ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,344 รายการ

ชื่อเรื่อง                           เทศนาสังคิณี-มหาปัฎฐานสพ.บ.                                  194/6ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           30 หน้า กว้าง 4.9 ซ.ม. ยาว 56.7 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี



เลขทะเบียน : นพ.บ.78/13ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  60 หน้า ; 4 x 51.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 48 (59-70) ผูก 13 (2564)หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา(ทสชาติ)ชาตกฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา(ลำมโหสถ) --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.149/7ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  56 หน้า ; 4.5 x 55 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 91 (392-403) ผูก 7 (2564)หัวเรื่อง : สตฺตปฺปปกรณาภิธมฺม (อภิธรรมสังคิณี-พระมหาปัฎฐาน)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ตำราดูดวง ชบ.ส. ๖๐ เจ้าอาวาสวัดราษฏร์สามัคคี ต.พลูตาหลวง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕ เอกสารโบราณ (สมุดไทย)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.26/1-2 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ขอเสนอเรื่อง  “๑๓ โบราณวัตถุต้องห้ามพลาดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน” สวัสดีค่ะ พบกันอีกเช่นเคยกับสาระความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน วันนี้เราจะมาแนะนำโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุชิ้นเด่นที่มีความสำคัญและน่าสนใจของเมืองน่าน  ซึ่งจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน กันค่ะ แต่ต้องบอกก่อนนะคะว่าที่จริงแล้ว ไม่ได้มีแค่เพียง ๑๓ ชิ้นนี้เท่านั้นนะคะที่น่าสนใจ เพราะพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ยังมีโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุอื่นๆอีกมากมายที่รอให้ทุกท่านมาเยี่ยมชมอยู่ค่ะ  โบราณวัตถุทั้ง ๑๓ ชิ้นที่ต้องห้ามพลาด เมื่อมาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ได้แก่ ๑. งาช้างดำ เป็นโบราณวัตถุคู่บ้าน คู่เมืองน่าน ที่อยู่คู่กับหอคำหรือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน มาจนถึงปัจจุบัน  ๒. อาณาจักรหลักคำ  หรือ กฎหมายเมืองน่าน เขียนขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๓๙๖ โดยเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ ๖๒ เพื่อใช้เป็นกฎหมายเฉพาะของเมืองน่าน และเมืองต่างๆ ที่ขึ้นกับเมืองน่าน ๓. พระสุพรรณบัฏ จารึกพระนามเพื่อเลื่อนฐานันดรศักดิ์ เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ ๖๓ ผู้สร้างหอคำหรือคุ้มหลวงเมืองน่าน ๔. ตราประทับรูปโคอุสุภราช ทำจากงาช้าง ใช้เป็นตราเมือง สำหรับประทับในหนังสือกราบบังคมทูลถวายรายงานและหนังสือราชการงานเมืองต่างๆ ๕. ศิลาจารึกหลักที่ ๖๔ จากวัดพระธาตุช้างค้ำฯ กล่าวถึงการกระทำสัตย์สาบานเป็นมิตรไมตรีต่อกันระหว่างเจ้าผู้ครองนครน่านและกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย ๖. ศิลาจารึกหลักที่ ๗๔ กล่าวถึงการบูรณะซ่อมแซมวัดหลวงกลางเวียงหรือวัดพระธาตุช้างค้ำฯ โดยพญาพลเทพฤาชัย ๗. พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร ศิลปะอยุธยา อายุราวครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ทำจากไม้ ลงรักปิดทอง ได้จากโบสถ์วัดท่าปลา บริเวณเหนือเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์  ๘. พระพุทธรูปทรงเครื่องประทับยืน ศิลปะล้านนา อายุราวครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ทำด้วยไม้ ลงรักปิดทอง จากวัดบุญยืน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน สันนิษฐานว่าเจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ ๕๗ คงให้สร้างขึ้นในระยะเวลาใกล้เคียงกับวิหารวัดบุญยืน ๙. หีบพระธรรม จากวัดบุญยืน อำเภอเวียงสา ทำจากไม้ลงรักปิดทอง สลักภาพนูนต่ำเรื่องพระเจ้าสิริจุฑามณี มีจารึกระบุว่าพระเถระชื่อทิพพาลังการ และเจ้าผู้ครองนครน่าน (เจ้าอัตถวรปัญโญ) ให้สร้างขึ้นเมื่อ จ.ศ. ๑๑๕๗ หรือ พ.ศ. ๒๓๓๘ ๑๐. ปัญจรูป สัตว์ในความเชื่อของพม่า มีลักษณะเป็นสัตว์ผสม ๕ ชนิด ได้แก่ มีหัวเป็นสิงห์ มีงวงและงาเป็นช้าง มีขาและเขาเป็นกวาง มีปีกเป็นหงส์ มีลำตัวและหางเป็นปลา บ้างก็ว่าลำตัวเป็นพญานาค ๑๑. หน้ากากฝาโลงไม้ สมัยก่อนประวัติศาสตร์มีลักษณะพิเศษของส่วนฝาโลง ซึ่งแกะสลักเป็นรูปนูนต่ำคล้ายคนหรือสัตว์ ไม่เคยพบที่ใดมาก่อนในประเทศไทย ได้จากถ้ำผาเวียง ๓ หรือถ้ำหีบ ตำบลส้าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ๑๒. กลองมโหระทึก สำริด อายุประมาณ ๒,๐๐๐ - ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว พบจำนวน ๒ ใบ ที่บ้านบ่อหลวง ตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ๑๓. ซิ่นลายน้ำไหล มีลักษณะลวดลาย ที่จำลองภาพของสายน้ำหรือคลื่นน้ำ ซึ่งมีลักษณะเคลื่อนไหวและมีชีวิตชีวา เป็นเอกลักษณ์ของผ้าซิ่นเมืองน่านรูปแบบหนึ่ง สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับโบราณวัตถุแต่ละชิ้น จะนำเสนอในโอกาสต่อไปนะคะ




