหญ่ รอบพระเศียรมีวงโค้งแทนความหมายถึงศิรประภา ทรงกรองศอ พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัว พระหัตถ์ขวาชำรุดหักหายไปบางส่วน ท่อนล่างแสดงการนุ่งผ้าสั้น ทรงยืนเหนือฐานบัว จากรูปแบบการแต่งกายดังกล่าวรูปบุคคลนี้สันนิษฐานว่าหมายถึงพระอินทร์เนื่องจากทรงเครื่องอย่างกษัตริย์ ส่วนรูปบุคคลเบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้า พระเศียรรวบพระเกศาเกล้าขึ้นเป็นมวย รอบพระเศียรมีวงโค้งแทนความหมายถึงศิรประภา พระหัตถ์ขวาถือดอกบัว พระหัตถ์ซ้ายถือหม้อน้ำ ท่อนล่างแสดงการนุ่งผ้ายาว ทรงยืนเหนือฐานบัว จากรูปแบบการแต่งกายดังกล่าวรูปบุคคลนี้สันนิษฐานว่าหมายถึงพระพรหมเนื่องจากทรงเครื่องอย่างนักบวช
พระพุทธรูปยืนแสดงวิตรรกมุทราในศิลปะทวารวดีแต่เดิมเชื่อกันว่าสื่อถึงพุทธประวัติตอนแสดงธรรม เช่น แสดงธรรมโปรดพุทธมารดา แต่เนื่องจากมักพบพระพุทธรูปแสดงวิตรรกมุทราขนาบข้างด้วยบริวารจึงทำให้ปางนี้มีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า “เสด็จลงจากดาวดึงส์” ซึ่งเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมมากในศิลปะทวารวดี ทั้งรูปแบบประติมากรรมเหนือพนัสบดี เช่น พระพุทธรูปและบริวารยืนเหนือพนัสบดีพบที่อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ใบเสมาสมัยทวารดีมีตัวอย่างคือใบเสมาจากเมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์สลักภาพพระพุทธรูปแสดงวิตรรกมุทรา มีบริวารอยู่ด้านข้าง และเหนือขึ้นไปมีรูปบุคคลอยู่บนเมฆ** พระพิมพ์สมัยทวารวดีมีตัวอย่างเช่น พระพิมพ์พบที่บ้านหนองกรด อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์*** ทั้งนี้การแสดงมุทราดังกล่าวเชื่อว่ารับรูปแบบมาจากการแสดงมุทราของพระพุทธรูปในศิลปะอินเดียใต้ (แบบอมราวดี) และศิลปะลังกา (แบบอนุราธปุระ)
แผ่นโลหะสัมฤทธิ์และทองคำชิ้นนี้ค้นพบจากการขุดแต่งโบราณสถานเจดีย์วัดพระประโทณ จังหวัดนครปฐม โดยความร่วมมือระหว่างเมอร์ซิเออร์ ปิแอร์ ดูปองต์ (Pierre Dupont) ผู้แทนสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบุรพทิศ (ฝรั่งเศส: École française d'Extrême-Orient) กับกรมศิลปากร เริ่มดำเนินการขุดแต่งบูรณะเมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๓ และดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๓ บรรดาโบราณวัตถุที่พบนั้น โบราณวัตถุประเภทปูนปั้นพบมากที่สุด กระนั้นก็ตามโบราณวัตถุประเภทสัมฤทธิ์นั้นพบอยู่ ๔ องค์ หนึ่งในนั้นคือแผ่นโลหะดุนชิ้นนี้ ซึ่งในรายงานระบุไว้ว่า
“...มีพระพิมพ์ที่ทำแปลกอยู่องค์หนึ่ง คือ องค์พระพุทธรูปทำด้วยทองคำสีดอกบวบ สูงประมาณ ๙ เซ็นต์ แต่ส่วนเรือนพระพิมพ์ (มีรูปเทวดายืนสองข้าง) ทำด้วยสัมฤทธิยังเห็นชัดเจนดี ชิ้นนี้นับว่าเป็นของมีราคากว่าสิ่งอื่น...”
*ศิรประภา หมายถึง รัศมีที่เปล่งรอบศีรษะของผู้ศักดิ์สิทธิ์และพระพุทธรูป
**ปัจจุบันใบเสมาแผ่นนี้จัดแสดงอยู่ ณ ห้องทวารวดี อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
**ปัจจุบันพระพิมพ์ชิ้นนี้เก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี
อ้างอิง
กรมศิลปากร. พระพิมพ์ : พระเครื่องเมืองไทย. นครปฐม: รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๖๔.
เชษฐ์ ติงสัญชลี, มุทรา ท่าทาง เครื่องทรง สิ่งของ รูปเคารพในศาสนาพุทธ เชน ฮินดู (นนทบุรี: มิวเซียมเพรส, ๒๕๖๕.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี วัฒนธรรมยุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. นนทบุรี: เมืองโบราณ, ๒๕๖๒.
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ศธ.๐๗๐๑.๒๖.๑/๑๔. เอกสารกระทรวงศึกษาธิการ กรมศิลปากร เรื่อง ส่งรายงานการขุดแต่งโบราณสถานบางแห่ง (จังหวัดนครปฐม).
