ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,342 รายการ

         ต้นไม้แห่งชีวิต (Tree Of Life)          ศิลปิน : อนิก สมบูรณ์ (Anix Somboon)          ปีพุทธศักราช :  ปี พ.ศ.2494 (1951)          เทคนิค: สำริด (Bronze)          ขนาด : สูง 74 เซนติเมตร ( H. 74 cm.)          ประวัติ : อนิก สมบูรณ์ เกิดปี พ.ศ.2475 ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เริ่มศึกษาศิลปะที่ โรงเรียนเพาะช่าง และในปี พ.ศ.2495 ศึกษาต่อที่คณะจิตรกรรมและประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร เริ่มรับราชการเป็นครูตรีที่โรงเรียนศิลปศึกษา จากนั้นมาเป็นอาจารย์สอนที่คณะจิตรกรรมและประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร            แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/silpabhirasri/zoom/08.html   ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/silpabhirasri


ชื่อเรื่อง                     ประชุมพงศาวดารภาคที่ 61ผู้แต่ง                       กรมศิลปากรประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ประวัติศาสตร์ทวีปเอเชียเลขหมู่                      959.3 ป247รสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์ชวนพิมพ์ปีที่พิมพ์                    2516ลักษณะวัสดุ               250 หน้า หัวเรื่อง                     ไทย – ประวัติศาสตร์ – สมัยแรกเริ่มก่อน พ.ศ.1800ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกหนังสือประชุมพงศาวดารภาคที่ 61 เป็นเรื่องราวของชาติไทยสมัยก่อนที่ยกลงมาเป็นใหญ่ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ประกอบด้วนเรื่อง 2 เรื่อง คือ พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน และตำนานสิงหนวติกุมาร




โครงการปลูกต้นไม้ เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ครั้งที่ ๑ จัดขึ้นในวันจันทร์ที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๖๗ เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ๓ มิถุนายน โดยมี นายสุรพันธ์ ศิลปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานในพิธี ณ บริเวณโบราณสถานเมืองเสมา ตำบลเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ทั้งนี้การปลูกต้นไม้เป็นการร่วมมือร่วมใจของข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา หน่วยงานราชการต่าง ๆ และราษฎรในท้องถิ่น ซึ่งช่วยกันทำความดีทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม เพิ่มพื้นที่สีเขียว สร้างความชุ่มชื้น เพิ่มออกซิเจนในอากาศ ลดสภาวะโลกร้อน สร้างระบบนิเวศน์เกิดความสมดุลธรรมชาติ และให้ประชาชนตระหนักในการรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญ


        พระพุทธรูปปางประทานอภัย         แบบศิลปะ : ลพบุรี         ลักษณะ : พระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย สลักจากหินทราย ทาสีส่วนที่เป็นจีวรด้วยสีแดงอมส้ม พระพักตร์เป็นเหลี่ยม ปรากฏกรอบไรพระศกเหนือพระนลาฏ ขมวดพระเกศาเป็นรูปก้นหอย พระเกตุมาลาทรงกรวยรูปกลีบบัวซ้อนกันเป็นชั้นลดหลั่นกันขึ้นไป พระหัตถ์ขวายกขึ้นหันฝ่าพระหัตถ์ออกโดยอยู่แนบชิดพระอุระ พระหัตถ์ซ้ายทอดลงข้างพระวรกาย บนพระอังสาซ้ายปรากฏชายสังฆาฏิพาดเป็นแผ่นใหญ่ปลายตัดตรงยาวลงมาเกือบจรดพระนาภี ที่บริเวณพระโสณีคาดรัดประคดเป็นแถบกว้างสลักลายดอกไม้ในกรอบสี่เหลี่ยม และมีแถบหน้านางที่สบง         พุทธลักษณะดังกล่าวแสดงอิทธิพลศิลปะเขมรโบราณแบบบายนผสมฝีมือช่างท้องถิ่น มักพบอยู่ที่เมืองลพบุรีและสุพรรณบุรี กำหนดอายุอยู่ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 18 ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 19 จัดอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อก่อนที่จะเกิดบ้านเมืองกลุ่มรัฐไทยในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา         ขนาด : สูง 166 เซนติเมตร         ชนิด : หินทราย         อายุ/สมัย : พุทธศตวรรษที่ 18 - 19 (ประมาณ 700 - 800 ปีมาแล้ว)         ประวัติ/ตำนาน : ได้จากวัดถ้ำเขาพระพุทธบาท อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี     แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=51723   ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th