จูเนียร์, เจมส เจ.แฮกเกอรตี้.  พิมล  กลกิจ และ ออมสิน  ศรมูลปิ่น แปล.  ยานอวกาศ.       พิมพ์ครั้งที่ ๒.  กรุงเทพฯ : อักษรสัมพันธ์, ๒๕๐๖.  ๑๙๖ หน้า.      เป็นหนังสือที่ว่าด้วยวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย ๑๑  เรื่อง คือยานอวกาศ ประวัติการบินชั้นอวกาศ ยานอวกาศแบบต่าง ๆ จรวดขัยดัน ยานอวกาศทำงาน มนุษย์ในอวกาศ จรวดขับดันสู่อวกาศในอนาคต การสำรวจพระจันทร์ด้วยเครื่องมือ การสำรวจพระจันทร์ ด้วยมนุษย์ การสำรวจระบบสุริยจักรวาล ไกลออกไปพ้นดาวเคราะห์


กรมศิลปากร.  นิทานเรื่องพระร่วง.  กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526.         นิทานเรื่องพระร่วงนี้ ประกอบด้วยสุภาษิตหรือบัญญัติพระร่วงที่จารึกติดไว้ที่ผนังด้านในศาลาหน้าพระมหาเจดีย์ในวัดพระเชตพน และเรื่องอื่น ๆ อีกหลายเรื่อง ได้แก่ พระร่วงวาจาสิทธิ์ จากจุลยุทธการวงศ์ความเรียง และประชุมพงศาวดารภาคที่ 66 เป็นต้น



พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายเที่ยง ตรีสุวรรณ ณ เมรุวัดสังเวชวิศยาราม วันที่ ๗ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๔ 





          จิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถ วัดภูมินทร์ เขียนขึ้นในราวปีพุทธศักราช ๒๔๑๐-๒๔๑๗ ในสมัยพระเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน (ในช่วงต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕) เขียนด้วยเทคนิคสีฝุ่นบนรองพื้นดินสอพอง มีความสวยงาม และมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการแต่งกาย วิถีชิวิต ภาพเขียนบ่งบอกถึงวัฒนธรรมของคนในท้องถิ่นนั้น ๆ ได้อย่างชัดเจน เขียนเล่าเรื่องราว ๓ เรื่องหลักๆ พื้นที่ส่วนใหญ่เขียนเรื่อง "คัทธนกุมารชาดก"หนึ่งในปัญญาสชาดก (ชาดกนอกนิบาต) กล่าวถึงพระโพธิสัตว์คัทธนกุมารผู้ทรงมีพลังเปรียบดังพญาช้างสาร สร้างคุณงามความดี และความกตัญญูรู้คุณ เรื่องที่สองเขียนเรื่อง"เนมิราชชาดก"ชาดกชาติที่ ๔ หนึ่งในทศชาติชาดก เสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์พระเนมิราช บำเพ็ญอธิษฐานบารมี เรื่องสุดท้ายเป็นเรื่องพุทธประวัติ นอกจากนี้ยังมีภาพบุคคลที่มีขนาดเท่าจริง ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะจิตรกรรมแห่งนี้ ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวในจิตรกรรม ได้แก่ ภาพปู่ม่านย่าม่าน (ปู่ใช้เรียกแทนผู้ชาย ย่าใช้เรียกแทนผู้หญิง ม่านเรียกชาวพม่า) เป็นภาพหญิงชายแต่งกายแบบพม่า แสดงท่าทางกระซิบกัน หรือที่รู้จักกันใน"ภาพกระซิบรัก" ซึ่งเป็นภาพที่มีความโดดเด่น และนักท่องเที่ยวให้ความสนใจเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังมีภาพบุคคลชายหญิงแต่งกายเหมือนชนชั้นสูงอีกด้วย เรามาดูการจัดวางภาพเพื่อเล่าเรื่องราวต่างๆ ภายในพระอุโบสถกัน วัดภูมินทร์ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่านภาพแสดง : หนุ่มสาวชาวเมืองอินทรปัต (เรื่องราว คัทธนกุมารชาดก) (ผนังทางด้านทิศเหนือ)ภาพแสดง : บรรยากาศเมืองอินทรปัต มีท่าเทียบเรือสินค้าจากชาวยุโรป (ผนังทางด้านทิศเหนือ ด้านขวามือล่าง)ภาพแสดง : (ผนังทางด้านทิศเหนือ ) ผนังเริ่มต้นเรื่องราว “คัทธนกุมาร” จาก “ผนังซ้ายมือล่าง” กำเนิดพระโพธิสัตว์คัทธนกุมาร (ผนังตอนกลาง) คัทธนกุมารออกผจญภัยตามหาพระบิดาและได้พบพระสหายทั้งสอง "นายไม้ไผ้ร้อยกอและนายเกวียนร้อยเล่ม" (ผนังขวามือล่าง) คัทธนพร้อมพระสหายทั้งสามเดินทางผ่านเมืองอินทรปัต (ผนังส่วนบน) ตรงกลางผนังเป็นภาพพระพุทธเจ้าและพระสาวก ซ้าย-ขวา เป็นภาพการศึกษาเล่าเรียน / พระธรรมวินัยภาพแสดง : ผนังทิศตะวันออก "ผนังซ้ายมือ" คัทธนพร้อมพระสหายได้พบนางกองสี และปราบ"งูยักษ์"ช่วยเหลือชุบชีวิตเจ้าเมือง และชาวเมืองขวางทะบุรีที่ถูกงูยักษ์กิน ให้ฟื้นคืนชีพกลับมามีชีวิตดังเดิม ด้วยของวิเศษไม้เท้าและพิณ และให้พระสหายนายไม้ไผ่ ร้อยกอดูแลเมือง "ผนังขวามือ" คัทธนพร้อมพระสหายได้พบนางคำสิง และปราบ"นกยักษ์"ช่วยเหลือชุบชีวิตเจ้าเมือง และชาวเมืองชวาทะวดีที่ถูกนกยักษ์กิน ให้ฟื้นคืนชีพกลับมามีชีวิตดังเดิม ด้วยของวิเศษไม้เท้าและพิณ และให้นายเกวียนร้อยเล่ม ดูแลเมือง "ผนังส่วนบน" ตรงกลางผนังเขียนภาพพระพุทธเจ้าและพระสาวก ซ้ายมือเขียนภาพบุคคล ขวามือเขียนภาพเสือภาพแสดง : ผนังด้านทิศใต้ "ผนังซ้ายมือล่าง" เมืองจำปาทบุรี คัทธนได้อภิเสกสมรสกับนางสีดา จากการได้ช่วยเหลือให้ นางสีดารอดพ้นจากนางยักษ์จับกิน มีโอรส ชื่อ คัทธจัน(โอรสองค์ที่ ๒)/ผนังข้างประตูด้าน ซ้ายมือ เขียนภาพบุคคลสตรีในชุดพื้นเมือง "ผนังขวาล่าง" บน: เจ้าเมืองจำปาทบุรี เสด็จออกล่าสัตว์ นางยักษ์จะกินพระองค์ และได้ขอชีวิตจากนางยักษ์ โดยจะนำชาวเมืองมาให้นางยักษกินแทนตน /กลาง: คัทธน ช่วยเหลือนางสีดาจากนางยักษ์ /ล่าง: คัทธนเดินทางมาที่เมืองจำปาทบุรี ได้พักอาศัยอยู่กับหญิงชราและต่อมาได้ "นางสีไว" เป็นภรรยา มีโอรส ชื่อ คัทธเนตร(โอรสองค์ที่ ๑) /ผนังข้างประตูด้านขวามือ เขียนภาพบุคคลบุรุษในชุดพื้นเมือง "ผนังกลางตอนกลาง" เป็นภาพการสู้รบกันระหว่างคัทธจันกับคัทธเนตร สองพี่น้องต่างพระมารดา เพื่อแย่งชิงราชสมบัติ และของวิเศษ "ผนังส่วนบน"ตรงกลางผนังเป็นภาพพระพุทธเจ้าและพระสาวก ซ้าย-ขวา เป็นภาพการศึกษาเล่าเรียน/พระธรนมวินัย ภาพแสดง : ผนังทิศตะวันตก "ผนังตอนล่าง" เขียนเรื่องพระเนมิราชชาดก (ชาดกที่ ๔ ในทศชาติชาดก) "อธิฐานบารมี" พระเนมิราชเสด็จสวรรค์ชั้น"ดาวดึงส์" และ"นรกภูมิ" /ผนังข้างประตูด้านซ้ายมือเขียนภาพบุคคล"ปู่ม่าน-ย่าม่าน" "ผนังตอนบน" เขียนเรื่องพุทธประวัติ ตอน เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานของสัมมาสัมพุทธเจ้า ภาพแสดง : พระอุโบสถ-------------------------------------------------------------------------เรียบเรียงโดย : นางสาวกรอุมา นุตะศรินทร์ นักวิชาการช่างศิลป์ชำนาญการพิเศษ และนายสมัคร ทองสันท์ นายช่างศิลปกรรมอาวุโส กองโบราณคดี


Messenger