ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,342 รายการ



ชื่อเรื่อง                         ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏฺธกถา ขุทฺทกนิกายฏฺธกกา (ธมฺมฺปทขั้นปลาย)อย.บ.                            241/12หมวดหมู่                       พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                  56 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 58.5 ซม.หัวเรื่อง                         พระธรรมเทศนา                                                                       บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา


ชื่อเรื่อง                  สพ.บ. 427/2ก พระเจ้าห้าสิบชาติ (ห้าสิบชาติ)สพ.บ.                    427/2ประเภทวัสดุมีเดีย      คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                 พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ             50 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 59 ซม.หัวเรื่อง                   พุทธศาสนา                            ชาดก                     บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี



          หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ในความร่วมมือกับ เทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมฟังการเสวนาทางวิชาการ “เปิดภาพถ่ายเก่า..เล่าเรื่องเมืองนครราชสีมา” ณ ลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ในวันพุธที่ ๒๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๑๗.๐๐ – ๒๐.๐๐น. โดยวิทยากร อาจารย์เผ่าทอง ทองเจือ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ผ้าไทย ความรู้เกี่ยวกับราชสำนัก และนายไพบูลย์ พฤกษ์พนาเวศ ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี เทศบาลนครนครราชสีมา ผู้ดำเนินรายการ นายชินาทร กายสันเทียะ ผู้อนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น พุทธศักราช ๒๕๖๐           ทั้งนี้ หากไม่สะดวกเข้าร่วมกิจกรรม ผู้สนใจยังสามารถติดตามชมการถ่ายทอดสดได้ทาง Facebook Live : หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา


“วันต่อต้านยาเสพติดโลก 26 มิถุนายน” ด้วยสภาพปัญหายาเสพติดที่ส่งผลให้มีผู้ได้รับความเดือดร้อนทั้งทางตรง และทางอ้อมเป็นจำนวนมาก ทำให้นานาประเทศพยายามร่วมมือกัน เพื่อหาทางหยุดยั้งปัญหายาเสพติด องค์การอนามัยโลกได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหานี้ จึงได้จัดตั้งองค์กรพิเศษขึ้นเพื่อประสานความพยายามในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของประเทศต่างๆ ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกในองค์กรนี้ด้วย คือ คณะกรรมการยาเสพติดแห่งสหประชาชาติ “วันต่อต้านยาเสพติดโลก” การจัดตั้งองค์กรเกิดขึ้นจากการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการใช้ยาในทางที่ผิด และการลักลอบใช้ยาเสพติด (International Conference on Drug Abuse and licit Trafficking : ICDAIT) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ระหว่างวันที่ 17-26 มิถุนายน 2530 ที่ประชุมได้มีมติให้เสนอสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General Assembly) ขอให้กำหนดวันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปี เป็น "วันต่อต้านยาเสพติดโลก" (International Day Against Drug Abuse and Illicit Trafficking) “วันต่อต้านยาเสพติดโลก” เป็นสัญญลักษณ์ของการแสดงเจตนารมย์ร่วมกันของประเทศต่างๆทั่วโลกในการต่อสู้กับปัญหายาเสพติด ที่ประชุมสมัชชาใหญ่มีมติเห็นชอบในการประชุมเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2530 ประเทศต่างๆจึงกำหนดให้วันที่ 26 มิถุนายน เป็น “วันต่อต้านยาการใช้ยาในทางที่ผิดและการลักลอบค้ายาเสพติด” สำหรับประเทศไทยคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อ วันที่ 14 มิถุนายน 2531 กำหนดให้วันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันต่อต้านยาเสพติด มีกิจกรรมตั้งแต่ปี 2531 เป็นต้นมา #วันต่อต้านยาเสพติดโลก



ชื่อเรื่อง: คารมโต้วาทีของกรมศิลปากร เรื่อง ร้อนดีกว่าเย็น ผู้แต่ง: -ปีที่พิมพ์: พ.ศ. ๒๔๗๗ สถานที่พิมพ์: พระนครสำนักพิมพ์: โรงพิมพ์เดลิเมล์จำนวนหน้า: ๔๐ หน้า เนื้อหา:  คารมโต้วาทีของกรมศิลปากร เรื่อง ร้อนดีกว่าเย็น พระยาโอวาทวรกิจ (ผู้เสนอ) รองอำมาตย์โท วิเชียร ฉายจรรยา (ฝ่ายค้าน) ที่หอประชุมกรมศิลปากร วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘  ราคาเล่มละ ๕ สตางค์ ด้วยพระราชกฤษฎีกาแบ่งกองแผนกในกรมศิลปากร ให้มีแผนกวาทีขึ้น ทางรัฐมนตรีว่าด้วยกระทรวงธรรมการ ได้อนุมัติให้กรมศิลปากรจัดแข่งขันโต้วาที เพื่อทำหน้าที่บำรุงศิลปทางวาทีสุนทรพจน์ โดยกำหนดกฏเกณฑ์ในการแข่งขัน ดังนี้ บุคคลทุกคนมีสิทธิเข้าร่วมแข่งขัน ผู้สมัครเข้าแข่งขันต้องแสดงความจำนงเป็นหนังสือ การแข่งขันจัดเป็น ๓ รอบ การวินิจฉัยแพ้ชะนะ จะถือเอามติข้างมากของผู้เขาฟัง ซึ่งผลของการแข่งขันคารมโต้วาทีของกรมศิลปากร เรื่อง ร้อนดีกว่าเย็น ฝ่ายเสนอเป็นผู้ชนะทั้งสามทาง คือ ได้คะแนนจากผู้ฟัง กรรมการกลาง และคณะหนังสือพิมพ์ การโต้วาทีนับว่าเป็นศิลปะการพูดที่ถือว่าน่าสนใจและมีคุณค่าอย่างยิ่ง   เลขทะเบียนหนังสือหายาก: ๙๒๒เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์: E-book ๒๕๖๖_๐๐๑๙หมายเหตุ: โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖



           กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “ท่องเที่ยวล่องใต้ เรียนรู้ประวัติศาสตร์ไปกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา” วิทยากร นายกิตติ  ชินเจริญธรรม หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร  บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น.              ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร


ชื่อเรื่อง                     ท้องถิ่นเมืองโบราณอู่ทอง รายวิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผู้แต่ง                       สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                  ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์เลขหมู่                     959.373 ส691ทสถานที่พิมพ์               สุพรรณบุรีสำนักพิมพ์                 ม.ป.พ.ปีที่พิมพ์                    2551ลักษณะวัสดุ               68 หน้า : ภาพประกอบ ; 29 ซม.หัวเรื่อง                     สุพรรณบุรี – ประวัติศาสตร์                              แบบเรียน                              อู่ทอง(สุพรรณบุรี) -- ประวัติศาสตร์ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก           จัดทำโครงการ “พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเมืองโบราณอู่ทอง” มีเป้าหมายจัดทำหลักสูตรระดับท้องถิ่น  กำหนดเป็นระยะๆ ตามแนวการพัฒนาหลักสูตร กำหนดกรอบแนวการพัฒนา จัดทำลักษณะหน่วยการเรียนรู้สอดแทรกไว้ในรายวิชา ประวัติศาสตร์ ในระดับชันประถมศึกษาปีที่ 1 - 6      


          จารึกที่คนสับสนกับจารึกเมืองศรีเทพ....           จารึกบ้านหนองไม้สอ เป็นเสากลมรูปสัณฐานคล้ายดอกบัวตูม มีเส้นลวดบัวรอบ ฐานมีเดือยยาวเป็นรูปหมุดหรือตะปู ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็น “หลักเมืองศรีเทพ” สับสนกับจารึกเมืองศรีเทพ ตามพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ “ ...ศิลาจารึกพบที่เมืองศรีเทพครั้งนี้แปลกมาก สัณฐานคล้ายตะปูหัวเห็ด ข้างปลายที่เสี้ยมแหลมเป็นแต่ถากโกลน สำหรับฝังดินขัดเกลี้ยง...”  ตามประวัติระบุว่าได้มาจากเมืองศรีเทพ อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ คณะกรมการจังหวัดเพชรบูรณ์ส่งมาให้เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๔๘๑ นำเก็บรักษาไว้ที่คลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดปทุมธานี เมื่อพุทธศักราช ๒๕๕๗           อยู่ห่างจากจุดที่พบจารึกบ้านวังไผ่ไปทางทิศตะวันออก ๓ กิโลเมตร กำหนดเลขบัญชีวัตถุเป็นจารึก K.๙๗๙ ตาม Inscriptions du Cambodge โดยศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ให้ความเห็นว่าเป็นอักษรขอมสมัยเมืองพระนคร ภาษาขอม ๓ บรรทัด มีร่องรอยถูกอุด มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๖ กล่าวถึง เสตญ และบริวารหญิง (ไต) ๓ คน           ภายหลังผู้ช่วยศาสตราจารย์กังวล คัชชิมา ได้ศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบตัวอักษร “ร” ในจารึกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีศักราชกำกับไว้ว่า มีลักษณะอักษรเส้นเดียวยาว ในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย มักจะเขียนไม่เป็นระเบียบ และตัวหนังสือแตกต่างจากฟูนัน-เจนละ  อีกทั้งอักษรขอมสมัยเมืองพระนคร ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๕ มีพัฒนามาจากอักษรหลังปัลลวะ ทำให้ถอดเนื้อความได้ใกล้เคียงกัน อาจเปรียบเทียบได้กับคาถาเยธมฺมาอักษรปัลลวะและหลังปัลลวะที่มีความแตกต่างกันสังเกตจากพัฒนาการตัวอักษร           จึงนับว่าจารึกหนองไม้สอเป็นอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต ระยะแรก กำหนดอายุได้ราว พ.ศ. ๙๐๐-๑๐๐๐ กล่าวถึง ...ไวษฺณว ราม และลักษมณ... เนื้อความส่วนใหญ่ชำรุดเสียหาย แต่ยังคงแสดงให้เห็นความเชื่อและความรับรู้เกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์ของเมืองโบราณศรีเทพได้อย่างชัดเจน     อ้างอิงจาก : กรมศิลปากร. “จารึกในประเทศไทย เล่ม ๑ อักษรปัลลวะ หลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๔”. กรุงเทพฯ : สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, ๒๕๕๙. กรมศิลปากร. “อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ”. กรุงเทพฯ : สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี กรมศิลปากร, ๒๕๕๐ กังวล คัชชิมา. “จารึกพระเจ้ามเหนทรวรมัน”. โครงการวิจัยจากกองทุนสนันสนุนการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ของคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. ๒๕๖๒ ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. “เรื่องเที่ยวที่ต่าง ภาค ๓ เล่าเรื่องเที่ยวมณฑล เพชรบูรณ์และเรื่องความไข้ เมืองเพชรบูรณ์”. กรุงเทพฯ: วิศัลย์การพิมพ์, ๒๕๑๙. George Cœdès, “Nouvelles inscriptions de Si T’ep (K. 978, K. 979),” in Inscriptions du Cambodge vol. VII .Hanoi : Imprimerie d'Extrême-Orient, 1964, แปลโดย ศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล


ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง รับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อจ้างเป็นลูกจ้างชั่วคราว เงินนอกงบประมาณ (กองทุนโบราณคดี) ครั้งที่ ๒




           พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี ขอเชิญชวนไปชมต้นแก้วเจ้าจอม ที่สวยสง่าให้ร่มเงา อยู่ภายในบริเวณกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี ซึ่งขณะนี้ต้นดอกแก้วได้ออกดอกม่วงสวยสะพรั่ง สร้างความตื่นตาและประทับใจให้นักท่องเที่ยวผู้ไปเยือนได้ชื่นชมความสวยงามแล้ว            ต้นไม้ต้นนี้ คือ ต้นแก้วเจ้าจอม ต้นไม้ที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกไว้เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิด พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2534  ปัจจุบันต้นแก้วเจ้าจอมต้นนี้มีอายุกว่า 30 ปีแล้ว             สำหรับนักท่องเที่ยวที่แวะเข้ามาชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี ทางพิพิธภัณฑ์ขอเชิญท่านร่วมถ่ายภาพกับต้นไม้ต้นประวัติศาสตร์ของพิพิธภัณฑ์ได้ในวันพุธ - อาทิตย์  เวลา 09.00 - 16.00 น. (ปิดวันจันทร์ - อังคาร และวันนักขัตฤกษ์) อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติม องค์ความรู้เรื่อง แก้วเจ้าจอมทรงปลูก ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/ratchaburi.national.museum/posts/pfbid0226yqtSoD6zUknwtAUqv2yZeACNYC4vtHmsbHDsZoQ7K3uCgXTYfor1MEyFpCUdBzl  


Messenger