กำแพงเมืองฉะเชิงเทรา           กำแพงเมืองฉะเชิงเทรา ตั้งอยู่ที่ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา  ตามประวัติสร้างขึ้นในพ.ศ. ๒๓๗๗ โดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมหลวงรักษ์รณเรศ สร้างเพื่อป้องกันพระนครด้านตะวันออก ด้วยขณะนั้นสยามเกิดกรณีพิพาทกับญวนในเหตุการณ์กบฏเจ้าอนุวงศ์            ลักษณะของกำแพงเมืองฉะเชิงเทราเป็นกำแพงก่ออิฐถือปูน ขนานไปกับแม่น้ำบางปะกง แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๒๗๕ เมตร ยาว ๕๖๕ เมตร ด้านนอกกำแพงมีคูเมืองล้อมรอบ ในสมัยแรกสร้างกำแพง มีความสูงจากระดับพื้นดินจนถึงใบเสมา ๔.๙๐ เมตร ภายในกำแพงเมืองมีเชิงเทิน และยังหลงเหลือป้อมสังเกตการณ์ และป้อมปืนบริเวณมุมด้านตะวันตกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงใต้           กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณ สถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๗๑ ตอนที่ ๓ วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๗ The City Wall of Chachoengsao           The City Wall of Chachoengsao was built in 1834 during the reign of King Rama III. Prince Kraisorn (Kromma Luang Raksa Ranares) was assigned to construct a defensive wall in order to protect the east part of Bangkok.           The city wall was built of bricks and coated in limestone mortar. It is rectangular in shape, measuring 275 meters wide by 565 meters long. A moat surrounds the city wall, which runs parallel to the Bang Pakong River. The height of the wall measured from the original ground level to the top of the merlon is of 4.90 meters high. The wall consists of a battlement, watch turrets, and cannon forts.           The Fine Arts Department announced the registration of the City Wall of Chachoengsao as an ancient monument in the Royal Gazette, Volume 71, Part 3, dated 5th January 1954.    


ครั้งที่พิมพ์ : Edition:  พิมพ์ครั้งที่ 1 พุทธศักราช 2554 ผู้พิมพ์ : Publisher:  กรมศิลปากร ISBN:  978-974-417-678-9 ราคา : Price:  ไม่จำหน่าย หนังสือภูมิแผ่นดินมรดกไทย:พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการเสด็จพระราชดำเนินแหล่งมรดกไทย เป็น หนังสือที่จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ เป็นการรวบรวมพระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการ เสด็จพระราชดำเนินแหล่งโบราณคดีและประวัติศาสตร์ในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย ในทุกแห่งที่ได้เสด็จพระราชดำเนินได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแนวพระราชดำริในการอนุรักษ์ สืบทอดมรดกวัฒนธรรมแก่กรมศิลปากร ซึ่งกรมศิลปากรในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่รักษาสืบทอดศิลปวัฒนธรรมของชาติ ได้น้อมนำเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯ หนังสือเล่มนี้จะเป็นประจักษ์พยานแห่งพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการรักษา สืบทอดมรดกวัฒนธรรมของชาติ ตลอดระยะเวลากว่า ๖๐ ปีที่เสด็จดำรงในสิริราชสมบัติ สามารถศึกษาค้นคว้าได้ที่หอสมุดแห่งชาติ และห้องสมุดประชาชน ทั่วประเทศ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๔๗๐๒, ๐ ๒๒๒๔ ๒๐๕๐





วันอาทิตย์ที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๙ เวลา ๑๓.๓๐ น. คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และนายสหวัฒน์ แน่นหนา อดีตอธิบดีกรมศิลปากร เข้าร่วมฟังการบรรยายโครงการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน ครั้งที่ ๕/๒๕๕๙ โดยมีนายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากรเป็นประธานในการเปิดการบรรยาย หัวข้อเรื่อง เขมรัฐ...นครเชียงตุง ร้อยเรียงเรื่องราวผ่านคำบอกเล่าจากเจ้านางสุคันธา ราชธิดาเจ้าฟ้าหลวงนครเชียงตุง วิทยากรโดย อาจารย์ไพศาล จั่วทอง อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มีผู้สนใจเข้าร่วมฟังกว่า ๑๗๐ คน


นายสหวัฒน์ แน่นหนา อธิบดีกรมศิลปากร ร่วมแสดงความยินดีในโอกาสก้าวสู่ปีที่ ๓๖ ของบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๖


โบราณวัตถุชิ้นสำคัญในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานีมีอยู่ด้วยกันหลาย ชิ้น เช่น เครื่องมือหินกะเทาะก่อนประวัติศาสตร์สมัยสังคมคนล่าสัตว์ อายุประมาณ ๑๒,๐๐๐-๗,๗๐๐ ปี ขวานหินขัดสมัยสังคมเกษตรกรรม อายุประมาณ ๔,๐๐๐ ปี กลองมโหระทึก อายุประมาณ ๒,๕๐๐-๒,๑๐๐ ปี ใบหอกและหัวขวานสำริด อายุประมาณ ๑,๘๐๐-๑,๕๐๐ ปี ศิลาจารึกปากแม่น้ำมูล อายุราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๒ พระพุทธรูปสมัยทวารวดี พระพุทธรูปศิลปะลาว ทับหลังศิลปะขอมที่มีลวดลายค่อนข้างสมบูรณ์ ธรรมาสน์ไม้ลงรักปิดทองประดับกระจก หีบพระธรรม กากะเยียและสัปคับที่แกะสลักลวดลายอย่างวิจิตรบรรจง   โบราณวัตถุชิ้นสำคัญและถือว่าเป็นศิลปะชิ้นเยี่ยมของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี ก็คืออรรธนารีศวรที่ย้ายมาจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มาตั้งแสดงในห้องจัดแสดงสมัยปรัติศาสตร์เริ่มแรกวัฒนธรรมทวารวดีและวัฒนธรรม เจนละ เพราะเป็นโบราณวัตถุที่ได้พบในจังหวัดอุบลราชธานี   อรรธนารีศวรเป็นประติมากรรมเนื่องในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ที่สร้างขึ้นตามเรื่องราวระหว่างพระอุมาและฤาษีภิริงกิต ผู้ซึ่งเคารพพระศิวะเพียงองค์เดียว ทำให้พระอุมาทรงพิโรธและสาปให้ร่างกายไร้เลือดเนื้อ ต่อมาภายหลังพระนางทรงละอายต่อสิ่งที่ได้กระทำต่อฤาษีตนนี้ จึงคืนคำสาปและอธิษฐานขอให้พระวรกายของพระนางเข้าไปรวมเป็นส่วนหนึ่งขององค์ พระศิวะ    ลักษณะของประติมากรรมสลักเป็นรูปพระศิวะและพระอุมารวมเป็นองค์เดียวกัน โดยภาพรวมมีขนาดความสูง ๖๘ เซนติเมตร ประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานบัวหงาย ยกพระกรทั้งสองข้างขึ้นเหนือพระเพลา พระ หัตถ์หักหายไป พระพักตร์ค่อนข้างยาว พระเนตรที่สามปรากฏอยู่กึ่งกลางพระนลาฏ พระเกศาเกล้าสูง ทรงกุณฑลขนาดใหญ่และพาหุรัดลายดอกไม้กรองศอเรียบและไม่มีลวดลาย ลักษณะที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนก็คือพระวรกายซีกขวามีลักษณะเป็นบุรุษเพศ หรือพระศิวะ มีรูปพระจันทร์เป็นวงกลมติดอยู่บนพระเศียร พระเกศาเป็นขมวดกลม มีไรพระมัสสุริมพระโอษฐ์ นุ่งผ้าสั้นเหนือพระชงฆ์ คาดเข็มขัดลายเชือกถัก มีบ่วงบาศคล้องที่พระหัตถ์ ส่วนพระวรกายซีกซ้าย หรือพระอุมาแสดงลักษณะกายวิภาคเป็นสตรีเพศ ทรงทองพระกรและนุ่งผ้ายาวไปจดข้อพระบาท มีแนวชายผ้าพาดจากใต้พระเพลาไปยังข้อพระกร คาดเข็มขัดลายลูกประคำ    อรรธนารีศวรรูปนี้สร้างในสมัยทวารวดีราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ นับเป็นอรรธนารีศวรที่เก่าแก่ที่สุดรูปหนึ่งเท่าที่พบในเอเชียอาคเนย์ มีลักษณะค่อนข้างพิเศษทั้งด้านกายวิภาคและรายละเอียดของเครื่องประดับ รวมทั้งอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ จึงนับเป็นศิลปะชิ้นเยี่ยมของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานีที่มีค่าและน่าหวงแหนอีกชิ้นหนึ่งของประเทศ



Messenger