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 31/4ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 56 หน้า : กว้าง 4.9 ซม. ยาว 53.2 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 45/3ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 28 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่อง งานวิจัยเรื่องการศึกษาเชิงวิเคราะห์วัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2325-2394
ชื่อผู้แต่ง ปัญญา บริสุทธิ์
พิมพ์ครั้งที่ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ ประกายพรึก
ปีที่พิมพ์ 2529
จำนวนหน้า ๑๓๐ หน้า
รายละเอียด
งานวิจัยเรื่องการศึกษาเชิงวิเคราะห์วัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2325-2394 มีจุดมุ่งหมายที่วิเคราะห์วรรณคดีไทยที่แต่งในรัชกาลที่ 1 รัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีความสัมพันธ์สืบเนื่องมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา โดยมีวัฒนธรรมไทยแท้เป็นพื้นฐานแล้วรับอิทธิพลจากพุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์และปัจจัยอื่นๆ เข้ามาประสานกลมกลืนเป็นวัฒนธรรมเดียวกัน และเพื่อให้เห็นว่ากษัตริย์ทั้ง 3 พระองค์ได้ทรงทำนุวัฒนธรรมไทยอย่างไร
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 142/4 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 177/1ฉ เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 13/4ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 32 หน้า : กว้าง 4.6 ซม. ยาว 54.8 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ครุฑในอิทธิพลวัฒนธรรมเขมรที่พบในประเทศไทยส่วนใหญ่มีลักษณะเหมือนกับที่พบในประเทศกัมพูชา ซึ่งพบในสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะภาพสลักครุฑที่ทับหลัง ซึ่งนิยมสลักเป็นรูปครุฑยุดนาคเช่นทับหลังที่วัดทองทั่ว ศิลปะแบบสมโบร์ไพรกุก รุ่นถาลาบริวัติอายุราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ครุฑมีใบหน้าเป็นมนุษย์พุงพลุ้ย มือทั้งสองจับลำตัวนาคไว้ในสมัยต่อมาครุฑในภาพสลักมักมีเศียรเป็นนก สวมกะบังหน้า มีปีกคล้ายปีกนก ส่วนมือทั้งสองข้างยุดนาคไว้มักปรากฏขึ้นในฐานะเป็นเทพพาหนะของพระวิษณุเช่นครุฑในทับหลังศิลปะ แบบบาแคงที่ปราสาทหินพนมวันจังหวัดนครราชสีมา ทับหลังศิลปะแบบแปรรูปที่จังหวัดปราจีนบุรีทับหลังแบบนครวัดจากปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังพบรูปครุฑในทับหลังที่สลักภาพเล่าเรื่องด้วย เช่นภาพครุฑขโมยน้ำอมฤตซึ่งพบเป็นภาพแทรกในภาพเล่าเรื่องการกวนเกษียรสมุทร ที่ปราสาทพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ภาพครุฑในฐานะผู้ช่วย พระรามพระลักษณ์ตอนนาคบาศ ภาพครุฑแบกที่มักสลักเรียงเป็นแนวอยู่ใต้ภาพเล่าเรื่อง เช่นในภาพสลักเล่าเรื่อง พระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนามหายานที่ปราสาทพิมาย
Based on the cultural influence of Khmer art in Thailand, the appearances of Garuda images are mostly similar to the architectural artworks discovered in Cambodia especially lintels engraved with the popular scenes of Garuda holding Naga. For example, carved Garuda on lintel in Sambor Prei Kuk Style, Thala Bariwatt, around the middle of 7th Century CE, found in Wat Thong Tua. Afterwards engravings of Garuda often had a bird’s head, a visor and wings with his hands holding Naga, appearing as the divine vahana of Vishnu seen on various lintels, such as lintel in Bakheng art style found at Prasat Hin Phanom Wan, Nakhon Ratchasima Province, lintel in Pre Rup art style found in Prachin Buri Province, lintel in Angkor Wat art style found in Prang Ku, Si Sa Ket Province, etc.
In addition, Garuda images were found on lintels telling stories, such as lintel describing the scene of Garuda stealing the amrita, episode of Agitation in the Ocean found at Prasat Phimai, Nakhon Ratchasima Province, lintel depicting Garuda represented as the assistant of Rama and Lukshman, episode of Nagapasha as well as a line of Garuda images in carrying posture engraved at the bottom of the scene telling the story of Bodhisattva related to Mahayana Buddhism found at Prasat Phimai.
ภาพ: ทับหลังรูปครุฑจับช้าง จากปราสาทพิมาย
ศิลปะเขมรที่พบในประเทศไทย
พุทธศตวรรษที่ ๑๗
สลักรูปพญาครุฑฆ่าช้างยืนอยู่บนตัวสิงห์
จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย จ.นครราชสีมา
ข้อมูล: สมุดภาพมรดกศิลปวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิบริรักษ์ : ครุฑ ยักษ์ นาค
ชื่อผู้แต่ง แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ และแพทยสภา
ชื่อเรื่อง วารสารสุขภาพสำหรับประชาชน (ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๑๗)
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์อักษรสมัย
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๗
จำนวนหน้า ๑๒๖ หน้า
รายละเอียด
วารสารสุขภาพสำหรับประชาชน ฉบับนี้ได้รวบรวมบทความที่เกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติดต่างๆ พร้อมกับภาพของต้นฝิ่น ซึ่งเป็นยาเสพติดที่ร้ายแรง อีกทั้งยังมีบทความที่น่ารู้และศึกษาได้แก่ แสงธรรม การชนะเลิศ เมื่อท่านสูบบุหรี่อะไรจะเกิดขึ้น การสูบบุหรี่ทำให้ชีวิตสั้น กัญชา ฯลฯ รวมทั้งรายการ ถาม – ตอบและรายชื่อสมาชิก
เลขทะเบียน : นพ.บ.377/8ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 28 หน้า ; 5 x 54.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 142 (7-25) ผูก 8 (2566)หัวเรื่อง : เวสฺสนฺตรชาตก --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.510/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 60 หน้า ; 4 x 49.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 171 (243-247) ผูก 2 (2566)หัวเรื่อง : สลองบาด--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม